ประวัติ ของ โรคซึมเศร้า

การวินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้ามีย้อนหลังไปจนถึงยุคฮิปพอคราทีส

แพทย์กรีกโบราณฮิปพอคราทีสกล่าวถึงอาการของโรค melancholia ว่าเป็นโรคที่มีอาการทางกายและใจโดยเฉพาะ โดยกำหนดว่า "ความหวาดกลัวและความหมดหวังเสียใจ ถ้าเป็นเวลาระยะยาว" ทั้งหมดว่าเป็นอาการของโรค[283]เป็นแนวคิดที่คล้ายกันแต่กว้างกว่าโรคซึมเศร้าในปัจจุบันความเด่นอยู่ที่การรวมกลุ่มของอาการเศร้า ความหดหู่ใจ และความท้อแท้ใจ และบ่อยครั้ง ความหวาดกลัว ความโกรธ ความหลงผิด และความหมกมุ่นก็รวมเข้าด้วย[86]

ส่วนคำภาษาอังกฤษว่า depression มาจากคำกริยาภาษาละตินว่า "deprimere" ซึ่งแปลว่า "กดลง"[284]ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 14 เป็นต้นมา คำว่า "to depress" จึงหมายถึงหักหรือลดกำลังใจนักเขียนชาวอังกฤษ (Richard Baker) ใช้คำนี้ในปี ค.ศ. 1665 เพื่อกล่าวถึงคนที่มีกำลังใจตก และนักเขียนซามูเอล จอห์นสันก็ใช้คำนี้ในแนวเดียวกันในปี 1753[285]นอกจากนี้ คำนี้ยังใช้ในการแพทย์โดยหมายถึง "แอ่ง, รอยบุ๋ม, การทำหน้าที่ลดลง"[286]และในเศรษฐศาสตร์หมายถึง "ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ"[287]จิตแพทย์ชาวฝรั่งเศส (Louis Delasiauve) ใช้คำหมายถึงอาการทางจิตเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1856 และโดยคริสต์ทศวรรษ 1860 ก็เริ่มปรากฏในพจนานุกรมแพทย์โดยหมายถึงการทำหน้าที่ที่ลดลงทางสรีรภาพ หรือการทำหน้าที่ที่ลดลงทางอารมณ์ในเชิงอุปลักษณ์[288]ตั้งแต่สมัยของอาริสโตเติล อาการ melancholia สัมพันธ์กับชายที่มีการศึกษาหรือว่าฉลาดในด้านวิชาการ ซึ่งจัดเป็นอันตรายของความช่างคิดและความคิดสร้างสรรค์ส่วนแนวคิดใหม่ในเรื่องนี้ทิ้งความสัมพันธ์เช่นนั้น และตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 19 อาการนี้สัมพันธ์กับหญิงมากกว่า[86]

ภาพล้อของชายที่ใกล้จะเกิดความซึมเศร้า

แม้ว่าคำว่า melancholia จะยังเป็นคำวินิจฉัยหลัก แต่คำว่า depression ก็เริ่มนิยมใช้ในตำราแพทย์และกลายเป็นไวพจน์โดยสิ้นคริสต์ศตวรรษที่ 19จิตแพทย์ชาวเยอรมัน (Emil Kraepelin 1856-1926) อาจเป็นบุคคลแรกที่ใช้คำนี้โดยกว้าง ๆ คือใช้คำว่า "depressive states" โดยหมายถึงรูปแบบต่าง ๆ ของ melancholia[289]

ส่วน นพ. ซิกมุนด์ ฟรอยด์เปรียบเทียบภาวะของ melancholia เหมือนกับความเศร้าโศกเกี่ยวกับคนรักที่เสียชีวิตไปในเอกสารปี 1917 Mourning and Melancholia ซึ่งเขาตั้งทฤษฎีว่า การสูญเสียที่ปรากฏเป็นปรวิสัย เช่นการเสียความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดเพราะเหตุแห่งความตายหรือเหตุแยกจากคนรัก มีผลเป็นความสูญเสียทางอัตวิสัย (คือทางใจ) ด้วยคนซึมเศร้าได้สำคัญตัวเองเป็นวัตถุที่รักผ่านกระบวนการจิตใต้สำนึกแบบหลงตัวเอง (unconscious narcissistic process) ที่เรียกว่า libidinal cathexis of the ego และการสูญเสียเช่นนั้นมีผลเป็นความซึมเศร้าอย่างรุนแรงที่ดิ่งลึกยิ่งกว่าความเศร้าโศกจากการสูญเสียคนรัก เพราะว่า ไม่เพียงแต่ดูโลกภายนอกเป็นเชิงลบเท่านั้น แม้แต่ตัวเองก็เสียหายไปด้วย[84] ความรู้สึกเกี่ยวกับตัวเองที่ลดลงปรากฏเป็นความเชื่อที่โทษตัวเอง เป็นความไม่ดี/ไม่เก่ง และเป็นคนไม่มีค่า[85] นพ.ฟรอยด์ยังเน้นประสบการณ์ต้น ๆ ชีวิตว่าเป็นปัจจัยเสี่ยง[86]

