ที่ตั้ง ของ คณะวิทยาศาสตร์_มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

พื้นที่และอาณาเขต

พื้นที่ของคณะวิทยาศาสตร์มีการเปลี่ยนแปลงอยู่หลายครั้ง เนื่องจากในสมัยแรกนั้นอาคารเรียนและแผนกวิชาต่าง ๆ ยังตั้งอยู่ในพื้นที่ กรม กอง ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์[121][122] ภายในเกษตรกลางบางเขน ต่อมาเมื่อมีการจัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ขึ้นในปี พ.ศ. 2509 อาคารเรียนต่าง ๆ จึงเริ่มก่อสร้างขึ้นในพื้นที่ปัจจุบัน ซึ่งพื้นที่ของคณะวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันมีอาณาเขตทั้งสิ้นประมาณ 40,000 ตารางเมตร หรือราว 25 ไร่ ล้อมรอบด้วยถนน 4 ด้าน ได้แก่ ถนนระพี สาคริก (ทิศเหนือ) ถนนสุวรรณวาจกกสิกิจ (ทิศตะวันออก) ถนนชูชาติกำภู (ทิศตะวันตก) และถนนที่คั่นระหว่างคณะวิทยาศาสตร์กับโรงเรียนอนุบาลคหกรรมศาสตร์และกองเกษตรเคมี กระทรวงเกษตรฯ (ทิศใต้)[123]

โดยพื้นที่ด้านทิศเหนือ ประกอบด้วย ตึกสัตววิทยา และอาคารศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ 60 พรรษา พื้นที่ส่วนนี้อยู่ตรงข้ามกับสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และศูนย์เรียนรวม 1 (ศร.1) พื้นที่ด้านทิศตะวันออก ประกอบด้วย อาคารทวี ญาณสุคนธ์ (SCL) และตึกสุวรรณวาจกกสิกิจ พื้นที่ส่วนนี้อยู่ตรงข้ามกับคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พื้นที่ด้านทิศตะวันตก ประกอบด้วย อาคารวิฑูรย์ หงส์สุมาลย์ (ตึกฟิสิกส์) อาคารกฤษณา ชุติมา (ตึกเคมี) และตึกชีวเคมี พื้นที่ส่วนนี้อยู่ตรงข้ามกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พื้นที่ด้านทิศใต้ ประกอบด้วย อาคารสุขประชา วาจานนท์ (ตึกวิทยาศาสตร์ 25 ปี) และอาคารเรือนเพาะชำ พื้นที่ส่วนนี้อยู่ตรงข้ามกับโรงเรียนอนุบาลคหกรรมศาสตร์และกองเกษตรเคมี และพื้นที่กลางคณะฯ ประกอบด้วย ตึกสถิติ-คณิตศาสตร์-คอมพิวเตอร์ (ตึก SMC) ตึกจุลชีววิทยา-พันธุศาสตร์ อาคารศาลาลอย และอาคารวิทยาศาสตร์กายภาพ 45 ปี

ในส่วนของพื้นที่กลางคณะฯ บริเวณทางเชื่อมระหว่างตึกสถิติ-คณิตศาสตร์-คอมพิวเตอร์ และตึกจุลชีววิทยา-พันธุศาสตร์ มีต้นไม้สำคัญของคณะวิทยาศาสตร์ ได้แก่ ‘ต้นสาละลังกา’ ซึ่งสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ได้ทรงปลูกไว้เนื่องในโอกาสครบรอบ 27 ปี ของคณะวิทยาศาสตร์[124] โดยแต่เดิมนั้นทรงปลูกไว้บริเวณหน้าอาคารสุขประชา วาจานนท์ ก่อนจะย้ายมายังบริเวณปัจจุบัน

