เหตุ ของ โรคจิต

ที่เป็นปกติ

ประสาทหลอนระยะสั้น ๆ ไม่ใช่อะไรที่มีน้อยในบรรดาบุคคลที่ไม่มีโรคทางจิตเวช เหตุหรือสิ่งที่จุดชนวนรวมทั้ง[21]

  • เมื่อกำลังจะหลับหรือเมื่อกำลังจะตื่น เป็นการเห็นภาพหลอนขณะเคลิ้มหลับ (hypnagogic) และการเห็นภาพหลอนขณะเคลิ้มตื่น (hypnopompic) ซึ่งเป็นเรื่องปกติ[22]
  • การเสียบุคคลที่รัก ประสาทหลอนเห็นคนรักผู้เสียชีวิตไปแล้วเป็นเรื่องสามัญ[21]
  • การขาดนอนอย่างรุนแรง[23][24][25]
  • ความเครียด[26]

ความบาดเจ็บ

เหตุการณ์ในชีวิตที่ทำให้บอบช้ำทางกายใจพบว่า สัมพันธ์กับความเสี่ยงเกิดอาการโรคจิตเพิ่มขึ้น[27]ความบอบช้ำทางกายใจในวัยเด็กโดยเฉพาะพบว่าเป็นตัวพยากรณ์อาการโรคจิตในวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่[28]คนไข้ที่มีอาการโรคจิต 65% ประสบกับการบาดเจ็บทางกายใจในวัยเด็ก (เช่น ถูกทารุณกรรมทางกายหรือทางเพศ ถูกละเลยทางกายหรือทางใจ)[29]

ความอ่อนแอที่เพิ่มขึ้นของบุคคลอาจมีปฏิสัมพันธ์กับประสบการณ์ที่ทำให้บอบช้ำทางกายใจ ส่งเสริมให้เกิดอาการโรคจิตในอนาคต โดยเฉพาะในช่วงระยะพัฒนาการที่อ่อนไหวมาก[28]ที่สำคัญก็คือ อาการโรคจิตดูจะสัมพันธ์กับเหตุการณ์บอบช้ำทางกายใจในชีวิตโดยเป็นไปตามความมากน้อย คือเหตุการณ์ที่เจ็บปวดหลายเหตุการณ์จะรวม ๆ กันเพิ่มการแสดงออกและความรุนแรงของอาการ[27][28]จึงแสดงว่า การป้องกันความบอบช้ำทางกายใจและการรักษาตั้งแต่ต้น ๆ อาจเป็นเป้าหมายที่สำคัญเพื่อลดความชุกและบรรเทาผลของโรคจิต[27]

โรคทางจิตเวช (psychiatric disorder)

จากมุมมองของการวินิจฉัยโรค โรคทางกาย (organic disorder) จัดว่ามีเหตุจากความเจ็บป่วยทางกายที่มีผลต่อสมอง (และมีผลเป็นโรคทางจิตเวชซึ่งเป็นรอง คือ ทุติยภูมิ) เทียบกับโรคเชิงหน้าที่ (functional disorder) ซึ่งจัดว่ามีเหตุจากการทำงานของจิตใจโดยไม่มีความผิดปกติทางกายอื่น ๆ (คือ เป็นโรคทางจิต [psychological] หรือทางจิตเวช [psychiatric] แบบปฐมภูมิ)แต่จริง ๆ ก็ได้พบความผิดปกติทางกายที่ละเอียดอ่อนในโรคที่ปกติจัดเป็นโรคเชิงหน้าที่ เช่น โรคจิตเภทดังนั้น คู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิตรุ่น DSM-IV-TR จึงไม่แบ่งแยกระหว่างโรคทางกายกับโรคทางหน้าที่ แต่จัดรายการเป็นโรคจิตแบบดั้งเดิม (traditional psychotic illnesses), ภาวะโรคจิตเพราะอาการทางแพทย์ทั่วไป (psychosis due to general medical condition) และภาวะโรคจิตเหตุสารภายนอก (substance-induced psychosis)

ในทางจิตเวช โรคปฐมภูมิที่เป็นเหตุของภาวะโรคจิตรวมทั้ง[30][31][21]

อาการโรคจิตยังอาจพบใน[21]

