การศึกษา ของ คณะวิทยาศาสตร์_มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ภาควิชาและหลักสูตร

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีการเรียนการสอนครอบคลุมทั้งกลุ่มวิทยาศาสตร์กายภาพ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ และวิทยาการข้อมูล รวมทั้งสิ้น 13 ภาควิชา จำนวนหลักสูตร 44 หลักสูตร แบ่งเป็นระดับปริญญาตรี 17 หลักสูตร, ระดับปริญญาโท 15 หลักสูตร และระดับปริญญาเอก 12 หลักสูตร ในที่นี้เป็นหลักสูตรนานาชาติ 3 หลักสูตร และเป็นหลักสูตรที่เปิดเฉพาะในระดับบัณฑิตศึกษา 2 หลักสูตร

โครงสร้างหลักสูตร

ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)

  • สาขาวิชาคณิตศาสตร์
  • สาขาวิชาเคมี
  • สาขาวิชาเคมีอุตสาหกรรม
  • สาขาวิชาเคมีบูรณาการ (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาจุลชีววิทยา
  • สาขาวิชาชีวเคมี
  • สาขาวิชาชีววิทยา
    • สาขาชีววิทยา
    • สาขาสัตววิทยา
  • สาขาวิชาพันธุศาสตร์
  • สาขาวิชาพฤกษศาสตร์
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพรังสี
  • สาขาวิชาฟิสิกส์
  • สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (ภาคปกติและภาคพิเศษ)
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์พื้นพิภพ
  • สาขาวิชาสถิติ
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพและเทคโนโลยี (หลักสูตรนานาชาติ)
  • หลักสูตรเตรียมแพทย์ศาสตร์ (1 ปี)

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม)

  • สาขาวิชาคณิตศาสตร์
  • สาขาวิชาเคมี
  • สาขาวิชาจุลชีววิทยา
  • สาขาวิชาชีวเคมี
  • สาขาวิชาชีววิทยา
  • สาขาวิชาพฤกษศาสตร์
  • สาขาวิชาพันธุศาสตร์
  • สาขาวิชาฟิสิกส์
  • สาขาวิชามาตรวิทยา
  • สาขาวิชารังสีประยุกต์และไอโซโทป
  • สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (ภาคปกติและภาคพิเศษ)
  • สาขาวิชาวิทยาการวัสดุนาโน
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพื้นพิภพ
  • สาขาวิชาสถิติ
  • สาขาวิชาสัตววิทยา

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด)

  • สาขาวิชาเคมี
  • สาขาวิชาจุลชีววิทยา
  • สาขาวิชาชีวเคมี
  • สาขาวิชาพฤกษศาสตร์
  • สาขาวิชาพันธุศาสตร์
  • สาขาวิชาฟิสิกส์
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพื้นพิภพ
  • สาขาวิชาสถิติ
  • สาขาวิชาสัตววิทยา
  • สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
  • สาขาวิชาวิทยาการวัสดุนาโน

รายละเอียดแต่ละภาควิชา

ปัจจุบัน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ประกอบด้วยภาควิชาทั้งสิ้น 13 ภาควิชา ได้แก่

  • ภาควิชารังสีประยุกต์และไอโซโทป (Department of Applied Radiation and Isotope)[28]
  • ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Department of Computer Science)[29]
  • ภาควิชาวิทยาศาสตร์พื้นพิภพ (Department of Earth Science)[30]
  • ภาควิชาวัสดุศาสตร์ (Department of Materials Science)[31]
  • ภาควิชาสถิติ (Department of Statistics)[32]
  • ภาควิชาสัตววิทยา (Department of Zoology)[33]

