ความคลั่งที่มีผลต่อสังคมและผลที่เกิดขึ้นต่อมา ของ ความคลั่งทิวลิป

ทุ่งทิวลิปในเนเธอร์แลนด์—ทิวลิปยังเป็นที่นิยมปลูกกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันแม้จะผ่านช่วงความนิยมสูงสุดไปแล้วภาพทิวลิปที่เขียนโดย Hans Gillisz. Bollongier ในปี ค.ศ. 1639

หนังสือของแม็คเคย์ก็ยังเป็นที่นิยมกันแม้จนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้ โดยนำ Extraordinary Popular Delusions มาตีพิมพ์ใหม่อยู่เรื่อย ๆ ที่มีบทนำโดยนักเขียนเช่นผู้ลงทุนเบอร์นาร์ด บารุค (Bernard Baruch) (ค.ศ. 1932) หรือนักเขียนทางการเงินแอนดรูว์ โทไบอัส (ค.ศ. 1980),[54] และไมเคิล หลุยส์ (ค.ศ. 2008) และนักจิตวิทยาเดวิด เจย์. ชไนเดอร์ (ค.ศ. 1993) ซึ่งขณะนี้มีอย่างน้อยหกฉบับที่ยังขายกันอยู่

การ์เบอร์โต้ว่าแม้ว่าความคลั่งทิวลิปอาจจะไม่อยู่ในข่ายที่เรียกว่าฟองสบู่ทางเศรษฐกิจหรือฟองสบู่การเก็งกำไร แต่กระนั้นก็เป็นสถานการณ์ที่มีผลกระทบกระเทือนทางจิตวิทยาต่อชาวดัตช์ในด้านอื่น ตามข้อเขียนที่กล่าวว่า “แม้ว่าผลกระทบกระเทือนทางการเงินจะมีต่อคนเพียงไม่กี่คนโดยตรง แต่ความช็อคจากความคลั่งทิวลิปก็ทำให้เกิดการขาดความเชื่อมั่นในโครงสร้างของคุณค่าของสินค้า”[55] ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ความคิดที่ว่าราคาดอกไม้จะสามารถมีค่าสูงกันได้ถึงขนาดที่ประเมินกันเป็นสิ่งที่ยากที่จะเข้าใจได้ ค่าของสายพันธุ์ทิวลิปบางชนิดสูงกว่ารายได้ทั้งปีของบุคคลบางอาชีพ และความคิดที่ว่าราคาดอกไม้ที่ปลูกกันในฤดูร้อนจะมีผลในทำให้ราคามาผันผวนได้ในช่วงฤดูหนาวทำให้เป็นการยากที่จะเข้าใจถึง “มูลค่า” ที่แท้จริงของสินค้าได้[56]

แหล่งข้อมูลหลายแหล่งกล่าวถึงความเป็นปฏิปักษ์ต่อความคลั่งทิวลิป เช่นจุลสารเพื่อการต่อต้านการเก็งกำไรที่ต่อมาใช้เป็นงานอ้างอิงของบทเขียนของเบ็คมันน์และแม็คเคย์ถึงผลเสียหายในทางเศรษฐกิจ แต่จุลสารเหล่านี้มิได้เขียนโดยผู้ที่ได้รับความเสียหายโดยตรงเมื่อตลาดล่ม แต่เขียนโดยผู้มีอิทธิพลจากความเชื่อทางศาสนา ซึ่งถือโอกาสประณามความวุ่นวายที่เกิดขึ้นว่าเป็นผลมาจากความเสื่อมโทรมทางจริยธรรมของสังคม—และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก็เป็นเครื่องพิสูจน์ให้เห็นว่า “ผู้ที่มีความมัวเมาในทางโลก แทนที่จะเป็นทางธรรมได้รับการลงโทษอย่างรุนแรง” ดังนั้นเหตุการณ์ดังกล่าวอาจจะเป็นเรื่องเล็ก ๆ ในทางเศรษฐกิจที่หยิบยกมาเติมสีสันให้เป็นเรื่องสอนใจด้านคุณธรรม[57]