ความเครียดรู้ว่ามีบทบาทและเป็นตัวจุดชนวนภาวะโรคจิตประวัติการมีเหตุการณ์บอบช้ำทางกายใจในชีวิต และประสบการณ์เครียดที่เพิ่งมี ทั้งสองสามารถมีบทบาทให้เกิดภาวะโรคจิตภาวะแบบสั้น ๆ ที่จุดชนวนโดยความเครียดเรียกว่า brief reactive psychosis และคนไข้อาจกลับเป็นปกติภายในสองอาทิตย์[53]ในกรณีที่มีน้อย บุคคลอาจจะมีภาวะโรคจิตเป็นเวลาหลายปี หรืออาจมีอาการโรคจิตที่บรรเทาลงบ้างอยู่ตลอดเวลา (เช่น ประสาทหลอนอย่างอ่อน ๆ)

ลักษณะทางบุคลิกภาพคือวิตกจริต (neuroticism) เป็นตัวพยากรณ์การเกิดภาวะโรคจิตที่เป็นอิสระตัวหนึ่ง[54]

ประเภทย่อย

ประเภทย่อย ๆ ของภาวะโรคจิตรวมทั้ง

  • ภาวะโรคจิตตามประจำเดือน (menstrual psychosis) เกิดป็นคาบ ๆ ตามรอบประจำเดือน
  • ภาวะโรคจิตหลังคลอด (postpartum psychosis) เกิดหลังคลอดบุตร
  • monothematic delusions เป็นภาวะหลงผิดในเรื่อง ๆ เดียว
  • โรคจิตเหตุขาดไทรอยด์ (myxedema psychosis) เป็นผลที่มีน้อยเนื่องกับภาวะขาดไทรอยด์ (hypothyroidism) เช่น ในโรค Hashimoto's thyroiditis และในคนไข้ที่ผ่าเอาต่อมไทรอยด์ออกและไม่ทานยา thyroxine ต่อมไทรอยด์ที่ทำงานน้อยเกินอาจก่อภาวะสมองเสื่อมที่แย่ลงเรื่อย ๆ อาการเพ้อ และในกรณีรุนแรงประสาทหลอน โคม่า หรือภาวะโรคจิต โดยเฉพาะในคนชรา
  • stimulant psychosis เป็นความผิดปกติทางจิต (mental disorder) ที่มีอาการเป็นภาวะโรคจิต (เช่น ประสาทหลอน คิดระแวง หลงผิด ความคิดไม่ประติดประต่อ พฤติกรรมไม่มีจุดมุ่งหมาย) โดยปกติหลังจากทานยากระตุ้นประสาท (psychostimulant) มากเกินไป[55] แต่ก็มีรายงานว่าเกิดกับบุคคลประมาณ 0.1% หรือ 1 คนในพันคนภายในสัปดาห์แรก ๆ หลังเริ่มกินยาเพื่อรักษาคือแอมเฟตามีน หรือ methylphenidate[56][57]
  • tardive psychosis เป็นภาวะที่เกิดเพราะการใช้ยารักษาโรคจิต (neuroleptics) เป็นระยะเวลานาน จะเห็นภายหลังเมื่อยาลดประสิทธิภาพ จำเป็นต้องใช้มากขึ้น หรือเมื่อคนไข้ไม่ตอบสนองต่อยาขนาดที่มากขึ้น
  • shared psychosis[upper-alpha 10]

Cycloid psychosis

cycloid psychosis เป็นภาวะโรคที่แย่ลงจากปกติไปเป็นโรคจิตอย่างสมบูรณ์ ปกติใช้เวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมงจนเป็นวัน ๆ โดยไม่เกี่ยวกับยาที่กินหรือความบาดเจ็บที่สมอง[58]cycloid psychosis มีประวัติยาวนานตามประวัติจิตเวชยุโรปจิตแพทย์ชาวเยอรมัน Karl Kleist ได้ใช้คำนี้เป็นครั้งแรกในปี 1926แม้จะเป็นประเด็นทางคลินิกที่สำคัญ แต่ทั้งวรรณกรรมและวิทยาการจำแนกโรคในช่วงนั้นก็ไม่ได้ให้ความสนใจแก่การวินิจฉัยโรคเช่นนี้และแม้จะได้ความสนใจจากวรรณกรรมทั่วโลกในช่วง 50 ปีก่อน แต่งานศึกษาทางวิทยาศาสตร์ก็ได้ลดลงอย่างมากภายใน 15 ปีที่ผ่านมา ซึ่งอาจเป็นเพราะความเข้าใจผิดว่า วินิจฉัยนี้ได้รวมเข้ากับระบบการจัดวินิจฉัยโรคแล้ว ซึ่งจริง ๆ กล่าวถึงอาการนี้เป็นบางส่วนเท่านั้นนี้เป็นโรคโดยเฉพาะของมันเองที่ต่างกับโรคอารมณ์สองขั้ว และกับโรคจิตเภท แม้จะมีทั้งอารมณ์แปรปรวนเป็นสองขั้วและอาการทางจิตเภทโรคมีภาวะโรคจิตอย่างฉับพลันโดยปกติจำกัดเวลา มีอาการหลายอย่างโดยมีความสับสนหรือความงุนงงที่อาจก่อทุกข์ลักษณะหลักของโรคก็คือการเกิดอาการต่าง ๆ อย่างฉับพลัน และปกติจะกลับคืนปกติ พยากรณ์โรคระยะยาวจึงดี

