คำอธิบายอื่น ของ สมมติฐานโลกยุติธรรม

เรื่องที่ประเมินเป็นความจริง

มีนักวิชาการอื่นที่เสนอคำอธิบายอื่นเกี่ยวกับการดูถูกผู้รับเคราะห์ข้อเสนอหนึ่งก็คือว่า ปรากฏการณ์ดูถูกผู้รับเคราะห์ เป็นการประเมินลักษณะผู้รับเคราะห์ที่ถูกต้องตัวอย่างเฉพาะในงานศึกษาแรกของ ศ.เลอร์เนอร์ก็คือ มันสมเหตุผลที่ผู้สังเกตการณ์จะดูถูกคนที่ปล่อยให้ตัวเองถูกช็อตด้วยไฟโดยไม่มีเหตุผล[10]แต่งานศึกษาต่อมาของ ศ.เลอร์เนอร์ คัดค้านสมมติฐานอื่นนี้ โดยแสดงให้เห็นว่า จะมีการดูถูกผู้รับเคราะห์เมื่อประสบทุกข์ทรมานจริง ๆ เท่านั้น ส่วนคนที่ตกลงที่จะรับทุกข์ทรมานแต่ไม่ได้ กลับมีการมองโดยเชิงบวก[11]

การลดความรู้สึกผิด

คำอธิบายอื่นอีกอย่างหนึ่งของการดูถูกผู้รับเคราะห์ในยุคต้นการพัฒนาสมมติฐานนี้ก็คือ ผู้สังเกตการณ์ดูถูกผู้รับเคราะห์เพื่อลดความรู้สึกผิดของตนคือ พวกเขาอาจจะรู้สึกรับผิดชอบ หรือรู้สึกผิด ต่อความทุกข์ทรมานของผู้รับเคราะห์ ถ้าตัวเองมีส่วนร่วมในเหตุการณ์หรือในการทดลองและเพื่อที่จะลดความรู้สึกผิดนี้ จึงอาจพยายามลดค่าของผู้รับเคราะห์เสีย[12][13][14]แต่ว่า ศ.เลอร์เนอร์และผู้ร่วมงานอ้างว่า ยังไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะสนับสนุนการตีความเช่นนี้และพวกเขาก็ได้ทำงานศึกษาหนึ่งที่พบว่า การดูถูกผู้รับเคราะห์เกิดขึ้นแม้ต่อผู้สังเกตการณ์ที่ไม่ได้มีส่วนร่วมอะไรในกระบวนการทดลอง และจึงไม่มีเหตุผลอะไรที่จะต้องรู้สึกผิด[6]

ใกล้เคียง

สมมติฐานโลกยุติธรรม สมมติฐาน สมมติฐานของค็อค สมมติฐานประสิทธิภาพของตลาด สมมติฐานโลกของ RNA สมมติฐานความต่อเนื่อง สมมติสงฆ์ สมมติฐานเนบิวลา สมมติฐานทางสัญญาณสองทาง สมมติฐานเฉพาะกิจ

แหล่งที่มา

WikiPedia: สมมติฐานโลกยุติธรรม http://www.brocku.ca/psychology/people/Hafer_Begue... http://www.units.muohio.edu/psybersite/justworld/i... http://www.scu.edu/ethics/publications/iie/v3n2/ju... http://www.peplaulab.ucla.edu/Publications_files/R... http://www.peplaulab.ucla.edu/Publications_files/R... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/5969146 //doi.org/10.1037%2F0033-2909.131.1.128 //doi.org/10.1037%2Fh0023562 //doi.org/10.1111%2Fj.1540-4560.1973.tb00104.x //doi.org/10.1111%2Fj.1540-4560.1975.tb00997.x