ประวัติ ของ การให้เหตุผลแบบอุปนัย

ปรัชญาโบราณ

สำหรับการเคลื่อนจากเฉพาะสู่ทั่วไป แอริสตอเติลในปี 300 ก่อนคริสต์ศักราช ใช้คำภาษากรีกว่า epagogé (อ่านว่า เอะปะกอแก) ซึ่งกิแกโรแปลเป็นภาษาละตินคำว่า inductio (อ่านว่า อินดุกติโอ) [17] แต่พวกลัทธิปิร์โรได้ชี้ให้เห็นว่าการอุปนัยไม่สามารถให้เหตุผลที่จะยอมรับว่าข้อความสากลนั้นเป็นจริง[17]

ปรัชญาสมัยใหม่ตอนต้น

ในปี พ.ศ. 2163 นักปรัชญาสมัยใหม่ตอนต้น (early modern philosophy) ฟรานซิส เบคอนปฏิเสธค่าของประสบการณ์และการอุปนัยแบบแจงนับด้วยตัวมันเองตัวใดตัวหนึ่ง วิธีการอุปนัยนิยม (inductivism) ของเขานั้นบอกว่าการสังเกตการณ์ทุกอันที่จะเปิดเผยโครงสร้างของธรรมชาติและความสัมพันธ์เชิงเหตุผลต้องคู่กับการอุปนัยแบบแจงนับเพื่อที่จะได้ความรู้เหนือขอบเขตของประสบการณ์ปัจจุบัน อุปนัยนิยมนั้นจึงต้องใช้การอุปนัยแบบแจงนับควบคู่ไปเป็นส่วนประกอบ

จุดยืนของเดวิด ฮูมนักประจักษนิยมในปี พ.ศ. 2283 คิดว่าการอุปนัยแบบแจงนับไม่มีรากฐานที่มีเหตุผล หรือแม้แต่มีตรรกะ แต่การอุปนัยเป็นสิ่งที่ต้องใช้ประจำวัน ในขณะที่การสังเกตการณ์เช่นการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ สามารถจับคู่กับหลักการเป็นเอกรูปของธรรมชาติ (uniformitarianism) และผลิตข้อสรุปที่ดูแน่นอน ปัญหาของการอุปนัย (problem of induction) มีขึ้นมาจากข้อเท็จจริงที่ภาวะเอกรูปของธรรมชาตินั้นไม่ใช่หลักที่ถูกต้องเชิงตรรกะ ฮูมมีข้อกังขาต่อการนำการอุปนัยแบบแจงนับมาใช้ และการที่สามารถไปสู่ความแน่นอนเกี่ยวกับสิ่งที่สังเกตไม่ได้ และโดยเฉพาะการอนุมานเหตุภาพจากข้อเท็จจริงที่การปรับเปลี่ยนแง่มุมของความสัมพันธ์หนึ่งจะขัดขวางหรือผลิตผลลัพธ์หนึ่งออกมา

อิมมานูเอล คานต์ได้ตื่นจาก "การหลับไหลของสิทธันต์ (dogma)" ด้วยงานของฮูมที่แปลเป็นภาษาเยอรมัน เขาแสวงหาที่จะอธิบายความเป็นไปได้ของอภิปรัชญา ในปี พ.ศ. 2324 หนังสือคำวิจารณ์ของเหตุผลบริสุทธิ์ (Critique of Pure Reason) ได้นำเสนอเหตุผลนิยม (rationalism) เป็นเส้นทางสู่ความรู้แตกต่างจากประจักษนิยม (empiricism) คานต์แบ่งข้อความเป็นสองประเภท ข้อความเชิงวิเคราะห์ (analytic-synthetic distinction) เป็นจริงด้วยอานิสงค์ของการจัดเรียงคำและความหมาย ดังนั้นข้อความเชิงวิเคราห์เป็นสัจนิรันดร์ (tautology) เป็นสัจธรรมเชิงตรรกะ เป็นจริงโดยจำเป็น (logical truth) ในขณะที่ข้อความเชิงสังเคราะห์มีความหมายที่อ้างอิงสถานะของความเท็จจริง เป็นอุบัติการณ์ แต่เนื่องจากเป็นไปไม่ได้ที่จะเข้าใจวัตถุในตัวมันเองแท้จริง คานต์สรุปว่าภารกิจของนักปรัชญาไม่ควรเป็นการพยายามมองหลังม่านของสภาพปรากฏเพื่อเห็นชานการณ์ (noumena) แต่ดูแค่เรื่องปรากฏการณ์ (phenomenon)ก็พอ

