การอำพราง ของ การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม

ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่: การทดลองแบบอำพราง

RCT อาจจะเป็นการทดลองแบบอำพราง (blind experiment) คือมี "วิธีการที่ป้องกันผู้ร่วมการทดลอง ผู้ให้ความดูแล หรือผู้ประเมินผล ไม่ให้รู้ว่าผู้ป่วยได้รับการรักษาพยาบาลแบบไหน"[43] โดยที่ไม่เหมือนกับการปิดบังการจัดสรร การอำพรางบางครั้งอาจไม่สมควรหรือว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะทำใน RCTยกตัวอย่างเช่น RCT เกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่ต้องอาศัยความร่วมมือเป็นการร่วมกระทำของคนไข้ (เช่น กายภาพบำบัด) ก็จะไม่สามารถอำพรางการรักษาพยาบาลจากคนไข้ได้

ที่สืบ ๆ กันมา RCT แบบอำพรางมักจะจัดประเภทเป็น "อำพรางฝ่ายเดียว" (single-blind) "อำพรางสองฝ่าย" (double-blind) หรือ "อำพรางสามฝ่าย" (triple-blind) แต่ว่า งานศึกษาในปี ค.ศ. 2001 และ 2006 พบว่า ชื่อเหล่านี้มีความหมายต่างกันสำหรับบุคคลต่าง ๆ[45][46] ดังนั้น คำแถลงความ Consolidated Standards of Reporting Trials (CONSORT) ออกเมื่อปี ค.ศ. 2010 จึงกำหนดว่า นักวิจัยและบรรณาธิการไม่ควรใช้คำว่า อำพรางฝ่ายเดียว อำพรางสองฝ่าย หรืออำพรางสามฝ่าย แต่ให้อธิบาย "ถ้ามีการทำ (การอำพราง) ได้ทำต่อใครหลังจากการจัดให้ได้รับการรักษาพยาบาล (เช่น อำพรางผู้ร่วมการทดลอง อำพรางผู้ที่ดูแลรักษา และ/หรืออำพรางผู้ที่ประเมินผล) และทำอย่างไร"[4]

RCT ที่ไม่มีการอำพรางควรเรียกว่า "ไม่อำพราง" (unblinded)[47] หรือว่า "เปิด" (open)[48] หรือถ้าเป็นการให้ยา "open-label"[49] ในปี ค.ศ. 2008 งานวิจัยหนึ่งสรุปว่า ผลการทดลอง RCT ที่ไม่มีการอำพรางมักจะมีความเอนเอียงไปทางผลบวกถ้าผลนั้นวัดโดยวิธีที่เป็นอัตวิสัย (subjective) ไม่ใช่เป็นการวัดที่เป็นปรวิสัย (objective)[43] ยกตัวอย่างเช่น ใน RCT ที่ตรวจสอบการรักษาโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (multiple sclerosis) ประสาทแพทย์ที่ไม่ได้รับการอำพรางมีความรู้สึกว่า การรักษาได้ผล แต่ว่า แพทย์ที่มีการอำพรางไม่คิดว่าได้ผล[50] ใน RCT สำหรับปฏิบัติ (pragmatic) แม้ว่าบ่อยครั้งจะไม่ได้อำพรางผู้ร่วมการทดลองและผู้ให้การดูแลรักษา แต่ว่า "ทั้งน่าปรารถนาด้วยและบ่อยครั้งเป็นไปได้ด้วยที่จะอำพรางผู้ประเมิน (ผล) หรือเก็บหาข้อมูลที่เป็นปรวิสัยเพื่อการประเมินผล"[31]

ใกล้เคียง

การทด การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม การทดลองแบบอำพราง การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ การทดลองทางความคิด การทดแทนคุณลักษณะ (จิตวิทยา) การทดลองของมิลแกรม การทดสอบซอฟต์แวร์ การทดลองรีคัฟเวอรี การทดลองโรเซนแฮน

แหล่งที่มา

WikiPedia: การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม http://www.mja.com.au/public/issues/182_02_170105/... http://www.nhmrc.gov.au/_files_nhmrc/file/publicat... http://psychclassics.yorku.ca/Peirce/small-diffs.h... http://jme.bmj.com/content/24/6/401 http://www.bmj.com/cgi/content/full/310/6991/1360 http://www.bmj.com/cgi/content/full/316/7131/606 http://www.bmj.com/cgi/content/full/317/7167/1209 http://www.bmj.com/cgi/content/full/319/7211/670 http://www.bmj.com/cgi/content/full/330/7499/1049 http://www.bmj.com/cgi/content/full/336/7644/601