อีกร้อยปีต่อมาระหว่างที่บริษัทมิสซิสซิปปีล่ม และเหตุการณ์ฟองสบู่แตกเซาธ์ซี ราวปี ค.ศ. 1720 ก็มีการอ้างถึงความคลั่งทิวลิปในการเสียดสีถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น[58] เมื่อกล่าวถึงความคลั่งทิวลิปเป็นครั้งแรกในคริสต์ทศวรรษ 1780 โยฮันน์ เบ็คมันน์เปรียบเทียบเหตุการณ์นี้กับการซื้อสลากกินแบ่ง[59] ตามความคิดเห็นของโกลด์การ์และนักเขียนเกี่ยวกับสภาวะการลงทุนสมัยใหม่เช่นเบอร์ตัน มาลคีล (Burton Malkiel) A Random Walk Down Wall Street (ค.ศ. 1973) และ จอห์น เค็นเน็ธ กาลเบร็ธ (John Kenneth Galbraith) ใน A Short History of Financial Euphoria (ค.ศ. 1990) ที่เขียนไม่นานหลังจากตลาดหลักทรัพย์ล่มของปี ค.ศ. 1987 ก็ใช้เรื่องราวของความคลั่งทิวลิปเป็นบทเรียนทางจริยธรรม[60][61][62] นอกจากนั้นแล้วความผันผวนของตลาดทิวลิปก็ยังเป็นโครงเรื่องในนวนิยายที่เขียนโดยเกรกอรี แมไกวร์ (Gregory Maguire) Confessions of an Ugly Stepsister (ค.ศ. 1999) [63][64]

ความคลั่งทิวลิปมากลายเป็นเรื่องที่กล่าวถึงกันอีกครั้งเมื่อเกิดภาวะฟองสบู่ดอตคอมแตก ขึ้นระหว่าง ค.ศ. 1995 ถึง ค.ศ. 2001[65] และล่าที่สุดนักวรสารก็เปรียบเทียบกับวิกฤติสินเชื่อซับไพรม์[66][67] แม้ว่าความคลั่งทิวลิปจะยังเป็นเรื่องที่นิยมเล่าขานกันอยู่ แต่แดเนียล โกรสส์แห่งนิตยสาร “Slate” กล่าวถึงคำอธิบายของนักเศรษฐศาสตร์ถึงสมมติฐานประสิทธิภาพของตลาดในการอธิบายสภาวะความผันผวนของตลาดทิวลิปว่า “ถ้าคำอธิบายดังกล่าวถูกต้องจริงแล้ว...ก็เท่ากับว่านักเขียนเกี่ยวกับธุรกิจทั้งหลายก็สามารถลบเรื่องของความคลั่งทิวลิปออกจากบรรดาอุปมานิทัศน์ของเรื่องฟองสบู่แตกได้ทั้งหมด”[68]

ใกล้เคียง

ความคิดแทรกซ้อน ความคิดเชิงไสยศาสตร์ ความคลั่งทิวลิป ความคิดเห็นทางศาสนาของไอแซค นิวตัน ความคลาดสี ความคุ้มกันแก่พระมหากษัตริย์ ความคิด ความคิด (เพลงอภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข) ความคลาดทางดาราศาสตร์ ความคุ้มกันทางทูต

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความคลั่งทิวลิป http://www.andrewtobias.com/ExPopDel-1.html http://www.ft.com/cms/s/50e2255e-0025-11dc-8c98-00... http://books.google.com/books?id=gViwLbCJ7X0C&prin... http://slate.msn.com/id/2103985/ http://www.thetulipomania.com/ http://www.washingtonpost.com/wp-dyn/content/artic... http://www.econ.ucla.edu/thompson/Document97.pdf http://image.fs.uidaho.edu/vide/descr849.htm http://library.wur.nl/speccol/pamphlet.html http://library.wur.nl/tulip/