พิธีพระราชทานปริญญาบัตรและครุยวิทยฐานะของคณะวิทยาศาสตร์ ของ คณะวิทยาศาสตร์_มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

รับปริญญานิสิตวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์รุ่น 1 พ.ศ. 2513ปูมการเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรของคณะวิทยาศาสตร์

คณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีและเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรเป็นครั้งแรกของคณะฯ เมื่อปี พ.ศ. 2512 ซึ่งผู้สำเร็จการศึกษาดังกล่าวได้รับการโอนย้ายมาจากคณะอื่นภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์[252][253]

ทั้งนี้ นิสิตรุ่นแรกของคณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ (วอ.1) สำเร็จการศึกษาและเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรเป็นรุ่นแรก เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2513 และต่อมาในปี พ.ศ. 2514 มีผู้สำเร็จการศึกษาในรุ่นที่ 2 ได้รับเกียรตินิยมเป็นคนแรกของคณะฯ[254][255]

ซึ่งก่อนหน้านั้นในปี พ.ศ. 2510 คณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ได้เปิดสอนหลักสูตรปริญญาโทขึ้น โดยได้โอนการเรียนการสอนหลักสูตรปริญญาโท ในสาขาสัตววิทยา พฤกษศาสตร์ จุลชีววิทยา และชีววิทยา ซึ่งเปิดสอนอยู่ที่คณะกสิกรรมและสัตวบาล (ปัจจุบันคือ คณะเกษตร) มาจัดการเรียนการสอนที่คณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ และต่อมาในปี พ.ศ. 2512 มีผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทจากคณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์และเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรเป็นรุ่นแรก ในสาขาสัตววิทยา[256][257][258]

พิธีพระราชทานปริญญาบัตรกับคณะวิทยาศาสตร์

ภายหลังจากที่หอประชุมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ก่อสร้างจนแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2500 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ใช้สถานที่ดังกล่าวเป็นสถานที่ประกอบพิธีพระราชทานปริญญาบัตรไปจนถึงปี พ.ศ. 2519[259] ส่งผลให้นิสิตที่สำเร็จการศึกษาจากคณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ ตั้งแต่รุ่นที่ 1-รุ่นที่ 7 ซึ่งมีกำหนดเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรในช่วงปี พ.ศ. 2513-2519 ได้ประกอบพิธี ณ หอประชุมดังกล่าว

ต่อมาในปี พ.ศ. 2520 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้มีการเปลี่ยนสถานที่ประกอบพิธีพระราชทานปริญญาบัตรเป็นอาคารใหม่ สวนอัมพร จนถึงปี พ.ศ. 2528[260] ส่งผลให้นิสิตที่สำเร็จการศึกษาจากคณะวิทยาศาสตร์ฯ ในรุ่นที่ 8-รุ่นที่ 16 ซึ่งมีกำหนดเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรช่วงปี พ.ศ. 2520-2528 ได้ประกอบพิธี ณ อาคารดังกล่าว

ในปี พ.ศ. 2529 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้เปลี่ยนกลับมาใช้อาคารจักรพันธ์เพ็ญศิริ ณ เกษตรกลางบางเขน และใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีพระราชทานปริญญาบัตรกระทั่งถึงปัจจุบัน[261] ส่งผลให้นิสิตที่สำเร็จการศึกษาจากคณะวิทยาศาสตร์ตั้งแต่รุ่นที่ 17 ถึงรุ่นปัจจุบัน ซึ่งมีกำหนดเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 เป็นต้นไป ได้ประกอบพิธี ณ อาคารดังกล่าวเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

โดยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513-2541 นิสิตที่สำเร็จการศึกษาจากคณะวิทยาศาสตร์ รุ่นที่ 1-รุ่นที่ 29 จำนวน 29 รุ่น ได้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ซึ่งเสด็จฯ พระราชทานปริญญาบัตรมาโดยตลอด[262]

กระทั่งช่วงปี พ.ศ. 2542-2543 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์พระราชทานปริญญาบัตร[263] ส่งผลให้นิสิตที่สำเร็จการศึกษาจากคณะวิทยาศาสตร์ในรุ่นที่ 30 และรุ่นที่ 31 จำนวน 2 รุ่น ได้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้าฯ เนื่องจากมีกำหนดเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรในปีดังกล่าว

และต่อมาในปี พ.ศ. 2544 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตร[264] จึงส่งผลให้นิสิตที่สำเร็จการศึกษาจากคณะวิทยาศาสตร์ตั้งแต่รุ่นที่ 32 เป็นต้นไป ได้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรจากสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี กระทั่งถึงปัจจุบัน

สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารีทรงได้รับพระราชทานปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต

สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงได้รับปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (เคมี) เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง เหรียญทอง หลังพระองค์ทรงสำเร็จการศึกษาจากภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตรและอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์[265][266][267][268][269] ซึ่งทรงได้รับพระราชทานปริญญาบัตรจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2522 ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร กรุงเทพมหานคร ในการนี้สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินมาในพิธีพร้อมด้วยพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ

ครุยวิทยฐานะ

ครุยวิทยฐานะของคณะวิทยาศาสตร์ฯ แบ่งเป็นสามชั้น ตามพระราชกฤษฎีกาครุยวิทยฐานะของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์[270][271][272] ครุยวิทยฐานะดังกล่าวมีลักษณะเป็นชุดครุยแบบมีหมวก ซึ่งเป็นรูปแบบที่นิยมใช้ในประเทศแถบตะวันตก[273][274]

ครุยวิทยฐานะ
ครุยดุษฎีบัณฑิต
(คณะวิทยาศาสตร์)
ครุยมหาบัณฑิต
(คณะวิทยาศาสตร์)
ครุยบัณฑิต
(คณะวิทยาศาสตร์)
  • ครุยดุษฎีบัณฑิต (ระดับปริญญาเอก)
    • พู่หมวกและกระดุมบนหมวกสีทอง
    • ครุยสีดำ สาบด้านหน้ามีแถบกำมะหยี่สีน้ำเงินเข้มยาวตลอดชายครุย ที่แขนครุยมีแถบกำมะหยี่สีน้ำเงินเข้มข้างละสามแถบ
    • ผ้าคล้องคอด้านในสีเขียว ด้านนอกสีดำ ขลิบขอบผ้าคล้องคอด้านนอกสุดด้วยแถบสีเขียว ทาบรอบคอด้วยแถบกำมะหยี่สีน้ำเงินคณะวิทยาศาสตร์
  • ครุยมหาบัณฑิต (ระดับปริญญาโท)
    • พู่หมวกและกระดุมบนหมวกสีดำ
    • ครุยสีดำ ไม่มีแถบกำมะหยี่ที่สาบด้านหน้าและแขนครุย ปลายแขนครุยมีลักษณะแบบถุง มีช่องสอดแขนออกที่บริเวณเหนือข้อศอก
    • ผ้าคล้องคอด้านในสีเขียว ด้านนอกสีดำ ขลิบขอบผ้าคล้องคอด้านนอกสุดด้วยแถบสีเขียว ทาบรอบคอด้วยแถบกำมะหยี่สีน้ำเงินคณะวิทยาศาสตร์
  • ครุยบัณฑิต (ระดับปริญญาตรี)
    • พู่หมวกและพู่ประดับครุยสีน้ำเงินคณะวิทยาศาสตร์ กระดุมบนหมวกสีดำ
    • ครุยสีดำ ไม่มีแถบกำมะหยี่ที่สาบด้านหน้าและแขนครุย ไม่มีผ้าคล้องคอ ความยาวแขนครุยอยู่บริเวณข้อมือ
    • ประดับเข็มเกียรตินิยมบริเวณหน้าอกด้านซ้าย (เกียรตินิยมอันดับหนึ่งเข็มสีทอง อันดับสองเข็มสีเงิน)
เข็มเกียรตินิยมอันดับสองสีประจำคณะ ชื่อปริญญา และอักษรย่อ

สีประจำคณะวิทยาศาสตร์ คือ “สีน้ำเงิน” ซึ่งเป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา และครุยวิทยฐานะ ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2550 ลงวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2550

คณะสีประจำคณะชั้นปริญญาชื่อปริญญาอักษรย่ออ้างอิง
คณะวิทยาศาสตร์     สีน้ำเงิน• เอก
• โท
• ตรี
• วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต และ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
• วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
• วิทยาศาสตรบัณฑิต
• วท.ด. และ ปร.ด.
• วท.ม.
• วท.บ.
[275]

ใกล้เคียง

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

แหล่งที่มา

WikiPedia: คณะวิทยาศาสตร์_มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ http://158.108.29.111:8000/office/offsec/ http://158.108.54.4/humanjournal/files/book24-2.pd... http://164.115.28.46/thaiexen/search_detail/result... http://www.alquimicos.com/oq_reg/internacionales/i... http://inews.bangkokbiznews.com/read/382457 http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/786163 http://novataxa.blogspot.com/2020/04/pseudorhabdos... http://pareparaepare-pareparaepare.blogspot.com/20... http://seaskyearth-yerbs.blogspot.com/2014/08/blog... http://trytobemedcadet.blogspot.com/