รายละเอียดแต่ละภาควิชา ดังนี้

ภาควิชารายละเอียด
คณิตศาสตร์
  • จัดการเรียนการสอนทั้งสาขาคณิตศาสตร์บริสุทธิ์ และคณิตศาสตร์ประยุกต์ เพื่อมุ่งผลิตนักคณิตศาสตร์ที่มีความรู้ ความสามารถทางประสิทธิภาพ และเป็นบัณฑิตที่มีคุณธรรมจริยธรรม เป็นคนดีต่อสังคม และประเทศชาติ
  • บัณฑิตที่จบจากภาควิชาคณิตศาสตร์ สามารถนำเอาความรู้ไปประกอบวิชาชีพ อาทิ นักวิชาการ ครูอาจารย์ นักวิเคราะห์และวางแผนระบบงาน นักวิจัย และงานด้านคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
เคมี
  • เป็นหน่วยงานชั้นนำในการผลิตบัณฑิตเคมีที่มีคุณภาพในระดับแนวหน้า ตอบสนองความต้องการบุคลากรของประเทศทั้งภาครัฐบาลและเอกชน เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมเคมี ปิโตรเคมี พอลิเมอร์ สิ่งทอ อัญมณี และอุตสาหกรรมอื่น ๆ ภาควิชาเคมีมุ่งเน้นให้นิสิตมีความเข้มแข็งในวิชาเคมี ทั้งในด้านทฤษฎีและปฏิบัติการ คณาจารย์ภาควิชาเคมีได้อุทิศตนทุ่มแทให้กับการสอนและการวิจัย โดยได้รับการสนับสนุนการวิจัยจากแหล่งทุนต่าง ๆ คณาจารย์ภาควิชาเคมีได้สร้างผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ ในวารสารวิชาการที่มีการตรวจสอบคุณภาพอย่างเคร่งครัดเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป เป็นผลงานวิจัยที่มีคุณค่าและมีศักยภาพที่จะก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทางด้านความเป็นเลิศทางวิชาการ ภาควิชาเคมีได้สร้างความร่วมมือทั้งในและต่างประเทศ โดยเป็นสมาชิกเครือข่ายแห่งความเป็นเลิศทางเคมี
  • บัณฑิตที่จบการศึกษาจากภาควิชาเคมี สามารถเข้าทำงานในภาครัฐ รัฐวิสาหกิจหรือองค์กรเอกชนได้หลายแห่ง เช่น กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย โรงงานอุตสาหกรรมเคมีต่าง ๆ บริษัทเอกชนที่เป็นผู้แทนจำหน่ายเครื่องมือวิทยาศาสตร์และเคมีภัณฑ์ นอกจากนี้ยังสามารถดำเนินธุรกิจเป็นเจ้าของกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการประยุต์ใช้ความรู้ทางเคมีได้อีกด้วย
จุลชีววิทยา
ชีวเคมี
  • ให้การศึกษาเกี่ยวกับชีวเคมีพื้นฐานในสิ่งมีชีวิต ชีววิทยาโมเลกุลของสิ่งมีชีวิตการศึกษาในเชิงลึก เช่น ชีวเคมีโปรตีน-โครงสร้าง และการประยุกต์ใช้อื่น ๆ เช่น ชีวสารสนเทศทางชีวเคมีประยุกต์ในทางการเกษตรอุตสาหกรรม ประมง อุตสาหกรรม และสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าหมายเพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถทางชีวเคมีอย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง สามารถนำความรู้ไปประกอบอาชีพในสายงานที่เกี่ยวข้อง มีความสามารถประยุกต์คิดค้น หรือแสวงหาความรู้ใหม่อันจะนำไปสู่การพัฒนาวิชาการ รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาการค้นคว้าวิจัยด้านชีวเคมี ให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์สอดคล้องต่อการพัฒนาประเทศและทันต่อการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • บัณฑิตที่จบการศึกษาจากภาควิชาชีวเคมี สามารถประกอบอาชีพเป็น อาจารย์ นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย ในสถาบันอุดมศึกษา สถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งการประกอบอาชีพในบริษัทเอกชนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์การเกษตร เป็นต้น นอกจากนี้การศึกษาจากภาควิชาชีวเคมียังสามารถศึกษาต่อได้ในหลายสาขา ทั้งสาขาชีวเคมีโดยตรงหรือเลือกศึกษาต่อทางด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพอื่น ๆ เช่น วิทยาศาสตร์การแพทย์สาขาต่าง ๆ วิทยาศาสตร์การเกษตร เทคโนโลยีชีวภาพ อุตสาหกรรมเกษตร ชีวนาโนเทคโนโลยี และวิศวกรรมชีวเคมี เป็นต้น
พฤกษศาสตร์
  • ให้การศึกษาเกี่ยวกับชีววิทยาพืชทุก ๆ ด้าน ครอบคลุมตั้งแต่ระดับชีวโมเลกุลเซลล์จนถึงพืชทั้งต้น นักพฤกษศาสตร์ในปัจจุบันต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์กว้างขวาง เพื่อให้สามารถเข้าใจพืชเกี่ยวกับ วิถีการสร้างพลังงาน การเจริญเติบโต การสืบพันธุ์ สังคมพืช นิเวศวิทยา การนำไปใช้ประโยชน์และอื่น ๆ
  • บัณฑิตที่จบการศึกษาจากภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จะมีความรู้ความชำนาญและสามารถเข้าทำงานในภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรเอกชน ได้แก่ กระทรวงวิทยาศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงสาธารณสุข มหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สภาวิจัยแห่งชาติ กองสวนกรุงเทพมหานคร สวนหลวง ร.9 องค์กรสวนพฤกษศาสตร์ ธุรกิจผลิตพันธุ์พืช เมล็ดพันธุ์ เป็นต้น
พันธุศาสตร์
