พัฒนาการในชีวิต ของ ความภูมิใจแห่งตน

ประสบการณ์ในชีวิตมีผลต่อพัฒนาการของความภูมิใจในตนอย่างสำคัญ[7]ในชีวิตระยะต้น ๆ พ่อแม่มีอิทธิพลสำคัญต่อความภูมิใจในตนและพิจารณาว่าเป็นสาเหตุของประสบการณ์ทั้งเชิงบวกเชิงลบที่เด็กจะมี[31]ความรักที่ไม่มีเงื่อนไขจากพ่อแม่ช่วยให้เด็กพัฒนาความรู้สึกว่ามีคนห่วงใยและนับถือซึ่งมีผลต่อความภูมิใจในตนเมื่อเด็กโตขึ้น[32]

เด็กประถมที่ภูมิใจในตนสูงมักจะมีพ่อแม่ที่เด็ดขาดแต่เป็นห่วง ช่วยเหลือสนับสนุน ตั้งขอบเขตพฤติกรรมให้แก่เด็ก และให้ออกความเห็นเมื่อตัดสินใจแม้ว่างานศึกษาจะแสดงเพียงแค่ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างสไตล์ความเป็นพ่อแม่แบบให้ความอบอุ่น ช่วยเหลือสนับสนุน (โดยหลักคือแบบ authoritative และ permissive) กับเด็กมีความภูมิใจสูง แต่ว่าสไตล์ความเป็นพ่อแม่เช่นนี้สามารถมองได้ว่าเป็นเหตุพัฒนาการทางความภูมิใจในตนของเด็ก[31][33][34][35]ประสบการณ์วัยเด็กที่ทำให้เกิดความภูมิใจรวมทั้งพ่อแม่ฟัง พ่อแม่พูดด้วยดี ๆ ได้รับความเอาใจใส่และความรัก มีการแสดงคุณค่าต่อความสำเร็จ และสามารถยอมรับความผิดพลาดและความล้มเหลวประสบการณ์ที่ทำให้ภูมิใจในตนต่ำรวมทั้ง ถูกด่าว่าอย่างรุนแรง ถูกทารุณกรรมไม่ว่าจะทางกาย ทางเพศ หรือทางอารมณ์ ไม่ได้รับความเอาใจใส่ ถูกหัวเราะเยาะ ถูกล้อ หรือหวังให้เพอร์เฝ็กต์ตลอดเวลา[36]

ในช่วงที่อยู่ในโรงเรียน การเรียนได้ดีจะเป็นตัวช่วยสร้างความภูมิใจในตน[7]เด็กที่เรียนดีตลอดหรือเรียนตกตลอดจะมีผลสำคัญต่อความภูมิใจในตน[37]ประสบการณ์ทางสังคมจะเป็นตัวช่วยความภูมิใจในตนอีกอย่างหนึ่งในขณะที่เติบโตผ่านวัยเรียน เด็กจะเริ่มเข้าใจและรู้จักความแตกต่างของตัวเองกับเพื่อนโดยเปรียบเทียบกับเพื่อน เด็กจะประเมินว่าตนทำได้ดีกว่าหรือแย่กว่าเพื่อนในกิจกรรมต่าง ๆซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาความภูมิใจในตน และมีอิทธิพลต่อความรู้สึกดีชั่วที่มีต่อตัวเอง[38][39]

เมื่อถึงวัยรุ่น อิทธิพลจากเพื่อนจะสำคัญมากยิ่งขึ้นวัยรุ่นประเมินตัวเองโดยความสัมพันธ์กับเพื่อนที่ใกล้ชิด[40]การมีความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อน ๆ สำคัญมากต่อพัฒนาการของความภูมิใจในตนในเด็กเพราะการได้ความยอมรับจากเพื่อนทำให้เกิดความั่นใจและความภูมิใจ เทียบกับการไม่ยอมรับที่ทำให้เหงา ไม่มั่นใจในตน และภูมิใจในตนต่ำ[41]

เด็กวัยรุ่นจะมีความภูมิใจในตนสูงขึ้นเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงวัยกลางคน[8]แต่จากวัยกลางคนจึงถึงวัยชรา ความภูมิใจจะตกลงแม้ว่าจะไม่ชัดเจนว่าตกน้อยหรือตกมาก[8]เหตุผลที่แปรไปเช่นนี้อาจเป็นเพราะปัญหาสุขภาพ สมรรถภาพทางการรู้คิด และฐานะทางสังคม-เศรษฐกิจในวัยชรา[8]

ไม่พบความแตกต่างกันระหว่างเพศในเรื่องพัฒนาการทางความภูมิใจในตน[8]งานศึกษาตามรุ่นแสดงว่า ไม่มีความแตกต่างกันในวิถีการดำเนินของความภูมิใจตลอดชั่วชีวิตระหว่างคนรุ่นต่าง ๆ เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงทางสังคม เช่น การให้เกรดสูงขึ้นในสถาบันศึกษา หรือสื่อทางสังคม (social media)[8]

ความชำนาญสูง การไม่ทำอะไรเสี่ยง ๆ และสุขภาพที่ดีกว่าเป็นตัวพยากรณ์ความภูมิใจในตนที่สูงกว่าในเรื่องบุคลิกภาพ คนที่มีอารมณ์เสถียร คนที่สนใจสิ่งภายนอก และคนที่พิถีพิถัน ภูมิใจในตนสูงกว่า[8]ตัวพยากรณ์เหล่านี้แสดงว่า ความภูมิใจในตนมีลักษณะที่ยั่งยืน (เป็น trait) ที่คงยืนเหมือนกับทั้งบุคลิกภาพและเชาวน์ปัญญา[8]แม้ว่า นี่จะไม่ได้หมายความว่าไม่สามารถเปลี่ยนได้[8]

