สงครามนากอร์โน-คาราบัค_พ.ศ._2563
สงครามนากอร์โน-คาราบัค_พ.ศ._2563

สงครามนากอร์โน-คาราบัค_พ.ศ._2563

กองทัพแห่งชาติซีเรียa[›]
สนับสนุนโดย:
 ตุรกี[7][8]
ข้อมูลจากอาร์มีเนีย:[16][22]ข้อมูลจากอาเซอร์ไบจาน:สงครามนากอร์โน-คาราบัค พ.ศ. 2563 เป็นความขัดแย้งทางอาวุธในภูมิภาคนากอร์โน-คาราบัคระหว่างอาเซอร์ไบจานซึ่งได้รับการสนับสนุนจากตุรกี กับสาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัค (อาร์ทซัค) ซึ่งประกาศตัวเองเป็นเอกราชและได้รับการสนับสนุนจากอาร์มีเนีย นับเป็นความขัดแย้งที่บานปลายครั้งล่าสุดในภูมิภาคซึ่งได้รับการรับรองจากนานาชาติว่าเป็นส่วนหนึ่งของอาเซอร์ไบจาน แต่ส่วนใหญ่อยู่ภายใต้การปกครองของสาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัคและมีชาวอาร์มีเนียเป็นกลุ่มชาติพันธุ์หลักที่อาศัยอยู่การปะทะเริ่มขึ้นในเช้าวันที่ 27 กันยายน ตามแนวติดต่อนากอร์โน-คาราบัคซึ่งได้รับการกำหนดขึ้นหลังสงครามนากอร์โน-คาราบัค (พ.ศ. 2531–2537) เพื่อเป็นการตอบสนองต่อการปะทะครั้งนี้ อาร์มีเนียและสาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัคได้ประกาศกฎอัยการศึกและการระดมพลทั้งหมด[29][30] ในขณะที่อาเซอร์ไบจานได้ประกาศกฎอัยการศึกและเคอร์ฟิว[31] และต่อมาได้ประกาศการระดมพลบางส่วนในวันที่ 28 กันยายน[32] ตุรกีให้การสนับสนุนทางทหารแก่อาเซอร์ไบจาน แม้ว่าขอบเขตของการสนับสนุนจะยังเป็นที่ถกเถียงก็ตาม[33][34] เชื่อกันว่าการเข้ามามีส่วนร่วมของตุรกีเป็นความพยายามที่จะขยายเขตอิทธิพลของตนทั้งโดยการเสริมสถานะของอาเซอร์ไบจานในความขัดแย้งและโดยการลดอิทธิพลของรัสเซียในภูมิภาค[33][35]นักวิเคราะห์ระหว่างประเทศเชื่อว่าอาเซอร์ไบจานเป็นผู้เปิดฉากรุกก่อน[33][36] และเป้าหมายหลักของการรุกน่าจะเป็นไปเพื่อยึดพื้นที่ตอนใต้ของนากอร์โน-คาราบัคซึ่งมีภูเขาน้อยกว่าและง่ายต่อการเข้ายึดมากกว่าพื้นที่ตอนในของภูมิภาคซึ่งมีการป้องกันอย่างดี[37][38] ในสงครามครั้งนี้มีการโจมตีโดยใช้อากาศยานไร้คนขับ เครื่องรับรู้ ปืนใหญ่พิสัยไกล[39] และขีปนาวุธ ตลอดจนการโฆษณาชวนเชื่อโดยรัฐและการใช้บัญชีสื่อสังคมทางการในยุทธการข้อมูลข่าวสารออนไลน์[40] ผู้เสียชีวิตจากการสู้รบของทั้งสองฝ่ายรวมกันแล้วอาจอยู่ในระดับหลายพันคน[41]หลายประเทศและสหประชาชาติออกมาประณามอย่างรุนแรงต่อการใช้กำลังและเรียกร้องให้ทั้งสองฝ่ายผ่อนคลายความตึงเครียดและกลับสู่การเจรจาที่มีนัยสำคัญโดยไม่รอช้า[42] ข้อตกลงหยุดยิงเพื่อมนุษยธรรมตามแนวทางของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศซึ่งมีรัสเซียเป็นคนกลางไกล่เกลี่ยและได้รับความเห็นชอบจากทั้งอาร์มีเนียและอาเซอร์ไบจานมีผลอย่างเป็นทางการในวันที่ 10 ตุลาคม[43][44][45] อย่างไรก็ตาม ข้อตกลงดังกล่าวถูกทั้งสองฝ่ายเพิกเฉยอย่างสิ้นเชิง ส่งผลให้แผนการส่งร่างผู้เสียชีวิตกลับประเทศและการแลกเปลี่ยนผู้บาดเจ็บและเชลยหยุดชะงัก[46]หลังจากอาเซอร์ไบจานเข้ายึดชูชาซึ่งเป็นเมืองใหญ่อันดับที่สองของสาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัค มีการลงนามข้อตกลงสันติภาพระหว่างอิลฮัม แอลีเยฟ ประธานาธิบดีอาเซอร์ไบจาน, นีกอล พาชินยัน นายกรัฐมนตรีอาร์มีเนีย และวลาดีมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย ซึ่งยุติการสู้รบทั้งหมดในพื้นที่ตั้งแต่เวลา 00:00 น. ของวันที่ 10 พฤศจิกายน ตามเวลามอสโก[47][48][49] อารายิก ฮารุทยุนยัน ประธานาธิบดีสาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัค ตกลงที่จะยุติการสู้รบด้วยเช่นกัน[50] ตามข้อตกลงดังกล่าว แต่ละฝ่ายจะยังคงปักหลักในพื้นที่ที่ตนเองควบคุมอยู่ในปัจจุบัน ในขณะที่ชาวอาร์มีเนียตกลงที่จะคืนดินแดนรอบภูมิภาคนากอร์โน-คาราบัคที่ตนเองยึดครองให้แก่อาเซอร์ไบจาน นอกจากนี้อาเซอร์ไบจานยังจะสามารถเข้าถึงดินแดนส่วนแยกนาคีชีวันทางบกได้อีกด้วย[51] ส่วนรัสเซียจะส่งทหารจำนวนเกือบ 2,000 นายไปเป็นกองกำลังรักษาสันติภาพเพื่อคุ้มครองเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างอาร์มีเนียกับสาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัคเป็นเวลาอย่างน้อยห้าปี[1]

