ประวัติ ของ ความคลั่งทิวลิป

จิตรกรรมอุปมานิทัศน์ของความคลั่งทิวลิปโดยเฮนดริค เกอร์ริทสซ โพต (Hendrik Gerritsz Pot) ที่เขียนราว ค.ศ. 1640 เป็นภาพเทพีฟลอราผู้เป็นเทพีแห่งดอกไม้นั่งบนเกวียนที่ถูกพัดด้วยสายลมที่นำไปสู่ความหายนะในทะเลพร้อมกับคนเมา คนให้ยืมเงิน และสตรีสองหน้า ที่ตามด้วยขบวนช่างทอชาวฮาร์เล็มที่เต็มไปด้วยลุ่มหลงในการลงทุน

ทิวลิปได้รับการนำเข้ามาในทวีปยุโรปจากจักรวรรดิออตโตมันราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 และกลายมาเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในสาธารณรัฐดัตช์ (ปัจจุบัน คือ เนเธอร์แลนด์) [9] การปลูกทิวลิปในสาธารณรัฐดัตช์เชื่อกันว่าเริ่มกันขึ้นอย่างจริงจังราว ค.ศ. 1593 หลังจากที่นักพฤกษศาสตร์เฟล็มมิชชาร์ลส์ เดอ เลอคลูส์ได้รับตำแหน่งที่มหาวิทยาลัยไลเดนและก่อตั้ง “สถาบันพฤกษศาสตร์แห่งไลเดน” (Hortus Botanicus Leiden) ขึ้น[10] เลอคลูส์ปลูกทิวลิปที่สถาบันจากหัวทิวลิปที่ส่งมาจากตุรกีโดยราชทูตโอชีร์ เดอ บูสเบคก์ในสมเด็จพระจักรพรรดิเฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในราชสำนักของสุลต่านสุลัยมานมหาราช ทิวลิปที่ปลูกเป็นสายพันธุ์ที่สามารถทนทานกับภาวะอากาศในบริเวณกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำได้[11] ไม่นานหลังจากนั้นการปลูกทิวลิปก็เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายโดยทั่วไปในเนเธอร์แลนด์[12]

ทิวลิปกลายมาเป็นสิ่งฟุ่มเฟือยอย่างรวดเร็วและเป็นสิ่งที่เป็นแสดงสัญลักษณ์แสดงฐานะของผู้เป็นเจ้า ซึ่งทำให้เกิดความนิยมในการแสวงหาหัวทิวลิปมาเป็นเจ้าของกันยิ่งเพิ่มมากขึ้น ทิวลิปสายพันธุ์ใหม่ ๆ ถูกพัฒนาขึ้นและจัดเป็นกลุ่ม เช่นทิวลิปสีเดียวที่รวมทั้งสีแดง เหลือง และ ขาวอยู่ในกลุ่มที่เรียกว่า “Couleren” แต่ทิวลิปที่เป็นที่คลั่งไคล้กันมากที่สุดคือทิวลิปสีผสม หรือ “ทิวลิปแตกสี” (broken tulip) ที่มีลวดลายหลายสีในดอกเดียวกันที่มีชื่อเรียกกันไปต่าง ๆ แล้วแต่สายพันธุ์เช่น “Rosen” (แดงหรือชมพูบนพื้นสีขาว) “Violetten” (ม่วงหรือม่วงอ่อนบนพื้นสีขาว) หรือ “Bizarden” (แดง น้ำตาลหรือม่วง บนพื้นสีเหลือง) [13] ทิวลิปสีผสมที่นิยมกันนี้จะออกดอกที่มีสีเด่นสะดุดตาและมีลวดลายเป็นเส้นหรือเป็นเปลวบนกลีบ ลักษณะที่เป็นลวดลายนี้เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตามที่ทราบกันในปัจจุบันที่เรียกว่า “ไวรัสทิวลิปแตกสี” ซึ่งเป็นไวรัสพืชในกลุ่มไวรัสโมเสก (mosaic virus) [14][15]

“ภาพนิ่งของดอกไม้” โดยอัมโบรเชียส บอสเชิร์ต (Ambrosius Bosschaert) (ค.ศ. 1573-ค.ศ. 1621) จิตรกรยุคทองของเนเธอร์แลนด์หัวทิวลิป

