บทบาทและการส่งเสริมพัฒนางานด้านวิทยาศาสตร์ ของ คณะวิทยาศาสตร์_มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีส่วนในการส่งเสริม พัฒนา และผลักดันงานด้านวิทยาศาสตร์ของประเทศให้ทัดเทียมและเป็นที่ยอมรับ โดยผ่านโครงการในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ เช่น

ประชุมวิชาการนานาชาติ I-KUSTARS [195]

งานประชุมวิชาการนานาชาติ I-KUSTARS (อังกฤษ: International Kasetsart University Science and Technology Annual Research Symposium; ชื่อย่อ: I-KUSTARS) เป็นงานประชุมวิชาการประจำปีของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่จัดขึ้นปีละครั้ง ช่วงเดือนพฤษภาคม โดยเริ่มจัดครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2552 เพื่อเป็นเวทีในการนำเสนอผลงานวิจัยเผยแพร่ผลงานวิชาการ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ตลอดจนองค์ความรู้ในสาขาต่าง ๆ ของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทั้งยังเป็นการสร้างบรรยากาศทางวิชาการ และเป็นการสร้างความร่วมมือทางการศึกษา วิจัย ระหว่างมหาวิทยาลัยไทยกับสถาบันการศึกษาต่างประเทศ[196][197]

โดยผู้เข้าร่วมประชุมมีทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ซึ่งในการประชุมจะมีการเชิญนักวิทยาศาสตร์ที่มีบทบาทสำคัญ ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติมาเป็นผู้บรรยายหลัก (Plenary Speaker) หมุนเวียนกันไปในแต่ละปี[198] รวมทั้งเปิดโอกาสให้นิสิต-นักศึกษาระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษาทั่วโลกได้ร่วมนำเสนอผลงานทั้งแบบบรรยาย (Oral presentation) และแบบโปสเตอร์ (Poster presentation) อีกด้วย

ปัจจุบัน ได้ขยายหัวข้อวิจัย (Research Topics) ครอบคลุมทั้งสาขาวิทยาศาสตร์กาย (Physical Sciences) สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (Biological Sciences) และสาขาวิทยาการข้อมูล (Data Science) ได้แก่[199]

  • Biology
  • Biochemistry
  • Bioinformatics
  • Biotechnology
  • Botany
  • Genetics
  • Microbiology
  • Zoology
  • Applied Radiation and Isotopes
  • Physics
  • Chemistry
  • Nanotechnology
  • Material Science
  • Earth Sciences
  • Data Science
  • Computer Science
  • Mathematics
  • Statistics
ปาฐกถาเกียรติยศโดยนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล

ในโอกาสพิเศษหรือวาระสำคัญต่าง ๆ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้จัดให้มีการปาฐกถาเกียรติยศจากนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล โดยรูปแบบงานจะเป็นการบรรยาย ถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์ จากนักวิทยาศาสตร์ผู้ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลในสาขาต่าง ๆ มาบรรยายให้กับนิสิต คณาจารย์ บุคลากร ตลอดจนนักวิจัยของมหาวิทยาลัยฯ

โดยปาฐกถาเกียรติยศถูกจัดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2555 ซึ่งได้เชิญ Professor Dr. Aaron CIECHANOVER นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล สาขาเคมี ปี 2004 มาเป็นผู้แสดงปาฐกถาเกียรติยศในปีดังกล่าว[200] ณ ห้องประชุมสุธรรม อารีกุล อาคารสารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพมหานคร

ในปี พ.ศ. 2558 ซึ่งเป็นวาระครบรอบ 72 ปี ของการก่อตั้งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทางคณะวิทยาศาสตร์ฯ จึงได้ร่วมกับ The International Peace Foundation in association จัดปาฐกถาเกียรติยศจากนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลขึ้น[201] โดยในปีดังกล่าวได้เชิญนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล จำนวน 2 ท่าน คือ Professor Brian Paul Schmidt นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล สาขาฟิสิกส์ ปี 2011 และ Professor Ei-ichi Negishi นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล สาขาเคมี ปี 2010 มาแสดงปาฐกถาเกียรติยศ[202] ณ ห้องประชุมสุธรรม อารีกุล อาคารสารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพมหานคร

ต่อมาในปี พ.ศ. 2559 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 42 (วทท.42) ร่วมกับสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยฯ[203] กอปรกับเป็นโอกาสฉลองครบรอบ 50 ปี ของการสถาปนาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์[204] จึงได้จัดปาฐกถาเกียรติยศโดยนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล ซึ่งในปีดังกล่าวได้เชิญ Professor Dr. Dan Schectman นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล สาขาเคมี ปี 2011[205] มาเป็นผู้แสดงปาฐกถาเกียรติยศ รวมทั้งสิ้น 2 ครั้ง ในปีเดียวกัน ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา และ ห้องประชุมสุธรรม อารีกุล อาคารสารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพมหานคร ตามลำดับ[206][207][208][209][210][211]