สงครามนากอร์โน-คาราบัค_พ.ศ._2563

วันที่สถานที่ผลลัพธ์ดินแดนเปลื่ยน
วันที่27 กันยายน – 10 พฤศจิกายน 2563 (1 เดือน 2 สัปดาห์)[1]
สถานที่แนวติดต่อนากอร์โน-คาราบัคและพรมแดนรัฐอาร์มีเนียอาเซอร์ไบจาน
ผลลัพธ์ชัยชนะของอาเซอร์ไบจาน[2][3]
ดินแดน
เปลื่ยน
อาเซอร์ไบจานยึดที่มั่นบางแห่ง[4] บางแห่งในจำนวนนั้นถูกยึดกลับคืนในภายหลัง[5] (ข้อมูลจากอาร์มีเนีย)
อาเซอร์ไบจานยึดหมู่บ้าน 7 หมู่บ้านและยอดเขา 1 ยอด (ข้อมูลจากอาเซอร์ไบจาน)[6]
สถานที่ แนวติดต่อนากอร์โน-คาราบัคและพรมแดนรัฐอาร์มีเนียอาเซอร์ไบจาน
ผลลัพธ์ ชัยชนะของอาเซอร์ไบจาน[2][3]
วันที่ 27 กันยายน – 10 พฤศจิกายน 2563 (1 เดือน 2 สัปดาห์)[1]
ดินแดนเปลื่ยน อาเซอร์ไบจานยึดที่มั่นบางแห่ง[4] บางแห่งในจำนวนนั้นถูกยึดกลับคืนในภายหลัง[5] (ข้อมูลจากอาร์มีเนีย)
อาเซอร์ไบจานยึดหมู่บ้าน 7 หมู่บ้านและยอดเขา 1 ยอด (ข้อมูลจากอาเซอร์ไบจาน)[6]

ใกล้เคียง

สงครามโลกครั้งที่สอง สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สงครามเวียดนาม สงครามกลางเมืองอเมริกา สงครามแปซิฟิก สงครามเกาหลี สงครามอ่าว สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง สงครามครูเสด สงครามกัมพูชา–เวียดนาม

แหล่งที่มา

WikiPedia: สงครามนากอร์โน-คาราบัค_พ.ศ._2563 http://www.businessworld.in/article/Azeri-Armenian... //www.worldcat.org/issn/0261-3077 //www.worldcat.org/issn/0362-4331 https://armenpress.am/eng/news/1029110 https://armenpress.am/eng/news/1029179.html https://armenpress.am/eng/news/1029311.html https://armenpress.am/eng/news/1029472.html https://apa.az/az/herbi_xeber/MN-Dusmnin-3-silah-s... https://mod.gov.az/en/news/major-general-mayis-bar... https://report.az/dagliq-qarabag-munaqishesi/bas-p...