เชิงอรรถ ของ โรคจิต

  1. 1 2 3 4 5 ความผิดปกติทางความคิด (thought disorder ตัวย่อ TD หรือ formal thought disorder) หมายถึงการคิดสับสนโดยมีอาการเป็นการพูดที่สับสน[152]ความผิดปกติโดยเฉพาะ ๆ รวมทั้ง derailment (การสนทนาเรื่องไม่ปะติดปะต่อ) poverty of speech (การไม่พูดถ้าไม่ถาม) tangentiality (การพูดนอกเรื่อง) illogicality (การพูดไร้เหตุผล) perseveration (การตอบซ้ำ ๆ ทางกายหรือทางคำพูดโดยไม่สมควร) และ thought blocking (การพูดที่อยู่ดี ๆ หยุดเป็นวินาที ๆ หรือนาที ๆ แล้วบ่อยครั้งตามด้วยการพูดเรื่องที่ไม่เกี่ยวกัน)[152]
  2. schizophreniform disorder เป็นความผิดปกติทางจิต (mental disorder) ที่จะวินิจฉัยเมื่อมีอาการโรคจิตเภทเป็นส่วนสำคัญอย่างน้อยหนึ่งเดือน แต่ยังไม่มีอาการถึง 6 เดือนเต็มที่จำเป็นเพื่อวินิจฉัยว่าเป็นโรคจิตเภท
  3. schizoaffective disorder (SZA, SZD or SAD) เป็นความผิดปกติทางจิต (mental disorder) ที่มีอาการเป็นความคิดที่ผิดปกติ (คืออาการโรคจิต) และมีอารมณ์แปรปรวน[32][33]แพทย์จะวินิจฉัยว่ามีโรคนี้เมื่อคนไข้มีอาการของทั้งโรคจิตเภท (ปกติคืออาการโรคจิต) และโรคอารมณ์แปรปรวน (mood disorder)[32][33]เกณฑ์วินิจฉัยหลักสำหรับ SZA ก็คือการมีอาการโรคจิตอย่างน้อย 2 สัปดาห์โดยไม่มีอาการทางอารมณ์[33]โรคนี้บ่อยครั้งวินิจฉัยผิด[33]โดยวินิจฉัยที่ถูกต้องอาจเป็น psychotic depression, psychotic bipolar disorder, schizophreniform disorder หรือโรคจิตเภทจึงควรวินิจฉัยโรคให้ถูกต้อง เพราะการรักษาและพยากรณ์โรคจะต่างกันมากสำหรับโรคเหล่านี้[33][34]
  4. โรคหลงผิด (delusional disorder) เป็นความเจ็บป่วยทางจิต (mental illness) ที่คนไข้มีอาการหลงผิด แต่ไม่มีอาการเด่นอื่น ๆ รวมทั้งประสาทหลอน ความคิดสับสน (thought disorder)[upper-alpha 1] ความผิดปกติทางอารมณ์ หรือไม่แสดงออกทางอารมณ์[35][36]อาการหลงผิดเป็นอาการเฉพาะอย่างหนึ่งของโรคจิต (psychosis)สิ่งที่หลงผิดอาจจัดว่า แปลก (bizarre) หรือไม่แปลก (non-bizarre)[36]แบบไม่แปลกเป็นความเชื่อผิด ๆ และตายตัวเกี่ยวกับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้จริง ๆ เช่น ถูกคนตามหรือถูกยาพิษ[37]นอกเหนือจากอาการหลงผิด คนไข้โรคนี้สามารถเข้าสังคมและทำกิจประจำวันได้เป็นปกติ โดยพฤติกรรมอาจจะไม่ปรากฏว่าแปลก[38]แต่ความหมกหมุ่นกับไอเดียที่หลงผิดอาจรบกวนชีวิตโดยทั่ว ๆ ไป[38]เพื่อจะวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้ ประสาทหลอนทางหูและทางตาจะต้องไม่เด่น แม้ประสาทหลอนทางจมูกและทางสัมผัสเกี่ยวกับสิ่งที่หลงผิดก็อาจมีได้[36]
