ความแตกต่างระหว่างบุคคล ของ ความเอนเอียงเพื่อยืนยัน

ในอดีตเคยเชื่อกันว่า ความเอนเอียงเพื่อยืนยันมีความสัมพันธ์เชิงผกผันกับสติปัญญาที่สูงกว่าแต่ว่า งานวิจัยต่าง ๆ กลับพบว่า ทักษะในการคิดอย่างมีเหตุผลมีอิทธิพลต่อความเอนเอียงมากกว่าระดับสติปัญญา[55] ความเอนเอียงนี้อาจเป็นเหตุให้ไม่สามารถทำการประเมินแนวคิดตรงกันข้ามอย่างมีประสิทธิภาพและประกอบด้วยเหตุผลงานวิจัยต่าง ๆ เสนอว่า ความเอนเอียงนี้เป็นความปราศจาก "การเปิดใจกว้าง"ซึ่งหมายถึงการเสาะหาอย่างจริง ๆ จัง ๆ ว่า แนวคิดเบื้องต้นนั้นอาจจะผิดพลาดได้[56] โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว ความเอนเอียงนี้เกิดขึ้นในการศึกษาเชิงประสบการณ์ โดยเป็นการใช้หลักฐานสนับสนุนความคิดของตนเป็นจำนวนมากกว่าหลักฐานที่คัดค้าน[57]

งานวิจัยหนึ่งพบความแตกต่างระหว่างบุคคลเกี่ยวกับความเอนเอียงนี้ โดยตรวจสอบความแตกต่างระหว่างบุคคลที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ในวัฒนธรรม ซึ่งเป็นความแตกต่างที่เปลี่ยนไปได้ นักวิจัยพบความแตกต่างกันที่สำคัญในระหว่างบุคคลเกี่ยวกับความสามารถในการโต้แย้ง (วิธีการให้เหตุผล) งานวิจัยต่าง ๆ เสนอว่า ความแตกต่างในระหว่างบุคคลเช่น ความสามารถในการหาเหตุผลเชิงนิรนัย (deductive) ความสามารถในการเอาชนะความเอนเอียงเพราะความเชื่อ ความเข้าใจทางญาณวิทยา (เกี่ยวกับความรู้และฐานของความรู้เป็นต้น) และอัธยาศัยในการคิดเป็นตัวพยากรณ์สำคัญในการคิดหาเหตุผลและอ้างเหตุผล ในการโต้ตอบด้วยเหตุผล (counterargument) และในการพิสูจน์ความไม่จริง (rebuttal)[58][59][60]

งานวิจัยโดยคริสโตเฟอร์ วูลฟ์ และแอนน์ บริตต์ ตรวจสอบว่า ความเห็นของผู้รับการตรวจสอบว่า "อะไรเป็นวิธีการโต้แย้งที่ดี" สามารถเป็นต้นกำเนิดของความเอนเอียงเพื่อยืนยัน ที่มีอิทธิพลต่อวิธีที่บุคคลสร้างคำโต้แย้ง[57] คือ งานวิจัยตรวจสอบความแตกต่างของวิธีการโต้แย้งระหว่างบุคคลและกำหนดให้ผู้รับการทดลองเขียนบทความ โดยมีการจัดโดยสุ่มให้ผู้ร่วมการทดลองเขียนบทความสนับสนุนหรือคัดค้านข้อโต้แย้งฝ่ายตนโดยมีกำหนดให้เขียนบทความที่สมดุลหรือไม่มีกำหนดคือคำสั่งสมดุลบอกให้ผู้ร่วมการทดลองเขียนข้อโต้แย้งที่สมดุลที่กล่าวถึงทั้งข้อความที่สนับสนุนและข้อความที่คัดค้านและคำสั่งไม่มีกำหนดไม่กำหนดว่าควรจะเขียนข้อโต้แย้งอย่างไร

โดยรวม ๆ แล้ว ผลแสดงว่า คำสั่งสมดุลเพิ่มการใช้ข้อมูลคัดค้านในข้อโต้แย้งของผู้ร่วมการทดลองอย่างมีนัยสำคัญนอกจากนั้นแล้ว ข้อมูลงานวิจัยยังแสดงว่า ความเชื่อส่วนตัวไม่ใช่แหล่งกำเนิดของความลำเอียงเพื่อยืนยันคือ ผู้ร่วมการทดลองที่เชื่อคำพูดว่า ข้อโต้แย้งที่ดีต้องมีฐานจากความจริงมักปรากฏความเอนเอียงนี้มากกว่าผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับคำพูดนี้ หลักฐานนี้สอดคล้องกับข้อเสนอในบทความของบารอนว่า ความเห็นในเรื่องการหาเหตุผลที่ดีมีอิทธิพลต่อการสร้างคำโต้แย้ง[57]

ใกล้เคียง

ความเจ็บปวด ความเสียวสุดยอดทางเพศ ความเท่าเทียมทางเพศ ความเอนเอียงเพื่อยืนยัน ความเอนเอียงโดยการมองในแง่ดี ความเหนือกว่าเทียม ความเครียด (จิตวิทยา) ความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก ความเอนเอียงรับใช้ตนเอง ความเป็นมาของตัวละครในเพชรพระอุมา

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความเอนเอียงเพื่อยืนยัน http://hosted.xamai.ca/confbias/ http://www.amazon.com/Emerging-Perspectives-Judgme... http://www.amazon.com/Handbook-Social-Psychology-S... http://www.boston.com/bostonglobe/ideas/articles/2... http://books.google.com/books?id=0SYVAAAAYAAJ&pg=P... http://web.mac.com/kstanovich/Site/YUP_Reviews_fil... http://www.myfoxal.com/story/23395758/camm-trial-9... http://www.scientificamerican.com/article.cfm?id=t... http://skepdic.com/confirmbias.html http://www.skepdic.com/backfireeffect.html