การค้นพบและนวัตกรรม ของ คณะวิทยาศาสตร์_มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีผลงานในหลากหลายด้านจากคณาจารย์ นิสิต และนักวิจัยของคณะวิทยาศาสตร์ ทั้งผลงานด้านการวิจัย การค้นพบ และการเข้าร่วมสำรวจทางวิทยาศาสตร์ในระดับโลก นอกจากนี้ยังมีผลงานการคิดค้นและพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ผลงานที่ได้รับการจดสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตร ตลอดจนมีผลงานวิจัยที่สามารถพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์โดยร่วมมือกับภาคเอกชนและผู้ประกอบการ

วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีผลงานการค้นพบและผลงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ธรรมชาติทั้งในระดับประเทศและระดับโลก โดยผลงานเด่นระดับโลก ได้แก่

  • ได้เข้าร่วมสำรวจทวีปแอนตาร์กติก (ขั้วโลกใต้) กับทีม JARE 58 ประเทศญี่ปุ่น หรือ Japanese Antarctic Research Expedition 58 เพื่อร่วมสำรวจธรณีวิทยาขั้วโลกใต้ [362][363][364][365][366][367]
  • บุกเบิกงานวิจัยเรื่อง ผลึกเหลวอวกาศ (Liquid crystals) ในประเทศไทยและลงนามความตกลงร่วมมือวิจัยด้านผลึกเหลวอวกาศร่วมกับองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือ องค์การนาซา (NASA) โดยร่วมมือวิจัยทั้งในภาคพื้นดินและในสภาวะไร้แรงโน้มถ่วงบนอวกาศ ณ สถานีอวกาศนานาชาติ (International Space Station)[368][369][370]
  • ค้นพบ “วาสุกรีอุ้มผาง” พืชชนิดใหม่ของโลก พืชชนิดใหม่นี้ถูกตั้งชื่อว่า ‘Viola umphangensis S. Nansai, Srisanga & Suwanph.’ เป็นพืชล้มลุก จัดอยู่ในวงศ์ Violaceae ตัวดอกจะมีสีขาวตรงกลางดอกจะมีสีม่วง เหมาะสำหรับพัฒนาเป็นไม้กระถาง หรือปรับปรุงพันธุ์ให้มีสีสันใหม่ ๆ นอกจากนี้แล้วยังมีศักยภาพในด้านสารสกัดสำหรับทดสอบฤทธิ์ เนื่องจากพืชในสกุลเดียวกันหลายชนิดมีฤทธิ์ทางยา พืชชนิดนี้ถูกค้นพบครั้งแรกบริเวณป่าไผ่บนภูเขาหินปูน แถบดอยหัวหมด อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก [371][372][373]
  • ค้นพบ “จิ้งจกนิ้วยาวลานสกา” จิ้งจกนิ้วยาวชนิดใหม่ของโลก จิ้งจกชนิดใหม่นี้มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า ‘Cnemaspis lineatubercularis Ampai, Wood, Stuart & Aowphol’ จัดอยู่ในวงศ์ Gekkonidae ซึ่งมักมีพฤติกรรมซ่อนตัวตามซอกหินหรือเพิงหิน ค้นพบครั้งแรกที่บริเวณภูเขาหินแกรนิตใกล้กับลำธาร อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช จิ้งจกชนิดใหม่นี้มีบทบาทในการควบคุมแมลงที่เป็นเหยื่ออาหารในระบบนิเวศ[374][375][376][377][378][379][380][381]