อาคารและสถาปัตยกรรม

ในพื้นที่ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีการพัฒนาทางกายภาพมาเป็นเวลากว่า 50 ปี นับตั้งแต่ก่อตั้งเป็นคณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ จึงทำให้เขตพื้นที่ของคณะวิทยาศาสตร์มีอาคารที่แสดงถึงยุคสมัยต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี มีทั้งอาคารแบบสถาปัตยกรรมในยุคโมเดิร์น อาคารแบบสถาปัตยกรรมไทยร่วมสมัย ไปจนถึงอาคารที่ถอดแบบจากลักษณะ “จั่วสามมุข” อัตลักษณ์ทางปรัชญาของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์[125]

อาคารทวี ญาณสุคนธ์

อาคารวิฑูรย์ หงส์สุมาลย์ (ตึกฟิสิกส์) | Physics Building เดิมชื่อว่า “ตึกฟิสิกส์” สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2512 เป็นอาคารหลังแรกของคณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ ความสูง 5 ชั้น พื้นที่ประมาณ 3,096 ตารางเมตร[126] ออกแบบโดยองอาจ สาตรพันธุ์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ ด้านสถาปัตยกรรมร่วมสมัย ปี พ.ศ. 2552[127] รูปแบบของอาคารเป็นแบบสถาปัตยกรรมคอนกรีตเปลือย หรือ Brutalism ได้รับอิทธิพลจาก เลอกอร์บูซีเย (Le Corbusier) อย่างชัดเจน[128] แสดงให้เห็นถึงแนวความคิดสัจจะวัสดุ ซึ่งเป็นข้อบ่งบอกถึงความเป็นสถาปัตยกรรมยุคโมเดิร์น[129][130] ทางลาดโค้งทอดยาวด้านหน้าอาคารทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมต่อพื้นที่ภายนอกและภายในอาคาร สภาพของอาคารส่วนมากยังคงเดิมตามแบบฉบับ มีเพียงการปรับเปลี่ยนการใช้พื้นที่บางส่วนให้เหมาะสมกับลักษณะการใช้งานและจำนวนผู้ใช้ที่เปลี่ยนไปตามยุคตามสมัย ถือว่าอาคารเป็นอาคารที่มีรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบร่วมสมัยเป็นอย่างมาก [131] โดยอาคารดังกล่าวถูกจัดให้เป็นอาคารที่ควรอนุรักษ์เป็นลำดับที่ 2 โดยคณะกรรมการอนุรักษ์อาคารและสิ่งก่อสร้างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์[132][133][134]

นอกจากนี้ อาคารเรียนฟิสิกส์หลังนี้ยังเคยใช้เป็นสถานที่ทรงพระอักษรในรายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานของสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ขณะที่ทรงศึกษา ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ด้วย[135]

ตึกสัตววิทยา | Zoology Building เดิมชื่อว่า “ตึกชีววิทยา” สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2515 เป็นอาคารหลังที่ 2 ของคณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ ความสูง 5 ชั้น ซึ่งในสมัยนั้นใช้เป็นทั้งที่ทำการ ห้องทำงาน และห้องปฏิบัติการทางจุลชีววิทยา สัตววิทยา และพฤกษศาสตร์[136] ต่อมาได้มีการแยกสาขาวิชาทางชีววิทยาแขนงต่าง ๆ ออกไปจัดตั้งเป็น ‘ภาควิชา’ และสังกัดยังตึกใหม่ ได้แก่ ภาควิชาจุลชีววิทยา ภาควิชาพันธุศาสตร์ ภาควิชาพฤกษศาสตร์ ภาควิชารังสีประยุกต์และไอโซโทป และภาควิชาสัตววิทยา (ดูแลสาขาชีววิทยาด้วย) ซึ่งภาควิชาสัตววิทยาได้รับการจัดสรรพื้นที่ให้สังกัดอยู่ที่ตึกชีววิทยาเดิม และต่อมาได้มีการปรับปรุงและก่อสร้างตึกใหม่แทนที่ตึกชีววิทยาเดิม โดยใช้ชื่อตึกใหม่ว่า “ตึกสัตววิทยา” [137][138] ปัจจุบัน ตึกสัตววิทยาใช้เป็นอาคารเรียนและปฏิบัติการของภาควิชาสัตววิทยาและสาขาวิชาชีววิทยา โดยที่บริเวณชั้น 1 เป็นที่ตั้งของ "พิพิธภัณฑ์สัตววิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์" จัดแสดงนิทรรศการและตัวอย่างสัตว์ในรูปแบบต่าง ๆ

