การรักษา ของ โรควิตกกังวลไปทั่ว

งานวิเคราะห์อภิมานแสดงว่า ทั้งการบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (CBT) และยา (เช่น SSRI) มีประสิทธิผลในการลดความวิตกกังวลการเปรียบเทียบผลทั่วไปของ CBT กับยาในโรคนี้ไม่แสดงความแตกต่างที่มีนัยสำคัญทางสถิติ(คือ มีประสิทธิผลพอ ๆ กันในการรักษาความกังวล)แต่ว่า CBT มีประสิทธิผลกว่าอย่างสำคัญในการลดระดับความซึมเศร้า และผลมีโอกาสที่จะคงยืน เทียบกับประสิทธิผลของยาที่มักจะลดลงเมื่อหยุดยา[31]

การรักษาด้วย CBT ร่วมกับยามองโดยทั่วไปว่า เป็นวิธีที่ดีที่สุด[32]เพราะว่า ยาช่วยลดความวิตกกังวลที่รุนแรง ซึ่งอาจสำคัญในการช่วยให้คนไข้ปฏิบัติตามหลัก CBT ได้ดีกว่า

จิตบำบัด

GAD มีมูลฐานจากองค์ประกอบทางจิตต่าง ๆ รวมทั้งการหลีกเลี่ยงทางการรู้คิด (cognitive avoidance), ความเชื่อว่าความกังวลมีประโยชน์,การแก้ปัญหาและการรับมือกับอารมณ์ที่ไม่มีประสิทธิผล, ปัญหากับบุคคลอื่น, ความบาดเจ็บทางกายใจที่มีมาก่อน, ความอดทนต่อความไม่แน่นอนไม่ได้, การมองปัญหาในแง่ลบ,การรับมือที่ไม่มีประสิทธิผล, การมีอารมณ์รุนแรง, การไม่เข้าใจอารมณ์ความรู้สึก, การมีปฏิกิริยาทางการรู้คิดในเชิงลบต่ออารมณ์,การบริหารและจัดการอารมณ์ที่เป็นการปรับตัวไม่ดี (maladaptive), การหลีกเลี่ยงเหตุการณ์, หรือการจำกัดพฤติกรรม[33]

เพื่อรับมือกับปัญหาทาการรู้คิดและอารมณ์ที่สัมพันธ์กับ GAD นักจิตวิทยามักจะรวมองค์ประกอบการรักษาดังต่อไปนี้ในแผนการรักษาการตรวจดูตัวเอง, เทคนิคการผ่อนคลาย, การลดความไวอารมณ์เอง, การค่อย ๆ เพิ่มระดับสิ่งเร้า, การเปลี่ยนการรู้คิด, การตรวจดูผลของความวิตกกังวล,การเน้นปัจจุบัน, การใช้ชีวิตอย่างไม่คาดหวัง, เทคนิคการแก้ปัญหา, การรับมือกับความกลัวหลัก, ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม,การปรึกษาและเปลี่ยนกรอบของความเชื่อที่ทำให้เกิดความกังวล, การฝึกควบคุมอารมณ์,การเปิดรับสถานการณ์ที่กลัว (experiential exposure), การศึกษาด้านจิตใจ, การฝึกสติและการยอมรับ[33]

มีวิธีการบำบัดไม่ว่าจะทางพฤติกรรมหรือการรู้คิดหรือแบบผสมเพื่อบำบัด GAD ที่เน้นองค์ประกอบการรักษาเหล่านั้นจิตบำบัดที่เน้นการเปลี่ยนพฤติกรรมและการรู้คิด 2 อย่างหลักก็คือ CBT และการรักษาด้วยการยอมรับและการให้สัญญา (ACT)[34]แต่การบำบัดการไม่อดทนต่อความไม่แน่นอน (Intolerance of uncertainty therapy) และการสัมภาษณ์ให้กำลังใจ (motivational interviewing) ก็เป็นวิธีการรักษาใหม่สองอย่างสำหรับ GAD โดยใช้รักษาโดด ๆ หรือเพิ่มที่อาจช่วย CBT[35]

การบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (CBT)

การบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (CBT) เป็นวิธีรักษาทางจิตวิทยาสำหรับ GAD ที่ผู้บำบัดทำการร่วมกับคนไข้เพื่อให้เข้าใจว่า ความคิดและความรู้สึก/อารมณ์สามารถมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมได้อย่างไร[36]องค์ประกอบการรักษาใน CBT รวมทั้งการให้คนไข้ประสบกับเหตุการณ์ที่ตนวิตกกังวลอย่างค่อย ๆ เพิ่มระดับ เพื่อให้รู้สึกโอเคกับเหตุการณ์ และเพื่อเป็นโอกาสฝึกทักษะการรับมือที่ได้เรียนรู้CBT สามารถใช้ได้ทั้งเดี่ยว ๆ หรือบวกเสริมยา[37]