  • ให้การศึกษาพันธุศาสตร์สาขาต่าง ๆ ได้แก่ พันธุศาสตร์พื้นฐาน พันธุศาสตร์ประชากร พันธุศาสตร์โมเลกุล พันธุวิศวกรรม พันธุศาสตร์สภาวะแวดล้อมและพันธุศาสตร์ประยุกต์อีกหลายวิชา โดยให้ความรู้ทั้งทางด้านทฤษฎีและภาคปฏิบัติการ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในฐานะนักวิชาการพันธุศาสตร์ นักวิจัยและนักปรับปรุงพันธุ์พืชสัตว์และจุลินทรีย์สำหรับการศึกษาในระดับปริญญาโทและเอก มุ่งเน้นการเรียนและการค้นคว้าวิจัยทั้งทางด้านพันธุศาสตร์ประยุกต์ และพันธุศาสตร์พื้นฐาน เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในงานวิจัยทางพันธุศาสตร์ระดับสูง
  • บัณฑิตที่จบการศึกษาจากภาควิชาพันธุศาสตร์ สามารถเข้าทำงานในภาครัฐ รัฐวิสาหกิจหรือองค์กรเอกชนได้หลายแห่ง เช่น วิทยาลัยและมหาวิทยาลัยต่าง ๆ โรงพยาบาล กรมปศุสัตว์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ บริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ บริษัทที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม อาหารและประกอบธุรกิจส่วนตัว
ฟิสิกส์
รังสีประยุกต์และไอโซโทป
  • ให้การศึกษาเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานทางรังสีและนิวเคลียร์ เช่น วิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ การป้องกันรังสีเทคนิคการวัดรังสี ชีววิทยารังสีเบื้องต้น รังสีกับชีวิตและสิ่งแวดล้อม เทคนิคการแกะรอยด้วยไอโซโทปทางชีววิทยา เทคนิคการถ่ายภาพด้วยรังสี รังสีและการกลายพันธุ์ การวิเคราะห์โดยวิธีทางนิวเคลียร์ การใช้รังสีและไอโซโทปในการเกษตรและเวชศาสตร์นิวเคลียร์ เป็นต้น
  • บัณฑิตที่จบการศึกษาจากภาควิชาพฤกษศาสตร์ สามารถเข้าทำงานในภาครัฐ รัฐวิสาหกิจหรือองค์กรเอกชนได้หลายแห่ง เช่น งานด้านชีววิทยาการเกษตรและการใช้ประโยชน์จากรังสีและพลังงานนิวเคลียร์ เช่น กรมวิชาการเกษตร สำนักงานปรมาณู สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์กรเอกชน) กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โรงพยาบาลและโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้กัมมันตภาพรังสีควบคุมผลิตภัณฑ์ เป็นต้น และสามารถศึกษาต่อในระดับปริญญาโท และเอก ได้ทั้งภายในและต่างประเทศ
วิทยาการคอมพิวเตอร์
  • ให้การศึกษาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ เช่น หลักการเขียนโปรแกรมขั้นตอนวิธีและโครงสร้างข้อมูล การวิเคราะห์และออกแบบระบบ การจัดการฐานข้อมูล การออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์ ระบบปฏิบัติการ สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ การสื่อสารข้อมูลและข่ายงานคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์กราฟิกและทฤษฎีปัญญาประดิษฐ์ เป็นต้น
วิทยาศาสตร์พื้นพิภพ
  • การศึกษาในสาขาวิชานี้เป็นการศึกษากระบวนการและความสัมพันธ์ขององค์ประกอบโลก ประกอบด้วย บรรยากาศภาค (Atmosphere) อุทกภาค (Hydrosphere) ธรณีภาค (Lithosphere) และชีวภาค (Biosphere) พร้อมทั้งศึกษาวิจัยความสัมพันธ์ของภาคต่าง ๆ เหล่านั้น รวมถึงความเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ซึ่งเป็นทั้งผู้ใช้ประโยชน์ และ ผู้ทำให้เกิดและได้รับผลกระทบ นิสิตสามารถประยุกต์ ความรู้ที่เรียนมาในการประเมินสถานภาพทรัพยากรและศักยภาพในพื้นที่รวมถึง แนวทางจัดการ/แก้ไข/ลดผลกระทบจากภัยธรรมชาติต่าง ๆ โดยในหลักสูตรมีภาคปฏิบัติการ การศึกษาภาคสนาม การศึกษาดูงานทั้งหน่วยงานและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างวิสัยทัศน์ และประสบการณ์แก่นิสิต
วัสดุศาสตร์
  • ให้การศึกษาด้านวัสดุนาโนในระดับปริญญาโท (วิทยาการวัสดุนาโน) และปริญญาเอก (วิทยาการวัสดุนาโน) เพื่อให้นิสิตให้มีความรู้ความสามารถทางสาขาวัสดุศาสตร์ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ ตลอดจนเพื่อส่งเสริมและพัฒนาการวิจัยด้านวัสดุศาสตร์ให้เกิดองค์ความรู้ใหม่และนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์และตอบสนองความต้องการของประเทศในอนาคต
  • บัณฑิตที่จบการศึกษาจากภาควิชาวัสดุศาสตร์ เข้าทำงานในภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน ตลอดจนองค์กรอิสระ ที่ต้องการผู้มึความรู้และประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับวัสดุนาโน
สัตววิทยา
สถิติ
  • ภาควิชาสถิติได้ดำเนินการเปิดสอน หลักสูตรปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอกสาขาวิชาสถิติ อย่างละ 1 หลักสูตร คือ วท.บ.(สถิติ) วท.ม.(สถิติ) ปร.ด.(สถิติ)
  • บัณฑิตที่จบการศึกษาจากภาควิชาสถิติ จะมีความรอบรู้วิชาทางด้านสถิติทั้งในภาควิชาทฤษฎีและประยุกต์ ตลอดจนมีความชำนาญด้านคอมพิวเตอร์และการใช้ซอฟต์แวร์ทางสถิติ จึงสามารถทำงานได้ทั้งทางด้านสถิติและคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างของตำแหน่งงานที่ทำ ได้แก่ นักวิเคราะห์ระบบ, โปรแกรมเมอร์, วิศวกรควบคุมคุณภาพในโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ นักสถิติ, นักวิเคราะห์การตลาด อาจารย์มหาวิทยาลัย นักวิจัย เป็นต้น