  • ค้นพบ “พยาธิตัวแบนกลุ่มโมโนจีน” ชนิดใหม่ของโลก พยาธิตัวแบนชนิดใหม่นี้ถูกตั้งชื่อว่า ‘Pseudorhabdosynochus kasetsartensis Saengpheng & Purivirojkul’ ค้นพบครั้งแรกจากเหงือกของปลากะรังลายเมฆ (Cloudy grouper) บริเวณอ่าวไทยตอนล่าง แถบจังหวัดสุราษฎร์ธานี พยาธิชนิดนี้สามารถใช้เป็นดัชนีชีวภาพบ่งชี้การเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศและบ่งชี้มลพิษทางเคมีในแหล่งน้ำได้[382][383][384]
  • ค้นพบ “แมลงปอเสือปลายงอนทองผาภูมิ” แมลงปอชนิดใหม่ของโลก แมลงปอชนิดนี้ถูกตั้งชื่อว่า ‘แมลงปอเสือปลายงอนทองผาภูมิ’ (Stylogomphus thongphaphumensis Chainthong, Sartori & Boonsoong) จัดอยู่ในสกุล Stylogomphus และอยู่ในวงศ์ Gomphidae ค้นพบครั้งแรกที่บริเวณลำธารห้วยเขย่ง อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี[385][386][387][388][389][390]
  • ค้นพบ “ชมพูไพร” พืชชนิดใหม่ของโลก พืชชนิดนี้ถูกตั้งชื่อว่า ‘ชมพูไพร’ (Thunbergia impatienoides Suwanph. & S. Vajrodaya) เป็นไม้ประดับ จัดอยู่ในวงศ์เหงือกปลาหมอและอยู่ในสกุลเดียวกันกับรางจืด ลักษณะเป็นไม้เลื้อย ดอกสีชมพูอมม่วง ตรงกลางดอกจะมีสีขาวอมเหลือง ดอกตูมลักษณะจะคล้ายกับดอกกุหลาบแรกแย้ม สามารถพัฒนาเป็นไม้ประดับทางเศรษฐกิจได้ [391][392][393]
  • ค้นพบ “ช้างงาเอก” พืชชนิดใหม่ของโลก พืชชนิดนี้มักพบตามป่าดิบแล้งและชายป่าดิบแล้ง สูงจากระดับทะเล 150-220 เมตร กระจายพันธุ์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย แถบบึงกาฬและนครพนม ในต่างประเทศคาดว่าพบที่ลาว[394][395][396]
  • ค้นพบ “เอื้องเทียนปากสีน้ำตาล” กล้วยไม้ชนิดใหม่ของโลก กล้วยไม้ชนิดใหม่นี้ถูกตั้งชื่อว่า ‘Coelogyne phuhinrongklaensis Ngerns. & P. Tippayasri’ จัดอยู่ในวงศ์ Orchidaceae มักจะอิงอาศัยหรือขึ้นอยู่บนหิน พบการกระจายพันธุ์ในเขตอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้าและอุทยานแห่งชาติภูสอยดาว จังหวัดพิษณุโลก [397][398][399][400][401]
  • ค้นพบ “แมลงชีปะขาว” สกุลใหม่ของโลก ตั้งชื่อสกุลว่า Sangpradubina พบบริเวณหน้าดินในลำธารต้นน้ำภาคตะวันออกและภาคตะวันตกของประเทศไทย [402][403][404]
  • ค้นพบ “ดีปลีดิน” ชนิดใหม่ของโลก พืชชนิดใหม่นี้เป็นพืชลมลุก จัดอยู่ในวงศ์พริกไทย (Piperaceae) ถูกตั้งชื่อว่า “Piper viridescens Suwanph. & Chantar.” พบการกระจายพันธุ์อยู่บริเวณริมลำธารแคบๆ ในเขตป่าจังหวัดน่าน[405][406][407][408][409]
  • ค้นพบ “รักตะนิล” พรรณไม้ชนิดใหม่ของโลก รักตะนิล เป็นพรรณไม้ชนิดใหม่ของโลกในสกุลผักกะสัง (Peperomia) ค้นพบพืชชนิดนี้บริเวณภูเขาหินปูนในแถบจังหวัดเลย โดยชื่อ รัก-ตะ-นิล เป็นชื่อพระราชทานจากสมเด็จพระเทพฯ รัตนราชสุดาฯ มีความหมายว่า เขียว-แดง เนื่องจากพืชชนิดนี้มีลำต้นและก้านใบสีแดง มีใบสีเขียวเข้มหรือสีมรกต [410][411][412][413][414][415]
  • ค้นพบ “พยาธิตัวตืด” ชนิดใหม่ของโลก พยาธิตัวตืดชนิดใหม่นี้พบในปลาฉลามกบ เขตจังหวัดชลบุรี [416][417]