องค์ประกอบสำหรับ GAD ของ CBT รวมทั้งการให้ศึกษาเรื่องจิต การตรวจตราตัวเอง เทคนิคการควบคุมสิ่งเร้า การผ่อนคลาย การลดความไวอารมณ์เอง การเปลี่ยนการรู้คิด การฝึกรับความกังวล การป้องกันพฤติกรรมที่ทำให้กังวล และการแก้ปัญหา

  • ขั้นแรกในการรักษา GAD ก็คือบอกคนไข้ให้ทราบถึงปัญหาและแผนการแก้
  • เป้าหมายของการให้ศึกษาเรื่องจิตก็เพื่อสร้างความบรรเทา ลดความเป็นมลทินของโรค ให้กำลังใจ และให้คนไข้ร่วมมือโดยเข้าใจวิธีการรักษา
  • เป้าหมายของการตรวจตราตัวเองก็เพื่อระบุสิ่งที่ทำให้กังวล
  • ส่วนการควบคุมสิ่งเร้าหมายถึงการลดสถานการณ์ที่มีสิ่งเร้าที่สร้างความกังวลให้น้อยที่สุด
  • เทคนิคการผ่อนคลายจะช่วยลดระดับความเครียด และเพิ่มความใส่ใจในวิธีการตอบสนองอื่น ๆ ต่อสถานการณ์ที่กลัว (ที่ไม่ใช่เป็นความกังวล) เทคนิครวมทั้งการหายใจลึก ๆ การผ่อนคลายกล้ามเนื้อไปตามลำดับ[35]
  • การลดความไวอารมณ์เอง (Self-control desensitization) ให้คนไข้ผ่อนคลายอย่างเต็มที่ก่อนจะจินตนาการว่าตนอยู่ในสถานการณ์ที่ทำให้วิตกกังวลจนกระทั่งเริ่มกังวล แล้วให้จินตนาการรับมือกับสถานการณ์และลดระดับความกังวล ถ้ากังวลน้อยลง ก็ให้ผ่อนคลายเพิ่มขึ้นอีกแล้วหยุดจินตนาการ
  • เป้าหมายของการเปลี่ยนการรู้คิด (cognitive restructuring) ก็เพื่อเปลี่ยนมุมมองจากที่ทำให้กังวล ไปเป็นแบบที่มีประสิทธิผลและเป็นการปรับตัวที่ดีเกี่ยวกับโลก อนาคต และตนเอง ซึ่งรวมเทคนิคการถามคำถามตามแนวของโสกราตีส (socratic questioning) ที่ช่วยให้คนไข้พิจารณาความวิตกกังวลของตนเพื่อให้เข้าใจว่ามุมมองอื่นและความรู้สึกอื่นอาจจะถูกต้องกว่า เป็นเทคนิคที่รวมการทดลองทางพฤติกรรมเพื่อตรวจสอบความสมเหตุผลของทั้งความคิดเชิงลบและความคิดแบบอื่น ๆ ในสถานการณ์ชีวิตจริง ๆ
  • ใน CBT สำหรับ GAD คนไข้ฝึกรับความกังวล (worry exposure) โดยให้จินตนาการถึงภาพที่ตนกลัวที่สุด แล้วทำตามวิธีการป้องกันความกังวลที่ไม่ให้หลีกเลี่ยงภาพที่กลัว และให้นึกถึงผลอย่างอื่นที่เป็นไปได้เนื่องจากเหตุการณ์ เป้าหมายของการฝึกรับความกังวลก็คือเพื่อทำให้ชินและเพื่อตีความหมายสิ่งเร้าที่ทำให้กลัวใหม่
  • ส่วนการป้องกันพฤติกรรมที่ทำให้กังวลให้คนไข้ตรวจดูพฤติกรรมที่ทำให้กังวล แล้วหลีกเลี่ยงการทำพฤติกรรมเยี่ยงนั้น แล้วให้ใช้วิธีการรับมืออื่นที่เรียนรู้มาแล้วใน CBT
  • การแก้ปัญหาฝึกการรับมือปัญหาเป็นกระบวนการ (1) กำหนดปัญหา (2) ตั้งเป้าหมาย (3) หาวิธีแก้ต่าง ๆ เป็นทางเลือก (4) ตัดสินใจ (5) ทำตามแผนและตรวจดูว่าแก้ปัญหาได้หรือไม่[35]