ตึกจุลชีววิทยา-พันธุศาสตร์อาคารวิทยาศาสตร์กายภาพ ๔๕ ปี

อาคารกฤษณา ชุติมา (ตึกเคมี) | Chemistry Building สร้างในปี 2518 หลังจากที่คณะฯ ย้ายมาอยู่บริเวณพื้นที่ใหม่ทางฝั่งตะวันตกของประตูงามวงศ์วาน 1 ออกแบบและวางโครงสร้างอาคารโดยศาสตราจารย์ ดร.กฤษณา ชุติมา (หัวหน้าแผนกวิชาเคมีในขณะนั้น) ลักษณะเป็นอาคารเรียนและปฏิบัติการสูง 6 ชั้น มีดาดฟ้า พื้นที่ประมาณ 8,851 ตารางเมตร[139] ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของถนนหลวงสุวรรณฯ (ถือเป็นอาคารที่สูงที่สุดในมหาวิทยาลัย ณ ขณะนั้น)[140]

ตึกจุลชีววิทยา-พันธุศาสตร์ | Microbiology-Genetics Building เป็นอาคารเรียนและปฏิบัติการของภาควิชาจุลชีววิทยาและภาควิชาพันธุศาสตร์ ลักษณะเป็นอาคาร 6 ชั้น พื้นที่ประมาณ 6,118 ตารางเมตร[141] โดยชั้นที่ 1-3 เป็นที่ทำการภาควิชาจุลชีววิทยา และชั้นที่ 4-6 เป็นที่ทำการภาควิชาพันธุศาสตร์

ตึกชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มก.

อาคารศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์ 60 พรรษา | The Princess Chulabhorn Science Research Center (In Celebration of Princess Chulabhorn's 60th Birthday) จัดตั้งขึ้นในปีที่คณะวิทยาศาสตร์ครบรอบ 50 ปีแห่งการสถาปนา เพื่อเป็นสถานที่ส่งเสริมและสนับสนุนแผนงานของคณะวิทยาศาสตร์ภายใต้วิสัยทัศน์ Excellence in Natural Science in ASEAN by 2022 และเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของประเทศ (National Learning Significance) ลักษณะเป็นอาคารปฏิบัติการวิจัยรวม ความสูง 12 ชั้น และ 6 ชั้น ตัวอาคารถูกออกแบบมาให้ประหยัดพลังงานและมีการจัดการอาคารแบบ Green Energy Building ภายในประกอบด้วย หน่วยปฏิบัติการวิจัยเชี่ยวชาญเฉพาะทาง (Special Research Unit) ศูนย์เทคโนโลยีบ่มเพาะธุรกิจและผู้ประกอบการ (Technological Entrepreneurship) ศูนย์วิจัยร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม เป็นต้น และได้รับพระกรุณาคุณจากศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี พระราชทานนามอาคารใหม่ของคณะวิทยาศาสตร์นี้ว่า “อาคารศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์ 60 พรรษา” ตามหนังสือที่ รล 0011.3/10678 ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560[142]

