ชีวิตนิสิตและกิจกรรม ของ คณะวิทยาศาสตร์_มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

การเรียนระดับปริญญาตรีในคณะวิทยาศาสตร์นั้นโดยทั่วไปจะใช้ระยะเวลา 4 ปีในการเรียน มีทั้งวิชาที่เรียนในคณะฯ และวิชาที่เรียนนอกคณะฯ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมทั้งของมหาวิทยาลัยและของคณะฯ ให้นิสิตได้เข้าร่วมเพื่อพัฒนาศักยภาพในด้านต่าง ๆ หรือตามที่ตนเองถนัดและสนใจ ซึ่งเป็นการเสริมสร้างทักษะ เรียนรู้ความแตกต่าง และเรียนรู้การอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม โดยนิสิตในระดับปริญญาตรีจะต้องร่วมกิจกรรมด้านต่าง ๆ ให้ครบหน่วยชั่วโมงตามระเบียบฯ และข้อบังคับของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่กำหนดไว้

ในด้านสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ภายในคณะที่มีไว้ให้บริการกับนิสิต เช่น ห้องสมุดคณะวิทยาศาสตร์ ห้องบริการคอมพิวเตอร์ โรงอาหารคณะวิทยาศาสตร์ ห้องทำกิจกรรมชมรม สวนหย่อมและสถานที่พักผ่อนตามมุมต่าง ๆ ร้านสะดวกซื้อ ร้านกาแฟ

ประเพณีต้อนรับน้องใหม่

ประเพณีต้อนรับน้องใหม่ของคณะวิทยาศาสตร์ในสมัยเดิมนั้นเป็นไปตามแนวปฏิบัติการต้อนรับน้องใหม่ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวคือไม่ได้มีการจัดเป็นพิธีการหลายขั้นตอนแต่อย่างใด เพียงแต่ให้น้องใหม่ขึ้นรถไฟจากสถานีหัวลำโพงมาลงที่สถานีบางเขน ซึ่งจะมีรุ่นพี่คอยรับแล้วนำขบวนเข้าสู่มหาวิทยาลัย จากนั้นจะมีการกินเลี้ยงสังสรรค์รื่นเริงต่อในช่วงค่ำ[242] ทั้งนี้กิจกรรมดังกล่าวได้มีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสมเรื่อยมาจนปรากฏเป็นกิจกรรมเชิงสันทนาการและแนะแนวการใช้ชีวิตในระดับอุดมศึกษาดังเช่นในปัจจุบัน

  • ก้าวแรกสู่บัณฑิตยุคใหม่ : เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจตลอดจนกระบวนการเรียนรู้ในการดำเนินชีวิตและวิถีชีวิตของนิสิตใหม่ในระดับมหาวิทยาลัย และยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และสามารถศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยได้อย่างมีความสุข
  • แรกพบคณะวิทยาศาสตร์ (Science @ First Sight) : เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อให้นิสิตรุ่นน้องที่เพิ่งสอบเข้ามาใหม่ได้มาพบปะกับเพื่อนใหม่และรุ่นพี่ในคณะฯ ทั้งจากภาควิชาเดียวกันและต่างภาควิชา เพื่อเรียนรู้และสัมผัสกับวัฒนธรรมและสังคมภายในคณะฯ ตลอดจนสร้างความรัก ความผู้พัน และความประทับใจระหว่างรุ่นพี่กับรุ่นน้อง
  • สอนน้องร้องเพลง : เป็นกิจกรรมที่จัดโดยสโมสรนิสิตคณะวิทยาศาสตร์ เป็นการเตรียมความพร้อมและเป็นการสอนนิสิตน้องใหม่ให้ได้รู้จักและทราบถึงบทเพลงสำคัญของคณะวิทยาศาสตร์และของมหาวิทยาลัยฯ รวมทั้งยังเป็นการสร้างสำนึกรักและความภาคภูมิในการเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร ตลอดจนสร้างความสัมพันธ์อันดีและความสามัคคีให้เกิดขึ้นในหมู่คณะ
กิจกรรมค่าย

เป็นกิจกรรมค่ายส่วนกลางของคณะวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีการร่วมมือกับองค์ภายนอกในการจัดกิจกรรมด้วย อาทิ