งานวิจัย

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีงานวิจัยทั้งที่เป็นวิทยาศาสตร์พื้นฐาน (Basic Science) วิทยาศาสตร์ประยุกต์ (Applied Science) และงานวิจัยขั้นแนวหน้า (Frontier Science)[34] โดยครอบคลุมในสาขาต่าง ๆ ทั้งด้านวิทยาศาสตร์กายภาพ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ และวิทยาการข้อมูล และจากการที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็น 1 ใน 9 มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ (Research University)[35][36][37] โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ส่งผลให้คณะวิทยาศาสตร์มีนโยบายพัฒนางานวิจัยร่วมกับภาคอุตสาหกรรมและเชื่อมโยงการวิจัยกับสถาบันทั้งในประเทศและต่างประเทศ

งานวิจัยของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประกอบด้วย 10 กลุ่มวิจัย (Research Clusters) ได้แก่ 1. การเกษตรและอาหาร (Agriculture and Food) 2. ความหลากหลายทางชีวภาพสำหรับเศรษฐกิจชีวภาพ (Biodiversity for Bioeconomy) 3. เทคโนโลยีชีวภาพและพลังงานชีวภาพ (Biotechnology and Bioenergy) 4. วิทยาศาสตร์การแพทย์และสุขภาพ (Medical Science and Health) 5. โอมิกส์และชีววิทยาระบบ (Omics and Systems Biology) 6. การค้นพบยาและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ (Drug Discovery and Natural Products) 7. คอมพิวเตอร์และวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Computer and Data Science) 8. เซนเซอร์อัจฉริยะ (Smart Sensors) 9. วัสดุศาสตร์และพอลิเมอร์ (Material Science and Polymer) และ 10. วิทยาศาสตร์พื้นพิภพ (Earth Science)