คานต์ได้ให้เหตุผลว่าจิตนั้นต้องมีการแบ่งประเภทจัดระเบียบข้อมูลประสาทสัมผัส (sense data) ของมันเอง ทำให้ประสบการณ์ของ ปริภูมิ และ เวลา เป็นไปได้ คานต์สรุปว่าเอกรูปของธรรมชาติเป็นความจริงที่มีอยู่ก่อนการมีประสบการณ์[18] หมวดหมู่ของข้อความเชิงสังเคราะห์ที่ไม่ใช่อุบัติการณ์ (contingency) แต่เป็นจริงโดยจำเป็นจึงถูกเรียกว่าที่มีอยู่ก่อนเชิงสังเคราะห์ คานต์จึงทำให้อภิปรัชญาและกฎความโน้มถ่วงสากลของนิวตันรอด แต่ผลกระทบคือสัจนิยมทางวิทยาศาสตร์ (scientific realism) ถูกทิ้งไปและได้พัฒนาจิตนิยมอุตรวิสัย (transcendental idealism) ขึ้นมา จิตนิยมอุตรวิสัยของคานต์ได้ให้กำเนิดจิตนิยมเยอรมัน (german idealism) ตามมาด้วยจิตนิยมสัมบูรณ์ของเฮเกิลซึ่งต่อมาจำเริญทั่วยุโรปภาคพื้นทวีป

ปรัชญาสมัยใหม่ตอนปลาย

พัฒนาโดยอองรี เดอ แซ็ง-ซิมอง (Henri de Saint-Simon) และถูกเผยแพร่ในช่วงปี พ.ศ. 2373 โดยนักเรียนเก่าของเขาออกุสต์ กองต์ (Auguste Comte) ปฏิฐานนิยม (positivism) เป็นปรัชญาเชิงศาสตร์ (Philosophy of science)ตอนปลายชนิดแรก ในควันหลงของการปฏิวัติฝรั่งเศสกองต์ต่อต้านอภิปรัชญาเพราะกลัวการล่มสลายของสังคม กองต์กล่าวว่าความรู้ของมนุษย์วิวัฒนาการจากศาสนาสู่อภิปรัชญาสู่วิทยาศาสตร์ ซึ่งก็ไหลมาจากคณิตศาสตร์สู่ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา และสังคมวิทยา โดยเป็นขอบเขตความรู้ที่ซับซ้อนขึ้นเรื่อย ๆ ตามลำดับ ความรู้ของสังคมทั้งหมดได้กลายเป็นวิทยาศาสตร์ทั้งหมดแล้ว และคำถามทางอภิปรัชญาและเทววิทยาก็ไม่สามารถหาคำตอบได้ กองต์คิดว่าการอุปนัยแบบแจงนับนั้นเชื่อถือได้เป็นผลมาจากการมีพื้นฐานในประสบการณ์ที่มี เขาอ้างว่าการใช้วิทยาศาสตร์แทนความจริงทางอภิปรัชญาเป็นวิธีพัฒนาสังคมที่ถูกต้อง

ตามที่กองต์กล่าวไว้ ระเบียบวิธีแบบวิทยาศาสตร์ตีกรอบการทำนายไว้ ทดสอบว่าถูกต้องหรือไม่ และกำหนดกฏขึ้นมา เป็นข้อความเชิงปฏิฐาน ไม่สามารถแย้งได้โดยเทววิทยาหรืออภิปรัชญา นักปรัชญาชาวบริเตนจอห์น สจ๊วต มิลล์ถือว่าประสบการณ์สามารถอธิบายการอุปนัยแบบแจงนับด้วยการแสดงถึงภาวะเอกรูปแห่งธรรมชาติ[18] เขาต้อนรับปฏิฐานนิยมของกองต์ แต่บอกว่ากฏวิทยาศาสตร์ (scientific laws) เสี่ยงต่อการยกเลิกและการปรับปรุง และแยกตัวจากศาสนาแห่งมนุษยชาติ (religion of humanity) ของกองต์ กองต์มั่นใจในการกระทำต่อกฏวิทยาศาสตร์เป็นเหมือนพื้นฐานที่แย้งไม่ได้ของความรู้ทั้งมวล และเชื่อว่าโบสถ์ทั้งหลายยกย่องนักวิทยาศาสตร์ชื่อดัง และควรสำรวมทัศนคติของสังคมสู่ปรัตถนิยม (altruism)-คำที่กองต์สร้างขึ้นมา- เพื่อนำวิทยาศาสตร์มาใช้สำหรับสวัสดิการสังคมของมนุษยชาติผ่านสังคมวิทยา ศาสตร์สำคัญของกองต์

