โจฮากีว ของ ละครโน

โจฮากีวมาจากคำว่ากางากุ (ดนตรีที่เล่นในพระราชวัง) แนวคิดของโจฮากีวจะควบคุมทุกองค์ประกอบของละครโน เช่น การจัดเรียงลำดับ โครงสร้าง ดนตรี ความเร็วของจังหวะ และการรำของการแสดง เป็นต้น โดย โจ หมายถึงการเริ่มต้น ฮา หมายถึง การแตกหัก และ กีว หมายถึง รวดเร็วเร่งรัด การนำแนวคิดโจฮากีวไปใช้สามารถพบเห็นได้ในจารีตประเพณีต่าง ๆ เช่น ละครโน พิธีน้ำชา กวีนิพนธ์ และการจัดดอกไม้[17]

โจฮากีวจะถูกนำไปใช้ในการแสดง 5 องก์ของละครโน องก์แรกคือโจ องก์ที่สอง สาม และสี่คือฮา และองก์ที่ห้าคือกีว ซึ่งจากการนำแนวคิดโจฮากีวมาใช้ในละครโน จึงมีการแบ่งประเภทของการแสดงออกเป็น 5 ประเภท โดยองก์หนึ่งจะถูกเลือกและแสดงเป็นลำดับ ในแต่ละองก์สามารถแบ่งออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่ ช่วงแนะนำ ช่วงพัฒนาเนื้อเรื่อง และช่วงสรุป การแสดงจะเริ่มต้นด้วยจังหวะที่ช้า (โจ) ค่อย ๆ เร็วขึ้น (ฮา) และถึงจุดสูงสุด (กีว)[18]