คิดค้นและพัฒนา

ผลงานการคิดค้นและพัฒนาของคณาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีอยู่หลายด้านด้วยกัน โดยผลงานการคิดค้นและพัฒนาที่โดดเด่นส่วนใหญ่จะเป็นการพัฒนาพันธุ์พืชเพื่อเกษตรกรสำหรับใช้ในการเพิ่มรายได้และผลผลิต ตลอดจนเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้กับประเทศ ผลงานการคิดค้นและพัฒนาที่โดดเด่น อาทิ

  • คิดค้นและพัฒนาพันธุ์ “สยามบลูฮาร์ดดี้” บัวฝรั่งดอกสีน้ำเงินลูกผสมต้นแรกของโลก บัวดังกล่าวเป็น​บัว​ลูกผสม​ระหว่าง​สกุล​ย่อย Nymphaea (บัว​ฝรั่ง) กับ​สกุล​ย่อย Brachyceras (บัว​ผัน) ต้นแรกของโลก ลักษณะ​เด่นคือส่วนด​อก​จะมีเฉด​สีน้ำเงิน (ม่วง-น้ำเงิน) ซึ่งคล้ายกับสีของ​บัว​ผัน [418][419][420][421][422][423]
  • คิดค้นและพัฒนาพันธุ์ “เบญจมาศพันธุ์เกษตรศาสตร์ 60” โดยดอกเบญจมาศพันธุ์ดังกล่าวได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจากสายพันธุ์ Teihei และทำการฉายรังสีแกมมาแบบเฉียบพลัน โดยใช้ต้นกำเนิดรังสีและปริมาณที่แตกต่างกันออกไป ทำให้ได้เบญจมาศพันธุ์กลายที่มีศักยภาพในทางการค้า จำนวน 6 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์เกษตรศาสตร์ 60-1, 60-2, 60-3, 60-4, 60-5 และ 60-6 ซึ่งสายพันธุ์กลายดังกล่าวมีข้อดีในด้านความหลากหลายของสี ช่อดอกสวยงามและบานทน ลำต้นมีขนาดใหญ่และแข็งแรง เหมาะสำหรับใช้เป็นไม้ประดับ ทั้งนี้ เบญจมาศพันธุ์เกษตรศาสตร์ 60 ทั้ง 6 พันธุ์ เป็นผลงานการพัฒนาพันธุ์ของศาสตราจารย์ภาควิชารังสีประยุกต์และไอโซโทปซึ่งเป็นหัวหน้าคณะวิจัยและได้ขึ้นทะเบียนพันธุ์พืชของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตลอดจนในราวเดือนมีนาคม พ.ศ. 2546 ทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้มอบให้กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้นำไปขยายพันธุ์และถ่ายทอดสู่เกษตรกรเพื่อปลูกเป็นการค้าต่อไป[424][425][426][427][428]
  • คิดค้นและพัฒนาพันธุ์ “แพรเซี่ยงไฮ้” โดยแพรเซี่ยงไฮ้พันธุ์ดังกล่าวได้จากการฉายรังสีแกมมาแบบเฉียบพลันผ่านกิ่งแพรเซี่ยงไฮ้ จำนวน 3 สายพันธุ์ โดยใช้ต้นกำเนิดรังสีซีเซียมในปริมาณที่แตกต่างกัน ทำการปลูกและตัดยอดซ้ำ ทำให้ได้แพรเซี่ยงไฮ้พันธุ์กลาย จำนวน 10 พันธุ์ ได้แก่ ชมพูประภารัจ, แพททิก, พิมชนก, อรุณี, ภัทรียา, เกษตรศาสตร์ 60, มก.1, มก.2, มก.3 และ ประทีป ซึ่งสายพันธุ์กลายดังกล่าวมีข้อดีในด้านรูปทรงของดอกและความหลากหลายของสี ทั้งนี้ แพรเซี่ยงไฮ้พันธุ์กลาย ทั้ง 10 พันธุ์ เป็นผลงานการพัฒนาพันธุ์ของศาสตราจารย์ภาควิชารังสีประยุกต์และไอโซโทปซึ่งเป็นหัวหน้าคณะวิจัยและได้ขึ้นทะเบียนพันธุ์พืชของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตลอดจนได้ทำการเผยแพร่โดยการอบรมผ่านเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมทั้งการอบรมเกษตรกรผู้ปลูกไม้ดอกและไม้ประดับเป็นอาชีพและบุคคลทั่วไปที่สนใจ[429][430][431][432][433]