อาคารวิทยาศาสตร์กายภาพ ๔๕ ปี | Science 45 Years Building จัดตั้งขึ้นในปีที่คณะวิทยาศาสตร์ครบรอบ 45 ปีแห่งการสถาปนา ลักษณะเป็นอาคารเรียนและปฏิบัติการสูง 12 ชั้น สำหรับภาควิชาคณิตศาสตร์ ภาควิชาฟิสิกส์ ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ และภาควิชาสถิติ โดยในชั้นที่ 2 ของอาคารเป็นศูนย์อาหารคณะวิทยาศาสตร์ และบริเวณโถงชั้นล่างเป็นลานกิจกรรมรวมสำหรับนิสิตคณะวิทยาศาสตร์[143]

ตึกชีวเคมี | Biochemistry Building เป็นอาคารเรียนและปฏิบัติการของภาควิชาชีวเคมี ตั้งอยู่ตรงข้ามกับภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ลักษณะเป็นอาคาร 4 ชั้น พื้นที่ประมาณ 5,376 ตารางเมตร[144] ในอดีตที่บริเวณชั้น 1 เคยใช้เป็นทั้งห้องปฏิบัติการภาษาของคณะมนุษยศาสตร์ก่อนจะย้ายไปยังที่ทำการใหม่ และเคยใช้เป็นที่ทำการของภาควิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไปด้วย

ตึกสถิติ-คณิตศาสตร์-คอมพิวเตอร์ (ตึก SMC) | Statistics - Mathematics - Computer Science Building เดิมชื่อ “ตึกภาษา-สถิติ” ลักษณะเป็นอาคารเรียนและปฏิบัติการ ความสูง 5 ชั้น พื้นที่ประมาณ 4,590 ตารางเมตร[145] ในสมัยที่ยังเป็นคณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ ซึ่งใช้เป็นทั้งที่ทำการภาควิชาสถิติของคณะวิทยาศาสตร์และยังใช้เป็นที่ทำการของคณะมนุษยศาสตร์ในสมัยแรกตั้งด้วย[146] ต่อมาเมื่อคณะมนุษยศาสตร์มีที่ทำการใหม่ในพื้นที่ใหม่แล้ว ตึกนี้จึงถูกใช้เป็นอาคารเรียนและปฏิบัติการของภาควิชาสถิติ ภาควิชาคณิตศาสตร์ และภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ในเวลาต่อมา

อาคารเรือนเพาะชำ | Nursery เป็นอาคารชั้นเดียว ตั้งอยู่บริเวณด้านหลังอาคารสุขประชา วาจานนท์ เป็นแหล่งรวบรวมตัวอย่างและข้อมูลความรู้ทางด้านพืชและเป็นที่ตั้ง "พิพิธภัณฑ์องค์ความรู้ทางพฤกษศาสตร์" ของภาควิชาพฤกษศาสตร์ด้วย

อาคารสุขประชา วาจานนท์ (ตึกวิทยาศาสตร์ ๒๕ ปี) | Science 25 Years Building เดิมชื่อ “อาคารวิทยาศาสตร์ 25 ปี” ก่อนจะเปลี่ยนชื่ออาคารใหม่เป็น “อาคารสุขประชา วาจานนท์” [147]ก่อสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2536 เป็นอาคารเรียนและสำนักงาน ความสูง 5 ชั้น[148] เป็นทั้งที่ทำการสำนักงานเลขานุการคณะวิทยาศาสตร์ (ชั้นที่ 2) ที่ทำการภาควิชารังสีประยุกต์และไอโซโทป (ชั้นที่ 1) ที่ทำการภาควิชาพฤกษศาสตร์ (ชั้นที่ 3) ที่ทำการภาควิชาวิทยาศาสตร์พื้นพิภพ (ชั้นที่ 4) และที่ทำการภาควิชาวัสดุศาสตร์ (ชั้นที่ 5) นอกจากนี้ยังได้รับพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก เสด็จเปิดอาคารเมื่อวันที่ 9 มีนาคม พุทธศักราช 2536[149] ซึ่งตรงกับวันสถาปนาคณะวิทยาศาสตร์ ครบรอบปีที่ 27