หน่วยปฏิบัติการวิจัย

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการ (Center of Excellence) จำนวน 3 ศูนย์ ได้แก่ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านปิโตรเคมีปิโตรเลียมเทคโนโลยีและวัสดุขั้นสูง (Petromat), ศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมเคมี (PERCH), ศูนย์ความเป็นเลิศด้านปาล์มน้ำมัน (Center of Excellence - Oil Palm) มีหน่วยปฏิบัติการวิจัยเฉพาะทาง (Special Research Unit) จำนวน 18 หน่วย และห้องปฏิบัติการวิจัยจำนวน 74 ห้องปฏิบัติการ ตลอดจนมีศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ (Scientific Equipment Center) ของคณะวิทยาศาสตร์เพื่อการสนับสนุนการวิจัย และมีศูนย์วิจัยนิวเคลียร์เทคโนโลยีเพื่อการบริการทางเกษตรกรรม (Kasetsart University Nuclear Technology Research Center : KUNTRC) จำนวน 1 ศูนย์

หน่วยปฏิบัติการวิจัย หน่วยปฏิบัติการวิจัย หน่วยปฏิบัติการวิจัย
  • หน่วยปฏิบัติการวิจัยเคมีคอมพิวเตอร์และเคมีประยุกต์ (Laboratory for Computational and Applied Chemistry, LCAC)
  • หน่วยปฏิบัติการวิจัยการพัฒนาวิธีวิเคราะห์สารปริมาณน้อย (Analytical Method Development in Trace Analysis)
  • หน่วยปฏิบัติการวิจัยเคมีสารสนเทศ (Cheminformatics Research Unit)
  • หน่วยปฏิบัติการวิจัยผลิตภัณฑ์ธรรมชาติและเคมีอินทรีย์สังเคราะห์ (Natural Products and Organic Synthesis, NPOS)
  • หน่วยปฏิบัติการวิจัยนวัตกรรมค้นหายาและการออกแบบโมเลกุล (Innovative Research on Drug Discovery and Molecular Design)
  • หน่วยปฏิบัติการวิศวกรรมโปรตีนและโปรตีนชีวสารสนเทศ (วปปส) (Special Research Unit for Protein Engineering and Protein Bioinformatics : UPEB)
  • หน่วยปฏิบัติการวิจัยเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านการจัดระบบและนิเวศวิทยาของสัตว์ (Animal Systematics and Ecology Speciality Research Unit : ASESRU)
  • หน่วยปฏิบัติการวิจัยเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านพิษวิทยาสารจำกัดศัตรูชีวภาพ (Biopesticides Toxicology Speciality Research Unit : BTSRU)
  • หน่วยปฏิบัติการวิจัยนิเวศรังสี (Radioecology Research Unit)
  • หน่วยปฏิบัติการวิจัยเฉพาะทางพันธุศาสตร์โมเลกุลและฟังก์ชันนอลจีโนมิกส์ของสาหร่ายเซลล์เดียว (Microalgal Molecular Genetics and Functional Genomics Special Research Unit : MMGFG-SRU)
  • หน่วยปฏิบัติการวิจัยเฉพาะทางแม่เหล็กขั้นสูง (Special Research Unit in Advanced Magnetic Resonance)
  • หน่วยปฏิบัติการวิจัยประเมินประสิทธิภาพอาหารสัตว์ทางชีวเคมี (ปวอส) (Biochemical Research Unit for Utilization Assessment : BCUFUA)
  • หน่วยปฏิบัติการวิจัยสำรวจธรณีประยุกต์ (Applied Geo-Exploration Research Unit : GeoX)
  • หน่วยวิจัยเฉพาะด้านอัญมณีและวิทยาการแร่ (The Gem and Mineral Sciences Special Research Unit)
  • หน่วยปฏิบัติการเทคโนโลยีธรณีสิ่งแวดล้อมและพิบัติภัยธรรมชาติ (Environmental Geotechnology and Natural Disasters Special Research Unit)
  • ห้องปฏิบัติการดินและน้ำ (Soil and Water laboratory)
  • หน่วยวิจัยพันธุศาสตร์วิวัฒนาการและการประมวลผลทางชีววิทยา [Evolutionary Genetics and Computational Biology (EGCB) research unit]
  • หน่วยปฏิบัติการวิจัยเชี่ยวชาญเฉพาะทางทฤษฎีจำนวน การวิเคราะห์เชิงแบบฉบับ และการประยุกต์ (Special Research Unit in Number Theory, Classical Analysis and Applications)

ศูนย์ความเป็นเลิศ

ศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการ
  • ศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมเคมี (PERCH)
  • ศูนย์ความเป็นเลิศด้านปิโตรเคมีปิโตรเลียมเทคโนโลยีและวัสดุขั้นสูง (Petromat)
  • ศูนย์ความเป็นเลิศด้านปาล์มน้ำมัน (Center of Excellence - Oil Palm)[38]