  5. 1 2 derealization (DR) เป็นการรับรู้ที่เปลี่ยนไป หรือเป็นประสบการณ์กับโลกที่ดูเหมือนไม่จริงอาการอื่น ๆ รวมทั้งรู้สึกว่าสิ่งแวดล้อมไม่เป็นไปตามธรรมชาติ ไร้อารมณ์ ไร้ความซับซ้อน[31]มันเป็นอาการดิสโซสิเอทีฟของโรคหลายอย่าง
  6. schizotypal personality disorder (STPD) หรือ schizotypal disorder เป็นความผิดปกติทางจิต (mental disorder) ที่มีอาการเป็นความวิตกกังวลในการเข้าสังคมอย่างรุนแรง, สับสน (thought disorder)[upper-alpha 1], ระแวง, ประสาทหลอน, derealization[upper-alpha 5], อาการโรคจิตแบบชั่วคราว ๆ และมีความเชื่อนอกคอกคนไข้โรคนี้รู้สึกไม่สบายมากในการมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับผู้อื่น โดยหลักเพราะคิดว่าคนอื่นมีความคิดไม่ดีเกี่ยวกับตน จึงหลีกเลี่ยงสร้างความสัมพันธ์กับคนอื่นการพูดและการแต่งตัวแปลก ๆ ยังเป็นอาการของโรคนี้ด้วยคนไข้อาจมีปฏิกิริยาแปลก ๆ เมื่อสนทนาด้วย ไม่ตอบ หรือคุยกับตนเอง[39]คนไข้บ่อยครั้งตีความเหตุการณ์ว่าแปลกหรือมีความหมายที่แปลก ๆ ต่อตนความเชื่อเรื่องเหนือธรรมชาติหรือทางไสยศาสตร์เป็นเรื่องสามัญคนไข้บ่อยครั้งไปหาแพทย์เนื่องกับความวิตกกังวลหรือความซึมเศร้า ไม่ใช่เพราะความผิดปกติทางบุคลิกภาพ[40]โรคนี้เกิดขึ้นกับประชากรทั่วไป 3% โดยสามัญในผู้ชายมากกว่า[41]
  7. paranoid personality disorder (PPD) เป็นความผิดปกติทางจิต (mental disorder) ที่มีอาการเป็นความระแวง ความสงสัยไปทั่วที่คงยืน และความไม่เชื่อใจคนอื่นโดยทั่วไป คนไข้ที่มีความผิดปกติทางบุคลิกภาพเช่นนี้ อาจอ่อนไหวมาก รู้สึกว่าคนอื่นดูถูกตนได้ง่าย และมีนิสัยตรวจดูสถานการณ์รอบ ๆ ตัวเพื่อหาอะไร ๆ ที่ทำความกลัวและความเอนเอียงของตนให้สมเหตุผล คนที่ระแวงจะเป็นคนที่ช่างสังเกตเพราะคิดว่าตนตกอยู่ในอันตรายแล้วจึงสังเกตหานิมิตว่ามีอันตรายเช่นนั้นจริง ๆ โดยอาจไม่สนใจหรือเข้าใจหลักฐานอื่น ๆ[42]
  8. 1 2 schizoid personality disorder (SPD) เป็นความผิดปกติทางบุคลิกภาพที่มีอาการเป็นการไม่สนใจมีความสัมพันธ์กับคนอื่น มักใช้ชีวิตแบบอยู่คนเดียวหรือไม่เปิดตัว แอบ ๆ ซ๋อน ๆ มีอารมณ์เย็นชา ไม่สนใจอะไร ๆ หรือใคร ๆผู้มีโรคนี้อาจไม่สามารถมีความผูกพันที่ใกลัชิดกับผู้อื่น โดยขณะเดียวกันอยู่ในโลกเพ้อฝันและซับซ้อน[43][44]