อาคารทวี ญาณสุคนธ์ (SCL) | Science Laboratory Building ก่อสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2538 สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2542 เดิมชื่อว่า “อาคารปฏิบัติการรวมวิทยาศาสตร์พื้นฐาน” ก่อนจะเปลี่ยนชื่ออาคารใหม่เป็น “อาคารทวี ญาณสุคนธ์”[150] และมักเรียกกันโดยทั่วไปว่า “ตึก SCL” รูปแบบเป็นอาคารปฏิบัติการวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ความสูง 10 ชั้น พื้นที่ประมาณ 15,000 ตารางเมตร[151] โดยอาคารดังกล่าวถูกออกแบบตามอิทธิพลแบบตะวันตกในสมัยนั้น และถูกออกแบบให้มีลักษณะด้านโพสต์โมเดิร์นแบบไทยร่วมสมัย ส่วนฐานมีลักษณะเป็นเสาหุ้มขนาดใหญ่และตกแต่งด้วยบัวทำให้ดูเสมือนฐานและส่วนของตัวอาคารแยกออกจากกัน นอกจากนี้ยังมีการเจาะหน้าต่างเป็นช่องอย่างเป็นระบบ[152] ทั้งนี้ ยังได้รับพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก เสด็จเปิดอาคารเมื่อวันที่ 9 มีนาคม พุทธศักราช 2542[153] ซึ่งตรงกับวันสถาปนาคณะวิทยาศาสตร์ ครบรอบปีที่ 33

ตึกสุวรรณวาจกกสิกิจ | Suwan Vajokkasikij Building เป็นอาคารเก่า ก่อสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2506 สถาปนิกผู้ออกแบบ คือ ผศ.ทองพันธ์ พูลสุวรรณ์ จุดประสงค์เพื่อใช้เป็นอาคารเรียนรวมของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในสมัยนั้น ลักษณะเป็นอาคารคอนกรีต 2 ชั้น พื้นและผนังทำจากไม้ มีป้ายชื่ออาคารแกะจากไม้เขียนว่า “สุวรรณวาจกกสิกิจ” บริเวณชั้นบนของอาคารเป็นห้องบรรยายขนาด 300 ที่นั่ง และชั้นล่างเป็นใต้ถุนโล่ง ต่อมามีการปรับปรุงชั้นล่างให้เป็นพื้นที่สำนักงาน ซึ่งอดีตเคยใช้เป็นที่ทำการไปรษณีย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และที่ทำการธนาคารทหารไทย ทั้งนี้ อาคารดังกล่าวถูกจัดให้เป็นอาคารที่ควรอนุรักษ์เป็นลำดับที่ 3 โดยคณะกรรมการอนุรักษ์อาคารและสิ่งก่อสร้างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์[154]

  • หมู่ตึกในคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • อาคารวิฑูรย์ หงษ์สุมาลย์ (ตึกฟิสิกส์) ออกแบบโดย อาจารย์องอาจ สาตรพันธุ์ พ.ศ. ๒๕๑๒
  • อาคารกฤษณา ชุติมา (ตึกเคมี)
  • อาคารสุขประชา วาจานนท์ (ตึกวิทยาศาสตร์ ๒๕ ปี)
  • อาคารวิทยาศาสตร์กายภาพ ๔๕ ปี
  • อาคารศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ๖๐ พรรษา
  • อาคารสัตววิทยา