ในช่วงปี พ.ศ. 2373 ถึง 2383 ระหว่างที่กองต์และมิลล์เป็นนักปรัชญาชั้นนำในด้านศาสตร์ วิลเลียม ฮยูเอิล (William Whewell) คิดว่าการอุปนัยแบบแจงนับนั้นไม่ค่อยน่าเชื่อถือขนาดนั้น และได้บัญญัติ "การอภิอุปนัย" ขึ้นมาโดยไม่คำนึงถึงการครอบงำของอุปนัยนิยม[19] ฮยูเอิลอ้างว่า "การนำคำว่าอุปนัยมาใช้แบบแปลก ๆ" นั้นต้องได้การรับรู้: "มันมีการสร้างมโนภาพที่ อภิอุปนัย อยู่บนข้อเท็จจริง" นั่นคือ "การคิดค้นมโนภาพใหม่ในทุกการอนุมานอุปนัย" การสร้างการสร้างมโนภาพนั้นถูกมองข้ามได้อย่างง่ายดาย และไม่เคยถูกรับรู้ก่อนฮยูเอิลกล่าวออกมา[19] ฮยูเอิลอธิบายว่า:

"Although we bind together facts by superinducing upon them a new Conception, this Conception, once introduced and applied, is looked upon as inseparably connected with the facts, and necessarily implied in them. Having once had the phenomena bound together in their minds in virtue of the Conception, men can no longer easily restore them back to detached and incoherent condition in which they were before they were thus combined."[19]

แปลไทย:ถึงแม้เราเชื่อมข้อเท็จจริงเข้าหากันด้วยการอภิอุปนัยการสร้างมโนภาพใหม่ลงไป การสร้างมโนภาพนี้ เมื่อนำเสนอและนำมาใช้แล้ว ก็ถูกมองเสมือนเกี่ยวโยงกับข้อเท็จจริงนั้นอย่างแยกไม่ได้ และเป็นนัยในตัวมันอย่างจำเป็น เมื่อปรากฏการณ์นั้นถูกเชื่อมกันครั้งหนึ่งในใจด้วยอำนาจของการสร้างมโนภาพนั้นแล้ว คนไม่สามารถกลับคืนสู่สถานะที่ไม่ยึดติดและไม่เชื่อมโยงกันอย่างง่ายดาย เหมือนก่อนที่ปรากฏการณ์และมโนภาพนั้นจะถูกประสานกัน

คำอธิบาย "อภิอุปนัย" นี้อาจมีข้อบกพร่อง แต่ความแม่นยำนั้นถูกเสนอเมื่อมันแสดงสิ่งที่ฮยูเอิลเรียกว่า การบรรจบรวม (consilience) นั่นคือ การทำนายการวางนัยทั่วไปแบบอุปนัยพร้อม ๆ กันในหลายสาขาวิชา ความสำเร็จที่ฮยูเอิลบอกว่าสามารถสถาปนาความจริงของมันได้ บางทีที่ฮยูเอิลอุทิศหลายบทให้กับ "วิธีการอุปนัย" และบางครั้งใช้วลี "ตรรกะของการอุปนัย" โดยไม่คำนึงว่าการอุปนัยไม่มีกฏและไม่สามารถฝึกกันได้ นั้นก็เพื่ออำนวยสงเคราะห์มุมมองที่มีทั่วไปว่าวิทยาศาสตร์เป็นวิธีการแบบอุปนัยนิยม[19]

