การรักษา ของ โรคจิต

การรักษาอาการโรคจิตจะขึ้นอยู่กับโรคที่แพทย์วินิจฉัยว่าเป็น (เช่น โรคจิตเภท โรคอารมณ์สองขั้ว หรือสารเป็นพิษ)การรักษาอันดับแรกสำหรับโรคที่มีอาการโรคจิตก็คือ ยารักษาโรคจิต (antipsychotic)[165]ซึ่งสามารถลดอาการเชิงบวกได้ภายในเวลาประมาณ 7-14 วัน

ยา

ยารักษาโรคจิตที่เลือกใช้จะขึ้นอยู่กับประโยชน์ ความเสี่ยง และค่าใช้จ่าย[161]ยังไม่ชัดเจนว่า ถ้ารวมเป็นหมู่ ๆ ยาตามแบบ (typical) หรือยานอกแบบ (atypical) ดีกว่ากัน[166][167]หลักฐานเบื้องต้นสนับสนุนว่า ยา amisulpride, olanzapine, ริสเพอริโดน และ clozapine อาจมีประสิทธิผลที่ดีกว่าสำหรับอาการเชิงบวกแต่มีผลข้างเคียงมากกว่า[168]ยารักษาโรคจิตตามแบบมีอัตราคนไข้เลิกกินยาและกลับเกิดอาการอีกเท่ากับยานอกแบบเมื่อใช้ในขนาดต่ำจนถึงปานกลาง[169]คนไข้ 40-50% ตอบสนองได้ดี, 30-40% ตอบสนองเป็นบางส่วน และ 20% ไม่ตอบสนองคืออาการไม่ดีขึ้นพอหลังจาก 6 สัปดาห์ที่ใช้ยารักษาโรคจิต 2-3 อย่าง[170]clozapine เป็นยารักษาที่มีประสิทธิผลสำหรับคนไข้ที่ตอบสนองต่อยาอื่น ๆ ได้ไม่ดี (ที่เรียกว่า treatment-resistant schizophrenia หรือ refractory schizophrenia)[171]แต่มีโอกาสให้ผลข้างเคียงที่รุนแรงคือ ภาวะแกรนูโลไซต์น้อย (agranulocytosis) คือจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวลดลงโดยเกิดในอัตรา 4%[161][172][173]

คนไข้ที่กินยารักษาโรคจิตโดยมากมีผลข้างเคียงที่กินยาตามแบบ (typical antipsychotics) มักจะมีอาการ extrapyramidal[upper-alpha 29]ในอัตราที่สูงกว่า เทียบกับคนที่กินยานอกแบบ (atypical) ซึ่งสัมพันธ์กับน้ำหนักขึ้น โรคเบาหวาน และความเสี่ยงต่อกลุ่มอาการแมแทบอลิซึม (metabolic syndrome)[upper-alpha 30]ซึ่งเด่นที่สุดเมื่อกินยา olanzapine ในขณะที่ริสเพอริโดนและ quetiapine ก็สัมพันธ์กับน้ำหนักขึ้นด้วย[168]ริสเพอริโดนมีอัตราการเกิดอาการ extrapyramidal คล้ายกับยาตามแบบคือ haloperidol[168]

การให้คำปรึกษา

จิตบำบัดเช่น การรักษาด้วยการยอมรับและการให้สัญญา (ACT) อาจมีประโยชน์เพื่อรักษาอาการโรคจิต เพราะช่วยให้คนไข้มีกำลังใจเพื่อจะดำเนินชีวิตไปในทิศทางที่มีความหมายแม้จะมีโรค[175]

การรักษาตั้งแต่ต้น ๆ

การรักษาอาการโรคจิตตั้งแต่ต้น ๆ (early intervention in psychosis) เริ่มมาจากสังเกตการณ์ว่า การะระบุและรักษาคนไข้ในระยะต้น ๆ ที่มีอาการโรคจิตอาจทำให้ผลระยะยาวดีขึ้น[176]คือสนับสนุนให้ใช้วิธีการรักษาตามหลักวิชาการหลายสาขาในระยะวิกฤติ (critical period) ที่การรักษาจะได้ผลดีที่สุด และป้องกันพยาธิสภาพ (morbidity) ระยะยาวที่สัมพันธ์กับโรคเรื้อรังที่มีอาการโรคจิต

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรคจิต http://www.clinicalevidence.bmj.com/x/systematic-r... http://documentarystorm.com/psychology/madness-in-... http://www.emedicine.com/med/topic3113.htm# http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=290 http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=299 http://www.medicalnewstoday.com/articles/190678.ph... http://www.mercksource.com/pp/us/cns/cns_hl_dorlan... http://www.priory.com/psych/hypg.htm http://www.psychiatrictimes.com/forensic-psychiatr... http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S...