  9. ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง (BPD) หรือ emotionally unstable personality disorder เป็นรูปแบบที่คงยืนของพฤติกรรมผิดปกติที่มีอาการเป็นการมีความสัมพันธ์ที่ไม่เสถียรกับผู้อื่น ความรู้สึกเกี่ยวกับตัวเองที่ไม่เสถียร และมีอารมณ์แปรปรวน[45][46]บ่อยครั้งจะกลัวถูกทอดทิ้งมาก มีพฤติกรรมที่เป็นอันตรายบ่อย ๆ รู้สึกว่าชีวิตไร้ความหมาย และทำอันตรายต่อตนเองอาการอาจจุดชนวนด้วยเหตุการณ์ที่ดูธรรมดา ๆ[45]พฤติกรรมปกติจะเริ่มเกิดตั้งแต่ต้นวัยผู้ใหญ่โดยเกิดในสถานการณ์ต่าง ๆ[46]การใช้สารเสพติด ความซึมเศร้า และความผิดปกติในการกิน (eating disorder) สัมพันธ์กับโรคอย่างสามัญ[45]คนไข้มีโอกาสเสี่ยงทำร้ายตัวเองสูงขึ้น และคนไข้ 10% เสียชีวิตด้วยการฆ่าตัวตาย[45][46]
  10. 1 2 induced delusional disorder หรือ Folie à deux หรือ shared psychosis[47]หรือ shared delusional disorder เป็นความผิดปกติทางจิตเวชที่มีอาการหลงผิดและบางครั้งประสาทหลอน[48][49]อาจส่งจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่ง[50]อาการที่มีมากกว่า 2 คนอาจเรียกว่า folie à trois, folie à quatre, folie en famille ("family madness") หรือ folie à plusieurs ("madness of several")
  11. dissociative disorders (DD) เป็นภาวะที่เกิดการขัดข้องหรือความเสียหายทางความจำ ความสำนึกรู้ อัตลักษณ์ และการรับรู้คนไข้ใช้การแยกตัว (dissociation) เป็นกลไกป้องกันตัวโดยเกิดอย่างเป็นโรคและควบคุมไม่ได้โรคบางชนิดจุดชนวนด้วยความบอบช้ำทางกายใจ แต่โรคประเภท depersonalization/derealization disorder อาจจุดชนวนด้วยความเครียด, สารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท หรือแม้แต่เมื่อไม่สามารถกำหนดตัวจุดชนวนได้[51]
  12. 1 2 dementia with Lewy bodies (DLB) เป็นภาวะสมองเสื่อมอย่างหนึ่งที่แย่ลงเรื่อย ๆ[60][61]อาการอื่น ๆ อาจรวมความตื่นตัวที่ขึ้น ๆ ลง ๆ ประสาทหลอนทางตา การเคลื่อนไหวเชื่องช้า ปัญหาการเดิน และสภาพแข็งแกร็ง[60]การเคลื่อนไหวมากเกินในช่วงนอนหลับ และความแปรปรวนทางอารมณ์ เช่น ความซึมเศร้า ก็สามัญด้วยเหมือนกัน[62]
  13. paraneoplastic syndrome เป็นกลุ่มอาการที่เป็นผลของมะเร็งในร่างกาย แต่ไม่เหมือนผลที่เกิดจากการเป็นก้อนเนื้อ (mass effect) อาการไม่ได้เกิดเพราะเซลล์มะเร็งที่อยู่ใกล้ ๆ[67]แต่อำนวยให้เกิดด้วยสารน้ำ (เช่น ฮอร์โมนหรือ cytokine) ซึ่งเซลล์เนื้องอกหลั่งออกหรือเป็นการตอบสนองของภูมิคุ้มกันต่อเนื้องอก
