ประวัติ ของ โรคจิต

ศัพทมูลวิทยา

คำว่า psychosis เริ่มใช้ในวรรณกรรมทางจิตเวชในปี 1841 โดยแพทย์ชาวเยอรมัน (Karl Friedrich Canstatt ในผลงาน Handbuch der Medizinischen Klinik)โดยใช้เป็นคำชวเลขสำหรับคำว่า psychic neurosisในช่วงนั้น คำว่า neurosis หมายถึงโรคของระบบประสาทอะไร ๆ ก็ได้ ดังนั้น หมอจึงหมายถึงอาการทางจิตใจที่ปรากฏเนื่องกับโรคสมอง[177]แพทย์ชาวออสเตรีย (Ernst von Feuchtersleben) ก็ได้รับเครดิตว่าบัญญัติคำนี้เช่นกันในปี 1845[178]โดยหมายถึงโรคอย่างอื่นที่ไม่ใช่ insanity หรือ mania

คำนี้มีรากศัพท์จากคำละตินว่า psychosis ซึ่งแปลว่า "ให้วิญญาณหรือชีวิตกับ, ทำให้มีชีวิต, คืนชีวิตให้" และจากคำกรีกโบราณว่า ψυχή (psyche) ซึ่งแปลว่าวิญญาณ และปัจจัย -ωσις (-osis) ซึ่งในกรณีนี้หมายถึง "ภาวะผิดปกติ"[179][180]

คุณศัพท์ภาษาอังกฤษว่า psychotic ใช้กล่าวถึงอาการนี้ซึ่งพบได้ทั้งในวรรณกรรมทางการแพทย์และวรรณกรรมทั่วไป

การจำแนก

คำยังได้ใช้แยกภาวะที่จัดว่า เป็นความผิดปกติของจิตใจ เทียบกับ neurosis (โรคประสาท) ซึ่งจัดว่าเป็นความผิดปกติของระบบประสาท[181]คำนี้จึงได้กลายเป็นเทียบเท่ากับคำว่าบ้า ดังนั้น จึงเกิดข้อถกเถียงว่า นี่เป็นโรคเดียวหรือมีรูปแบบต่าง ๆ[182]ในปี 1891 เกิดคำที่ใช้แคบลง(โดยจิตแพทย์ชาวเยอรมัน Julius Ludwig August Koch) คือ psychopathic inferiorities ซึ่งต่อมาจัดเป็นกลุ่มบุคลิกภาพที่ผิดปกติ (abnormal personalities) โดยจิตแพทย์ชาวเยอรมันอีกท่านหนึ่ง (Kurt Schneider)[177]

จิตแพทย์ชาวเยอรมันเอมีล เครพอลีน (Emil Kraepelin) ได้แบ่งโรคจิตออกเป็น manic depressive illness (ปัจจุบันเรียกว่า โรคอารมณ์สองขั้ว) และ dementia praecox (ปัจจุบันเรียกว่า โรคจิตเภท) คือหมอได้พยายามสังเคราะห์ความผิดปกติต่าง ๆ ที่ได้ระบุจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยรวมกลุ่มโรคเข้าด้วยกันตามอาการที่มีร่วมกันโดยใช้คำว่า manic depressive insanity หมายถึงสเปกตรัมความผิดปกติทางอารมณ์ต่าง ๆ ซึ่งครอบคลุมกว่าที่ใช้ทุกวันนี้และรวมโรคซึมเศร้าธรรมดา โรคอารมณ์สองขั้ว และความผิดปกติทางอารมณ์อื่น ๆ เช่น โรคไซโคลไทเมียในโรคเหล่านี้ คนไข้มีอารมณ์แปรปรวนโดยอาการโรคจิตจะเกิดสัมพันธ์กับความผิดปกติทางอารมณ์ คนไข้บ่อยครั้งทำกิจได้เป็นปกติในระหว่างคราวที่เกิดโรคจิตแม้จะไม่ได้กินยาส่วนโรคจิตเภทมีคราวอาการโรคจิตที่ดูไม่สัมพันธ์กับความผิดปกติทางอารมณ์ และคนไข้ที่ไม่ได้กินยาก็ผิดปกติแม้ในระหว่างคราวที่เกิดอาการโรคจิต

