ผู้แสดงและบทบาท ของ ละครโน

คันเซะ ซากง [ja], 1895–1939), ครูใหญ่โรงเรียนคันเซะ

ตามขนบธรรมเนียม นักแสดงละครโนจะเริ่มการฝึกฝนตั้งแต่อายุ 3 ปี

การฝึกหัด

เซอามิได้แบ่งการแสดงละครโนออกเป็น 9 รูปแบบ จากการเน้นอากัปกริยาท่าทางและความรุนแรงไปจนถึงการเปรียบได้ดั่งดอกไม้ที่น่าเกรงขามและความองอาจของจิตวิญญาณ[19][20]

ในปี 2012 ยังมีโรงเรียนละครโนที่ยังคงเปิดการเรียนการสอนชิเตะ 5 โรงได้แก่ โรงเรียนคันเซะ (ญี่ปุ่น: 観世流) โรงเรียนโฮโช (ญี่ปุ่น: 宝生流) โรงเรียนคนปารุ (ญี่ปุ่น: 金春流) โรงเรียนคงโง และโรงเรียนคิตะ (ญี่ปุ่น: 喜多流) ในชื่อโรงเรียนของแต่ละโรงจะมีชื่อของครอบครัวในระบบอิเอโมโตะที่มีอำนาจในการสร้างบทละครใหม่หรือเปลี่ยนแปลงเนื้อเพลงและรูปแบบการแสดงใหม่ได้[21] นักแสดงที่ได้รับบทเป็นวากิจะผ่านการฝึกหัดในโรงเรียนทากายาซุ (ญี่ปุ่น: 高安流) โรงเรียนฟูกูโอ (ญี่ปุ่น: 福王流) และโรงเรียนโฮโช สำหรับโรงเรียนอื่น ๆ เช่น โรงเรียนโอกูระ (ญี่ปุ่น: 大蔵流) และโรงเรียนอิซูมิ (ญี่ปุ่น: 和泉流) จะเปิดการสอนและฝึกหัดการแสดงเคียวเง็น และโรงเรียนอีก 11 โรงจะฝึกการเล่นเครื่องดนตรี โดยแต่ละโรงเรียนจะมีความเชี่ยวชาญในเครื่องดนตรีใดเครื่องดนตรีหนึ่งหรืออาจมากกว่านั้นเป็นพิเศษ[22]

สมาคมนักแสดงโนงากุ (ญี่ปุ่น: 能楽協会) ซึ่งนักแสดงละครโนมืออาชีพเป็นสมาชิกนั้นจะคุ้มครองและปกป้องจารีตประเพณีที่สืบต่อมาจากบรรพบุรุษ (อิเอโมโตะ) แต่อย่างไรก็ตาม เอกสารลับหลายฉบับของโรงเรียนคันเซะที่เขียนโดยเซอามิและคนปารุ เซ็นจิกุก็หลุดออกมาสู่ชุมชนของนักวิชาการด้านเวทีการแสดงญี่ปุ่น[22]

บทบาท

เวทีละครโน ประกอบไปด้วย ชิเตะ (กลาง) วากิ (ขวาหน้า) สมาชิกจิอูไต 8 คน (ขวา) ฮายาชิคาตะ 4 คน (หลังกลาง) และโคเก็ง 2 คน (หลังซ้าย)

สามารถแบ่งประเภทของนักแสดงละครโนได้ออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ ได้แก่ ชิเตะ วากิ เคียวเง็น และ ฮายาชิ[5][23][24]

  1. ชิเตะ (ญี่ปุ่น: 仕手, シテ) ตัวเอกหรือตัวชูโรง ในช่วงแรกของการแสดง ชิเตะจะปรากฏตัวเป็นมนุษย์ (เรียกว่า มาเอะชิเตะ) ก่อนที่จะแปลงตนเป็นวิญญาณ (เรียกว่า โนจิชิเตะ)
    • ชิเตะสึเระ (ญี่ปุ่น: 仕手連れ, シテヅレ) ผู้ติดตามรับใช้ชิเตะ บางครั้งอาจย่อเหลือเพียง "สึเระ (ญี่ปุ่น: 連れ, ヅレ)" ซึ่งครอบคลุมความหมายของคำว่า ชิเตะสึเระ และ วากิสึเระ
    • โคเก็ง (ญี่ปุ่น: 後見) ผู้ควบคุมเวที มักจะมีหนึ่งถึงสามคน
    • จิอูไต (ญี่ปุ่น: 地謡) เป็นคณะขับร้องหมู่ มักจะประกอบไปด้วยหกถึงแปดคน
  2. วากิ (ญี่ปุ่น: 脇, ワキ) ตัวรองหรือตัวสมทบชิเตะ
    • วากิสึเระ (ญี่ปุ่น: 脇連れ, ワキヅレ) เป็นผู้ติดตามรับใช้วากิ
  3. เคียวเง็น (ญี่ปุ่น: 狂言) นักแสดงเคียวเง็นจะแสดงในช่วงการเล่นสลับฉากระหว่างองก์ (ญี่ปุ่น: 間狂言) หรือสลับฉากระหว่างบทการแสดง
  4. ฮายาชิ (ญี่ปุ่น: 囃子) หรือ ฮายาชิคาตะ (ญี่ปุ่น: 囃子方) เป็นผู้เล่นเครื่องดนตรี 4 เครื่องที่ใช้ในโรงละครโน ได้แก่ ขลุ่ย (ญี่ปุ่น: 笛; โรมาจิ: Fue; ทับศัพท์: ฟูเอะ) กลองใหญ่ (ญี่ปุ่น: 大鼓; โรมาจิ: Ōtsuzumi; ทับศัพท์: โอสึซูมิ, ญี่ปุ่น: 大皮; โรมาจิ: Ōkawa; ทับศัพท์: โอกาวะ) กลองเล็ก (ญี่ปุ่น: 小鼓; โรมาจิ: Kotsuzumi; ทับศัพท์: โคสึซูมิ) และกลองไทโกะ (ญี่ปุ่น: 太鼓; โรมาจิ: Taiko) ส่วนขลุ่ยที่ใช้เป็นการเฉพาะในละครโนจะเรียกว่าโนกัง (ญี่ปุ่น: 能管; โรมาจิ: Nōkan)

บทละครโนโดยทั่วไปจะมีการขับร้องหมู่ วงมโหรี (กลุ่มของฮายาชิ) ผู้แสดงที่รับบทเป็นชิเตะและวากิอย่างน้อย 1 คน[25]