คาร์ล_มาคส์
คาร์ล_มาคส์

คาร์ล_มาคส์

คาร์ล ไฮน์ริช มาคส์ (เยอรมัน: Karl Heinrich Marx, 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2361 — 14 มีนาคม พ.ศ. 2426) เป็นนักปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์ นักประวัติศาสตร์ นักทฤษฎีการเมือง นักสังคมวิทยา นักหนังสือพิมพ์และนักสังคมนิยมปฏิวัติชาวเยอรมันมาคส์เกิดในครอบครัวชนชั้นกลางในเทรียร์ เขาศึกษากฎหมายและปรัชญาแบบเฮเกิล เนื่องจากงานพิมพ์การเมืองของเขาทำให้เขาไร้สัญชาติและอาศัยลี้ภัยในกรุงลอนดอน ซึ่งเขายังพัฒนาความคิดของเขาต่อโดยร่วมมือกับนักคิดชาวเยอรมัน ฟรีดริช เองเงิลส์ และจัดพิมพ์งานเขียนของเขา เรื่องที่ขึ้นชื่อของเขา ได้แก่ จุลสารปี 2391, แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์ และทุน จำนวนสามเล่ม ความคิดทางการเมืองและปรัชญาของเขามีอิทธิพลใหญ่หลวงต่อปัญญาชนรุ่นหลัง วิชาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจและประวัติศาสตร์การเมือง ชื่อของเขาเป็นคำคุณศัพท์ นามและสำนักทฤษฎีสังคมทฤษฎีของมาคส์เกี่ยวกับสังคม เศรษฐศาสตร์และการเมือง ที่เรียกรวมว่า ลัทธิมาคส์ ถือว่าสังคมมนุษย์พัฒนาผ่านการต่อสู้ระหว่างชนชั้น ในทุนนิยม การต่อสู้ระหว่างชนชั้นแสดงออกมาในรูปการต่อสู้ระหว่างชนชั้นปกครอง (เรียก ชนชั้นกระฎุมพี) ซึ่งควบคุมปัจจัยการผลิตและชนชั้นแรงงาน (เรียก ชนกรรมาชีพ) นำปัจจัยการผลิตดังกล่าวไปใช้โดยขายากำลังแรงงานของพวกตนเพื่อแลกกับค่าจ้าง มาคส์ใช้แนวเข้าสู่การศึกษาวิพากษ์ที่เรียก วัสดุนิยมทางประวัติศาสตร์ ทำนายว่าทุนนิยมจะก่อเกิดความตึงเครียดภายในซึงจะนำไปสู่การทำลายตนเองเช่นเดียวกับระบบสังคมและเศรษฐกิจก่อนหน้านี้ และแทนท่ด้วยระบบใหม่ คือ สังคมนิยม; สำหรับมาคส์ การต่อต้านชนชั้นภายใต้ทุนนิยมซึ่งบางส่วนมีสาเหตุจากความไม่มั่นคงและสภาพที่มีแนวโน้มเกิดวิกฤติ จะลงเอยด้วยการพัฒนาความสำนึกเรื่องชั้นชนของชนชั้นแรงงาน และนำไปสู่การพิชิตอำนาจทางการเมืองและสุดท้ายการสถาปนาสังคมคอมมิวนิสต์ปราศจากชนชั้นอันประกอบด้วยการรวมกันเป็นสมาคมอิสระของผู้ผลิต[5] มาคส์เรียกร้องให้นำความคิดดังกล่าวไปปฏิบัติอย่างแข็งขัน โดยแย้งว่าชนชั้นแรงงานควรเป็นผู้ลงมือปฏิวัติแบบจัดระเบียบเพื่อโค่นทุนนิยมและนำมาซึ่งการปลดปล่อยให้เป็นอิสระทางสังคมและเศรษฐกิจมีผู้อธิบายว่ามาคส์เป็นบุคคลทรงอิทธิพลมากที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์มนุษย์ และงานของเขาได้รับการสรรเสริญและวิพากษ์ งานของเขาในวิชาเศรษฐศาสตร์วางรากฐานสำหรับความเข้าใจในปัจจุบันของแรงงานและความสัมพันธ์กับทุน และความคิดทางเศษฐศาสตร์สมัยหลัง[6][7][8][9] ปัญญาชน สหภาพแรงงาน ศิลปินและพรรคการเมืองจำนวนมากทั่วโลกได้รับอิทธิพลจากงานของมาคส์ มีหลายคนดัดแปลงหรือรับความคิดของเขามาใช้ มักออกชื่อมาคส์ว่าเป็นผู้สร้างสังคมศาสตร์สมัยใหม่คนสำคัญคนหนึ่ง[10][11]

คาร์ล_มาคส์

สำนัก ลัทธิมาคส์, คอมมิวนิสต์, เฮเกลเลียน
แนวคิดเด่น มูลค่าส่วนเกิน, ขยายทฤษฎีมูลค่าแรงงาน, การต่อสู้ระวห่างชนชั้น, ความแปลกแยกและการขูดรีดแรงงาน, วัสดุนิยมประวัติศาสตร์
แนวทาง ปรัชญาตะวันตก
เกิด 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2361
เทรียร์ ราชอาณาจักรปรัสเซีย
ความสนใจหลัก การเมือง เศรษฐศาสตร์ ปรัชญา ประวัติศาสตร์
เสียชีวิต 14 มีนาคม พ.ศ. 2426 (64 ปี)
กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร
จบจาก มหาวิทยาลัยเยนา (Ph.D.)

แหล่งที่มา

WikiPedia: คาร์ล_มาคส์ http://www.lsr-projekt.de/poly/eninnuce.html http://www-personal.umd.umich.edu/~delittle/Marxis... http://willamette.edu/cla/classics/careers/marx/in... http://www.iisg.nl/collections/marx/index.html http://www.iisg.nl/collections/marxengels.html http://www.gutenberg.org/author/Marx, http://www.marxists.org/archive/marx/ http://www.marxists.org/archive/marx/works/1845/ge... http://www.marxists.org/archive/marx/works/1875/go... http://arch.oucs.ox.ac.uk/detail/94555/index.html