  14. succinic semialdehyde dehydrogenase deficiency (SSADHD) หรือ 4-hydroxybutyric aciduria หรือ gamma-hydroxybutyric aciduria เป็นโรคกรรมพันธุ์ที่สืบทอดโดยออโตโซมแบบด้อย[73]ซึ่งวิถีทางเคมีของสารสื่อประสาทแบบยับยั้งคือ กาบา (γ-aminobutyric aci) เสียหาย โรคนี้พบในครอบครัวประมาณ 350 ครอบครัวโดยจำนวนสำคัญเป็นครอบครัวที่มีบรรพบุรุษเดียวกัน[74]กรณีแรกรายงานในวารสารเคมีคลินิกภาษาดัตช์ปี 1981 ซึ่งระบุภาวะทางประสาทต่าง ๆ เช่น ปัญหาความล่าช้าทางพัฒนาการของเชาวน์ปัญญา ประสาทสั่งการ การพูด และภาษา กรณีหลัง ๆ ในต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 แสดงว่า ภาวะกล้ามเนื้อตึงตัวน้อย (hypotonia) ภาวะรีเฟล็กซ์น้อย (hyporeflexia) การชัก และภาวะกล้ามเนื้อเสียสหการแบบคงตัว ก็เป็นอาการทางคลินิกที่พบบ่อย ๆ ด้วย[75]
  15. metachromatic leukodystrophy (MLD, arylsulfatase A deficiency) เป็นโรคการเก็บไลโซโซม บ่อยครั้งจัดอยู่ในกลุ่มโรค leukodystrophy และ sphingolipidoses เพราะมีผลต่อเมแทบอลิซึมของ sphingolipidโดย leukodystrophy มีผลต่อพัฒนาการหรือการเติบโตของปลอกไมอีลิน ซึ่งเป็นไขมันหุ้มรอบเส้นประสาทโดยมีหน้าที่เป็นฉนวนไฟฟ้าทั้งในระบบประสาทกลางและนอกส่วนกลางMLD มีอาการเป็นการสะสม cerebroside sulfate[76][77]โรคนี้คล้ายกับโรคขาดเอนไซม์อื่น ๆ คือสืบทอดทางพันธุกรรมแบบออโตโซมแบบด้อย[77]
  16. sarcoidosis เป็นโรคที่มีอาการเป็นการเก็บสะสมเซลล์อักเสบที่รวมเป็นก้อนที่เรียกว่าแกรนูโลมา[90]ปกติเริ่มต้นที่ปอด ผิวหนัง ต่อมน้ำเหลือง[90]โดยมีน้อยกว่าที่ตา ตับ หัวใจ และสมอง[90]แต่ก็มีได้ที่อวัยวะทุกอย่าง[90]อาการขึ้นอยู่กับอวัยวะที่เกี่ยวข้อง[90]บ่อยครั้งไม่มีอาการหรือมีอาการน้อย[90]
  17. Hashimoto's encephalopathy หรือ steroid responsive encephalopathy associated with autoimmune thyroiditis (SREAT) เป็นภาวะทางประสาทที่มีอาการเป็นโรคสมอง ภูมิต้านตนเองที่ไทรอยด์ และมีการตอบสนองทางคลินิกที่ดีต่อสเตอรอยด์เป็นโรคที่สัมพันธ์กับ Hashimoto's thyroiditis
  18. anti-NMDA-receptor encephalitis หรือ NMDA receptor antibody encephalitis เป็นสมองอักเสบประเภทหนึ่งที่อาจจะเป็นอันตรายถึงชีวิตแต่มีโอกาสฟื้นตัวสูงเมื่อรักษาเกิดจากภูมิต้านทานตนเองโดยหลักที่หน่วยย่อย NR1 ของหน่วยรับ NMDA (N-methyl D-aspartate receptor)[91]
  19. non-celiac gluten sensitivity (NCGS) หรือ gluten sensitivity[92]เป็น "โรค/อาการที่เกิดเนื่องจากการทานกลูเตน แล้วก่ออาการภายในลำไส้หรือนอกลำไส้ที่จะดีขึ้นหลังจากเลิกทานอาหารที่มีกลูเตน และได้กันโรค celiac disease และโรคแพ้ข้าวสาลีออกแล้ว"[93]