ในช่วงปี พ.ศ. 2413 ผู้ริเริ่มปฏิบัตินิยม (pragmatism) ชารลส์ แซนเดอรส์ เพิร์ซ (Charles Sanders Peirce) ได้ทำการตรวจสอบอย่างกว้างขวางที่อธิบายหลักของการอนุมานแบบนิรนัยเป็นการพิสูจน์ทางคณิตศาสตร์ (ก็อทโลพ เฟรเกอก็ได้ทำอย่างเดียวกัน แต่ไม่เกี่ยวข้องกัน) เพิร์ซรับรู้การอุปนัยแต่ยืนกรานบนการอนุมานรูปแบบที่สามที่เขาเรียกว่า การหรณนัย (abductive reasoning) หรือ การเสนอใหม่ (retroduction) หรือ สมมุติฐาน หรือ การสันนิษฐาน[20] ต่อมานักปรัชญาเรียกการหรณนัยของเพิร์ซว่า การอนุมานสู่คำอธิบายที่ดีที่สุด (Inference to the Best Explanation, IBE) [21]

ปรัชญาร่วมสมัย

เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์

หลังจากที่ได้เน้นปัญหาของการอุปนัยของฮูม จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์เสนอ ความน่าจะเป็นเชิงตรรกะ เป็นคำตอบ หรือเป็นสิ่งที่ใกล้เคียงที่สุดที่เขาพอจะลุถึง[22] เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์คิดว่าหนังสือ Treatise on Probability (แปล: ตำราของความน่าจะเป็น) ของเคนส์เป็นการพิจารณาของการอุปนัยที่ดีที่สุด และเชื่อว่าถ้าอ่านกับ Le Probleme logique de l'induction (แปล: ปัญหาเชิงตรรกะของการอุปนัย) ของฌาง นิโกด์ และบทวิจารณ์งานของเคนส์ชื่อ Mind ฉบับเดือนตุลาคมปี พ.ศ. 2468 ของอาร์. บี. เบรธเวต (R. B. Braithwaite) ก็จะครอบคลุม "เกือบทุกสิ่งที่รู้เกี่ยวกับการอุปนัย" ถึงแม้ "วิชานี้จะเชี่ยวชาญและยาก และมีคณิตศาสตร์อยู่มาก"[23] สองทศวรรษต่อมาเบอร์ทรันด์ รัสเซลล์เสนอว่าการอุปนัยแบบแจงนับเป็น "หลักการเชิงตรรกะอิสระ"[24][25] รัสเซลล์พบว่า:

"Hume's skepticism rests entirely upon his rejection of the principle of induction. The principle of induction, as applied to causation, says that, if A has been found very often accompanied or followed by B, then it is probable that on the next occasion on which A is observed, it will be accompanied or followed by B. If the principle is to be adequate, a sufficient number of instances must make the probability not far short of certainty. If this principle, or any other from which it can be deduced, is true, then the casual inferences which Hume rejects are valid, not indeed as giving certainty, but as giving a sufficient probability for practical purposes. If this principle is not true, every attempt to arrive at general scientific laws from particular observations is fallacious, and Hume's skepticism is inescapable for an empiricist. The principle itself cannot, of course, without circularity, be inferred from observed uniformities, since it is required to justify any such inference. It must, therefore, be, or be deduced from, an independent principle not based on experience. To this extent, Hume has proved that pure empiricism is not a sufficient basis for science. But if this one principle is admitted, everything else can proceed in accordance with the theory that all our knowledge is based on experience. It must be granted that this is a serious departure from pure empiricism, and that those who are not empiricists may ask why, if one departure is allowed, others are forbidden. These, however, are not questions directly raised by Hume's arguments. What these arguments prove—and I do not think the proof can be controverted—is that induction is an independent logical principle, incapable of being inferred either from experience or from other logical principles, and that without this principle, science is impossible."[25]