การตั้งชื่อและความหมายของชื่อตึกอาคารต่าง ๆ ภายในคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นิยมใช้การตั้งชื่อจากชื่อบุคคลสำคัญผู้มีคุณูปการแก่คณะฯ คณบดี และพระบรมวงศานุวงศ์ เพื่อเป็นการยกย่องและรำลึกถึงบุคคลผู้มีคุณความดีนั้น ๆ เช่น อาคารทวี ญาณสุคนธ์[155][156], อาคารกฤษณา ชุติมา, อาคารสุขประชา วาจานนท์[157], อาคารวิฑูรย์ หงษ์สุมาลย์[158], อาคารศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ๖๐ พรรษา เป็นต้น และยังนิยมใช้การตั้งชื่อตึกอาคารจากวันและเหตุการณ์สำคัญของคณะฯ เช่น อาคารวิทยาศาสตร์กายภาพ ๔๕ ปี, อาคารวิทยาศาสตร์ ๒๕ ปี (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น อาคารสุขประชา วาจานนท์) เป็นต้น นอกจากนี้ ยังพบการตั้งชื่อตึกอาคารจากภารกิจและพันธกิจของตึกอาคารนั้น ๆ เช่น ตึกชีวเคมี ตึกสัตววิทยา ตึกจุลชีววิทยา-พันธุศาสตร์ ตึกสถิติ-คณิตศาสตร์-คอมพิวเตอร์ เป็นต้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงค่านิยมในการยกย่องผู้ทำคุณประโยชน์และสะท้อนความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ของคณะวิทยาศาสตร์ ตลอดจนสะท้อนให้เห็นความมุ่งหมายในการก่อตั้งคณะฯ และจุดประสงค์ในการก่อสร้างตึกอาคารต่าง ๆ

พิพิธภัณฑ์

อาคารพิพิธภัณฑ์สัตววิทยา

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีพิพิธภัณฑ์เปิดให้ประชาชนได้เข้าชม พิพิธภัณฑ์ดังกล่าวตั้งอยู่ตามภาควิชาต่าง ๆ ภายในพื้นที่ของคณะวิทยาศาสตร์ ส่วนใหญ่เป็นพิพิธภัณฑ์เชิงธรรมชาติวิทยาจัดแสดงความหลากหลายทางชีวภาพทั้งพืชและสัตว์ โดยตัวอย่างที่จัดแสดงอยู่ภายในพิพิธภัณฑ์เป็นตัวอย่างที่ได้จากการเก็บสะสมจากการสำรวจในภาคสนาม เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลสำหรับการเรียนการสอนและการวิจัย

พิพิธภัณฑ์สัตววิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (Zoological Museum Kasetsart University) ตั้งอยู่ที่บริเวณชั้น 1 ตึกสัตววิทยา เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2509 มีการเก็บรวบรวมตัวอย่างเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน พิพิธภัณฑ์สัตววิทยาเป็น 1 ใน 12 แหล่งเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ [159]

ภายในจัดแสดงนิทรรศการและตัวอย่างสัตว์ในรูปแบบความหลากหลายและวิวัฒนาการของอาณาจักรสัตว์ที่พบในประเทศไทย ตั้งแต่สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กไปจนถึงสัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับ นักเรียน นิสิต นักศึกษาและบุคคลทั่วไป นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งข้อมูลและพัฒนางานวิจัยด้านความหลากหลายของสัตว์โดยบุคลากรของภาควิชาสัตววิทยา ตัวอย่างที่เป็น highlights ของพิพิธภัณฑ์สัตววิทยามีความหลากหลายในแง่ สถานภาพใกล้สูญพันธ์ หายาก

พิพิธภัณฑ์สัตววิทยายังเป็นแหล่งข้อมูลด้านการวิจัยเกี่ยวกับความหลากหลายของสัตว์ให้กับนักวิจัยไทยและต่างประเทศโดยมีส่วนที่เป็นตัวอย่างอ้างอิงมาจากงานวิจัยของคณาจารย์ซึ่งมีการค้นพบชนิดพันธ์ใหม่ของโลกอย่างต่อเนื่อง เช่น แมลงชีปะขาว พยาธิตัวตืด ปาดเรียวมลายู เป็นต้น

