รูปแบบ ของ ประชาธิปไตย

ดูบทความหลักที่: ประเภทของประชาธิปไตย
การจัดรูปแบบทางการเมืองของประเทศต่าง ๆ ตามการสำรวจ เสรีภาพทั่วโลก ของฟรีดอมเฮาส์ ใน ค.ศ. 2011:
  มีเสรีภาพเต็มที่
  มีเสรีภาพบางส่วน
  ไม่มีเสรีภาพ
จากการสำรวจดังกล่าวได้แสดงให้เห็นว่า เสรีภาพทางเศรษฐกิจนำไปสู่เสรีภาพทางการเมือง มิใช่การปกครองระบอบประชาธิปไตยแต่อย่างใดประเทศที่แสดงด้วยสีน้ำเงิน หมายถึง ถูกเรียกว่าเป็น "ประชาธิปไตยจากการเลือกตั้ง" ในการสำรวจ เสรีภาพในโลก ใน ค.ศ. 2010 ของฟรีดอมเฮาส์

ประชาธิปไตยสามารถจำแนกได้ออกเป็นหลายประเภท โดยบางประเภทให้เสรีภาพและความมีสิทธิ์มีเสียงแก่พลเมืองมากกว่ารูปแบบอื่น[49][50]

ประชาธิปไตยทางตรง

ดูบทความหลักที่: ประชาธิปไตยทางตรง

ประชาธิปไตยทางตรง เป็นรูปแบบการปกครองโดยที่พลเมืองสามารถมีส่วนร่วมกับการตัดสินใจใด ๆ ได้โดยตรง โดยไม่ต้องอาศัยคนกลางหรือผู้ทำหน้าที่แทนตน ผู้สนับสนุนประชาธิปไตยทางตรงได้โต้แย้งว่าประชาธิปไตยในปัจจุบันนั้น ควรจะให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากกว่าระเบียบการพื้นฐานอย่างการเลือกตั้งเท่านั้น[51]

ประชาธิปไตยทางตรงนับจนถึงปัจจุบันนี้เป็นเพียงรูปแบบที่ไม่ค่อยแพร่หลายนัก เนื่องจากรูปแบบการปกครองดังกล่าวสามารถใช้ได้กับชุมชนที่มีกลุ่มคนขนาดเล็กเท่านั้น ซึ่งโดยปกติแล้วจะเป็นนครรัฐ อย่างไรก็ตาม ประชาธิปไตยทางตรงสามารถพบเห็นได้ในสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนกว่าห้าล้านคนสามารถลงประชามติ ประมาณสองถึงสี่ครั้งต่อปี การปกครองแบบประชาธิปไตยทางตรงยังสามารถใช้ได้กับการปกครองที่มีขอบเขตเป็นจังหวัด ในระดับประเทศ ส่วนที่เป็นประชาธิปไตยทางตรงมีการลงประชามติ การริเริ่มออกกฎหมายและการถอดถอนผู้ได้รับเลือกตั้ง

ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน

ดูบทความหลักที่: ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน

ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน เกี่ยวข้องกับการเลือกเจ้าหน้าที่รัฐบาลโดยผู้ที่ประชาชนเลือกไปทำหน้าที่แทนตน หากประมุขแห่งรัฐถูกเลือกตั้งตามครรลองประชาธิปไตยเช่นกัน ประเทศนั้นจะเรียกว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตย[52] กลไกลที่พบมากที่สุดเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งผู้ลงสมัครด้วยเสียงข้างมากหรือคะแนนเสียงเหนือกว่า

ผู้แทนอาจได้รับเลือกตั้งหรือเป็นผู้แทนทางทูตโดยเขตหรือเขตเลือกตั้งเฉพาะ หรือเป็นผู้แทนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดโดยสัดส่วนในระบบสัดส่วน หรืออาจใช้สองรูปแบบผสมกัน คุณลักษณะของประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน คือ ขณะที่ประชาชนเลือกผู้แทนไปทำหน้าที่เพื่อประโยชน์ของประชาชน แต่ผู้แทนเหล่านี้ก็มีเสรีภาพในการตัดสินใจขอด้วยตนเอง และเลือกวิธีการดำเนินการต่าง ๆ ได้เอง

