คำอธิบาย ของ ความเอนเอียงเพื่อยืนยัน

บ่อยครั้งมีการอธิบายว่าความลำเอียงเพื่อยืนยันเป็นผลของกลยุทธ์อัตโนมัติ ที่ไม่ได้ประกอบด้วยความตั้งใจ และไม่ใช่เป็นการหลอกลวงโดยจงใจ[13][78] ตามนักวิจัยรอเบิรต์ แม็คคูน การประมวลผลแบบเอนเอียงโดยมากเป็นผลของการผสมผเสนกันของกลไกทางประชาน (cognitive) และกลไกเกี่ยวกับแรงจูงใจ (motivation)[79]

คำอธิบายความลำเอียงเพื่อยืนยันโดยกลไกทางประชาน มีฐานจากสมรรถภาพที่จำกัดของมนุษย์ในการทำงานที่ซับซ้อนและการใช้ทางลัดที่เรียกว่าวิธีการศึกษาโดยทดลอง (heuristic) ของมนุษย์[80] ยกตัวอย่างเช่น บุคคลอาจจะตัดสินความน่าเชื่อถือของหลักฐานโดยใช้ ฮิวริสติกโดยความเข้าถึงได้ง่าย คือว่า บุคคลคิดถึงสิ่งนั้นได้โดยง่าย ๆ แค่ไหน[81] และก็เป็นไปได้ด้วยที่ว่า มนุษย์สามารถใส่ใจในความคิดเดียวในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ เท่านั้น ดังนั้น จึงยากที่จะทดสอบสมมติฐานหลาย ๆ อย่างไปพร้อม ๆ กัน[82] วิธีการศึกษาโดยทดลองอีกวิธีหนึ่งก็คือ กลยุทธ์ในการทดสอบเชิงบวกที่เคลย์แมนและฮาได้กล่าวถึง ที่มนุษย์ทดสอบสมมติฐานโดยเช็คกรณีที่หวังว่าจะเห็นลักษณะหรือเหตุการณ์ (เกี่ยวข้องกับสมมติฐานนั้น ๆ) การใช้วิธีการศึกษาโดยทดลองเป็นการเลี่ยงการต้องพิจารณาว่า คำถามแต่ละคำถามจะสามารถให้ข้อมูลได้เท่าไร ซึ่งเป็นเรื่องยากหรือเป็นไปไม่ได้แต่ว่า เพราะว่า ไม่ใช่เป็นวิธีที่ใช้ได้ดีเสมอไป ดังนั้น มนุษย์จึงอาจจะมองข้ามข้อมูลที่คัดค้านความเชื่อฝ่ายตน[12][83]

คำอธิบายโดยกลไกเกี่ยวกับแรงจูงใจเป็นการอธิบายถึงความหวังเกี่ยวกับความเชื่อนั้นซึ่งบางครั้งเรียกว่า "ความคิดประกอบด้วยความหวัง" (wishful thinking)[84][85] เป็นที่รู้กันว่า มนุษย์ชอบใจความคิดที่ทำให้เกิดความรู้สึกที่ดี มากกว่าความคิดที่ทำให้เกิดความรู้สึกไม่ดี[86] เมื่อใช้กับการโต้แย้งและกับแหล่งกำเนิดหลักฐาน ก็จะสามารถอธิบายได้ว่าทำไมข้อสรุปที่ต้องการจึงมีโอกาสที่จะเกิดความเชื่อถือได้มากกว่า[84] ตามการทดลองที่จัดการเปลี่ยนแปลงความน่าปรารถนาของข้อสรุป มนุษย์มีมาตรฐานในการพิจารณาหลักฐานเกี่ยวกับความคิดที่กลืนไม่ลงที่สูงกว่าความคิดที่น่าชอบใจ[87][88]

แม้ว่า ความสม่ำเสมออาจจะเป็นคุณสมบัติที่น่าต้องการอย่างหนึ่งสำหรับการมีทัศนคติ แต่ว่า แรงผลักดันเพื่อความสม่ำเสมอมากเกินไปอาจจะเป็นแหล่งกำเนิดของความเอนเอียงอีกอย่างหนึ่งเพราะว่า เป็นสิ่งที่ป้องกันบุคคลไม่ให้วางตัวเป็นกลางในการประเมินข้อมูลใหม่ ๆ ที่ไม่ตรงกับทัศนคตินั้น[84] นักสังคมจิตวิทยาซีวา คุนดา รวมทฤษฎีทางประชานและแรงจูงใจเข้าด้วยกันเพื่ออธิบายความเอนเอียงเพื่อยืนยัน โดยเสนอว่า แรงจูงใจนั้นนำไปสู่ความเอนเอียง แต่มีองค์ทางประชานที่กำหนดขนาดของความเอนเอียงนั้น[89]

ส่วนการอธิบายความเอนเอียงโดยใช้การวิเคราะห์ต้นทุน-ผลกำไร (cost-benefit analysis) ตั้งสมมติฐานว่า มนุษย์ไม่ได้ทดสอบสมมติฐานโดยไม่ได้คิดถึงผลประโยชน์ แต่จะประเมินถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นจากความผิดพลาด (ของสมมติฐาน)[90] โดยใช้หลักจิตวิทยาวิวัฒนาการ (evolutionary psychology) เจมส์ ฟรีดริคเสนอว่า มนุษย์ไม่ได้ทดสอบสมมติฐานเพื่อหาความจริง แต่เพื่อจะหลีกเลี่ยงความผิดพลาดที่เกิดความเสียหายมากที่สุด ยกตัวอย่างเช่น ผู้ว่าจ้างอาจจะถามคำถามในแนวทางเดียวในการสัมภาษณ์งาน เพราะว่า ต้องโฟกั๊สในการที่จะกำจัดผู้สมัครที่ไม่เหมาะสมออกไป[91]

