เหตุ ของ ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ

มีเหตุที่เป็นไปได้ของความผิดปกติทางจิตหลายอย่าง และอาจจะมีความต่าง ๆ กันขึ้นอยู่กับความผิดปกติ บุคคล และสถานการณ์อาจจะเป็นลักษณะทางพันธุกรรมและประสบการณ์ในชีวิตบางอย่าง ซึ่งอาจจะรวมหรือไม่รวมเหตุการณ์บาดเจ็บหรือถูกทารุณกรรมโดยเฉพาะ ๆ

งานศึกษาในนักศึกษามหาวิทยาลัยชาย 600 คน ที่มีอายุเฉลี่ยเกือบ 30 ปี ผู้ที่ไม่ได้เป็นคนไข้ ตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์ทารุณกรรมทางกายและทางเพศในวัยเด็ก กับความผิดปกติทางบุคลิกภาพที่รายงานในปัจจุบันประวัติทารุณณกรรมในวัยเด็กสัมพันธ์อย่างชัดเจนกับระดับที่สูงขึ้นของอาการต่าง ๆส่วนความรุนแรงของทารุณกรรมก็มีความสำคัญทางสถิติด้วย แต่ว่า ไม่มีความสำคัญทางคลินิกต่อความแปรปรวน (variance) ของอาการของทุกกลุ่ม (คือกลุ่ม A, B และ C)[52]

การกระทำทารุณต่อเด็ก (child abuse) และการละเลยเด็ก (neglect) มีหลักฐานที่สม่ำเสมอว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการพัฒนาเป็นความผิดปกติทางบุคลิกภาพในวัยผู้ใหญ่[53]งานวิจัยหนึ่งจับคู่ทารุณกรรมย้อนหลังในอดีต กับกลุ่มคนไข้ที่แสดงจิตพยาธิสภาพเริ่มตั้งแต่วัยเด็กแล้วดำเนินมาจนถึงวัยผู้ใหญ่ ที่ภายหลังพบว่าได้ถูกทารุณและละเลยในวัยเด็กเป็นการศึกษาในมารดาและเด็ก 793 คน ที่นักวิจัยถามมารดาว่าเคยตะโกนใส่ลูก เคยกล่าวว่าตนไม่รักลูก หรือว่าเคยขู่ว่าจะส่งลูกไปอยู่ที่อื่นหรือไม่เด็กที่ประสบทารุณกรรมทางวาจาเช่นนี้มีโอกาส 3 เท่าของเด็กอื่นที่จะมีความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง แบบหลงตัวเอง แบบย้ำคิดย้ำทำ และแบบระแวงในวัยผู้ใหญ่[54]ส่วนกลุ่มที่ถูกทารุณกรรมทางเพศ แสดงรูปแบบจิตพยาธิในระดับที่สูงขึ้นอย่างสม่ำเสมอที่สุดและทารุณกรรมทางกาย (physical abuse) ที่พิสูจน์อย่างเป็นทางการแล้ว แสดงค่าสหสัมพันธ์ที่สูงมากกับพัฒนาการเป็นพฤติกรรมต่อต้านสังคมและทำตามอารมณ์ชั่ววูบแต่ว่า กรณีคนไข้ที่ถูกทารุณกรรมโดยละเลยในวัยเด็ก โรคอาจจะสงบทุเลาเป็นบางส่วน (partial remission) ในวัยผู้ใหญ่ได้[53]

ใกล้เคียง

ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ ความผิดปกติทางอารมณ์ ความผิดปรกติในความคิด ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบหลงตัวเอง ความผันแปรได้ทางพันธุกรรม ความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ ความผิดทางพินัย ความผิดปกติทางจิต

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ http://193.146.160.29/gtb/sod/usu/$UBUG/repositori... http://behaviorismandmentalhealth.com/2010/05/05/p... http://www.asia.cmpmedica.com/cmpmedica_my/disppdf... http://counsellingresource.com/distress/personalit... http://www.diseasesdatabase.com/ddb9889.htm http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=301.... http://emedicine.medscape.com/article/294307-overv... http://www.medscape.com/viewarticle/803884_8 http://nationalpsychologist.com/2006/11/glasser-he... http://www.pdmh-consultancy.com/publication-detail...