เกณฑ์วินิจฉัยรวมอาการอย่างน้อย 4 อย่างดังต่อไปนี้[58]

  • สับสน
  • อาการหลงผิดที่ไม่เป็นไปตามอารมณ์
  • ประสาทหลอน
  • วิตกกังวลอย่างรุนแรงที่ไม่จำกัดต่อเหตุการณ์หรือสถานการณ์
  • มีความสุขหรือดีใจมาก
  • มีปัญหาการเคลื่อนไหวแบบไม่เคลื่อนไหวหรือเคลื่อนไหวเกิน
  • กังวลเรื่องความตาย
  • อารมณ์แปรปรวนในระดับหนึ่ง แต่ยังน้อยเกินกว่าจะวินิจฉัยเป็นความผิดปกติทางอารมณ์

โรคนี้เกิดกับผู้มีอายุระหว่าง 15-50 ปี[58]

โรคอื่น ๆ

โรคหรืออาการทางแพทย์เป็นจำนวนมากอาจก่อภาวะโรคจิต บางครั้งเรียกว่า โรคจิตทุติยภูมิ (secondary psychosis)[21]ตัวอย่างรวมทั้ง

สารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท (psychoactive drug)

ดูบทความหลักที่: Substance-induced psychosis

สารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทหลายอย่าง ทั้งที่ถูกกฎหมายและผิดกฎหมายเชื่อว่า เป็นเหตุ หรือทำให้แย่ลง หรือเร่งให้เกิด ซึ่งภาวะโรคจิตหรือโรคอื่น ๆ สำหรับผู้ที่ใช้สาร โดยมีหลักฐานที่เชื่อถือได้ต่าง ๆ กันอาการจะเกิดหลังใช้สารเป็นระยะเวลานานหรือหลังจากการขาดยา[21]บุคคลที่มีภาวะโรคจิตที่สารก่อมักจะสำนึกในภาวะโรคจิตของตนมากกว่า และมักคิดฆ่าตัวตายมากกว่าบุคคลที่มีโรคปฐมภูมิที่มีอาการโรคจิต[95]ยาที่อ้างว่าชักนำให้เกิดอาการโรคจิตรวมทั้งแอลกอฮอล์, กัญชา, โคเคน, แอมเฟตามีน, cathinone, สารก่ออาการโรคจิต (เช่น แอลเอสดีและ psilocybin), κ-opioid receptor agonist เช่น enadoline และ salvinorin A, NMDA receptor antagonist เช่น เฟนไซคลิดีนและ ketamine[21][96]กาเฟอีนอาจทำให้อาการแย่ลงในคนไข้โรคจิตเภทและก่อภาวะโรคจิตสำหรับคนปกติถ้ากินในขนาดมาก ๆ[97][98]

แอลกอฮอล์

คนประมาณ 3% ที่ติดเหล้า (alcoholism) จะประสบกับภาวะโรคจิตในช่วงที่เมามากหรือกำลังขาดเหล้าอาจปรากฏโดยเป็นส่วนของภาวะทางประสาทที่รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากการขาดเหล้าซ้ำ ๆ ที่เรียกว่า kindlingนี่เป็นผลระยะยาวของแอลกอฮอล์ซึ่งบิดเบือนเยื่อเซลล์ประสาท บิดเบือนการแสดงออกของยีน พร้อมกับทำให้ขาดไทอามีน (วิตามินบี1)อาจเป็นไปได้ว่า ในบางกรณี กลไก kindling สำหรับการติดเหล้าในระยะยาวอาจก่อความผิดปกติเรื้อรังที่มีอาการโรคจิตโดยสารเป็นตัวชักนำ คือ โรคจิตเภทผลของภาวะโรคจิตเนื่องกับแอลกฮอล์รวมความเสี่ยงที่สูงขึ้นต่อโรคซึมเศร้า ต่อการฆ่าตัวตาย และต่อความพิการทางจิตสังคม[99]