ยาคอฟ โทรป และอะกิวา ลีเบอร์แมนพัฒนาทฤษฎีนี้ขึ้นโดยตั้งสมมติฐานว่า บุคคลจะทำการเปรียบเทียบความผิดพลาดสองประเภท คือ การยอมรับสมมติฐานที่ผิด หรือการปฏิเสธสมมติฐานที่ถูกยกตัวอย่างเช่น คนที่ตั้งค่าความซื่อสัตย์ของเพื่อนต่ำไปอาจจะมีการปฏิบัติกับเพื่อนด้วยความสงสัย ซึ่งเป็นการทำลายมิตรไมตรีนั้นส่วนการตั้งค่าสูงไปอาจจะเกิดความเสียหาย แต่ก็ไม่เท่ากับตั้งค่าต่ำไป ดังนั้นในกรณีนี้ จึงมีเหตุผลที่จะสืบหา ประเมิน และทรงจำหลักฐานที่แสดงความซื่อสัตย์อย่างมีความเอนเอียง[92]

เมื่อบุคคลหนึ่งปรากฏในเบื้องต้นว่าเป็นคนเปิดเผยหรือเป็นคนเก็บตัวการถามบุคคลนั้นโดยคำถามที่ตรงกับบุคลิก จะปรากฏว่า เป็นการเห็นใจผู้อื่น[93] นี้บอกเป็นนัยว่า เวลาคุยกับคนที่ดูเหมือนกับคนเก็บตัว อาจจะเป็นนิมิตว่ามีทักษะดีทางสังคมถ้าถามบุคคลนั้นว่า "คุณรู้สึกอึดอัดใจเวลาเข้าสังคมไหม" ที่ดีกว่าถ้าถามว่า "คุณชอบไปงานสังคมที่มีคนมาก ๆ ไหม"ความสัมพันธ์ระหว่างความลำเอียงเพื่อยืนยันและทักษะสังคมพบในงานทดลองที่ศึกษาวิธีการที่นักศึกษามหาวิทยาลัยทำความรู้จักกับคนอื่น ๆ คือ นักศึกษาที่เข้าใจตนเองดี ผู้มีความรู้สึกไวต่อสิ่งแวดล้อมและกฏเกณฑ์ของสังคม จะถามคำถามเมื่อสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยผู้มีฐานะสูง ที่เข้ากับผู้รับคำถามได้ดีกว่าเมื่อกำลังทำความรู้จักกับนักศึกษาด้วยกัน[93] (เพื่อที่จะให้เจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยมีความประทับใจในผู้ถาม)

นักจิตวิทยาเจ็นนิเฟอร์ เลอร์เนอร์ และฟิลิป เท็ทล็อก แบ่งกระบวนการคิดหาเหตุผลออกเป็นสองอย่าง คือ ความคิดแบบสำรวจ (exploratory thought) ที่พิจารณาแนวคิดต่าง ๆ อย่างเป็นกลาง ๆ โดยพยายามค้นหาข้อขัดแย้งต่อแนวคิดเหล่านั้นเท่าที่จะเป็นไปได้ ในขณะที่ความคิดเพื่อยืนยัน มีจุดประสงค์เพื่อจะหาหลักฐานสนับสนุนแนวคิดอย่างหนึ่ง เลอร์เนอร์และเท็ทล็อกกล่าวว่า เมื่อบุคคลคิดว่าจะต้องให้เหตุผลในจุดยืนของตนกับผู้อื่น ผู้มีทัศนคติที่บุคคลรู้แล้ว บุคคลมักถือเอาจุดยืนที่คล้ายกันกับของคนเหล่านั้น แล้วใช้ความคิดเพื่อยืนยันเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือของบุคคล แต่ถ้าว่า ผู้อื่นนั้น มีความคิดรุนแรงหรือปากร้าย บุคคลจะเลิกคิดถึงเรื่องนั้น แล้วกล่าวเพียงแต่ความเห็นส่วนตัวของตนโดยไม่หาข้อยืนยัน[94] เลอร์เนอร์และเท็ทล็อกกล่าวว่า บุคคลจะกดดันให้ตนเองคิดอย่างรอบคอบอย่างมีเหตุผล เมื่อรู้ว่าจะต้องอธิบายความคิดของตนต่อผู้อื่นที่รู้เรื่องดี สนใจในความจริง และมีทัศนคติที่บุคคลยังไม่รู้[95] แต่ว่า เพราะว่า เหตุการณ์ที่มีองค์ประกอบอย่างนี้มีน้อย ดังนั้น บุคคลจึงใช้ความคิดแบบยืนยันโดยมาก[96]

ใกล้เคียง

ความเจ็บปวด ความเสียวสุดยอดทางเพศ ความเท่าเทียมทางเพศ ความเอนเอียงเพื่อยืนยัน ความเอนเอียงโดยการมองในแง่ดี ความเหนือกว่าเทียม ความเครียด (จิตวิทยา) ความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก ความเอนเอียงรับใช้ตนเอง ความเป็นมาของตัวละครในเพชรพระอุมา

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความเอนเอียงเพื่อยืนยัน http://hosted.xamai.ca/confbias/ http://www.amazon.com/Emerging-Perspectives-Judgme... http://www.amazon.com/Handbook-Social-Psychology-S... http://www.boston.com/bostonglobe/ideas/articles/2... http://books.google.com/books?id=0SYVAAAAYAAJ&pg=P... http://web.mac.com/kstanovich/Site/YUP_Reviews_fil... http://www.myfoxal.com/story/23395758/camm-trial-9... http://www.scientificamerican.com/article.cfm?id=t... http://skepdic.com/confirmbias.html http://www.skepdic.com/backfireeffect.html