และในปี พ.ศ. 2561 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับ ภาควิชาเคมี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดงานเสวนา Chem-KU Colloquium 2018 และได้เชิญ Professor Robert H. Grubbs นักวิทยาศาสตร์ผู้ได้รับรางวัลโนเบล สาขาเคมี ปี 2005 มาเป็นผู้เสวนาหลัก ณ ห้อง 341 อาคารวิทยาศาสตร์กายภาพ 45 ปี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร[212][213][214]

รายชื่อนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลและหัวข้อปาฐกถา

No.ImageKeynote speakerTopicDate
     1.  Professor Dr. Aaron CIECHANOVER
The Nobel Prize in Chemistry (2004)
The Revolution of Personalized Medicine – Are we going to cure all diseases and at what price??? October 19, 2012
     2.  Professor Brian Paul Schmidt
The Nobel Prize in Physics (2011)
Science: Humanity’s universal bridge January 19, 2015
     3.  Professor Ei-ichi Negishi
The Nobel Prize in Chemistry (2010)
The power of metal catalysis transition for a prosperous and sustainable 21st century January 26, 2015
     4.  Professor Dr. Dan Schectman
The Nobel Prize in Chemistry (2011)
Quasi – Periodic Crystals : A Paradigm Shift in Crystallography

Technological Entrepreneurship - Key to World Peace and Prosperity
November 30, 2016


December 2, 2016
     5.  Professor Robert H. Grubbs
A co-recipient of the Nobel Prize in Chemistry (2005)
Translation From Lab to Startup Company Dialogue with Nobel Laureate September 14, 2018
โครงการ พสวท.

โครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือ โครงการ พสวท. เป็นโครงการภายใต้ความร่วมมือระหว่าง 3 หน่วยงาน ได้แก่ รัฐบาลไทย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อยกระดับการศึกษาและพัฒนาวงการวิทยาศาสตร์ของประเทศ โครงการดังกล่าวจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2527 ลักษณะเป็นการให้ทุนการศึกษาทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอกกับเยาวชนที่มีความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์และมีเงื่อนไขในการชดใช้ทุน

ในปี พ.ศ. 2528 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เข้าร่วมโครงการ พสวท. เป็นปีแรก[215][216]และได้รับอนุมัติให้เป็นศูนย์ระดับมหาวิทยาลัยของโครงการ พสวท.[217] โดยได้เริ่มรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนในโครงการดังกล่าว ใน 27 จังหวัด ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก[218] เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีที่คณะวิทยาศาสตร์และได้รับทุนสนับสนุนตลอด 4 ปีที่ศึกษาอยู่ รวมทั้งได้รับการสนับสนุนให้ศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกอีกด้วย[219]

โดยในระดับปริญญาตรีจะต้องศึกษาในสาขาวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์[220] ได้แก่ คณิตศาสตร์ เคมี ชีววิทยา พฤกษศาสตร์ ฟิสิกส์ วิทยาศาสตร์พื้นพิภพ และสัตววิทยา และในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกสามารถเลือกศึกษาได้ทั้งสาขาวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์และสาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์[221] โดยสาขาในระดับปริญญาโท ได้แก่ คณิตศาสตร์ เคมี จุลชีววิทยา ชีวเคมี ชีววิทยา ชีววิทยาของเซลล์และโมเลกุล พฤกษศาสตร์ พันธุศาสตร์ ฟิสิกส์ วิทยาการวัสดุนาโน วิทยาการคอมพิวเตอร์ วิทยาศาสตร์พื้นพิภพ และสัตววิทยา และสาขาในระดับปริญญาเอก ได้แก่ เคมี ชีววิทยา พฤกษศาสตร์ ฟิสิกส์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ วิทยาการวัสดุนาโน วิทยาศาสตร์พื้นพิภพ และสัตววิทยา[222]

ปัจจุบันโครงการดังกล่าวได้ขยายโอกาสให้กับผู้ที่ศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีสามารถสมัครเข้าเป็นนิสิตในโครงการเพิ่มเติมได้[223] และในส่วนเงื่อนไขการชดใช้ทุนจะคล้ายกับทุนรัฐบาลไทย แต่ระยะเวลาในการชดใช้ทุนจะไม่เกิน 10 ปี