  • คิดค้นและพัฒนาพันธุ์ “พุทธรักษา” โดยพุทธรักษาพันธุ์ดังกล่าวได้จากการฉายรังสีแกมมา ทั้งแบบฉายเฉียบพลัน โดยมีต้นกำเนิดรังสีเป็นซีเซียม-137 ในปริมาณต่าง ๆ และการฉายรังสีแกมมาแบบโครนิก โดยมีต้นกำเนิดรังสีเป็นโคบอลต์-60 ในปริมาณที่แตกต่างกัน ผ่านเมล็ด หน่อ เหง้า และต้นที่กำลังเจริญเติบโต ทำการปลูกและคัดเลือกพันธุ์ที่เหมาะสม ทำให้ได้พุทธรักษาพันธุ์กลาย จำนวน 37 พันธุ์ ได้แก่ ชมพูนีรนุช, นฤปวัจก์, ภัทรียา, วราภรณ์, ภัทรียา, แดงฤทธี, ไพโรจน์, สุมินทร์, นงพร, ปราโมทย์, วารุณี, ครีมประพันธ์พงษ์, นวลฉวี, นภาวรรณ, แดงวิโรจ, ชมพูพรรณี, พิมพ์เงิน, ส้มรังสี, อัญชุลี, เหลืองอรุณี, สุทธีรา, พิมพ์รังสี, นฤทุม, รังสิต, ส้มสิรนุช, วันวิสา, เพ็ญพิตร, อรวรรณ, จำลอง, แสงเทียน, รัชนีกร, อรจิต, เพ็ญศรี และ พิบูลศิลป์ ซึ่งสายพันธุ์กลายดังกล่าวมีข้อดีในด้านรูปทรงของดอก รูปร่างของใบ มีความหลากหลายของสีดอกและสีใบ รวมทั้งมีความหลากหลายของลักษณะทรงต้น ทั้งนี้ พุทธรักษาพันธุ์กลายทั้ง 37 พันธุ์ เป็นผลงานการพัฒนาพันธุ์ของศาสตราจารย์ภาควิชารังสีประยุกต์และไอโซโทปซึ่งเป็นหัวหน้าคณะวิจัยและได้ขึ้นทะเบียนพันธุ์พืชของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตลอดจนได้ทำการเผยแพร่ผ่านการอบรมเกษตรกรผู้ปลูกไม้ดอกและไม้ประดับเป็นอาชีพและบุคคลทั่วไปที่สนใจ[434][435]
  • คิดค้นและพัฒนาพันธุ์ “ชวนชม” โดยชวนชมพันธุ์ดังกล่าวได้จากการฉายรังสีแกมมาแบบเฉียบพลันผ่านเมล็ดชวนชมสายพันธ์เดิม คือ สายพันธุ์ยักษ์ใบเรียว (Adenium somalense ver. somalense) โดยใช้ต้นกำเนิดรังสีซีเซียม-137 ในปริมาณ 200 เกรย์ ทำการปลูกและคัดเลือกพันธุ์ที่เหมาะสม ทำให้ได้ชวนชมพันธุ์กลายที่แปลกใหม่ จำนวน 2 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ซุปเปอร์เรด (Super Red)[436] และ พันธุ์ซุปเปอร์ไวท์ (Super White)[437] ซึ่งสายพันธุ์กลายดังกล่าวมีข้อดีในด้านความหลากหลายของสีดอก ทั้งนี้ ชวนชมพันธุ์กลายทั้ง 2 พันธุ์ เป็นผลงานการพัฒนาพันธุ์ของศาสตราจารย์ภาควิชารังสีประยุกต์และไอโซโทปซึ่งเป็นหัวหน้าคณะวิจัยและในปี พ.ศ. 2548 ได้ขึ้นทะเบียนพันธุ์พืชรวมทั้งขึ้นทะเบียนรับรองพันธุ์พืชไว้กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และกรมวิชาการเกษตรตามลำดับ นอกจากนี้ได้ทำการเผยแพร่สายพันธุ์กลายผ่านการอบรมเกษตรกรและโครงการอบรมบุคคลทั่วไปที่สนใจ[438]