ระบบรัฐสภา

ดูบทความหลักที่: ระบบรัฐสภา

ประชาธิปไตยระบบรัฐสภาเป็นประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน ซึ่งรัฐบาลได้รับแต่งตั้งจากผู้แทน ขัดกับ "การปกครองแบบประธานาธิบดี" อันมีประธานาธิบดีที่ประชาชนเลือกตั้งเข้ามา เป็นทั้งประมุขแห่งรัฐและประมุขรัฐบาล ภายใต้ประชาธิปไตยระบบรัฐสภา รัฐบาลบริหารประเทศโดยมอบหน้าที่ให้คณะรัฐมนตรีทำหน้าที่บริหาร ตลอดจนถูกวิจารณ์ ตรวจสอบและถ่วงดุลอย่างต่อเนื่องโดยสภานิติบัญญัติซึ่งได้รับเลือกจากประชาชน ระบบรัฐสภามีสิทธิถอดถอนนายรัฐมนตรีได้เมื่อถึงเวลาที่สภาเห็นว่าผู้นั้นทำหน้าที่ไม่เป็นไปตามความคาดหวังของฝ่ายนิติบัญญัติ การถอดถอนนี้เรียกว่า การอภิปรายไม่ไว้วางใจ โดยที่ฝ่ายนิติบัญญัติตัดสินใจว่าจะถอดนายกรัฐมนตรีออกจากตำแหน่งหรือไม่โดยการสนับสนุนเสียงข้างมากต่อการถอดถอนผู้นั้น[53] ในบางประเทศ นายกรัฐมนตรียังสามารถยุบสภาและเรียกการเลือกตั้งใหม่ได้เมื่อใดก็ตามที่ผู้นั้นเลือก และตามแบบนายกรัฐมนตรีจะจัดการเลือกตั้งเมื่อผู้นั้นทราบดีว่าตนได้รับการสนับสนุนดีจากสาธารณะที่จะได้รับการเลือกตั้งกลับเข้ามา ในประชาธิปไตยระบบรัฐสภาอื่น แทบไม่เคยจัดการเลือกตั้งพิเศษ แต่นิยมรัฐบาลเสียงข้างน้อยกะทั่งการเลือกตั้งปกติครั้งถัดไป

ระบบรัฐสภามีนายกรัฐมนตรีเป็นประมุขรัฐบาลและประมุขฝ่ายบริหาร จะมีพระมหากษัตริย์หรือประธานาธิบดีเป็นประมุขก็ได้ แต่ไม่มีอำนาจบริหาร