ผู้ปลูกทิวลิปต่างก็พยายามตั้งชื่อสายพันธุ์ใหม่ ๆ ให้เป็นที่ต้องหูด้วยชื่อที่หรูหราต่าง ๆ ที่เริ่มด้วยการตั้งชื่อที่มีคำว่า “แอดมิราล” (Admirael) นำหน้าตามด้วยชื่อผู้ปลูกเช่น “Admirael van der Eijck” ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่แสวงหากันมากในบรรดาห้าสิบสายพันธุ์ที่ใช้ชื่อแอดมิราล ชื่อนำหน้าอีกชื่อหนึ่งที่นิยมกันคือ “เจ็นเนอราล” (Generael) ซึ่งมีด้วยกันอีกสามสิบสายพันธุ์ หลังจากนั้นชื่อที่ตั้งก็ยิ่งหรูขึ้นไปอีกเช่นชื่อที่มาจากอเล็กซานเดอร์มหาราช หรือสคิพิโอ หรือแม้แต่ “แอดมิราลแห่งแอดมิราล” หรือ “เจ็นเนอราลแห่งเจ็นเนอราล” แต่การตั้งชื่อก็มิได้เป็นไปอย่างมีระบบหรือระเบียบแบบแผนเท่าใดนัก และคุณภาพของสายพันธุ์ใหม่ก็มีระดับที่แตกต่างกันมาก[16] แต่สายพันธุ์เหล่านี้ส่วนใหญ่สูญหายไปหมดแล้ว[17] แต่ "ทิวลิปแตกสี" ก็ยังเป็นที่นิยมกันอยู่

ทิวลิปเป็นดอกไม้ที่ปลูกจากหัวที่เมื่อมองจากภายนอกจะดูคล้ายหัวหอมสีขาวนมที่ดูเหมือนไม่มีกลีบเหมือนหัวหอมธรรมดา การปลูกสามารถทำได้จากการเพาะเมล็ดหรือการปลูกจากหน่อที่แตกออกจากหัวแม่ แต่ถ้าปลูกจากเมล็ดก็จะใช้เวลาประมาณระหว่าง 7 ถึง 12 ปีจึงจะได้ดอก เมื่อหัวเจริญเติบโตขึ้นเป็นดอก หัวเดิมก็จะตายไปและจะมีหัวใหม่โตขึ้นมาแทนที่และหน่อเล็ก ๆ ถ้าปลูกอย่างกันถูกต้องแล้วหน่อเล็กนี้ก็จะโตขึ้นมาเป็นหัวใหม่ต่างหาก แต่ไวรัสที่ทำให้ดอกแตกสีแพร่ขยายได้ด้วยการปลูกจากหน่อเท่านั้นไม่ใช่ด้วยเมล็ด ฉะนั้นการที่จะเพาะสายพันธุ์ใหม่ได้จึงใช้เวลาหลายปี และยิ่งช้าลงถ้ามีไวรัส ดอกทิวลิปแต่ละชนิดก็จะบานอยู่เพียงอาทิตย์เดียวราวระหว่างเดือนเมษายนถึงพฤษภาคมก่อนที่จะโรย หลังจากนั้นก็จะมีหน่อเล็ก ๆ แตกขึ้นมา สามารถขุดและย้ายหัวได้ตั้งแต่ราวเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน ฉะนั้นการซื้อขายหัวทิวลิปกันจริง ๆ ก็จะเกิดขึ้นในช่วงนี้ของปี[18]

ในช่วงเวลาอื่น ผู้ค้าขายก็จะลงนามในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่อหน้าทนายความรับรองเอกสารเพื่อซื้อหัวทิวลิปกันเมื่อถึงปลายฤดู[19] ฉะนั้นเนเธอร์แลนด์จึงกลายมาเป็นผู้วิวัฒนาการเทคนิคของระบบการซื้อขายแบบใหม่เพื่อใช้ในการซื้อขายสินค้าเช่นหัวทิวลิป[20] ในปี ค.ศ. 1610 รัฐบาลก็ได้สั่งห้ามการขายชอร์ต ประกาศนี้มาย้ำและเพิ่มความเด็ดขาดขึ้นอีกครั้งระหว่างปี ค.ศ. 1621 จนถึง ปี ค.ศ. 1630 และต่อมาในปี ค.ศ. 1636 ตามประกาศนี้ ผู้ที่ขายชอร์ตไม่ได้รับการลงโทษ แต่สัญญาที่ลงนามไปก็ถือว่าเป็นโมฆะ[21]

ดัชนีราคามาตรฐานสำหรับสัญญาค้าขายหัวทิวลิปที่สร้างโดย Thompson 2007, p. 101 ทอมสันไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับราคาระหว่างวันที่ 9 กุมภาพันธ์ - 1 พฤษภาคม ฉะนั้นลักษณะของการหดตัวลงจึงไม่เป็นที่ทราบ แต่แม้จะไม่ทราบรูปแบบของการตกของราคาที่ถูกต้อง แต่ที่ทราบคือตลาดทิวลิปหดตัวอย่างเฉียบพลัน เมื่อถึงเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1637[22]