ไม่ค่อยมีข้อโต้แย้งว่า CBT มีประสิทธิผลต่อ GAD หรือไม่แต่ว่า ชัดเจนว่าสามารถปรับปรุงได้ เพราะว่า คนไข้เพียงครึ่งเดียวที่จบการรักษามีชีวิตที่ดีขึ้นหรือฟื้นสภาพหลังจากการรักษาดังนั้น จึงจำเป็นต้องปรับปรุงองค์ประกอบบางอย่างของ CBT[35]CBT มักจะช่วยคนไข้ประมาณ 1/3 อย่างสำคัญ แต่คนไข้ 1/3 จะไม่ตอบสนองเลย[38]

การรักษาด้วยการยอมรับและการให้สัญญา (ACT)

การรักษาด้วยการยอมรับและการให้สัญญา (ACT) เป็นการบำบัดพฤติกรรมโดยฝึกการยอมรับได้ACT ออกแบบมีเป้าหมายการรักษา 3 อย่างคือ

  1. ลดการรับมือด้วยการหลีกเลี่ยง เช่นหลีกเลี่ยงอารมณ์ความรู้สึก ความคิด ความจำ และความรู้สึกทางประสาทสัมผัส
  2. ลดการตอบสนองตามความคิดของตน (เช่น เข้าใจความคิดว่า "ฉันหมดหนทางแก้ไข" ไม่ได้หมายความว่า ชีวิตของตนหมดทางแก้ไขจริง ๆ)
  3. เพิ่มสมรรถภาพในการรักษาสัญญาเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมของตน

เป้าหมายเหล่านี้สามารถถึงได้โดยเปลี่ยนความพยายามควบคุมเหตุการณ์ของคนไข้ ให้เป็นพฤติกรรมตามค่านิยมและเป้าหมายชีวิตของตน และพยายามประพฤติตัวเพื่อให้ถึงเป้าหมายชีวิตเหล่านั้น[39]การรักษานี้สอนการใช้สติ (การให้ความสนใจอย่างตั้งใจในปัจจุบันโดยไม่ตัดสินดีชั่ว) และความยอมรับ (ความเปิดใจและความสมัครใจต่อการมีประสบการณ์) เพื่อใช้ตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่ควบคุมไม่ได้ แล้วให้มีพฤติกรรมแสดงออกที่สมกับค่านิยมของตน[40]เหมือนกับจิตบำบัดอื่น ๆ ACT จะมีผลดีที่สุดถ้าใช้พร้อมกับยา[ต้องการอ้างอิง]

การบำบัดการอดทนต่อความไม่แน่นอนไม่ได้

การบำบัดการอดทนต่อความไม่แน่นอนไม่ได้ (Intolerance of uncertainty therapy, IUT) พุ่งความสนใจไปที่ปฏิกิริยาเชิงลบที่สม่ำเสมอต่อเหตุการณ์ที่ไม่แน่นอนหรือไม่ชัดเจน ไม่ว่าจะมีโอกาสเกิดขึ้นมากน้อยแค่ใไหนIUT สามารถใช้เป็นการรักษาเดี่ยว ๆ สำหรับคนไข้โรคนี้IUT ช่วยคนไข้ให้พัฒนาสมรรถภาพในการอดทน รับมือ และยอมรับความไม่แน่นอนในชีวิตเพื่อลดความกังวลโดยใช้หลักจิตวิทยาต่าง ๆ รวมทั้ง การให้ความรู้เกี่ยวกับจิต ความสำนึกรู้ถึงความกังวล การฝึกแก้ปัญหา การประเมินประโยชน์ของความกังวล การจินตนาการถึงสถานการณ์ที่ทำให้กังวล ความรู้จักความไม่แน่นอน และการเปิดรับสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนงานศึกษาหลายงานแสดงประสิทธิผลของการรักษานี้สำหรับคนไข้ GAD โดยความดีขึ้นจะคงยืนแม้ในช่วงติดตามหลังการรักษา[35]

การสัมภาษณ์แบบให้กำลังใจ

ฺวิธีการที่นำสมัยดูจะมีอนาคตอย่างหนึ่งในการเพิ่มอัตราฟื้นสภาพของคนไข้ GAD ก็คือการรักษาด้วย CBT บวกกับการสัมภาษณ์แบบให้กำลังใจ (Motivational Interviewing, MI)ซึ่งเป็นกลยุทธ์มีศูนย์ที่คนไข้โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มกำลังใจที่มีอยู่แล้ว และลดความรู้สึกคละ/ไม่แน่ใจเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงที่มาจากการรักษาMI มีหลักสำคัญ 4 อย่าง คือ

