โทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบแอนะล็อก ของ โทรทัศน์ภาคพื้นดิน

ทวีปยุโรป

หลังจากการประชุม ST61 ความถี่ยูเอชเอฟถูกใช้ครั้งแรกในสหราชอาณาจักรในปี ค.ศ. 1964 ด้วยการแนะนำของช่องบีบีซีทู และช่องวีเอชเอฟถูกเก็บไว้ในระบบเก่า 405 เส้น ในขณะที่ยูเอชเอฟใช้สำหรับการออกอากาศในระบบ 625 เส้น (ซึ่งภายหลังใช้สีแพล) การแพร่ภาพโทรทัศน์ในระบบ 405 เส้น ยังคงดำเนินต่อไปหลังจากมีการเปิดตัวรายการบนโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบแอนะล็อก 4 รายการในย่านความถี่ยูเอชเอฟ จนกระทั่งเครื่องส่งสัญญาณ 405 เส้นเครื่องสุดท้ายปิดใช้งานในวันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1985 วีเอชเอฟในย่านความถี่ระดับ 3 ถูกใช้ในประเทศอื่น ๆ ทั่วยุโรปเพื่อออกอากาศสีแพล จนกระทั่งมีการวางแผนและทำการเปลี่ยนผ่านสู่โทรทัศน์ระบบดิจิทัล

ความสำเร็จของทีวีแอนะล็อกทั่วยุโรปแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ แม้ว่าแต่ละประเทศจะมีสิทธิ์ในการใช้ความถี่จำนวนหนึ่งตามแผน ST61 แต่ก็ไม่ได้เปิดให้บริการทั้งหมด

สหรัฐ

ในปี ค.ศ. 1941 มาตรฐานเอ็นทีเอสซีตัวแรกถูกนำเสนอขึ้นโดยคณะกรรมการระบบโทรทัศน์แห่งชาติ มาตรฐานนี้กำหนดรูปแบบการส่งสัญญาณสำหรับภาพขาวดำที่มีความละเอียดในแนวตั้ง 525 เส้นที่ 60 ฟิลด์ต่อวินาที ในช่วงต้นทศวรรษ 1950 มาตรฐานนี้ถูกแทนที่ด้วยมาตรฐานที่เข้ากันได้ย้อนหลังสำหรับโทรทัศน์สี มาตรฐานเอ็นทีเอสซีนั้นถูกใช้กับทีวีแอนะล็อกเฉพาะในสหรัฐและประเทศญี่ปุ่น จนกระทั่งมีการเปิดตัวโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล ถึงแม้ปัจจุบัน ประเทศเม็กซิโกได้ยุติการออกอากาศโทรทัศน์ระบบแอนะล็อกทั้งหมด รวมถึงสหรัฐและประเทศแคนาดาได้ปิดสถานีโทรทัศน์ระบบแอนะล็อกเกือบทั้งหมดไปแล้ว แต่มาตรฐานเอ็นทีเอสซียังคงถูกใช้ในกลุ่มประเทศแถบลาตินอเมริกา ในขณะที่ทดสอบแพลตฟอร์มทีวีดิจิทัลของพวกเขา[5]

ในช่วงปลายยุค 90 และต้นยุค 2000 คณะกรรมการระบบโทรทัศน์ขั้นสูงพัฒนามาตรฐานเอทีเอสซีขึ้น สำหรับใช้ในการส่งสัญญาณทีวีดิจิทัลความละเอียดสูง ในที่สุดมาตรฐานนี้ก็ถูกนำไปใช้ในหลาย ๆ รัฐในสหรัฐ รวมถึงประเทศแคนาดา สาธารณรัฐโดมินิกัน ประเทศเม็กซิโก ประเทศเอลซัลวาดอร์ ประเทศกัวเตมาลา และประเทศฮอนดูรัส อย่างไรก็ตาม 3 ประเทศสุดท้ายทิ้งระบบนี้ไว้ในความโปรดปรานของบริการออกอากาศภาคพื้นดินแบบรวมระหว่างประเทศ[6][7]