กัญชา

ตามงานศึกษาบางส่วน ยิ่งใช้กัญชาบ่อยเท่าไร ก็จะมีโอกาสเกิดโรคที่มีภาวะโรคจิตเท่านั้น[100]คนใช้บ่อยจะมีสหสัมพันธ์กับความเสี่ยงภาวะโรคจิตและโรคจิตเภทเป็นสองเท่า[101][102]แม้นักวิชาการบางส่วนจะยอมรับว่ากัญชาเป็นเหตุส่วนหนึ่งของโรคจิตเภท[103]แต่เรื่องนี้ก็ยังไม่มีข้อยุติ โดยความอ่อนแอต่อภาวะโรคจิตที่มีอยู่แล้วปรากฏกว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างการใช้กัญชากับภาวะโรคจิต[104][105]งานศึกษาบางงานได้ระบุว่า ผลของสารประกอบออกฤทธิ์สองอย่างในกัญชา คือ เตตร้าไฮโดรแคนนาบินอล (THC) และ cannabidiol (CBD) มีผลตรงกันข้ามกันในเรื่องภาวะโรคจิตโดย THC อาจก่ออาการโรคจิตในบุคคลปกติ และ CBD อาจลดอาการที่เกิดจากกัญชา[106]

อย่างไรก็ดี การใช้กัญชาได้เพิ่มขึ้นอย่างสำคัญในช่วง 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมา แต่อัตราการเกิดภาวะโรคจิตกลับไม่เพิ่มดังนั้น สิ่งที่พบเหล่านี้อาจแสดงว่า การใช้กัญชานั้นเร่งการเกิดภาวะโรคจิตในบุคคลที่อ่อนแอต่อภาวะนี้อยู่แล้ว[107]การใช้กัญชาที่มีฤทธิ์แรงก็ดูเหมือนจะเร่งการเกิดภาวะโรคจิตในคนไข้ที่อ่อนแอต่อการเกิดอาการ[108]งานศึกษาปี 2012 สรุปว่า กัญชามีบทบาทสำคัญในการเกิดภาวะโรคจิตในบุคคลที่อ่อนแอ ดังนั้น การสูบกัญชาในช่วงต้นวัยรุ่นควรห้าม[109]

เมแทมเฟตามีน

เมแทมเฟตามีนอาจก่ออาการโรคจิตสำหรับผู้ใช้ยาอย่างหนัก 26-46%บางคนอาจเกิดภาวะโรคระยะยาวที่คงยืนเกินกว่า 6 เดือนอนึ่ง ผู้ที่มีภาวะโรคจิตระยะสั้น ๆ เนื่องกับยาก็อาจเกิดอาการอีกหลังจากนั้นหลายปีเมื่อเกิดเหตุการณ์เครียด เช่น การนอนไม่หลับอย่างรุนแรง หรือการดื่มแอลกอฮอล์ขนาดหนักแม้จะไม่ได้กลับไปใช้ยาใหม่[110]ผู้ที่ใช้ยาเป็นเวลานานและได้เกิดอาการโรคจิตในอดีตเพราะยา มีโอกาสสูงมากที่จะกลับมีภาวะโรคจิตเนื่องกับยาภายในสัปดาห์เดียวที่กลับไปใช้ยาอีก[ต้องการอ้างอิง]

ยา

การกินยาหรือการขาดยาเป็นจำนวนมากอาจก่ออาการโรคจิต[21]ยาที่ก่ออาการโรคจิตในการทดลองหรือในกลุ่มประชากรเป็นส่วนสำคัญ รวมแอมเฟตามีนและยากลุ่ม sympathomimetic[upper-alpha 20]อื่น ๆ, dopamine agonist, ketamine, corticosteroids (ซึ่งทำให้อารมณ์เปลี่ยนไปด้วย) และยากันชัก เช่น vigabatrin[21][111]สารกระตุ้นที่ก่ออาการนี้รวมทั้ง lisdexamfetamine[upper-alpha 21][112]

การเข้าสมาธิ (meditation) อาจมีผลข้างเคียงทางจิตใจ รวมทั้ง depersonalization[upper-alpha 22], derealization[upper-alpha 5]และอาการโรคจิต เช่นประสาทหลอนและความแปรปรวนทางอารมณ์[113]

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรคจิต http://www.clinicalevidence.bmj.com/x/systematic-r... http://documentarystorm.com/psychology/madness-in-... http://www.emedicine.com/med/topic3113.htm# http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=290 http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=299 http://www.medicalnewstoday.com/articles/190678.ph... http://www.mercksource.com/pp/us/cns/cns_hl_dorlan... http://www.priory.com/psych/hypg.htm http://www.psychiatrictimes.com/forensic-psychiatr... http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S...