การวินิจฉัย ของ โรควิตกกังวลไปทั่ว

เกณฑ์ของ DSM-5

เกณฑ์วินิจฉัยสำหรับ GAD ดังที่นิยามโดยคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต DSM-5 (ปี 2556)[2]พิมพ์โดยสมาคมจิตเวชอเมริกัน (APA) ก็คือ[2]

  1. ความวิตกกังวลเกินส่วน (คือ ความคาดหมายประกอบด้วยความกลัว) เกิดขึ้นมากวันกว่าอย่างน้อย 6 เดือน เกี่ยวกับเหตุการณ์หรือกิจกรรม (เช่น เรื่องการทำงานหรือการเรียน)
  2. คนไข้มีปัญหาควบคุมความกังวล
  3. ความวิตกกังวลสัมพันธ์กับอาการ 3 อย่าง (หรือมากกว่านั้น) ดังต่อไปนี้ (โดยมีอาการบางอย่างอย่างน้อยเกิดขึ้นมากวันกว่าไม่เกิดใน 6 เดือนที่ผ่านมา) โดยสำหรับเด็ก อาการเพียงแค่อย่างเดียวก็พอ
    • การอยู่ไม่สุข หรือรู้สึกเครียด หรือวิตกกังวล
    • รู้สึกล้าง่าย
    • ไม่มีสมาธิหรือคิดอะไรไม่ออก
    • หงุดหงิด
    • กล้ามเนื้อตึงเกร็ง
    • มีปัญหาการนอน เช่น มีปัญหาในการหลับหรือนอนไม่อิ่ม หรือรู้สึกไม่เป็นสุข หรือนอนแล้วไม่รู้สึกสดชื่น
  4. ความวิตกกังวล หรืออาการทางกาย เป็นเหตุให้เป็นทุกข์หรือเป็นอุปสรรคอย่างสำคัญโดยเห็นได้ในการใช้ชีวิตทางสังคม ทางอาชีพ หรือทางด้านสำคัญอื่น ๆ
  5. ปัญหาไม่ใช่เกิดจากผลทางสรีรภาพของสาร (เช่น ยาเสพติด ยา) หรือโรคอื่น ๆ (เช่น อาการไฮเปอร์ไทรอยด์)
  6. ปัญหาอธิบายไม่ได้ดีกว่าด้วยโรคจิตอย่างอื่น เช่น กลัวจะตื่นตระหนกในโรคตื่นตระหนก กลัวถูกติเตียนวิพากษวิจารณ์ในโรคกลัวสังคม (SAD) ปัญหาหรือความหมกมุ่นเนื่องจากโรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD) การต้องจากผู้ที่ผูกพันในโรควิตกกังวลเมื่อต้องแยก (SepAD) เหตุการณ์ที่กระทบจิตใจเนื่องกับเหตุการณ์สะเทือนใจในอดีต (OCD) รู้สึกน้ำหนักเพิ่มในโรคเบื่ออาหารเหตุจิตใจ (anorexia nervosa) ปัญหาทางกายจากโรคที่มีอาการทางกาย รู้สึกว่ารูปร่างผิดปกติในโรคคิดว่าตนเองมีรูปร่างหรืออวัยวะผิดปกติ (BDD) รู้สึกว่ามีโรคหนักในโรควิตกกังวลว่ามีโรค หรือเชื่อแบบหลงผิดในโรคจิตเภทหรือโรคหลงผิด (delusional disorder)

เกณฑ์วินิจฉัย GAD โดยหลักยังไม่ได้เปลี่ยนตั้งแต่ DSM-IV-TR (ปี 2547)มีแต่คำเกี่ยวกับเกณฑ์วินิจฉัยที่เปลี่ยนไปเล็กน้อย[23]

เกณฑ์ของ ICD-10

ต่อไปเป็นเกณฑ์วินิจฉัยโรควิตกกังวลไปทั่วของ ICD-10 (ICD-10 Chapter V: Mental and behavioural disorders) "F41.1"ให้สังเกตว่าเด็กอาจต้องมีเกณฑ์ต่างกัน (ดู F93.80 คือ ความผิดปกทางอารมณ์แบบอื่นในวัยเด็ก)