คำว่า psychosis ในอดีตยังเคยใช้ในความหมายว่า เป็นความผิดปกติทางจิตใจ (mental disorder) ที่รุนแรงจนรบกวนกิจกรรมในชีวิตประจำวัน[7]

การรักษา

อารยธรรมยุคต้น ๆ จัดความบ้าว่าเป็นปรากฏการณ์เหนือธรรมชาตินักโบราณคดีได้ขุดค้นพบกะโหลกศีรษะที่มีรูเจาะอย่างชัดเจน บางส่วนมีอายุถึง 5,000 ปีก่อน ค.ศ. ซึ่งแสดงนัยว่า การเจาะกะโหลกเพื่อรักษา (trepanning) อาการโรคจิตเป็นวิธีสามัญในสมัยโบราณ[183]การบันทึกถึงเหตุเหนือธรรมชาติและถึงวิธีการรักษามีตัวอย่างในพันธสัญญาใหม่บทหนึ่ง (Mark 5:8-13) กล่าวถึงชายที่ปรากฏว่ามีอาการโรคจิตตามที่ระบุในปัจจุบันผู้พระคริสต์ได้รักษา "ความบ้าจากปีศาจ" โดยขับเหวี่ยงปีศาจออกไปที่ฝูงสุกรวิธีการขับไล่ปีศาจเช่นนี้ก็ยังใช้อยู่ในกลุ่มศาสนาบางกลุ่มเป็นการรักษาอาการโรคจิตซึ่งเชื่อว่า เป็นปีศาจเข้าสิง[184]

งานศึกษากับผู้ป่วยนอกของคลินิกจิตเวชพบว่า คนไข้ผู้นับถือศาศนา 30% โทษอาการโรคจิตของตนต่อวิญญาณร้ายคนไข้หลายคนได้ผ่านพิธีกรรมไล่ปีศาจ ที่แม้คนไข้จะรู้สึกว่าดีแต่ก็ไม่มีผลต่ออาการผลงานศึกษายังได้แสดงว่า อาการจะแย่ลงอย่างสำคัญสำหรับการบังคับให้ผ่านพิธีกรรมไล่ผีโดยไม่รักษาด้วยวิธีการทางแพทย์[185]

การแพทย์พบว่าคนเป็นโรคจิต สมองมีอะไรบางอย่างที่ผิดปกติ การรักษาจึงเป็นการใช้ยาปรับสมดุลในสมอง ซึ่งถ้าไม่รักษา ปล่อยให้ผิดปกติไปเป็นเวลานาน ๆ สิ่งที่ตามมาคือการทำลายเนื้อสมองอย่างถาวร และผู้ป่วยจะไม่กลับคืนปกติ ดังเช่นที่เห็นในผู้ป่วยบางรายที่ญาติคิดว่าผีเข้า ไม่พามารักษา ไปรักษาหมอผี หมดเงินเป็นแสน กว่าจะมาพบแพทย์ก็สายเกิน ไม่สามารถรักษาให้เหมือนเดิมได้ หรือคนที่ใช้สารเสพติดนาน ๆ สมองจะถูกทำลายไปมาก จนไม่สามารถกลับปกติได้ ส่วนใหญ่แพทย์จะไม่หักล้างความเชื่อ ถ้าญาติอยากรักษาทางไสยศาสตร์ แพทย์ก็มักจะแนะนำให้รักษาด้วยยาด้วย[ต้องการอ้างอิง]

แพทย์และนักปรัชญาคริสต์ศตวรรษที่ 4 คือฮิปพอคราทีส ได้เสนอเหตุตามธรรมชาติ ไม่ใช่เหนือธรรมชาติ ที่ทำให้ป่วยในงานของเขาคือ Hippocratic corpus แนวอธิบายแบบเน้นภาพรวมเกี่ยวกับสุขภาพและโรคได้รวมความบ้าและโรคทางจิตอื่น ๆหมอได้เขียนไว้ว่า