  1. แสดงความเห็นอกเห็นใจ
  2. แสดงความขัดแย้งกันระหว่างพฤติกรรมที่ไม่ต้องการกับค่านิยมของคนไข้
  3. ดำเนินการแบบฝืน ไม่ใช่แบบเผชิญหน้าตรง ๆ
  4. ให้กำลังใจว่าคนไข้สามารถประสบผลสำเร็จได้

เป็นวิธีการที่อาศัยการถามคำถามแบบมีปลายเปิด แล้วฟังอย่างดี โดยพูดสะท้อนสิ่งที่เข้าใจให้คนไข้ฟัง (reflective listening), ชักชวนให้คุยเรื่องการเปลี่ยนแปลง, และคุยกับคนไข้ถึงข้อดีข้อเสียของการเปลี่ยนแปลงมีงานศึกษาบางงานที่แสดงว่าการรักษา CBT ร่วมด้วยกับ MI มีประสิทธิภาพดีกว่ารักษาด้วย CBT เพียงอย่างเดียว[35]

ยา

งานปฏิทรรน์สากลที่ทบทวนการบริหารโรค GAD ของจิตแพทย์แสดงว่า ยาอันดับแรกที่เลือกใช้ในการรักษาคือ SSRI ที่ 80% ตามด้วย serotonin-norepinephrine reuptake inhibitors (SNRIs) ที่ 43% และ pregabalin ที่ 35%ยาอันดับสองคือ SNRIs ที่ 41% และ pregabalin ที่ 36%[41]

Selective serotonin reuptake inhibitors

ยาที่ใช้รักษา GAD รวมยากลุ่ม selective serotonin reuptake inhibitors (SSRIs)[37]ซึ่งเป็นยาที่แพทย์เลือกเป็นอันดับแรก (first line)[41]ยากลุ่ม SSRI ที่ใช้เพื่อการนี้รวมทั้ง escitalopram[42]และ paroxetine[43]

อาการข้างเคียงที่สามัญรวมทั้งคลื่นไส้ อวัยวะเพศไม่ทำงาน (sexual dysfunction) ปวดหัว ท้องเสีย ท้องผูก อยู่ไม่สุข (Psychomotor agitation) โอกาสเสี่ยงฆ่าตัวตายสูงขึ้นในวัยรุ่นและผู้ใหญ่วัยต้น[44]อาการเซโรโทนินเป็นพิษ (serotonin syndrome) เมื่อใช้ยาเกิน และผลข้างเคียงอื่น ๆ

Benzodiazepines

ยากลุ่ม Benzodiazepines ก็มักให้แก่คนไข้ GAD ด้วยงานศึกษาแสดงว่า ยาช่วยบรรเทาอาการในระยะสั้นแต่เสี่ยง เพราะทำให้การรู้คิดและการเคลื่อนไหวบกพร่อง และเนื่องจากทำให้ติดทั้งทางกายใจ คนไข้จึงอาจมีปัญหาหยุดใช้ยามีข้อสังเกตว่า คนไข้ที่ใช้ยา benzodiazepines ไม่ค่อยตื่นตัวทั้งในที่ทำงานหรือในสถาบันการศึกษานอกจากนั้นแล้ว ยาอาจสร้างปัญหาในการขับรถ และบ่อยครั้งสัมพันธ์กับการล้มในผู้สูงอายุ ซึ่งมีผลเป็นกระดูกตะโพกแตกผลเสียเหล่านี้ทำให้ benzodiazepines เหมาะใช้บรรเทาความกังวลในระยะสั้นเท่านั้น[45]CBT และยามีประสิทธิผลใกล้เคียงกันในระยะสั้น แต่ว่า CBT จะได้เปรียบในระยะยาว[46]