โอลิมปิกวิชาการ

โอลิมปิกวิชาการ (International Science Olympiads) เป็นการแข่งขันทักษะวิชาการในสาขาวิชาต่าง ๆ ระดับนานาชาติ ซึ่งแต่ละประเทศจะคัดเลือกตัวแทนเพื่อเข้าร่วมแข่งขันจากนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและมัธยมศึกษาตอนต้น โดยจะต้องผ่านการอบรมและผ่านการสอบแข่งขันโอลิมปิกวิชาการในระดับชาติก่อน ปัจจุบันมีทั้งสิ้น 14 สาขา ได้แก่ คณิตศาสตร์โอลิมปิก (IMO), ฟิสิกส์โอลิมปิก (IPhO), เคมีโอลิมปิก (IChO), คอมพิวเตอร์โอลิมปิก (IOI), ชีววิทยาโอลิมปิก (IBO), ปรัชญาโอลิมปิก (IPO), ดาราศาสตร์โอลิมปิก (IAO), ภูมิศาสตร์โอลิมปิก (iGeo), ภาษาศาสตร์โอลิมปิก (IOL), วิทยาศาสตร์โอลิมปิก ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (IJSO), โลกและอวกาศโอลิมปิก (IESO), และ ดาราศาสตร์และฟิสิกส์ดาราศาสตร์โอลิมปิก (IOAA) สำหรับประเทศไทยมีสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือ สสวท. และมูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ศึกษา ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ หรือ มูลนิธิ สอวน. เป็นหน่วยงานรับผิดชอบทำหน้าที่กำกับดูแลการอบรมและสอบคัดเลือก ตลอดจนส่งตัวแทนประเทศเข้าร่วมการแข่งขัน

ซึ่ง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีโอกาสได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการทั้งในระดับนานาชาติและระดับชาติหลายครั้ง ได้แก่ การแข่งขันเคมีโอลิมปิกระดับนานาชาติ ครั้งที่ 31 พ.ศ. 2542 ณ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย (เจ้าภาพสาขาเคมีระดับนานาชาติครั้งแรกของประเทศไทย),[224][225][226] การแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระดับนานาชาติ ครั้งที่ 23 พ.ศ. 2554 ณ เมืองพัทยา ประเทศไทย (เจ้าภาพสาขาคอมพิวเตอร์ระดับนานาชาติครั้งแรกของประเทศไทย),[227][228][229] การแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิกระดับเอเชีย ครั้งที่ 10 พ.ศ. 2552 ณ กรุงเทพมหานคร,[230][231][232] การแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2547 ณ กรุงเทพมหานคร, การแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2548 ณ กรุงเทพมหานคร (เจ้าภาพสาขาคอมพิวเตอร์ระดับชาติครั้งแรก), การแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2550 ณ กรุงเทพมหานคร, การแข่งขันเคมีโอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 11 พ.ศ. 2558 ณ กรุงเทพมหานคร, และ การแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 16 พ.ศ. 2560 ณ กรุงเทพมหานคร

ในการแข่งขันเคมีโอลิมปิกระดับนานาชาติ ครั้งที่ 31 (The 31th International Chemistry Olympiad) ระหว่างวันที่ 4–11 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 ณ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันในระดับนานาชาติเป็นครั้งแรก ซึ่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง โดยภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ ทั้งสองสถาบันได้ดำเนินการเป็นเจ้าภาพร่วมกัน และยังเป็นการร่วมเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542 ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ซึ่งในครั้งนั้นได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานในพิธีเปิดการแข่งขัน ณ อาคารจักรพันธ์เพ็ญศิริ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2542[233] โดยมี ฯพณฯ นายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรีและนายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี Dr. Manfred Kerschbaumer ประธานคณะกรรมการดำเนินงาน International Chemistry Olympiad ศาสตราจารย์ ดร. ธีระ สูตะบุตร อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร. วินิจ เจียมสกุล คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร. ภิญโญ พานิชพันธ์ ประธานคณะกรรมการอำนวยการจัดงาน International Chemistry Olympiad ครั้งที่ 31[234] คณาจารย์ นิสิต และบุคลากร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เฝ้าทูลละอองพระบาทรับเสด็จ ซึ่งผลการแข่งขันเคมีโอลิมปิกของประเทศไทยในปีดังกล่าวมีนักเรียนไทยได้รับ 3 เหรียญเงิน และ 1 เหรียญทองแดง[235]

นอกจากนี้ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับมอบหมายจากมูลนิธิ สอวน. ให้เป็นศูนย์ในระดับภูมิภาค (ศูนย์ สอวน. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) ทำหน้าที่รับผิดชอบในการรับสมัครและสอบคัดเลือกตัวแทนในเขตจังหวัดลพบุรี ชัยนาท อุทัยธานี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง นนทบุรี และ ปทุมธานี เพื่อเข้าค่ายอบรมในสาขาวิชาต่าง ๆ[236][237]

สถิติการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการระดับนานาชาติ
สถิติการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเคมีโอลิมปิกระดับนานาชาติ (International Chemistry Olympiad : IChO)
ครั้งที่
ปี
เมือง
ประเทศ
วันที่
เว็บไซต์
จำนวน
หน่วยงานเจ้าภาพ
ข้อสอบตัวอย่าง
หมายเหตุ
31st IChO2542กรุงเทพมหานคร ไทย4–11 กรกฎาคม[238]52 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
สสวท. และมูลนิธิ สอวน.
*เจ้าภาพสาขาเคมีระดับนานาชาติครั้งแรกของไทย
สถิติการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระดับนานาชาติ (International Olympiad in Informatics : IOI)
ครั้งที่
ปี
เมือง
ประเทศ
วันที่
เว็บไซต์
จำนวน
หน่วยงานเจ้าภาพ
ข้อสอบตัวอย่าง
หมายเหตุ
23rd IOI2554พัทยา ไทย22–29 กรกฎาคมn/an/a มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยบูรพา
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
เมืองพัทยา
สสวท. และมูลนิธิ สอวน.
*เจ้าภาพสาขาคอมพิวเตอร์ระดับนานาชาติครั้งแรกของไทย
สถิติการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิกระดับเอเชีย (Asian Physics Olympiad : APhO)
ครั้งที่
ปี
เมือง
ประเทศ
วันที่
เว็บไซต์
จำนวน
หน่วยงานเจ้าภาพ
ข้อสอบตัวอย่าง
หมายเหตุ
10th APhO2552กรุงเทพมหานคร ไทย24 เมษายน–2 พฤษภาคม[239]n/a มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สสวท. และมูลนิธิ สอวน.
สถิติการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการระดับชาติ
สถิติการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระดับชาติ (Thailand Olympiad in Informatics: TOI)
ครั้งที่
ปี
เมือง
ประเทศ
วันที่
เว็บไซต์
จำนวน
หน่วยงานเจ้าภาพ
ข้อสอบตัวอย่าง
หมายเหตุ
1st TOI2548กรุงเทพมหานคร ไทย20-23 เมษายนn/an/a มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สสวท. และมูลนิธิ สอวน.
*เจ้าภาพสาขาคอมพิวเตอร์ระดับชาติครั้งแรกของประเทศไทย
*การแข่งขันครั้งแรกใช้ชื่อว่า การแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิก
สอวน. ครั้งที่ 1 (The First POSN Olympiad in Informatics
2005: 1st POSN – OI 2005)
สถิติการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิกระดับชาติ (Thailand Physics Olympiad: TPhO)
ครั้งที่
ปี
เมือง
ประเทศ
วันที่
เว็บไซต์
จำนวน
หน่วยงานเจ้าภาพ
ข้อสอบตัวอย่าง
หมายเหตุ
3rd TPhO
16th TPhO
2547
2560
กรุงเทพมหานคร ไทย8 พฤษภาคม
8-12 มิถุนายน
n/a
n/a
n/a
n/a
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สสวท. และมูลนิธิ สอวน.
สถิติการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิกระดับชาติ (Thailand Biology Olympiad: TBO)
ครั้งที่
ปี
เมือง
ประเทศ
วันที่
เว็บไซต์
จำนวน
หน่วยงานเจ้าภาพ
ข้อสอบตัวอย่าง
หมายเหตุ
4th TBO2550กรุงเทพมหานคร ไทย29 เมษายน – 3 พฤษภาคมn/an/a มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สสวท. และมูลนิธิ สอวน.
สถิติการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเคมีโอลิมปิกระดับชาติ (Thailand Chemistry Olympiad: TChO)
ครั้งที่
ปี
เมือง
ประเทศ
วันที่
เว็บไซต์
จำนวน
หน่วยงานเจ้าภาพ
ข้อสอบตัวอย่าง
หมายเหตุ
11th TChO2558กรุงเทพมหานคร ไทย1-5 มิถุนายน[240][241]102 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สสวท. และมูลนิธิ สอวน.

ใกล้เคียง

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

แหล่งที่มา

WikiPedia: คณะวิทยาศาสตร์_มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ http://158.108.29.111:8000/office/offsec/ http://158.108.54.4/humanjournal/files/book24-2.pd... http://164.115.28.46/thaiexen/search_detail/result... http://www.alquimicos.com/oq_reg/internacionales/i... http://inews.bangkokbiznews.com/read/382457 http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/786163 http://novataxa.blogspot.com/2020/04/pseudorhabdos... http://pareparaepare-pareparaepare.blogspot.com/20... http://seaskyearth-yerbs.blogspot.com/2014/08/blog... http://trytobemedcadet.blogspot.com/