ส่วนจิตแพทย์อเมริกัน (Adolf Meyer) เป็นคนเสนอโครงสร้างที่รวมปัจจัยทางสังคมและชีวภาพที่เน้น "ปฏิกิริยา" ของบุคคลในบริบทของชีวิต และอ้างว่า ควรใช้คำว่า depression แทนคำว่า melancholia[290]หนังสือคู่มือรุ่นแรกของ DSM (DSM-I, 1952) มีคำว่า depressive reaction และ DSM-II (1968) ใช้คำว่า depressive neurosis โดยนิยามว่าเป็น ปฏิกิริยาเกินควรต่อความขัดแย้งภายในหรือเหตุการณ์ที่กำหนดได้และยังรวมชนิดความซึมเศร้า "manic-depressive psychosis" ภายใต้หัวข้อ "Major affective disorder"[291]

ในกลางคริสต์ทศวรรษที่ 20 นักวิจัยมีสมมติฐานว่า ความซึมเศร้ามีเหตุมาจากความไม่สมดุลทางเคมีเกี่ยวกับสารสื่อประสาทในสมอง ซึ่งเป็นทฤษฎีที่อาศัยสังเกตการณ์ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1950 เกี่ยวกับผลของยา reserpine และ isoniazid ในการเปลี่ยนระดับสารสื่อประสาทแบบโมโนอะมีน โดยมีผลต่ออาการซึมเศร้า[292]จิตแพทย์ชาวเยอรมัน (Karl Kleist) ได้บัญญัติคำเติมว่า "unipolar" รวมทั้งคำที่เกี่ยวข้องกันคือ "bipolar"[293]

ต่อมาในกลางคริสต์ทศวรรษ 1970 กลุ่มแพทย์ชาวอเมริกันกลุ่มหนึ่งได้เสนอใช้คำว่า Major depressive disorder โดยเป็นส่วนของเกณฑ์วินิจฉัยที่ขึ้นอยู่กับรูปแบบของอาการต่าง ๆ (โดยเรียกว่า "Research Diagnostic Criteria")[294]และรวมเข้าใน DSM-III ในปี 1980[295]เพื่อที่จะให้สอดคล้องกัน ICD-10 ได้ใช้เกณฑ์เดียวกัน โดยเปลี่ยนไปเพียงเล็กน้อย คือ กำหนดเกณฑ์วินิจฉัยของ DSM ว่าเป็น mild depressive episode (คราวแสดงออกความซึมเศร้าแบบอ่อน) แล้วเพิ่มระดับที่รุนแรงขึ้น คือ "moderate" (ปานกลาง) และ "severe" (รุนแรง)[133][295]แต่ว่า แนวคิดโบราณของคำว่า melancholia ก็ยังอยู่รอดต่อไปโดยเป็นแบบย่อย melancholic

นิยามใหม่ของ depression กลายเป็นสิ่งที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง แม้ว่าจะมีหลักฐานและมุมมองที่ต่างกันไปบ้างโดยมีหลักฐานที่ยังยืนยันว่า คำว่า melancholia อาจจะดีกว่า[296][297]มีข้อคัดค้านบ้างเกี่ยวกับการขยายขอบเขตเกณฑ์วินิจฉัย ที่สัมพันธ์กับการพัฒนากับการวางตลาดยาแก้ซึมเศร้า และกับแบบจำลองทางชีวภาพที่เสนอตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1950[298]

ใกล้เคียง

โรคซึมเศร้า โรคซึมเศร้า (การวินิจฉัยแยกโรค) โรคซึมเศร้าแบบจิตหลอน โรคซึมเศร้าตามฤดูกาล โรคซึมเศร้าหลังคลอด โรคซนสมาธิสั้น โคซูเกะ โทริอูมิ โรคซิฟิลิสแต่กำเนิด โคซูเอะ ยูกิ โรคซาร์

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรคซึมเศร้า http://www.health.nsw.gov.au/mhdao/publications/Pu... http://www.blackdoginstitute.org.au/docs/McKinlay.... http://www.scielo.br/scielo.php?script=sci_arttext... http://www.atypon-link.com/EMP/doi/abs/10.5555/hes... http://ebmh.bmj.com/cgi/content/full/11/3/76 http://jnnp.bmj.com/cgi/content/full/76/suppl_1/i4... http://www.bmj.com/cgi/content/full/317/7151/115 http://www.bmj.com/cgi/content/full/322/7284/482 http://www.bmj.com/cgi/content/full/335/7615/328 http://www.co-psychiatry.com/pt/re/copsych/abstrac...