  • คิดค้นและพัฒนาพันธุ์ “ถั่วเหลืองพันธุ์ดอยคำ” โดยถั่วเหลืองพันธุ์ดังกล่าวได้จากการฉายรังสีแกมมาผ่านเมล็ดถั่วเหลืองสายพันธุ์ สจ. 4 (SJ 4) โดยใช้ต้นกำเนิดรังสีซีเซียม-137 ในปริมาณ 150 เกรย์ ทำการปลูกและคัดเลือกพันธุ์ที่เหมาะสม ทำให้ได้ถั่วเหลืองพันธุ์กลาย คือ พันธุ์ 81-1-038 ที่มีคุณสมบัติทนทานต่อโรคราสนิมถั่วเหลือง ซึ่งมีสาเหตุมาจากเชื้อรา Pakopsora pachyrhizi Syd. พร้อมทั้งมีขนาดเมล็ดใหญ่กว่าและให้ผลผลิตที่มากกว่าสายพันธุ์เดิม ถั่วเหลืองพันธุ์กลายดังกล่าวได้มีการตั้งชื่อพันธุ์ใหม่ว่า “ดอยคำ” เพื่อเป็นเกียรติแก่โครงการหลวงที่ให้การสนับสนุนงานวิจัยมาโดยตลอด ทั้งนี้ ถั่วเหลืองพันธุ์ดอยคำเป็นผลงานการพัฒนาพันธุ์ของศาสตราจารย์ภาควิชารังสีประยุกต์และไอโซโทปซึ่งเป็นหัวหน้าคณะวิจัย มีการขึ้นทะเบียนพันธุ์พืชของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมีการขยายพันธุ์แก่เกษตรกรที่ประสบปัญหาในเขตพื้นที่ภาคเหนือ รวมทั้งมอบเมล็ดพันธุ์ให้กับ กรมส่งเสริมการเกษตร, กรมวิชาการเกษตร, ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสถาบันวิจัยพืชไร่แม่โจ้ เพื่อขยายพันธุ์ต่อไป[439][440][441]
  • ประสบความสำเร็จในการ “ถอดรหัสพันธุกรรมปลากัดป่ามหาชัย” ครั้งแรกของโลก เป็นการถอดรหัสพันธุกรรมปลากัดป่ามหาชัยซึ่งเป็นปลาที่มีถิ่นกำเนิดเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้นและเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ตามโครงการทรัพยากรชีวภาพปลากัดแห่งชาติ (National Betta Bioresource Project) ได้อย่างสำเร็จสมบูรณ์ โดยถอดรหัสฯ จากไมโตคอนเดรียและจีโนมของปลาฯ จีโนมไมโตคอนเดรียจากงานวิจัยจะถูกใช้เป็นข้อมูลสำหรับการพัฒนาวิธีการพิสูจน์เอกลักษณ์และการทำความเข้าใจกลไก วิวัฒนาการ ตลอดจนกำเนิดของปลากัดป่ามหาชัย ซึ่งเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนงานด้านการอนุรักษ์ฯ และเพื่อการพัฒนาเป็นสัตว์เศรษฐกิจในอนาคต นอกจากนี้ยังได้รับความร่วมมือจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และ สมาคมปลากัดแห่งประเทศไทย ในการผลักดันในเชิงพาณิชย์ด้วย[442][443][444]
  • ประสบความสำเร็จในการ “ถอดรหัสพันธุกรรมปลาบึก” เป็นการถอดรหัสพันธุกรรมปลาบึกซึ่งเป็นปลาที่มีถิ่นกำเนิดเฉพาะแห่งและใกล้สูญพันธุ์ตามประกาศอนุสัญญา CITES ได้อย่างสำเร็จสมบูรณ์ โดยถอดรหัสฯ จากไมโตคอนเดรีย ดีเอ็นเอ และจีโนมของปลาบึก ลำดับนิวคลิโอไทด์จากงานวิจัยถูกเก็บไว้ในฐานข้อมูลสากลของธนาคารพันธุกรรม หรือ GenBank ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อประโยชน์ในการนำไปใช้ต่อของนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก [445][446][447]
  • รางวัล “The King of Thailand Vetiver Awards” และ “TVNI Awards ” ผลงานวิจัยเรื่อง “The Salt Tolerant Vetiver” : หญ้าแฝกทนเค็ม ในงาน The Sixth International Conference on Vetiver ณ ประเทศเวียดนาม [448][449][450]