ผลงานวิจัยและทรัพย์สินทางปัญญา

ประเภทจำนวน
จำนวนบทความวิจัย
International & National
Journal Publications
3,930
Conference3,034
รวม6,964
จำนวนทรัพย์สินทางปัญญา
ลิขสิทธิ์9
เครื่องหมายการค้า2
สิทธิบัตร10
อนุสิทธิบัตร29
รวม50

จากสถิติข้อมูลของสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ข้อมูลถึงปี พ.ศ. 2562)[39][40] พบว่าคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีบทความวิจัยตีพิมพ์ จำนวน 6,964 เรื่อง แบ่งเป็นตีพิมพ์ในวารสารวิชาการทั้งในระดับนานาชาติและระดับชาติ (International & National Journal Publications) จำนวน 3,930 เรื่อง และที่นำเสนอในการประชุมและสัมมนา (Conference) อีกจำนวน 3,034 เรื่อง

นอกจากนี้ยังมีจำนวนทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property) จำนวน 50 รายการ ซึ่งแบ่งเป็นประเภทลิขสิทธิ์ (Copyright) จำนวน 9 รายการ, เครื่องหมายการค้า (Trademark) จำนวน 2 รายการ, สิทธิบัตร (Patent) จำนวน 10 รายการ, และอนุสิทธิบัตร (Petty Patent) อีกจำนวน 29 รายการ

ในส่วนของรางวัล (Award) ที่ได้รับ มีจำนวน 493 รางวัล แบ่งเป็นประเภทเกียรติบัตร จำนวน 223 รางวัล, ประเภทงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ จำนวน 163 รางวัล, และประเภทรางวัลจากงานประชุมวิชาการ อีกจำนวน 107 รางวัล

การจัดการศึกษา

คณะวิทยาศาสตร์จัดการศึกษาในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ตามระบบหน่วยกิต แบบทวิภาค โดยใน 1 ปีการศึกษาจะแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษา คือ ภาคเรียนที่ 1 เริ่มต้นช่วงเดือนสิงหาคมและสิ้นสุดลงช่วงเดือนธันวาคม และภาคเรียนที่ 2 เริ่มต้นช่วงเดือนมกราคมและสิ้นสุดลงในช่วงเดือนพฤษภาคม และอาจมีการศึกษาภาคฤดูร้อนเพิ่มเติม ในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต จะใช้เวลาศึกษา 4 ปี แบ่งเป็นการศึกษาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปและวิชาแกนในช่วง 1 ปีแรก และการศึกษาในวิชาเฉพาะบังคับตามหลักสูตร วิชาเฉพาะเลือกต่าง ๆ ภายในหลักสูตร และวิชาเลือกเสรีรวมระยะเวลา 3 ปี และอาจมีการฝึกงานภาคฤดูร้อนหรือฝึกงานแบบสหกิจศึกษาเพิ่มเติม ในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตและหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ใช้เวลาศึกษา 2 ปี แบ่งเป็นการศึกษาในวิชาเอกบังคับ วิชาเอกเลือก สัมมนา และวิทยานิพนธ์[41][42]

นอกจากนี้คณะวิทยาศาสตร์ยังจัดการศึกษาในหลักสูตรเตรียมแพทยศาสตร์ ระยะเวลา 1 ปี ให้กับวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า ตลอดจนจัดการศึกษาในวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานให้กับวิทยาลัยการชลประทานและวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ ซึ่งเป็นสถาบันสมทบของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ด้วย

การรับสมัคร

ปริญญาตรี

การเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จะทำการรับสมัครและคัดเลือกผ่านระบบ TCAS โดยแบ่งการรับเป็น 5 รอบ สำหรับรายละเอียดสาขาวิชา เกณฑ์การรับสมัคร และเกณฑ์การคัดเลือกจะเป็นไปตามประกาศของสำนักทะเบียนและประมวลผล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์[43][44]

รอบที่ 1 – Portfolio
  • โครงการเรียนล่วงหน้า
  • โครงการช้างเผือก
  • โครงการนักกีฬาทีมชาติและเยาวชนทีมชาติไทย

  • โครงการโอลิมปิกวิชาการ
  • โครงการหลักสูตรนานาชาติและหลักสูตรภาษาอังกฤษ
  • โครงการ พสวท.