  • มีความเครียด ความกังวล หรือความหวาดกลัวที่เด่นชัดอย่างน้อย 6 เดือน เกี่ยวกับเหตุการณ์และปัญหาชีวิตประจำวัน
  • ต้องมีอาการอย่างน้อย 4 อย่างดังต่อไปนี้ และอย่างน้อยหนึ่งอย่างต้องมาจากรายการ 1-4
การเร้าของระบบประสาทอิสระ(1) ใจสั่น หัวใจเต้นแรง หรือหัวใจเต้นเร็ว(2) เหงื่อออก(3) สั่น(4) คอแห้ง (ไม่ใช่เหตุจากยาหรือขาดน้ำ)อาการที่หน้าอกหรือท้อง(5) หายใจลำบาก(6) รู้สึกหายใจไม่ออก(7) เจ็บหน้าอกหรืออึดอัด(8) คลื่นไส้หรือปัญหาที่ท้อง (เช่นท้องป่วน)อาการทางสมองหรือทางจิต(9) คลื่นไส้ ทรงตัวไม่ดี หัวเบา หรือเวียนหัว(10) รู้สึกว่าวัตถุรอบ ๆ ไม่ใช่ของจริง (derealization) หรือว่าตัวไม่ได้อยู่ที่นี่ เหมือนอยู่ที่อื่น (depersonalization)(11) กลัวควบคุมตนเองไม่ได้ จะเป็นบ้า หรือเป็นลม(12) กลัวตายอาการทั่วไป(13) ครั่นเนื้อครั่นตัว(14) รู้สึกเหน็บชาอาการตึงเครียด(15) ตึงกล้ามเนื้อ หรือเจ็บปวด(16) อยู่ไม่สุข ทำตัวสบาย ๆ ไม่ได้(17) รู้สึกเครียด หรือวิตกกังวล(18) จุกคอ หรือกลืนไม่ลงอาการไม่เฉพาะอื่น ๆ(19) ตกใจมากในเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ(20) ไม่มีสมาธิ คิดไม่ออก เพราะวิตกกังวล(21) หงุดหงิดเรื่อย ๆ(22) นอนไม่หลับเพราะกังวล
  • อาการไม่ผ่านเกณฑ์โรคตื่นตระหนก (panic disorder, F41.0) โรควิตกกังวลเพราะกลัว (phobic anxiety disorders, F40.-) โรคย้ำคิดย้ำทำ (obsessive-compulsive disorder, F42.-) หรือโรคคิดว่าตนป่วย (hypochondriacal disorder, F45.2)
  • ไม่ผ่านเกณฑ์ที่ใช้กันโรคออกมากที่สุด คือ ไม่เป็นโรคทางกายอย่างอื่น เช่นอาการไฮเปอร์ไทรอยด์ โรคจิตเหตุร่างกาย (organic mental disorder, F0) หรือโรคเกี่ยวกับสารที่ออกฤทธิ์ทางจิตต่าง ๆ (psychoactive substance-related disorder, F1) เช่น การบริโภคสารคล้ายกับแอมเฟตามีนมากเกินไป หรือว่าอาการขาดยากลุ่ม benzodiazepine[5]

ประวัติเกณฑ์วินิจฉัย

สมาคมจิตเวชอเมริกัน (APA) เริ่มเกณฑ์วินิจฉัยของ GAD ใน DSM-III ในปี 2523ก่อนหน้านั้น GAD เป็นกลุ่มอาการหนึ่งในสองอย่างของ anxiety neurosis โดยอีกอย่างคือความตื่นตระหนกนิยามใน DSM-III เจาะจงว่าต้องมีความวิตกกังวลที่ควบคุมไม่ได้ มีไปทั่ว เกินควร ไม่สมจริง และคงยืนอย่างน้อย 1 เดือนแต่อัตราการเกิดโรคร่วมกับโรคซึมเศร้า (MDD) ในระดับสูงทำให้มีการวิจารณ์ว่า GAD น่าจะรวมเป็นส่วนของโรคซึมเศร้าแทนที่จะเป็นโรคต่างหาก[24]และมีนักวิจารณ์อื่นอีกที่อ้างว่า เกณฑ์วินิจฉัยของโรคนี้ไม่ชัดเจนจนกระทั่งออก DSM-III-R[25]และเพราะการเกิดร่วมกับโรคอื่นจะลดลงถ้ากำหนดเวลายาวนานขึ้น DSM-III-R จึงเปลี่ยนระยะที่จะวินิจฉัยว่าเป็น GAD ไปเป็น 6 เดือนหรือมากกว่านั้น[26]

ส่วน DSM-IV เปลี่ยนนิยามของคำว่า ความกังวลเกินควร (excessive worry) และกำหนดอาการทางกายจิตอื่น ๆ ที่สัมพันธ์กับโรคเพื่อเป็นเกณฑ์วินิจฉัย[24]นอกจากนั้นแล้ว DSM-IV ยังกำหนดให้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่าอาการเช่นไรเรียกว่าเกิดขึ้น "บ่อย" (often)[27]DSM-IV บังคับว่า การมีปัญหาควบคุมความกังวลควรวินิจฉัยว่าเป็น GAD แต่ DSM-5 เน้นว่า ความกังวลเกินต้องเกิดขึ้นมากวันกว่าไม่เกิด และเน้นเรื่องอื่น ๆ อีก[25]

มีการอ้างว่า การเปลี่ยนแปลงเกณฑ์วินิจฉัยเรื่อย ๆ ทำให้ระบุเหตุทางชีวภาพและทางจิตของโรคได้ยาก ทำให้หายาโดยเฉพาะสำหรับโรคได้ยากและทำให้ GAD ก็ยังคงเป็นโรคที่มักจะรักษาด้วยยากลุ่ม SSRI ซึ่งใช้รักษาโรคซึมเศร้าด้วย[25]

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรควิตกกังวลไปทั่ว http://www.babcp.com/babcp/what_is_CBT.htm http://www.emedicine.com/med/byname/anxiety-disord... http://www.healio.com/psychiatry/journals/psycann/... http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=300.... http://www.ijpsy.com/volumen10/num1/256.html http://jama.jamanetwork.com/article.aspx?articleid... http://www.mayoclinic.com/health/generalized-anxie... http://www.mayoclinic.com/health/generalized-anxie... http://emedicine.medscape.com/article/916933-overv... http://www.moffittcaspi.com/sites/moffittcaspi.com...