ธุรกิจและผู้ประกอบการ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นหนึ่งในหน่วยงานที่มีผลงานวิจัยถูกนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์จากผู้ประกอบการและภาคเอกชน นอกจากนี้ยังมีผลงานวิจัยที่ได้รับการจดสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตรด้วย[451] โดยผลงานวิจัยที่ถูกนำไปใช้พัฒนาต่อเชิงพาณิชย์ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเทคโนโลยีชีวภาพ เคมี และการเกษตร ซึ่งมีสำนักงานบริการวิชาการ ส่วนงานทรัพยสินทางปัญญา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นหน่วยงานช่วยอำนวยการในด้านสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร และการผลักดันเชิงพาณิชย์[452] ทั้งนี้ งานวิจัยที่ถูกพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ร่วมกับภาคเอกชนที่โดดเด่น อาทิ

  • ผลิตภัณฑ์ถั่งเช่าทิเบต ผลิตภัณฑ์ประเภทอาหารเสริม ในด้านการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันและการปรับสมดุลของร่างกาย[453] เป็นผลงานวิจัยของศาสตราจารย์ภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มก. ร่วมกับภาคเอกชน[454] ในการศึกษาและพัฒนาวิธีการให้ถั่งเช่ามีการออกฤทธิ์ของสารสำคัญในปริมาณที่เหมาะสมและเหมาะกับร่างกาย[455][456]
  • แคปซูลเลือดจระเข้ ผลิตภัณฑ์ประเภทอาหารเสริมเพื่อการบำรุงเลือด[457] เป็นผลงานวิจัยของรองศาสตราจารย์ภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มก.[458]ร่วมกับภาคเอกชนในการศึกษาประสิทธิภาพเลือดจระเข้ที่ช่วยในด้านการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งได้มีการศึกษามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540[459][460][461]
  • การกระตุ้นสารหอมในไม้กฤษณา เป็นงานวิจัยของคณาจารย์จากภาควิชาเคมีและภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มก. ซึ่งได้รับการจดสิทธิบัตร[462]ในการค้นพบวิธีการใหม่ที่สามารถกระตุ้นให้เกิดการผลิตสารหอมในเนื้อไม้กฤษณาได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง โดยอาศัยเชื้อราและสารอินทรีย์ที่มีความปลอดภัย และมีการใช้ต้นทุนการผลิตที่ต่ำ[463][464][465]
  • ข้าวยีสต์แดง เป็นผลิตภัณฑ์ประเภทอาหารเสริมช่วยในการลดคอเลสเตอรัล ซึ่งเป็นผลงานวิจัยของศาสตราจารย์ภาควิชาจุลวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มก. โดยการนำจุลินทรีย์โมแนสคัสสายพันธุ์เฉพาะไปเพาะในข้าวหอมมะลิอินทรีย์ในสภาวะเหมาะสม เพื่อให้เกิดการผลิตสารที่เป็นประโยชน์กับร่างกาย อาทิ Monacolins ซึ่งช่วยในการลดคอเลสเตอรัล เป็นต้น[466][467]

ใกล้เคียง

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

แหล่งที่มา

WikiPedia: คณะวิทยาศาสตร์_มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ http://158.108.29.111:8000/office/offsec/ http://158.108.54.4/humanjournal/files/book24-2.pd... http://164.115.28.46/thaiexen/search_detail/result... http://www.alquimicos.com/oq_reg/internacionales/i... http://inews.bangkokbiznews.com/read/382457 http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/786163 http://novataxa.blogspot.com/2020/04/pseudorhabdos... http://pareparaepare-pareparaepare.blogspot.com/20... http://seaskyearth-yerbs.blogspot.com/2014/08/blog... http://trytobemedcadet.blogspot.com/