ในสหรัฐอเมริกา วัยรุ่นเชื้อสายละตินอเมริกา/สเปนจะมีความภูมิใจในตนที่ต่ำกว่าวัยรุ่นเชื้อสายแอฟริกาและคนขาว แต่จะเพิ่มสูงกว่าเล็กน้อยโดยอายุ 30 ปี[42][43]ส่วนคนเชื้อสายแอฟริกาเพิ่มความภูมิใจในตนอย่างรวดเร็วกว่าในช่วงวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่เบื้องต้นเทียบกับคนขาวแต่ว่า ในช่วงวัยชราก็จะประสบการลดความภูมิใจที่รวดเร็วกว่า[8]

ความอับอาย

ความอับอายอาจมีบทบาทในผู้ที่มีปัญหาความภูมิใจต่ำ[44]ความอับอายจะเกิดขึ้นในสถานการณ์ที่รู้สึกลดคุณค่าทางสังคม เช่นเมื่อได้การประเมินทางสังคมที่ไม่ดี (เช่น คนวิจารณ์)ซึ่งจะทำให้เกิดสภาพทางจิตใจที่บ่งการลดความภูมิใจในตนและการเพิ่มความอับอาย[45]โดยอาจบรรเทาได้โดยให้เห็นใจ/มีกรุณาต่อตนเอง[46]

ตนจริง ๆ, ตนในอุดมคติ, ตนที่ขยาด

มีพัฒนาการการประเมินตัวเอง 4 ระดับโดยสัมพันธ์กับตนจริง ๆ (real self) ตนในอุดมคติ (ideal self) และตนที่ขยาด (dreaded self)[47]คือ

  1. ระยะการตัดสินดีชั่ว (Moral Judgment) - บุคคลจะระบุตนจริง ๆ ตนในอุดมคติ และตนที่ขยาด ด้วยคำเรียกทั่ว ๆ ไป เช่น "ดี" หรือ "ไม่ดี" โดยระบุถึงตนอุดมคติและตนจริง ๆ โดยแนวโน้มการกระทำหรือนิสัย และมักระบุตนที่ขยาดว่าไม่เก่งหรือมีนิสัยไม่ดี
  2. ระยะพัฒนาอัตตา (Ego Development) - บุคคลจะระบุตนอุดมคติและตนจริง ๆ โดยลักษณะคงยืน (trait) ตามทัศนคติและตามการกระทำ และระบุตนที่ขยาดว่าไม่เก่งตามเกณฑ์สังคมหรือว่าเห็นแก่ตัว
  3. ระยะเข้าใจตนเอง (Self-Understanding) บุคคลระบุตนอุดมคติและตนจริง ๆ ว่ามีเอกลักษณ์หรือลักษณะนิสัยเป็นอันเดียวกัน และระบุตนที่ขยาดว่า ล้มเหลวที่จะมีชีวิตตามอุดมคติหรือตามบทบาทที่คาดหวัง โดยบ่อยครั้งเพราะมีปัญหาจริง ๆ ระดับนี้จะรวมเอาการตัดสินดีชั่วที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นที่ครอบคลุมมากขึ้น เป็นระยะที่ความภูมิใจในตนอาจเสียหายเพราะไม่รู้สึกว่าตนเองทำได้ตามที่คาดหวัง ความรู้สึกเช่นนี้จะมีผลต่อความภูมิใจในตนพอสมควร โดยมีผลยิ่งกว่าเมื่อเชื่อว่าตนกำลังกลายเป็นตนที่ขยาด[47]
ปิรามิดของ ศ. ดร. มาสโลว์
ขั้นล่างสุด (สีส้ม) รวมอาหาร น้ำ เพศสัมพันธ์ การนอนหลับ ภาวะธำรงดุล และการขับถ่าย ขั้นสอง (สีแดงอมส้ม) รวมความปลอดภัยทางกาย ทางการงาน ทางทรัพยากรที่มี ทางศีลธรรม ทางครอบครัว ทางสุขภาพ และทางทรัพย์สมบัติ ขั้นสาม (สีเขียว) รวมเพื่อน ครอบครัว และความสัมพันธ์ทางเพศที่ดี ขั้นสี่ (สีม่วง) รวมความภูมิใจในตน ความมั่นใจ ความสำเร็จ การนับถือผู้อื่น และความนับถือจากผู้อื่น ขั้นห้า (สีน้ำเงิน) รวมศีลธรรม ความสร้างสรรค์ ความยืดหยุ่นโดยทำอะไรได้ทันที (spontaneity) การแก้ปัญหา การไร้ความเดียดฉันท์ และการยอมรับความจริง

ใกล้เคียง

ความภูมิใจแห่งตน ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย ความขัดแย้งระหว่างพม่ากับกะเหรี่ยง ความสนใจต่อสิ่งภายนอก-ความสนใจต่อสิ่งภายใน ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย ความรัก ความลับของนางฟ้า ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทย ความจำ ความดันโลหิตสูง

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความภูมิใจแห่งตน http://www.erin.utoronto.ca/~w3psyuli/PReprints/JR... http://ddd.uab.cat/record/142342?ln=en http://www.afterpsychotherapy.com/narcissism-vs-au... http://www.bartleby.com/61/18/S0241800.html http://www.bartleby.com/61/58/S0245800.html http://www.education.com/reference/article/self-es... http://www.monografias.com/trabajos104/como-influy... http://www.nytimes.com/2002/02/03/magazine/the-tro... http://www.psychologytoday.com/articles/201112/the... http://www.scientificamerican.com/article.cfm?id=v...