มนุษย์ควรจะรู้ว่า ความสุข ปิติ การหัวเราะ การล้อเล่น ตลอดจนความเศร้า ความเจ็บปวด ความโศก และน้ำตา เกิดมาจากสมองและจากสมองเท่านั้น อาศัยสมองโดยเฉพาะ เราคิด เราเห็น ได้ยิน และแยกแยะความน่าเกลียดกับความสวยงาม ความไม่ดีกับความดี ความน่ายินดีกับความไม่น่ายินดี...เป็นสิ่งเดียวกันที่ทำให้เราบ้าหรือเพ้อ ทำให้เราหวั่นเกรงและกลัว ไม่ว่าจะเป็นกลางคืนกลางวัน ทำให้นอนไม่หลับ ทำการผิดพลาด วิตกกังวลอย่างไร้จุดหมาย ใจลอย และมีพฤติกรรมนอกนิสัย[186]

หมอสนับสนุนทฤษฎี humoralism ที่โรคเป็นผลจากความไม่สมดุลของน้ำในร่างกายรวมทั้งเลือด, เสลด/เสมหะ, ดีดำ (black bile)[upper-alpha 31]และดีเหลือง (yellow bile)[upper-alpha 32][189]ตามทฤษฎีนี้ น้ำแต่ละอย่างจะสัมพันธ์กับอารมณ์หรือพฤติกรรมในกรณีโรคจิต อาการเชื่อว่ามีเหตุจากการมีเลือดและดีเหลืองเกินดังนั้นวิธีการรักษาอาการโรคจิตและอาการฟุ้งพล่าน (mania) ก็คือการผ่าเอาเลือดออก[190]

แพทย์ชาวอเมริกันช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 ผู้ได้เครดิตว่า "เป็นบิดาของจิตเวชอเมริกัน" (Benjamin Rush) ก็จัดการเอาเลือดออกเป็นวิธีการรักษาอันดับแรกของอาการโรคจิตแม้จะไม่ได้สนับสนุนทฤษฎี humoralism แต่หมอก็เชื่อว่า การถ่ายเลือดออกเป็นวิธีการรักษาที่มีผลต่อความขัดข้องในระบบไหลเวียน ซึ่งเขาเชื่อว่าเป็นเหตุปฐมภูมิของความบ้า[191]แม้วิธีการรักษาของหมอปัจจุบันจะจัดว่าโบราณและไม่สมเหตุผล แต่ผลงานของหมอต่อจิตเวชศาสตร์ ซึ่งยกกระบวนการทางชีวภาพว่าเป็นเหตุของปรากฏการณ์ทางจิตเวชรวมทั้งอาการโรคจิต เป็นเรื่องหาค่าประมาณมิได้ในสาขานี้เพื่อให้เกียรติสำหรับประโยชน์ที่ทำเยี่ยงนี้ ภาพของหมอจึงเป็นตราทางการของสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน (APA)

การรักษาต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สำหรับอาการโรคจิตที่รุนแรงและคงยืนเน้นการช็อกระบบประสาทรวมทั้ง insulin shock therapy (การบำบัดด้วยการช็อกด้วยอินซูลินให้เกิดโคม่า), cardiazol shock therapy (การบำบัดด้วยการช็อกด้วยยาให้ชัก) และ electroconvulsive therapy (การบำบัดด้วยการช็อกด้วยไฟฟ้าให้ชัก)[192]แม้จะค่อนข้างเสี่ยง แต่การบำบัดด้วยการช็อกเคยจัดว่ามีผลดีในการรักษาอาการโรคจิตรวมทั้งในโรคจิตเภทเพราะยอมรับการรักษาที่เสี่ยงสูงเช่นนี้ ก็เลยเกิดวิธีการรักษาที่เบียดเบียนคนไข้ยิ่งกว่านั้นรวมทั้ง psychosurgery (เช่น lobotomy ที่แพทย์ตัดหรือขูดเส้นประสาทที่เชื่อมกับสมองส่วน prefrontal cortex ออก)[193]