แปล: ความกังขาของฮูมอยู่บนการปฏิเสธหลักของการอุปนัยทั้งสิ้น หลักของการอุปนัยตามที่ใช้ในเหตุกรรม บอกว่าถ้า A ถูกพบเจอบ่อยพร้อมกับหรือตามด้วย B แล้วมันน่าจะเป็นที่ในโอกาสอื่นเมื่อได้สังเกตพบ A อีกก็จะพบพร้อมกับหรือตามด้วย B ถ้าหลักการคือการทำให้เพียงพอ จำนวนกรณีต้องมีพอที่จะทำให้ความน่าจะเป็นใกล้เคียงกับความแน่นอน ถ้าหลักการนี้หรือหลักการอื่นที่ถูกนิรนัยมาจากหลักการนี้นั้นเป็นจริง แล้วการอนุมานเชิงสาเหตุที่ฮูมปฏิเสธนั้นก็จะถูกต้อง โดยไม่ได้ให้ความแน่นอน แต่ให้ความน่าจะเป็นที่เพียงพอต่อการใช้งานเชิงปฏิบัติ ถ้าหลักการนี้ไม่เป็นจริง การพยายามบัญญัติกฏวิทยาศาสตร์ทั่วไปจากการสังเกตจำนวนหนึ่งนั่นผิดทั้งหมด และการกังขาของฮูมนั้นหนีไม่ได้สำหรับนักประสบการณ์นิยม ตัวหลักการนั้นไม่สามารถอนุมานจากการสังเกตภาวะเอกรูปได้แน่นอนฆากไม่ใช้การให้เหตุผลแบบวงกลม เพราะมันจำเป็นต้องใช้เพื่ออธิบายการอนุมานรูปแบบนั้นทุกอัน ดังนั้นมันต้องนิรนัยมาจากหรือเป็นหลักการอสระที่ไม่ได้ตั้งอยู่บนประสบการณ์ ฮูมได้พิสูจน์ในระดับหนึ่งว่าประสบการณ์นิยมเพียว ๆ ไม่ใช่พื้นฐานที่เหมาะสมของวิทยาศาสตร์ แต่ถ้าหลักการนี้ถูกยอมรับ ทุกอย่างสามารถดำเนินต่อไปได้บนทฤษฎีที่ความรู้ทั้งหมดของเราตั้งอยู่บนประสบการณ์ เราต้องยินยอมว่านี่เป็นการออกนอกหลักการประสบการณ์นิยมบริสุทธิ์อย่างสาหัส และผู้ที่ไม่ใช่นักประสบการณ์นิยมอาจถามว่าทำไมถึงออกนอกหลักการได้ครั้งเดียว แล้วอันอื่นถึงทำไม่ได้ แต่ว่าคำถามเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นมาจากการอ้างของฮูมโดยตรง การอ้างนี้พิสูจน์-และผมคิดว่าไม่สามารถถูกโต้แย้งได้-ว่าการอุปนัยนั้นเป็นหลักการเชิงตรรกะอิสระ ไม่สามารถถูกอนุมานจากประสบการณ์หรือจากหลักการเชิงตรรกะอื่นได้ และถ้าไม่มีหลักการนี้ วิทยาศาสตร์นั้นเป็นไปไม่ได้

กิลเบิร์ต ฮาร์แมน

ในงานวิจัยปี พ.ศ. 2508 ของกิลเบิร์ต ฮาร์แมน (Gilbert Harman) อธิบายว่าการอุปนัยแบบแจงนับไม่ใช่ปรากฏการณ์อิสระ แต่เป็นเพียงผลของการอนุมานสู่คำอธิบายที่ดีที่สุด (IBE) ที่แฝงตัวอยู่[21] ซึ่ง IBE ก็ตรงกับ การหรณนัย ของเพิร์ซ[21] นักปรัชญาเชิงศาสตร์หลายคนที่รับหลักการสัจนิยมทางวิทยาศาสตร์ก็คงไว้ว่า IBE เป็นวิธีที่นักวิทยาศาสตร์พัฒนาทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับธรรมชาติที่จริงพอประมาณหนึ่ง[26]

ใกล้เคียง

การให้เหตุผลแบบอุปนัย การให้มีผู้แทนแบบจัดสรรปันส่วนผสม การให้เหตุผลแบบจารนัย การให้วัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทย การให้เหตุผลแบบนิรนัย การให้เหตุผลโดยอาศัยความไม่รู้ การให้วัคซีน การให้เหตุผลโดยอาศัยแนวเทียบ การให้เหตุผลเป็นวง การให้แสงเงา

แหล่งที่มา

WikiPedia: การให้เหตุผลแบบอุปนัย http://www.dartmouth.edu/~bio125/logic.Giere.pdf http://plato.stanford.edu/entries/induction-proble... http://plato.stanford.edu/entries/kant-reason/#The... http://www.iep.utm.edu/ded-ind/ http://www.iep.utm.edu/found-ep http://www.cs.hut.fi/Opinnot/T-93.850/2005/Papers/... //doi.org/10.1080%2F03081079008935108 //www.worldcat.org/oclc/21216829 https://books.google.com/?id=MmVwBgAAQBAJ&pg=PA26&... https://books.google.com/books?id=1VsYOwRsOVUC&pg=...