รอบที่ 2 – โควตา

  • โครงการรับผู้มีความสามารถทางด้านศิลปวัฒนธรรมฯ
  • โครงการเมล็ดพันธุ์สู่ศาสตร์แห่งแผ่นดิน
  • โครงการเพชรนนทรี
  • โครงการลูกพระพิรุณ
  • โครงการเด็กไทยสู่สากล

รอบที่ 3 – รับตรงร่วมกัน

รับสมัครนักเรียนทั่วไป ดำเนินการรับสมัครโดยสมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ผ่านเว็บไซต์ของ ทปอ. พร้อมกันทั่วประเทศ

รอบที่ 4 – Admission

รับสมัครนักเรียนทั่วไป ดำเนินการรับสมัครโดย ทปอ. ผ่านเว็บไซต์ของ ทปอ. พร้อมกันทั่วประเทศ คะแนนที่ใช้ในการคัดเลือกจะใช้ผลคะแนน GAT PAT1 และ PAT2

รอบที่ 5 – รับตรงอิสระ

จำนวนรับอย่างน้อยหลักสูตรละ 1 คน ขึ้นกับจำนวนผู้ที่ผ่านการคัดเลือกในรอบที่ 1-4

ปริญญาโท

การเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโทที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ต้องสำเร็จการศึกษาหรือกำลังศึกษาในภาคการเรียนสุดท้าย ระดับปริญญาตรี และต้องมีผลการสอบภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด ซึ่งรายละเอียดสาขาวิชา เกณฑ์การรับสมัคร และเกณฑ์การคัดเลือกจะเป็นไปตามประกาศของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์[45]

ปริญญาเอก

การเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาเอกที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ต้องสำเร็จการศึกษาหรือกำลังศึกษาในภาคการเรียนสุดท้ายระดับปริญญาตรีและปริญญาโท และต้องมีผลการสอบภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด ซึ่งรายละเอียดสาขาวิชา เกณฑ์การรับสมัคร และเกณฑ์การคัดเลือกจะเป็นไปตามประกาศของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์[46]

โปรแกรมนานาชาติและความร่วมมือระดับนานาชาติ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศโดยเปิดหลักสูตรระดับปริญญาตรีที่เน้นการเรียนการสอนในระดับนานาชาติ (International programs) จำนวน 2 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพและเทคโนโลยี (Bioscience and Technology) และสาขาวิชาเคมีบูรณาการ (Integrated Chemistry) ในทำนองเดียวกันได้เปิดหลักสูตรนานาชาติในระดับปริญญาเอก จำนวน 1 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (Bioscience) ซึ่งเป็นหลักสูตรที่บูรณาการจากสาขาวิชาที่คณะวิทยาศาสตร์มีความเชี่ยวชาญ

ทั้งนี้ ในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพฤกษศาสตร์ (Master of Science Program in Botany) ของภาควิชาพฤกษศาสตร์มีข้อตกลงทำการวิจัยและทำโปรแกรมร่วม (Joint Degree Program) รวมทั้งทำข้อตกลงแลกเปลี่ยนนิสิตปริญญาโทกับหลักสูตร Master of Agricultural Science Program ของมหาวิทยาลัยเกียวโต (Kyoto University) ประเทศญี่ปุ่น ในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพันธุศาสตร์ (Master of Science Program in Genetics) ของภาควิชาพันธุศาสตร์ได้ลงนามในข้อตกลงกับ University of Putra Malaysia ประเทศมาเลเซีย ในการทำโปรแกรมร่วม (Joint Degree Program) และแลกเปลี่ยนนิสิตระดับปริญญาโทกับหลักสูตร Master of Molecular Biology and Genetics Engineering Program[47][48] นอกเหนือจากหลักสูตรต่าง ๆ ดังกล่าวแล้ว นิสิตของคณะวิทยาศาสตร์ในหลักสูตรต่าง ๆ สามารถทำวิจัยระยะสั้นหรือเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยน ณ มหาวิทยาลัยในต่างประเทศตามที่คณะวิทยาศาสตร์ได้ทำความตกลงร่วมมือวิจัยและแลกเปลี่ยนนักเรียนไว้

โดยมหาวิทยาลัยหรือสถาบันในต่างประเทศที่คณะวิทยาศาสตร์ส่งนิสิตเข้าทำวิจัยระยะสั้น อาทิ Yale University (USA), University of California (USA), University of Florida (USA), University of Houston (USA), Oregon State University (USA), University of Bristol (UK), University of Bath (UK), University of Southampton (UK), Durham University (UK), University of Vienna (Austria), University Innsbruck (Austria), Kyoto University (Japan), Waseda University (Japan), Chimie ParisTech, PSL University (France), University of Bordeaux (France), University of Copenhagen (Denmark), Stockholm University, (Sweden) เป็นต้น[49][50][51][52]