ในปี 1888 จิตแพทย์ชาวสวิส (Gottlieb Burckhardt) ได้ทำ psychosurgery ที่ได้การอนุมัติเป็นรายแรกโดยตัดเปลือกสมองออกแม้คนไข้บางส่วนจะมีอาการดีขึ้นและสงบลง แต่คนไข้คนหนึ่งก็ได้เสียชีวิต และอีกหลายคนเกิดภาวะเสียการสื่อความ (aphasia) และเกิดโรคชัก (seizure disorders)แม้หมอจะได้ตีพิมพ์ผลงานทางคลินิกในวารสารการแพทย์แต่วงการแพทย์ก็ไม่ได้ยอมรับวิธีการนี้[194]

ในปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 ประสาทแพทย์ชาวโปรตุเกส (Egas Moniz) ประดิษฐ์การผ่าตัดสมอง คือ leucotomy (หรือ prefrontal lobotomy) ที่ตัดหรือขูดใยประสาทที่เชื่อมสมองกลีบหน้ากับสมองที่เหลือออกซึ่งได้แรงดลใจจากงานศึกษาของนักประสาทวิทยาศาสตร์ในปี 1935 ที่ทำการเยี่ยงนี้กับลิงชิมแปนซี 2 ตัวแล้วเปรียบเทียบพฤติกรรมก่อนและหลังการผ่าตัดคือก่อนผ่าตัด ลิงมีพฤติกรรมปกติรวมทั้งขว้างอุจจาระและสู้กันหลังจากผ่าตัด ลิงสงบลงและรุนแรงน้อยลงในช่วงการถามและตอบคำถาม หมอได้ถามนักวิจัยว่าสามารถขยายทำกับมนุษย์ได้หรือไม่ ซึ่งนักวิจัยทั้งสองยอมรับว่าเป็นคำถามที่ทำให้สะดุ้งใจ[195]หมอต่อมาจึงได้ขยายวิธีการปฏิบัติที่ก่อความโต้แย้งเช่นนี้กับคนไข้ผู้มีอาการโรคจิต เป็นความอุตสาหะที่เขาต่อมาได้รับรางวัลโนเบลในปี 1949[196]ระหว่างปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 และต้น 1970 leucotomy เป็นวิธีการที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง และบ่อยครั้งทำในสถานที่ที่ไม่ปลอดเชื้อ เช่น คลินิกคนไข้นอกและในบ้านของคนไข้[195]psychosurgery เป็นวิธีการมาตรฐานจนกระทั่งค้นพบยารักษาโรคจิตในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1950[197]

การทดลองทางคลินิกของยารักษาโรคจิตแรก (เรียกทั้งด้วยคำว่า antipsychotic และ neuroleptics) เพื่อรักษาอาการโรคจิตเกิดขึ้นในปี 1952chlorpromazine (ชื่อการค้า thorazine) ผ่านการทดลองทางคลินิกแล้วกลายเป็นยารักษาโรคจิตแรกที่อนุมัติให้ใช้รักษาทั้งอาการโรคจิตฉับพลันและเรื้อรังแม้กลไกการออกฤทธิ์จะไม่รู้จนกระทั่งปี 1963 แต่ chlorpromazine ก็เป็นจุดเริ่มของการใช้ยากลุ่ม dopamine antagonist (สารต้านหน่วยรับโดพามีน) เป็นยารักษาโรคจิตรุ่นแรกสุด[198]แม้การทดลองทางคลินิกจะแสดงการตอบสนองในอัตราสูงทั้งในอาการโรคจิตฉับพลันและโรคที่มีอาการโรคจิต ผลข้างเคียงก็ค่อนข้างหนัก รวมทั้งการเกิดอาการโรคพาร์คินสันที่บ่อยครั้งแก้คืนไม่ได้เช่น tardive dyskinesia (อาการยึกยือเหตุยาที่เกิดทีหลัง)

