การใช้ประโยชน์ ของ ทุเรียน

การประกอบอาหาร

เค้กขอนไม้รสทุเรียน

ผลทุเรียนสามารถทำขนมหวานได้หลากหลาย เช่น ลูกกวาดโบราณของประเทศมาเลเซีย ไอส์ กาจัง (Ais kacang:คล้ายน้ำแข็งใส) โดดล (dodol) ขนมปังสอดไส้ และรวมถึงการดัดแปลงให้ทันสมัยอย่าง, ไอศกรีม, มิลก์เช็ก (milkshake), ขนมไหว้พระจันทร์, เค้กขอนไม้ และ คาปูชิโน นอกจากนี้ยังมี ข้าวเหนียวทุเรียนคือข้าวเหนียวที่นำไปนึ่งกับกะทิเสิร์ฟพร้อมทุเรียนสุก ในรัฐซาบะฮ์ ทุเรียนแดงทอดกับหัวหอมและพริก ใช้เป็นเครื่องเคียงในอาหาร[43] ทุเรียนแดงเลือดนกใส่ลงใน ซายูร์ (sayur) ซุปของประเทศอินโดนีเซียที่ทำมาจากปลาน้ำจืด[6] อีกัน เบร็งเก็ส (Ikan brengkes) เป็นอาหารที่ทำจากปลาในซอสที่ทำจากทุเรียนซึ่งเป็นอาหารดั้งเดิมในสุมาตรา[44] เต็มโพยะก์ (Tempoyak) เป็นทุเรียนดองที่ใช้ทุเรียนคุณภาพต่ำที่ไม่เหมาะกับการบริโภคสด ๆ[45] เต็มโพยะก์สามารถรับประทานได้ไม่ว่าจะปรุงสุกหรือไม่ก็ได้ เช่น นำไปทำเป็นแกงกะหรี่ เป็นต้น ซัมบัล เต็มโพยะก์ คืออาหารของประเทศอินโดนีเซียที่ทำจากทุเรียนดอง กะทิ และรวมเข้ากับส่วนผสมที่เผ็ดที่รู้จักกันในชื่อ ซัมบัล (sambal)

เต็มโพยะก์ เป็นอาหารที่ทำจากทุเรียนดอง

ในประเทศไทย มีทุเรียนกวนบรรจุกล่องวางขายอยู่ตามท้องตลาด ถึงแม้ว่าจะมีฟักทองปะปนอยู่ด้วยก็ตาม[41] ผลทุเรียนอ่อนยังสามารถนำไปปรุงอาหารได้เหมือนกับผัก ยกเว้นในประเทศฟิลิปปินส์ซึ่งมักใช้ทำขนมหวานมากกว่าที่จะไปทำอาหารคาว ชาวมาเลเซียได้นำทุเรียนมาทำทุเรียนดองและทุเรียนแช่อิ่ม เมื่อนำทุเรียนมาบดผสมกับเกลือ หัวหอม และ น้ำส้มสายชู จะเรียกว่า โบเดร์ (boder) เมล็ดของทุเรียนสามารถรับประทานได้เมื่อนำมานึ่ง, คั่ว หรือทอดในน้ำมันมะพร้าว เนื้อในมีลักษณะคล้ายเผือกหรือมันเทศ แต่เหนียวกว่า ในเกาะชวาจะหั่นเมล็ดทุเรียนบาง ๆและปรุงด้วยน้ำตาลเหมือนขนมฉาบน้ำตาล เมล็ดทุเรียนที่ยังไม่ได้ปรุงสุกนั้นมีพิษจากกรดไขมันไซโคลโพรพีน ไม่ควรรับประทาน[46] ใบอ่อนและหน่อของทุเรียนสามารถนำมาทำอาหารบางอย่างคล้ายผักใบเขียวได้เช่นกัน บางเวลาขี้เถ้าจากการเผาเปลือกทุเรียน จะนำไปผสมในเค้กบางชนิด[41] ดอกของทุเรียนมีการนำมารับประทานในจังหวัดบาตะก์ (Batak) ประเทศอินโดนีเซีย ขณะที่ในหมู่เกาะโมลุกกะมีการนำเปลือกทุเรียนมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในรวมควันปลา น้ำต้อยและเกสรของดอกทุเรียนเป็นแหล่งน้ำผึ้งที่สำคัญที่ผึ้งมาเก็บน้ำหวาน แต่ลักษณะของน้ำผึ้งที่ได้นั้นไม่มีใครรู้[47]

โภชนาการและสรรพคุณทางยา

ทุเรียน (Durio zibethinus)
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์)
พลังงาน615 kJ (147 kcal)
27.09 g
ใยอาหาร3.8 g
5.33 g
1.47 g
วิตามิน
วิตามินเอ
(0%)
46 μg
ไทอามีน (บี1)
(14%)
0.16 มก.
ไรโบเฟลวิน (บี2)
(19%)
0.23 มก.
ไนอาซิน (บี3)
(17%)
2.5 มก.
วิตามินซี
(24%)
19.7 มก.
แร่ธาตุ
แคลเซียม
(3%)
29 มก.
เหล็ก
(8%)
1.1 มก.
ฟอสฟอรัส
(5%)
34 มก.
โพแทสเซียม
(9%)
436 มก.
องค์ประกอบอื่น
น้ำ65 g