เมื่อการปลูกทิวลิปกลายมาเป็นที่นิยมกันมากขึ้น ผู้ปลูกอาชีพก็ซื้อขายหัวทิวลิปที่เชื่อกันว่าจะแตกสี (โดยที่ขณะนั้นไม่เป็นที่ทราบว่าเกิดจากไวรัส) กันด้วยราคาที่สูงขึ้นเป็นลำดับ เมื่อมาถึง ค.ศ. 1634 แรงผลักดันราคาทิวลิปที่ส่วนหนึ่งมาจากความต้องการของทิวลิปในฝรั่งเศส ก็เริ่มทำให้มีผู้เก็งกำไรเข้ามามีบทบาทในตลาด[23] ในปี ค.ศ. 1636 ดัตช์ก็เริ่มก่อตั้งตลาดการซื้อขายล่วงหน้าที่สัญญาการซื้อหัวทิวลิปเมื่อสิ้นฤดูสามารถนำมาซื้อขายกันในตลาดได้ ผู้ค้าขายจะพบกันใน “colleges” ในโรงเหล้า โดยผู้ซื้อต้องจ่าย "ค่าธรรมเนียมไวน์" 2.5% ซึ่งอาจสูงถึง 3 โฟลรินต่อหนึ่งสัญญา แต่ไม่มีฝ่ายใดที่ต้องจ่ายหลักประกันขั้นต้น (initial margin) หรือ ปรับมูลค่าตามราคาตลาด (mark to market) และสัญญาทั้งหมดเป็นสัญญาระหว่างบุคคล มิใช่สัญญาที่ทำกับตลาดหลักทรัพย์ แต่ไม่มีการส่งมอบสินค้าจริงตามสัญญาเพราะตลาดทิวลิปล่มสลายลงในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1637 การค้าขายนี้มีศูนย์กลางที่ฮาร์เล็มในช่วงที่เป็นจุดสูงสุดของการระบาดของกาฬโรคในยุโรป ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่กระตุ้นให้มีการเสี่ยงกันเกินกว่าเหตุก็เป็นได้[24]

ตลอดปี ค.ศ. 1636 ราคาสัญญาของหัวทิวลิปที่หายากก็ยังคงถีบตัวสูงขึ้นเรื่อย ๆ ในเดือนพฤศจิกายน ราคาสัญญาทิวลิปธรรมดาที่ไม่แตกสีก็เริ่มสูงตามขึ้นไปด้วย ดัตช์เรียกสัญญาการซื้อขายทิวลิปว่า "windhandel" ซึ่งหมายถึง "การซื้อขายลม" เพราะตัวหัวทิวลิปมิได้มีการแลกเปลี่ยนมือกันจริง ๆ ตามสัญญาซื้อขายกันล่วงหน้า[25] แต่เมื่อมาถึงเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1637 สัญญาการซื้อขายหัวทิวลิปก็ล่มในทันทีและการค้าขายหัวทิวลิปก็ยุติลงตามไปด้วยหลังจากนั้น[26]

ข้อมูลที่มี

ความที่ไม่มีข้อมูลที่บันทึกไว้อย่างมีระบบระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1630 ทำให้เป็นการยากต่อการประเมินสถานการณ์ของความคลั่งทิวลิปได้อย่างเที่ยงตรง ข้อมูลส่วนใหญ่มาจากจุลสารของผู้ต่อต้านการเก็งกำไร โดย Gaergoedt and Warmondt (GW) ที่เขียนหลังจากตลาดทิวลิปล่มสลายไปแล้ว นักเศรษฐศาสตร์ปีเตอร์ การ์เบอร์รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการซื้อขายหัวทิวลิป 161 หัวจาก 39 สายพันธุ์ระหว่างปี ค.ศ. 1633 จนถึงปี ค.ศ. 1637 โดย 53 หัวบันทึกโดย GW มีการซื้อขายเกิดขึ้น 98 ครั้งในวั้นสุดท้ายของฟองสบู่เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1637 ด้วยราคาที่แตกต่างกันเป็นอย่างมาก การซื้อขายก็มีรูปแบบหลายอย่างเช่นการซื้อขายล่วงหน้า การซื้อขายทันที การขายสัญญาล่วงหน้าที่ผ่านการรับรองของผู้ปลูก หรือการขายที่ดินที่ใช้ปลูก การ์เบอร์กล่าวว่า ข้อมูลที่มีก็คละกันอย่างไม่มีความเกี่ยวข้องกันเหมือนกับการผสมแอปเปิลกับส้ม[27]

ใกล้เคียง

ความคิดแทรกซ้อน ความคิดเชิงไสยศาสตร์ ความคลั่งทิวลิป ความคิดเห็นทางศาสนาของไอแซค นิวตัน ความคลาดสี ความคุ้มกันแก่พระมหากษัตริย์ ความคิด ความคิด (เพลงอภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข) ความคลาดทางดาราศาสตร์ ความคุ้มกันทางทูต

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความคลั่งทิวลิป http://www.andrewtobias.com/ExPopDel-1.html http://www.ft.com/cms/s/50e2255e-0025-11dc-8c98-00... http://books.google.com/books?id=gViwLbCJ7X0C&prin... http://slate.msn.com/id/2103985/ http://www.thetulipomania.com/ http://www.washingtonpost.com/wp-dyn/content/artic... http://www.econ.ucla.edu/thompson/Document97.pdf http://image.fs.uidaho.edu/vide/descr849.htm http://library.wur.nl/speccol/pamphlet.html http://library.wur.nl/tulip/