ยารักษาโรคจิตนอกแบบ (atypical antipsychotic) คือยารักษาโรคจิตรุ่นสอง เป็นยาต้านหน่วยรับโดพามีนที่มีอัตราการตอบสนองคล้ายกัน และมีผลข้างเคียงที่ต่างกันมาก แต่ก็จัดว่ายังมีมาก รวมทั้งอัตราการเกิดอาการโรคพาร์คินสันที่น้อยกว่าแต่มีความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดมากกว่า[199]ยารักษาโรคจิตนอกแบบยังคงเป็นการรักษาอันดับแรกสำหรับอาการโรคจิตที่สัมพันธ์กับความผิดปกติทางจิตเวชและทางประสาทรวมทั้งโรคจิตเภท โรคอารมณ์สองขั้ว โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล ภาวะสมองเสื่อม และโรคออทิซึมสเปกตรัม[200]

ปัจจุบันรู้แล้วว่า โดพามีนเป็นสารสื่อประสาทหลักอย่างหนึ่งที่มีบทบาทในอาการโรคจิตดังนั้น การระงับหน่วยรับโดพามีน (คือ หน่วยรับโดพามีนแบบ D2 หรือ dopamine D2 receptors) และลดการทำงานของระบบประสาทโดพามีนจึงเป็นเป้าหมายทางเภสัชวิทยาที่มีประสิทธิผลแต่หยาบ (คือไม่เฉพาะเจาะจง) ของยารักษาโรคจิตงานศึกษาทางเภสัชวิทยาปี 2005 แสดงว่า การลดการทำงานของระบบประสาทโดพามีนไม่ได้กำจัดอาการหลงผิดหรือประสาทหลอน แต่ลดการทำงานของระบบรางวัลที่มีบทบาทให้เกิดความคิดแบบหลงผิดซึ่งเป็นการหาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าหรือแนวความคิดต่าง ๆ ที่จริง ๆ แล้วไม่สัมพันธ์กัน[134]นักวิจัยงานนี้ยอมรับความสำคัญของการตรวจสอบที่ควรจะทำในอนาคตว่า

แบบจำลองที่แสดงในที่นี้อาศัยความรู้ที่ไม่สมบูรณ์เกี่ยวกับโดพามีน โรคจิตเภท และยารักษาโรคจิต และดังนั้น จึงต้องปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นเมื่อได้ความรู้ในเรื่องเหล่านี้มากขึ้น

– From dopamine to salience to psychosis—linking biology, pharmacology and phenomenology of psychosis[134]

อดีตนักศึกษาของซีคมุนท์ ฟร็อยท์ (Wilhelm Reich) ได้ตรวจสอบผลทางกายภาพของการเจริญเติบโตในวัยเด็กที่มากไปด้วยความวิตกกังวลและความบอบช้ำทางกายใจ แล้วได้ตีพิมพ์การรักษาด้วยการวิเคราะห์จิตใจแบบเน้นภาพรวมกับคนไข้โรคจิตเภทผู้หนึ่งเมื่อรวมหลักวิธีการหายใจและการพิจารณา คนไข้ซึ่งเป็นหญิงอายุน้อยก็ได้ทักษะบริหารตนเพียงพอเพื่อยุติการบำบัด[201]

สังคม

จิตแพทย์ชาวอังกฤษผู้หนึ่ง (David Healy) ได้วิจารณ์บริษัทผลิตยาว่า โปรโหมตทฤษฎีชีววิทยาเกี่ยวกับความเจ็บป่วยทางจิตใจที่ง่าย ๆ โดยแสดงว่าการักษาด้วยยาสำคัญเป็นอันดับหนึ่ง และละเลยปัจจัยทางสังคมและพัฒนาการที่รู้ว่า มีอิทธิพลสำคัญต่อการเกิดอาการโรคจิต[202]

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรคจิต http://www.clinicalevidence.bmj.com/x/systematic-r... http://documentarystorm.com/psychology/madness-in-... http://www.emedicine.com/med/topic3113.htm# http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=290 http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=299 http://www.medicalnewstoday.com/articles/190678.ph... http://www.mercksource.com/pp/us/cns/cns_hl_dorlan... http://www.priory.com/psych/hypg.htm http://www.psychiatrictimes.com/forensic-psychiatr... http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S...