  20. ยากลุ่ม sympathomimetic (หรือเรียกว่า adrenergic drugs และ adrenergic amines) เป็นสารประกอบมีฤทธิ์กระตุ้นซึ่งเลียนผลของตัวทำการธรรมชาติ (endogenous agonist) ของระบบประสาทซิมพาเทติกซึ่งหลัก ๆ ก็คือสารกลุ่ม catecholamine (คือ เอพิเนฟรีน [adrenaline], norepinephrine [noradrenaline] และโดพามีน) โดยทำหน้าที่เป็นทั้งสารสื่อประสาทและฮอร์โมนยากลุ่มนี้ใช้รักษาหัวใจหยุด (cardiac arrest) และความดันต่ำ หรือยับยั้งการคลอดก่อนกำหนดในบรรดาวิธีการรักษาต่าง ๆ
  21. lisdexamfetamine ใช้รักษาโรคสมาธิสั้นและโรคกินที่ผิดปกติ (BED)
  22. depersonalization เป็นความรู้สึกว่าร่างกายจิตใจที่เป็นตนไม่ใช่ตน รู้สึกว่าตนแยกจากตนเองและจากโลกภายนอก รู้สึกว่าตนได้เปลี่ยนไปและโลกได้กลายเป็นอะไรที่เลือนลาง คล้ายความฝัน ไม่จริง หรือไม่มีความหมายซึ่งอาจเป็นประสบการณ์ที่ไม่น่าชอบใจอาการที่เรื้อรังเรียกว่า depersonalization-derealization disorder ซึ่งคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิตรุ่น 5 จัดว่าเป็นโรคดิสโซสิเอทีฟ[36]
  23. attentional task
  24. cognitive task
  25. การตอบสนองแบบ positive PE เกิดเมื่อบริเวณสมองหนึ่ง ๆ (โดยปกติใน striatum) ทำงานเพิ่มขึ้นเมื่อได้รางวัลที่ไม่คาดหวัง การตอบสนองแบบ negative PE เกิดเมื่อเมื่อบริเวณสมองหนึ่ง ๆ (โดยปกติใน striatum) ทำงานลดลงเมื่อไม่ได้รางวัลที่คาดหวัง[125]
  26. mesolimbic pathway หรือบางครั้งเรียกว่า reward pathway เป็นวิถีประสาทโดพามีน (dopaminergic) วิถีหนึ่งในสมอง[126]วิถีนี้เชื่อมบริเวณ ventral tegmental area ในสมองส่วนกลางกับ nucleus accumbens และ olfactory tubercle ใน ventral striatum[127]การหลั่งโดพามีนของวิถีประสาทนี้เข้าไปใน nucleus accumben ควบคุมความเด่นของรางวัล (incentive salience คือ แรงจูงใจและความต้องการ) สำหรับสิ่งเร้าที่ให้รางวัล และช่วยเสริมแรงการเรียนรู้การเคลื่อนไหวที่สัมพันธ์กับรางวัล (reward-related motor function learning)[128][129][130]และอาจมีบทบาทในการรับรู้ความสุขที่เป็นอัตวิสัย[128][130]การทำงานผิดปกติของวิถีประสาทนี้และเซลล์ประสาทที่ได้รับกระแสประสาทจากมันใน nucleus accumbens มีบทบาทสำคัญในการเกิดและการดำรงการติด (สารเสพติดเป็นต้น)[126][131][132][133]
  27. ยากกลุ่มดิสโซสิเอทีฟ (dissociative) เป็นสารก่อประสาทหลอน (hallucinogen) ซึ่งบิดเบือนการรับรู้สิ่งที่เห็นและเสียงที่ได้ยินแล้วทำให้รู้สึกเหมือนแยกตัวออก (detachment, dissociation) จากทั้งสิ่งแวดล้อมและจากตัวเองซึ่งเกิดเนื่องด้วยการลดหรือระงับสัญญาณประสาทจากสมองส่วนต่าง ๆ ไปยังส่วนที่เกี่ยวกับความรู้สึกตัว (conscious mind)[136]แม้ยากลุ่มอื่น ๆ อาจมีฤทธิ์เช่นนี้ แต่ยากลุ่มนี้พิเศษตรงที่ว่า