พิพิธภัณฑ์องค์ความรู้ทางพฤกษศาสตร์ (Botanical Museum) ตั้งอยู่บริเวณเรือนเพาะชำของภาควิชาพฤกษศาสตร์ พิพิธภัณฑ์ได้มีการเก็บรวบรวมตัวอย่างพืชมาตั้งแต่ในช่วงเริ่มก่อตั้งภาควิชาฯ กระทั่งในปี พ.ศ. 2536[160] จึงได้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์พืชอย่างเป็นทางการ ต่อมาในปี พ.ศ. 2549 ได้ปรับปรุงเพิ่มเติมดังเช่นในปัจจุบัน ซึ่งภายในจัดแสดงตัวอย่างพืช ส่วนประกอบและโครงสร้างพืช วิวัฒนาการและความหลากหลายของพืช การใช้ประโยชน์ ตลอดจนพืชเศรษฐกิจ และบริเวณโดยรอบยังจัดแสดงพรรณไม้ซึ่งหาดูยากชนิดต่าง ๆ ไว้ด้วย[161][162][163]

ห้องสมุด

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีห้องสมุดกลางชื่อว่า ห้องสมุดคณะวิทยาศาสตร์ (อังกฤษ: Library, Faculty of Science; ชื่อย่อ: วิทยาศาสตร์ , Science)[164] และมีห้องสมุดเฉพาะด้านตามภาควิชา เช่น ห้องสมุดภาควิชาเคมี เป็นต้น ห้องสมุดของคณะวิทยาศาสตร์เป็นห้องสมุดระดับคณะ ตั้งอยู่ที่ ชั้น 2 อาคารทวี ญาณสุคนธ์ มีตำรากว่า 10,000 เล่ม และมีวารสาร 160 รายชื่อ[165] ตำราทุกเล่มถูกจัดจำแนกเป็นหมวดหมู่ด้วยระบบเดียวกับสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คือใช้ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress)[166] ห้องสมุดคณะวิทยาศาสตร์เปิดให้บริการทั้งนิสิต คณาจารย์ บุคลากร ตลอดจนประชาชนทั่วไปในเวลาราชการ

ห้องสมุดภาควิชาเคมี (อังกฤษ: Library, Department of Chemistry, Faculty of Science; ชื่อย่อ: ภ.เคมี , Chem Dept)[167] เป็นห้องสมุดเฉพาะด้านในระดับภาควิชา ตำราส่วนใหญ่เป็นตำราวิชาการด้านเคมี ห้องสมุดภาควิชาเคมีเริ่มก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2512[168] โดยในช่วงแรกนั้นนิสิตเป็นผู้ดูแลกันเองก่อนที่จะพัฒนาจนกระทั่งมีเจ้าหน้าที่ประจำห้องสมุดมาดูแลอย่างเป็นทางการ ในส่วนของสถานที่ตั้งเดิมนั้นอยู่ที่ชั้น 6 ห้อง 602 ภาควิชาเคมี อาคารกฤษณา ชุติมา และต่อมาในปี พ.ศ. 2545 ได้มีการย้ายที่ตั้งมายังชั้น 1 ห้อง 101-105 ของอาคารกฤษณา ชุติมา ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งในปัจจุบัน และภายในปีเดียวกันห้องสมุดภาควิชาเคมีได้ทำการปรับปรุงระบบการจัดหมู่ตำราและระบบการสืบค้นโดยใช้ระบบเดียวกันกับสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ใกล้เคียง

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

แหล่งที่มา

WikiPedia: คณะวิทยาศาสตร์_มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ http://158.108.29.111:8000/office/offsec/ http://158.108.54.4/humanjournal/files/book24-2.pd... http://164.115.28.46/thaiexen/search_detail/result... http://www.alquimicos.com/oq_reg/internacionales/i... http://inews.bangkokbiznews.com/read/382457 http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/786163 http://novataxa.blogspot.com/2020/04/pseudorhabdos... http://pareparaepare-pareparaepare.blogspot.com/20... http://seaskyearth-yerbs.blogspot.com/2014/08/blog... http://trytobemedcadet.blogspot.com/