  • ค่ายสนุกคิดกับวิทยาศาสตร์ (Zygote Camp)[243] : กิจกรรมแนะนำคณะวิทยาศาสตร์ให้แก่นักเรียนมัธยมฯ เยี่ยมชมห้องปฏิบัติการ ทัศนศึกษา และทำกิจกรรมอนุรักษ์ [244]
  • เปิดบ้านมหาวิทยาลัยเด็ก (Thailand Children’s University) [245] : กิจกรรมแนะนำและทดลองทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายและมัธยมศึกษาตอนต้น ให้ได้สัมผัสการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย ได้ใกล้ชิดกับผู้เชี่ยวชาญ คณาจารย์ และนักวิจัย

นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมค่ายจากภาควิชาต่าง ๆ ของคณะวิทยาศาสตร์ เน้นในด้านการแนะนำภาควิชา ซึ่งดำเนินการโดยนิสิตของภาควิชานั้น ๆ

กิจกรรมวิชาการ
  • วิทยาติวเตอร์ (VIDYA TUTOR) : โครงการวิทยาติวเตอร์ จัดโดยสโมสรนิสิตคณะวิทยาศาสตร์ เป็นโครงการติวทบทวนบทเรียนรายวิชาพื้นฐานให้กับนิสิตรุ่นน้องโดยนิสิตรุ่นพี่
งานประจำปี
  • กิจกรรมออกร้านงานเกษตรแฟร์ : เป็นกิจกรรมประจำปีซึ่งจะจัดในช่วงปลายเดือนมกราคมถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ โดยทางคณะวิทยาศาสตร์จะมีการออกร้านอาหารและบริหารงานโดยสโมสรนิสิตคณะวิทยาศาสตร์ฯ ร่วมกับนิสิตคณะวิทยาศาสตร์ชั้นปีต่าง ๆ
  • งานระลึกวันคล้ายวันสถาปนาคณะวิทยาศาสตร์ : ทุกวันที่ 9 มีนาคม ของทุกปี คณะวิทยาศาสตร์ได้จัดให้มีงานระลึกวันคล้ายวันสถาปนาคณะวิทยาศาสตร์ขึ้น โดยกิจกรรมหลักในงานประกอบไปด้วย พิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ การปาฐกถาและบรรยายพิเศษจากคณาจารย์และผู้ทรงคุณวุฒิ มีพิธีมอบ ‘รางวัลคณะวิทยาศาสตร์’[247] ในสาขาต่าง ๆ ให้แก่คณาจารย์ บุคลากร นิสิตเก่า นิสิตปัจจุบัน และผู้ทำคุณประโยชน์ ที่สร้างชื่อเสียงและประสบความสำเร็จ และในช่วงท้ายจะเป็นการประชุมประจำปีของสมาคมนิสิตเก่าวิทยาศาสตร์ มก.[248]
อาสาและบำเพ็ญประโยชน์
  • อะตอมอาสา (ATOM SHARE) : ค่ายอาสาคณะวิทยาศาสตร์ มักรู้จักกันในชื่อ "ATOM SHARE" จัดขึ้นโดยสโมสรนิสิตคณะวิทยาศาสตร์ เพื่อมอบความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ให้แก่ชุมชน จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีและในแต่ละปีสถานที่จัดกิจกรรมจะหมุนเวียนไม่ซ้ำกัน
  • ค่ายเกียร์ - อะตอม (Gear - Atom Camp) : ค่ายกิจกรรมอาสาระหว่างนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์และคณะวิทยาศาสตร์ จัดขึ้นเพื่อพัฒนานิสิตในด้านการช่วยเหลือสังคมและบำเพ็ญประโยชน์ ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี อาทิ ทาสีสร้างฝัน
กีฬาและนันทนาการ
  • SC Games (Science Sports Game) : การแข่งขันกีฬาภายในของนิสิตภาควิชาต่าง ๆ ในคณะวิทยาศาสตร์ เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างนิสิตชั้นปีเดียวกัน ต่างชั้นปี และต่างภาควิชาฯ
  • ผู้นำเชียร์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (Atom Cheer KU) : เป็นกลุ่มตัวแทนนิสิตของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำหรับทำหน้าที่นำเชียร์หรือทำการแสดงประกอบกิจกรรมสำคัญต่าง ๆ
  • กีฬาวิทยาศาสตร์สัมพันธ์แห่งประเทศไทย (Atom Games)
กีฬาวิทยาศาสตร์สัมพันธ์
แห่งประเทศไทย