โทรทัศน์ภาคพื้นดินในทวีปอเมริกาทำงานบนช่องสัญญาณแอนะล็อก 2 ถึง 6 (VHF ย่านความถี่ต่ำ 54 - 88 MHz หรือที่รู้จักกันในชื่อ ย่านความถี่ระดับ 1 ในยุโรป), 7 ถึง 13 (VHF ย่านความถี่สูง 174 ถึง 216 MHz หรือที่รู้จักในชื่อ ย่านความถี่ที่ 3) และ 14 ถึง 51 (ย่านความถี่โทรทัศน์ UHF 470 ถึง 698 MHz หรือที่รู้จักในชื่อ ย่านความถี่ที่ 4-5) ต่างจากการส่งสัญญาณแบบแอนาล็อกของหมายเลขช่องในมาตรฐาน ATSC ซึ่งไม่สอดคล้องกับความถี่วิทยุ แต่จะมีการกำหนดช่องเสมือน สำหรับเป็นส่วนหนึ่งของข้อมูลอภิพันธุ์สำหรับเอทีเอสซีสตรีม เพื่อให้สถานีโทรทัศน์สามารถส่งผ่านความถี่ใด ๆ ก็ได้ แต่ยังคงแสดงหมายเลขช่องเดียวกัน[8] นอกจากนี้เครื่องรับและส่งสัญญาณโทรทัศน์สำหรับออกอากาศฟรี สามารถนำมาใช้ใหม่เพื่อกระจายสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดินโดยใช้ช่องสัญญาณที่ไม่ได้ใช้เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ที่มีการรับสัญญาณเล็กน้อย[9]

ช่องโทรทัศน์ระบบแอนะล็อก 2-6, 7-13 และ 14-51 ใช้เฉพาะสำหรับสถานีวิทยุกระจายเสียงกำลังต่ำในสหรัฐอเมริกา ช่อง 52-69 ยังคงใช้งานโดยสถานีที่มีอยู่บางสถานี แต่ช่องเหล่านี้จะต้องว่างหาก บริษัทโทรคมนาคมแจ้งให้สถานียกเลิกคลื่นสัญญาณนั้น โดยในแผน สัญญาณโทรทัศน์ออกอากาศจะถูกส่งด้วยโพลาไรซ์แนวนอน

ทวีปเอเชีย

การออกอากาศทางโทรทัศน์ภาคพื้นดินในทวีปเอเชียเริ่มต้นในปี ค.ศ. 1939 ในประเทศญี่ปุ่น ผ่านการทดลองที่ดำเนินการโดยสถาบันเทคโนโลยีการกระจายเสียงของเอ็นเอชเค อย่างไรก็ตาม การทดลองเหล่านี้ต้องหยุดชะงักลงกะทันหันจากการเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สองในมหาสมุทรแปซิฟิก วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1953 ช่องเอ็นเอชเคเจเนอรัลทีวีเริ่มออกอากาศ เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม ค.ศ. 1953 บรรษัทเครือข่ายนิปปงเทเลวิ เปิดตัวนิปปงเทเลวิ สถานีโทรทัศน์เชิงพาณิชย์แห่งแรกในเอเชีย ในประเทศฟิลิปปินส์ ระบบการแพร่ภาพกระจายเสียงอัลโต (ปัจจุบันคือ เอบีเอส-ซีบีเอ็น คอร์ปอเรชั่น) ได้เปิดตัวสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดินเชิงพาณิชย์แห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ ดีแซคทีวี เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม ค.ศ. 1953 โดยความช่วยเหลือของบริษัทวิทยุแห่งสหรัฐ (RCA)

ใกล้เคียง

โทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลในประเทศไทย โทรทัศน์ โทรทัศน์ในประเทศไทย โทรทัศน์ในประเทศญี่ปุ่น โทรทัศน์ภาคพื้นดิน โทรทัศน์ความละเอียดสูง โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย โทรทัศน์ผ่านสายเคเบิล โทรทัศน์ผ่านสัญญาณต่อเนื่อง โทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล

แหล่งที่มา

WikiPedia: โทรทัศน์ภาคพื้นดิน http://www.crtc.gc.ca/eng/NEWS/RELEASES/2007/r0705... http://www.crtc.gc.ca/eng/archive/2007/pb2007-53.h... http://cw.routledge.com/textbooks/97802408115812e/... http://www.tvfool.com/ http://www.tvobscurities.com/articles/color60s/ http://www.tvradioworld.com http://www.w9wi.com/ http://edocket.access.gpo.gov/cfr_2007/octqtr/47cf... http://www.atsc.org/wp-content/uploads/2015/03/Pro... http://www.dvb.org/about_dvb/dvb_worldwide/norway/...