มันมีฤทธิ์เช่นนี้โดยก่อประสาทหลอน ซึ่งอาจรวมภาวะขาดประสาทสัมผัส (sensory deprivation) การแยกตัวออกจากสิ่งแวดล้อมและตัวเอง (dissociation) ประสาทหลอน และภาวะเหมือนกับฝันหรือเคลิ้มอยู่[137]ยาบางอย่างมีฤทธิ์ที่ไม่เฉพาะเจาะจง (nonselective) และมีผลต่อระบบประสาทโดพามีน[138]และ/หรือระบบประสาทโอปิออยด์[139]และอาจก่อภาวะครึ้มใจ (euphoria)สารดิสโซสิเอทีฟหลายอย่างมีผลกดประสาท (depressant) โดยทั่วไป ดังนั้นจึงอาจมีผลระงับประสาท (sedation) กดการหายใจ ระงับความเจ็บ ทำให้ชา ก่อภาวะกล้ามเนื้อเสียสหการ ก่อความบกพร่องทางประชานและความจำ และภาวะเสียความจำ
  28. adenylate cyclase (EC 4.6.1.1, adenyl cyclase, adenylate cyclase, ตัวย่อ AC) เป็นเอนไซม์ที่มีหน้าที่ควบคุม (regulatory) สำคัญในเซลล์ต่าง ๆ แทบทั้งหมดเอนไซม์มีอยู่ 6 ชั้น (class) ชั้นที่รู้จักดีที่สุดคือ class III หรือ AC-IIIซึ่งมีอย่างกว้างขวางในยูแคริโอตและมีบทบาทสำคัญในเนื้อเยื่อมนุษย์มากมาย
  29. extrapyramidal symptoms (EPS) เป็นความผิดปกติทางการเคลื่อนไหวที่เกิดจากยารวมทั้งแบบฉับพลันและแบบเกิดทีหลัง (acute and tardive)อาการรวมทั้ง dystonia (กล้ามเนื้อเกร็งและกระตุกอย่างต่อเนื่อง), อาการนั่งไม่ติดที่ (akathisia), อาการโรคพาร์คินสัน เช่น สภาพแข็งเกร็งคือขยับตัวอย่างแข็ง ๆ อาการเคลื่อนไหวช้า สั่น และอาการยึกยือเหตุยา (dyskinesia)[174]
  30. กลุ่มอาการแมแทบอลิซึม (metabolic syndrome) หรือบางครั้งมีชื่ออื่น ๆ เป็นการรวมกลุ่มอาการอย่างน้อย 3 อย่างจากอาการ 5 อย่างดังต่อไปนี้ (จึงมีหมู่ผสม 16 รูปแบบ)
  31. ดีดำ (black bile) เป็นน้ำอย่างหนึ่งในความเชื่อของแพทย์สมัยโบราณที่เชื่อว่ามาจากม้ามหรือไต ซึ่งทำให้เศร้าใจ[187]
  32. ดีเหลือง (yellow bile) เป็นน้ำอย่างหนึ่งในความเชื่อของแพทย์สมัยโบราณที่เชื่อว่ามาจากตับ ซึ่งทำให้โกรธ[188]

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรคจิต http://www.clinicalevidence.bmj.com/x/systematic-r... http://documentarystorm.com/psychology/madness-in-... http://www.emedicine.com/med/topic3113.htm# http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=290 http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=299 http://www.medicalnewstoday.com/articles/190678.ph... http://www.mercksource.com/pp/us/cns/cns_hl_dorlan... http://www.priory.com/psych/hypg.htm http://www.psychiatrictimes.com/forensic-psychiatr... http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S...