Benzodiazepines เป็นยาระงับประสาทที่ช่วยให้นอนหลับ ที่ใช้ในการรักษา GAD และโรควิตกกังวลอื่น ๆ ด้วย[37]โดยแพทย์จะให้ Benzodiazepine สำหรับ GAD เพราะแสดงผลดีในระยะสั้นยาจากกลุ่มนี้ที่นิยมก็คือ alprazolam, lorazepam, และคโลนะเซแพมแต่ว่า คณะกรรมการโรควิตกกังวลโลก (World Council of Anxiety) ไม่แนะนำให้ใช้ยาในระยะยาวเพราะว่าสัมพันธ์กับการดื้อยา ความพิการทางการเคลื่อนไหว ปัญหาทางการรู้คิดและความจำ การติดยาทางกายภาพ และอาการขาดยาเมื่อหยุดยา (benzodiazepine withdrawal syndrome)[47][48]ผลข้างเคียงรวมทั้งง่วงนอน ร่างกายทำงานไม่ประสาน และปัญหาการทรงตัว (equilibrioception)

Pregabalin และ gabapentin

Pregabalin (Lyrica) มีฤทธิ์ต่อช่องไอออนแคลเซียมที่ขึ้นกับศักย์ไฟฟ้า (voltage-dependent calcium channel) และลดการปล่อยสารสื่อประสาทเช่น กลูตาเมต, norepinephrine และ substance Pฤทธิ์ของยาจะปรากฏหลังจากเริ่มยา 1 สัปดาห์ และมีประสิทธิผลใกล้เคียงกับ lorazepam, alprazolam, และ venlafaxineแต่ได้เปรียบตรงที่ให้ผลการรักษาที่สม่ำเสมอเสมอกว่าต่ออาการวิตกกังวลทั้งทางกายใจการทดลองระยะยาวแสดงประสิทธิผลที่คงยืนโดยไม่เกิดการดื้อยา นอกจากนั้นแล้ว โดยไม่เหมือน benzodiazepine มันไม่เปลี่ยนลำดับของการนอนหลับ (sleep architecture) และมีผลเสียน้อยกว่าต่อการรู้คิดและทางการเคลื่อนไหวยายังมีโอกาสน้อยที่จะติดหรือใช้เป็นสิ่งเสพติด ดังนั้น จึงอาจดีกว่า benzodiazepines เพราะเหตุเหล่านี้[49][50]ผลคลายความกังวลของ pregabalin ปรากฏอย่างรวดเร็วหลังเริ่มรับประทานโดยคล้ายกับ benzodiazepines ซึ่งทำให้ได้เปรียบยาคลายกังวลหลายอย่างรวมทั้งยาแก้ซึมเศร้า[51]

ส่วนยา Gabapentin (Neurontin) เป็นยาที่ใกล้เคียงกับ pregabalin และมีฤทธิ์อย่างเดียวกัน และก็แสดงประสิทธิผลในการรักษา GAD ด้วย[52]แต่ไม่เหมือนกับ pregabalin มันยังไม่ได้อนุมัติเพื่อรักษาโรคนี้โดยเฉพาะอย่างไรก็ดี มันน่าจะมีประโยชน์เช่นเดียวกันในการบริหารโรคนี้ และเพราะว่าหมดอายุสิทธิบัตรแล้ว ก็จะได้เปรียบในเรื่องราคาย่อมเยาด้วย[53]ดังนั้น แพทย์จึงสั่งยานี้บ่อยครั้งเพื่อรักษา GAD[54]

ยาทางจิตเวชที่สามารถใช้รักษาอื่น ๆ

  • 5-HT1A receptor partial agonist เช่น buspirone (BuSpar) และ tandospirone (Sediel)
  • Serotonin-norepinephrine reuptake inhibitors (SNRIs) เช่น venlafaxine (Effexor) และ duloxetine (Cymbalta)
  • ยาแก้ซึมเศร้าที่มีผลต่อระบบเซโรโทนิน (serotonergic) นอกแบบ เช่น vilazodone (Viibryd), vortioxetine (Brintellix), และ agomelatine (Valdoxan)
  • Tricyclic antidepressants (TCAs) เช่น imipramine (Tofranil) และ clomipramine (Anafranil) .
  • monoamine oxidase inhibitors (MAOIs) บางอย่าง เช่น moclobemide (Aurorix) และที่ใช้น้อย คือ phenelzine (Nardil).

ยาอื่น ๆ

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรควิตกกังวลไปทั่ว http://www.babcp.com/babcp/what_is_CBT.htm http://www.emedicine.com/med/byname/anxiety-disord... http://www.healio.com/psychiatry/journals/psycann/... http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=300.... http://www.ijpsy.com/volumen10/num1/256.html http://jama.jamanetwork.com/article.aspx?articleid... http://www.mayoclinic.com/health/generalized-anxie... http://www.mayoclinic.com/health/generalized-anxie... http://emedicine.medscape.com/article/916933-overv... http://www.moffittcaspi.com/sites/moffittcaspi.com...