เฉพาะเนื้อทุเรียนเท่านั้น, สดหรือแช่แข็ง
ส่วนรับประทานไม่ได้: 68% (เปลือกและเมล็ด)
แหล่งข้อมูล: USDA Nutrient database[48]
และ คัมภีร์แพทย์สมุนไพร[49]
ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐอเมริกาสำหรับผู้ใหญ่

ทุเรียนเป็นผลไม้ที่มีน้ำตาลสูง[50] วิตามินซี โพแทสเซียม และกรดอะมิโนซีโรโทเนอร์จิก ทริปโตเฟน[51] และยังเป็นแหล่งของคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน อย่างดี[6][13] ทุเรียนถือเป็นแหล่งไขมันสดที่ดีในอาหารไม่ผ่านความร้อนหลาย ๆ ชนิด[52][53] นอกจากนี้ทุเรียนยังมีค่าดัชนีน้ำตาลที่สูงหรือเป็นอาหารที่มีไขมันมาก จึงมีการแนะนำให้บริโภคทุเรียนแต่น้อย[54][55] และทุเรียนยังอุดมไปด้วยกำมะถันและไขมัน ไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน[56] เพราะหากกินเข้าไป นอกจากจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างรวดเร็วแล้ว ยังทำให้ร้อนในและรู้สึกไม่สบายเนื้อไม่สบายตัวอีกด้วย[57]

ในประเทศมาเลเซียสิ่งที่สกัดจากใบและรากใช้เป็นยาลดไข้ได้ น้ำจากใบใช้วางบนศีรษะของคนป่วยเป็นไข้เพื่อลดไข้[41] รายละเอียดที่สมบูรณ์ที่สุดทางการแพทย์ที่ใช้ทุเรียนในการรักษาไข้อยู่ในตำรับยาของประเทศมาเลเซีย รวบรวมโดยเบอร์คิลล์ (Burkill) และแฮนนิฟฟ์ (Haniff) ในปี พ.ศ. 2473 โดยสอนให้ผู้อ่านต้มรากของชบาฮาวาย (Hibiscus rosa-sinensis) กับรากของทุเรียนชนิด Durio zibethinus ลำไย เงาะขนสั้น (Nephelium mutabile) และขนุน และดื่มน้ำที่สกัดออกมาหรือใช้พอก[58]

ในตำราสมุนไพรไทยได้กล่าวไว้ว่า ส่วนต่าง ๆ ของทุเรียนสามารถนำมาใช้เป็นยาได้ โดยใบมีรสขม เย็นเฝื่อน มีสรรพคุณแก้ไข้ แก้ดีซ่าน ขับพยาธิ และทำให้หนองแห้ง เนื้อทุเรียนมีรสหวาน ร้อน มีสรรพคุณให้ความร้อน แก้โรคผิวหนัง ทำให้ฝีแห้ง และขับพยาธิ เปลือกทุเรียนมีรสฝาดเฝื่อนใช้สมานแผล แก้น้ำเหลืองเสีย พุพอง แก้ฝี ตาน ซาง คุมธาตุ แก้คางทูม และไล่ยุงและแมลง ส่วนรากมีรสฝาดขมใช้แก้ไข้และแก้ท้องร่วง[49]

ในช่วงปี พ.ศ. 2463 มีบริษัทในนครนิวยอร์กได้ทำผลิตภัณฑ์จากผลทุเรียนเรียกว่า "Dur-India (เดอร์ อินเดีย)" เป็นอาหารเสริม ขายอยู่ที่ราคา US$9 ต่อหนึ่งโหล แต่ละขวดบรรจุ 63 เม็ด แต่ละเม็ดประกอบไปด้วยทุเรียน พืชสกุลกระเทียมบางชนิดจากอินเดียและวิตามินอี บริษัทได้โฆษณาอาหารเสริมนี้ว่ามันเปี่ยมไปด้วย"พลังงานที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพเข้มข้นในรูปแบบอาหารมากกว่าผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ในโลกที่สามารถจะมีได้"[41]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ทุเรียน http://202.129.0.133/plant/durion/1.html http://www.proscitech.com.au/trop/d.htm http://etext.library.adelaide.edu.au/b/banfield/ej... http://www.bigfootencounters.com/creatures/mawas.h... http://www.durianpalace.com/ http://www.foodmarketexchange.com/datacenter/produ... http://www.jambiexplorer.com/content/orangpendek.h... http://kullastree.com/site/index.php?option=com_co... http://www.lanna-hospital.com/lnh/index.php?option... http://www.montosogardens.com/durio_zibethinus.htm