ความคลั่งทิวลิป
ความคลั่งทิวลิป

ความคลั่งทิวลิป

บทความนี้ใช้ระบบคริสต์ศักราช เพราะอ้างอิงคริสต์ศักราชและคริสต์ศตวรรษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งคลั่งทิวลิป (อังกฤษ: Tulip mania, Tulipomania; ดัตช์: Tulpenmanie, Tulpomanie, Tulpenwoede, Tulpengekte, Bollengekte) เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างยุคทองของเนเธอร์แลนด์ เมื่อเกิดการตั้งราคาสัญญาการค้าขายหัวทิวลิปสายพันธุ์ใหม่กันอย่างสูงผิดปกติจนถึงจุดสูงสุดก่อนที่ราคาจะตกฮวบลงมาอย่างฉับพลัน[2] ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1637 ในระหว่างที่ความคลั่งทิวลิปกำลังอยู่ที่จุดสูงสุด ราคาสัญญาการซื้อขายดอกทิวลิปต่อหัวสูงเกินสิบเท่าของรายได้ต่อปีของช่างฝีมือในช่วงระยะเวลาเดียวกัน เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นเหตุการณ์แรกของภาวะฟองสบู่จากเก็งกำไร[3] คำว่า "ความคลั่งทิวลิป" กลายมาเป็นคำที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นอุปมาเมื่อกล่าวถึงภาวะฟองสบู่ขนาดใหญ่[4]เหตุการณ์เกี่ยวกับความคลั่งทิวลิปมาเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายโดยนักหนังสือพิมพ์ชาวอังกฤษชื่อ ชาร์ลส์ แม็คเคย์ ในหนังสือชื่อ Extraordinary Popular Delusions and the Madness of Crowds (ความเพ้อฝันอันวิปริตและความบ้าคลั่งของมหาชน) ที่เขียนขึ้นในปี ค.ศ. 1841 แม็คเคย์กล่าวว่าในจุดหนึ่งของการขายถึงกับมีผู้เสนอแลกที่ดิน 12 เอเคอร์เพื่อแลกกับหัวทิวลิปสายพันธุ์ "Semper Augustus" เพียงหัวเดียว[5] แม็คเคย์อ้างว่ามีผู้ลงทุนในการซื้อสัญญาซื้อขายหัวทิวลิปจนหมดตัวเป็นจำนวนมากเมื่อราคาทรุดฮวบลง และผลสะท้อนของตลาดที่ล่มก็ใหญ่พอที่จะสั่นคลอนสภาวะทางเศรษฐกิจของเนเธอร์แลนด์ แม้ว่าหนังสือที่แม็คเคย์เขียนจะกลายเป็นหนังสือคลาสสิกที่ยังคงตีพิมพ์กันอยู่แม้แต่ในปัจจุบันนี้ แต่ความถูกต้องของข้อมูลและข้อสมมติฐานที่กล่าวในหนังสือก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ นักวิชาการสมัยใหม่เชื่อว่าความคลั่งดอกทิวลิปมิได้เป็นเหตุการณ์ที่รุนแรงตามที่แม็คเคย์กล่าว และบ้างก็เสนอว่าเหตุการณ์นี้มิได้ทำให้เกิดความแปรปรวนของเศรษฐกิจขนานใหญ่ขึ้นแต่อย่างใด[6]การค้นคว้าเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับความคลั่งทิวลิปเป็นไปได้ยากเพราะข้อมูลจากคริสต์ทศวรรษ 1630 มีเพียงจำกัด—นอกจากนั้นข้อมูลส่วนใหญ่ที่มีอยู่ก็ยังขาดความเป็นกลาง และมาจากแหล่งข้อมูลที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการเก็งกำไร[7][8] แทนที่จะใช้กล่าวถึงเหตุการณ์นี้ว่าเป็นความคลั่งของการเก็งกำไรอันไม่มีเหตุผล นักเศรษฐศาสตร์สมัยใหม่พยายามให้คำอธิบายอย่างมีเหตุผลถึงสาเหตุของการตั้งราคาอันสูงผิดปกติ แต่คำอธิบายเหล่านี้ก็ไม่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับแนวโน้มของความผันผวนของราคาดอกไม้ชนิดอื่น เช่น ดอกไฮยาซินธ์ ซึ่งก็มีการตั้งราคาที่สูงเกินประมาณเมื่อมีการนำสายพันธุ์เข้าใหม่เข้ามา และราคาก็มาตกฮวบต่อมาเมื่อหมดความนิยมลงเช่นเดียวกับทิวลิป อีกสาเหตุหนึ่งที่อาจจะเป็นปัจจัยที่ทำให้ตลาดทิวลิปล่มอาจจะมาจากการเปลี่ยนแปลงระบบการทำสัญญาการซื้อขายโดยรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ในช่วงนั้น ที่มีจุดประสงค์ในการลดความเสี่ยงในตลาดการลงทุนของผู้ซื้ออนาคต โดยการอนุญาตให้ผู้ซื้อสามารถยุบเลิกสัญญาการซื้อขายได้โดยเสียค่าปรับเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับค่าของสัญญาทั้งหมด แต่บทบังคับนี้กลับได้ผลตรงกันข้ามและทำให้ราคาทิวลิปยิ่งถีบตัวสูงหนักขึ้นไปอีกจนเป็นผลให้ตลาดทิวลิปล่มสลายในที่สุด

ใกล้เคียง

ความคิดแทรกซ้อน ความคิดเชิงไสยศาสตร์ ความคลั่งทิวลิป ความคิดเห็นทางศาสนาของไอแซค นิวตัน ความคลาดสี ความคุ้มกันแก่พระมหากษัตริย์ ความคิด ความคิด (เพลงอภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข) ความคลาดทางดาราศาสตร์ ความคุ้มกันทางทูต

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความคลั่งทิวลิป http://www.andrewtobias.com/ExPopDel-1.html http://www.ft.com/cms/s/50e2255e-0025-11dc-8c98-00... http://books.google.com/books?id=gViwLbCJ7X0C&prin... http://slate.msn.com/id/2103985/ http://www.thetulipomania.com/ http://www.washingtonpost.com/wp-dyn/content/artic... http://www.econ.ucla.edu/thompson/Document97.pdf http://image.fs.uidaho.edu/vide/descr849.htm http://library.wur.nl/speccol/pamphlet.html http://library.wur.nl/tulip/