Atom Games
ข้อมูลทั่วไป
จัดการแข่งขันครั้งแรกพ.ศ. 2534 (ครั้งที่ 1)
เจ้าภาพครั้งแรก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เจ้าภาพครั้งล่าสุด คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

กีฬาวิทยาศาสตร์สัมพันธ์แห่งประเทศไทย หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "อะตอมเกมส์" ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2533 โดยกลุ่มนิสิต นักศึกษา จากคณะวิทยาศาสตร์ เป็นการแข่งขันกีฬาระหว่างคณะวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วประเทศ[249] และเริ่มเปิดการแข่งขันอย่างเป็นทางการครั้งแรกในปี พ.ศ. 2534 ซึ่ง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันในครั้งแรกและอีกหลายครั้งด้วยกัน ดังนี้ กีฬาวิทยาศาสตร์สัมพันธ์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2534, กีฬาวิทยาศาสตร์สัมพันธ์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 7 พ.ศ. 2540 และกีฬาวิทยาศาสตร์สัมพันธ์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 18 พ.ศ. 2551

สถิติการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน

การแข่งขันนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 จนถึงปัจจุบัน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาวิทยาศาสตร์สัมพันธ์แห่งประเทศไทย มาแล้วรวมทั้งสิ้น 3 ครั้ง

มหาวิทยาลัยเจ้าภาพจำนวนครั้งรวมครั้งที่เป็นเจ้าภาพอ้างอิง
ครั้งที่ประจำปี พ.ศ.
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์3ครั้งที่ 1
ครั้งที่ 7
ครั้งที่ 18
พ.ศ. 2534
พ.ศ. 2540
พ.ศ. 2551
[250]
  • กีฬาประเพณีวิทยาศาสตร์ เกษตรฯ-ลาดกระบัง (KU-KMITL Science Traditional Sport)
กีฬาประเพณีวิทยาศาสตร์
เกษตรฯ–ลาดกระบัง

KU-KMITL Science Traditional Sport
คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ข้อมูลทั่วไป
จัดการแข่งขันครั้งแรก3 ตุลาคม พ.ศ. 2558
(ครั้งที่ 1)
สถานที่แข่งขันครั้งแรกสำนักการกีฬา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เจ้าภาพครั้งแรก คณะวิทยาศาสตร์ มก.
เจ้าภาพครั้งล่าสุด คณะวิทยาศาสตร์ สจล.

กีฬาประเพณีวิทยาศาสตร์ เกษตรฯ-ลาดกระบัง เป็นการแข่งขันกีฬาประเพณีระหว่างคณะวิทยาศาสตร์จาก 2 สถาบัน คือ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กับ คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เริ่มจัดการแข่งขันครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2558 โดยแต่ละสถาบันจะสลับกันเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน สถานที่จัดการแข่งขันจะสลับตามเจ้าภาพในปีนั้นๆ[251]

กิจกรรมภายในงานประกอบไปด้วย การแข่งขันบาส แชร์บอล ฟุตบอล กิจกรรมสันทนาการและกองเชียร์ การแสดงและคอนเสิร์ตเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างนิสิตวิทยาศาสตร์ มก. กับนักศึกษาวิทยาศาสตร์ สจล.

นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมในระดับภาควิชาซึ่งเป็นกิจกรรมที่แต่ละภาควิชาใน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เข้าร่วมหรือเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกับภาควิชาเดียวที่สังกัดกันในมหาวิทยาลัยอื่นๆ เช่น กีฬาเคมีสัมพันธ์, กีฬาสัมพันธภาพฟิสิกส์, กีฬาคณิตศาสตร์สัมพันธ์, งานกีฬา-วิชาการจุลชีววิทยาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย, กีฬาสถิติสัมพันธ์, งานธรณีสัมพันธ์ เป็นต้น

ใกล้เคียง

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

แหล่งที่มา

WikiPedia: คณะวิทยาศาสตร์_มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ http://158.108.29.111:8000/office/offsec/ http://158.108.54.4/humanjournal/files/book24-2.pd... http://164.115.28.46/thaiexen/search_detail/result... http://www.alquimicos.com/oq_reg/internacionales/i... http://inews.bangkokbiznews.com/read/382457 http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/786163 http://novataxa.blogspot.com/2020/04/pseudorhabdos... http://pareparaepare-pareparaepare.blogspot.com/20... http://seaskyearth-yerbs.blogspot.com/2014/08/blog... http://trytobemedcadet.blogspot.com/