ระบบประธานาธิบดี

ดูบทความหลักที่: ระบบประธานาธิบดี

ระบบประธานาธิบดีเป็นประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนระบบหนึ่งซึ่งสาธารณะเลือกตั้งประธานาธิบดีผ่านการเลือกตั้งเสรีและยุติธรรม ประธานาธิบดีเป็นทั้งประมุขแห่งรัฐและประมุขรัฐบาล โดยควบคุมอำนาจบริหารส่วนใหญ่ ประธานาธิบดีมีวาระการดำรงตำแหน่งแน่นอนและไม่อาจดำรงตำแหน่งเกินกำหนดเวลาได้ เพราะได้รับเลือกตั้งจากประชาชน ประธานาธิบดีจึงสามารถกล่าวได้ว่า เขาเป็นทางเลือกของประชาชนและเพื่อประชาชน[53] การเลือกตั้งตามแบบมีกำหนดวันที่ชัดเจนและไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้โดยง่าย การเป็นประมุขแห่งรัฐและประมุขรัฐบาลร่วมกันทำให้ประธานาธิบดีไม่เพียงแต่เป็นหน้าเป็นตาของประชาชน แต่ยังเป็นหัวหน้านโยบายด้วย[53] ประธานาธิบดีควบคุมคณะรัฐมนตรีโดยตรง สมาชิกคณะรัฐมนตรีนั้นได้รับการแต่งตั้งอย่างเจาะจงจากประธานาธิบดีด้วยตนเอง ประธานาธิบดีไม่อาจถูกถอดออกจากตำแหน่งได้โดยง่ายจากฝ่ายนิติบัญญัติ แม้ประธานาธิบดีจะถืออำนาจบริหารส่วนมากไว้ แต่เขาก็ไม่สามารถถอดสมาชิกฝ่ายนิติบัญญัติได้โดยง่ายเช่นกัน ระบบนี้จึงเพิ่มการแบ่งแยกอำนาจ ทั้งยังอาจก่อให้เกิดความแตกแยกระหว่างประธานาธิบดีและฝ่ายนิติบัญญัติที่มาจากต่างพรรคการเมือง ซึ่งเปิดให้ฝ่ายหนึ่งขัดขวางอีกฝ่ายได้ ด้วยเหตุนี้ ประชาธิปไตยประเภทจึงนี้ไม่พบแพร่หลายทั่วโลกในปัจจุบัน แต่ประเทศส่วนใหญ่ในทวีปอเมริกา ตั้งแต่สหรัฐอเมริกาถึงทวีปอเมริกาใต้ ใช้ระบบนี้

ระบบนี้ไม่มีนายกรัฐมนตรี ฝ่ายบริหารไม่สามารถยุบสภา ฝ่ายนิติบัญญัติไม่สามารถอภิปรายไม่ไว้วางใจ

ระบบกึ่งประธานาธิบดี

ดูบทความหลักที่: ระบบกึ่งประธานาธิบดี

ระบบกึ่งประธานาธิบดีเป็นประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนซึ่งรัฐบาลมีทั้งนายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดี ประชาธิปไตยแบบนี้ยิ่งพบน้อยกว่าระบบประธานาธิบดีเสียอีก ระบบนี้มีทั้งนายกรัฐมนตรีซึ่งไม่มีกำหนดวาระ และประธานาธิบดีซึ่งมีกำหนดวาระ ขึ้นอยู่กับประเทศ การแบ่งแยกอำนาจระหว่างนายกรัฐมนตรีกับประธานาธิบดีนั้นแตกต่างกันไป ในกรณีหนึ่ง ประธานาธิบดีถืออำนาจมากกวานายกรัฐมนตรี โดยนายกรัฐมนตรีรับผิดชอบทั้งฝ่ายนิติบัญญัติและประธานาธิบดี[53] ส่วนอีกด้านหนึ่ง นายกรัฐมนตรีสามารถถืออำนาจมากกว่าประธานาธิบดี ประธานาธิบดีกับนายกรัฐมนตรีแบ่งอำนาจกัน ขณะที่ประธานาธิบดีถืออำนาจแยกจากฝ่ายนิติบัญญัติ[53] ประธานาธิบดีเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดด้วยตนเอง ควบคุมนโยบายต่างประเทศ และเป็นประมุขแห่งรัฐ ("หน้าตาของประชาชน") นายกรัฐมนตรีถูกคาดหวังว่า วางนโยบายของพรรคซึ่งชนะการเลือกตั้งสู่ฝ่ายนิติบัญญัติ[53] รัฐบาลประเภทนี้ยังสร้างปัญหาว่าใครถือความรับผิดชอบใด

แหล่งที่มา

WikiPedia: ประชาธิปไตย http://www.humanities.mq.edu.au/Ockham/y6704.html http://www.dwatch.ca http://annourbis.com/Ancient-Rome/8rome10.html http://the-fear-of-freedom.blogspot.com/2008/11/pl... http://www.britannica.com/EBchecked/topic/157129/d... http://www.conservativeclassics.com/books/libertyb... http://www.economist.com/markets/rankings/displays... http://www.enterstageright.com/archive/articles/01... http://www.gegenstandpunkt.com/english/state/toc.h... http://books.google.com/books?id=4BL5WqHHVrwC&pg=P...