สถาบันร่วมสอน

วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า

ในปี พ.ศ. 2518 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ทำความตกลงร่วมกับ วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ในการสอนหลักสูตรเตรียมแพทยศาสตร์ หลักสูตร 2 ปี (ชั้นเตรียมแพทย์) ให้กับวิทยาลัยแพทยศาสตร์ฯ ตามข้อตกลงกระทรวงกลาโหม เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 โดยมีนิสิตเตรียมแพทยศาสตร์ รุ่นที่ 1 ที่ผ่านการสอบคัดเลือกของทบวงมหาวิทยาลัยในขณะนั้น จำนวน 31 คน[53] และเมื่อศึกษาตามหลักสูตรเตรียมแพทยศาสตร์ครบ 2 ปี ก็จะโอนไปศึกษาในชั้นปรีคลินิกและชั้นคลินิกที่วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ต่อไป[54]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2524 ได้มีการปรับปรุงหลักสูตรเตรียมแพทยศาสตร์ให้เป็นหลักสูตร 1 ปี[55][56] ก่อนโอนไปศึกษาที่วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า ซึ่งคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ดำเนินการรับนิสิตตามหลักสูตรเตรียมแพทยศาสตร์ดังกล่าวมาจนถึงปัจจุบัน[57]

ทั้งนี้ ขณะทำการศึกษาในชั้นเตรียมแพทยศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 ที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จะอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบตามกฎของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และใช้คำเรียกผู้เรียนว่า "นิสิต" ตามศักดิ์และสิทธิของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ [58][59]

วิทยาลัยการชลประทาน และ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ

คณะวิทยาศาสตร์ให้บริการสอนวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานให้กับสถาบันการศึกษาที่เข้าสมทบในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตามมติคณะรัฐมนตรีที่ให้มีการยุบสถาบันการศึกษานอกสังกัดกระทรวงศึกษาธิการและให้สถานศึกษาดังกล่าวเข้าสมทบในมหาวิทยาลัย ส่งผลให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีสถาบันสมทบ 2 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยการชลประทาน ซึ่งสังกัดกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีหน้าที่ผลิตบัณฑิตด้านวิศวกรรมโยธา-ชลประทาน[60] และวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ ซึ่งสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก มีหน้าที่ผลิตบัณฑิตด้านพยาบาลศาสตร์[61]

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2561 ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ กับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ทำข้อตกลงความร่วมมือ ในการเป็นสถาบันร่วมสอน ทั้งในหมวดวิชาพื้นฐาน วิชาทั่วไป และการสนับสนุนสถานที่ต่าง ๆ เพื่อการศึกษา ให้กับผู้ที่ศึกษาในหลักสูตรปริญญาบันฑิตของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ซึ่งคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีหน้าที่รับผิดชอบทำการสอนวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ให้กับผู้ที่ศึกษาตามข้อตกลงดังกล่าว[62]

Yamaguchi University

เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 Yamaguchi University ประเทศญี่ปุ่น ได้ทำข้อตกลงความร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดทำหลักสูตรร่วมระหว่างสองมหาวิทยาลัยในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก (Agreement on the Cooperation for Establishment of the Joint Degree Program)[63] ซึ่งในสาขา Life Science ได้จัดทำหลักสูตรร่วมกับกับคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์[64][65] และยังทำข้อตกลง Agreement for Establishment of Yamaguchi University International Collaboration Office,Bangkok ในการจัดตั้งและเปิดทำการสำนักงานระหว่างประเทศ Yamaguchi University International Collaboration Office (YUICO) ณ ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ด้วย[66][67]

ใกล้เคียง

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

แหล่งที่มา

WikiPedia: คณะวิทยาศาสตร์_มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ http://158.108.29.111:8000/office/offsec/ http://158.108.54.4/humanjournal/files/book24-2.pd... http://164.115.28.46/thaiexen/search_detail/result... http://www.alquimicos.com/oq_reg/internacionales/i... http://inews.bangkokbiznews.com/read/382457 http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/786163 http://novataxa.blogspot.com/2020/04/pseudorhabdos... http://pareparaepare-pareparaepare.blogspot.com/20... http://seaskyearth-yerbs.blogspot.com/2014/08/blog... http://trytobemedcadet.blogspot.com/