ทฤษฎี ของ สมมติฐานโลกยุติธรรม

เพื่ออธิบายผลที่พบเหล่านี้ในงานศึกษา ศ.เลอร์เนอร์ตั้งทฤษฎีว่า มีความเชื่ออย่างแพร่หลายว่า โลกยุติธรรมเป็นโลกที่การกระทำและปัจจัยอื่น ๆ มีผลที่พยากรณ์ได้และเหมาะสมการกระทำและปัจจัยปกติก็คือพฤติกรรมและลักษณะต่าง ๆ ส่วนบุคคลปัจจัยที่ให้ผลโดยเฉพาะ จะเป็นเรื่องที่กำหนดโดยบรรทัดฐานทางสังคมและอุดมคติ (หรือคตินิยม)ศ.เลอร์เนอร์แสดงความเชื่อเรื่องโลกยุติธรรมว่า มีประโยชน์ คือ มันดำรงแนวคิดว่า บุคคลสามารถมีอิทธิพลต่อโลกในรูปแบบที่พยากรณ์ได้ความเชื่อจะทำงานเหมือนกับเป็น "สัญญา" กับโลก เกี่ยวกับผลของพฤติกรรมซึ่งทำให้บุคคลสามารถวางแผนอนาคตและมีพฤติกรรมที่มีประสิทธิภาพ ที่มีเป้าหมายเขาได้สรุปสาระสิ่งที่ค้นพบในหนังสือเกี่ยวกับทฤษฎีนี้ของเขาในปี ค.ศ. 1980 ชื่อว่า The Belief in a Just World: A Fundamental Delusion (ความเชื่อเรื่องโลกยุติธรรม - ความหลงผิดแบบพื้นฐาน)[5]

ศ.เลอร์เนอร์มีทฤษฎีว่า ความเชื่อเรื่องโลกยุติธรรมสำคัญอย่างยิ่งในการดำรงตนให้เป็นสุขเพราะว่า บุคคลย่อมเจอหลักฐานเป็นประจำว่า โลกไม่ยุติธรรม คือ คนอาจได้รับความทุกข์ทรมานโดยที่ไม่ปรากฏสาเหตุดังนั้น คนจึงต้องมีกลยุทธ์ในการกำจัดความเสี่ยงต่อความเชื่อว่าโลกยุติธรรมซึ่งอาจจะเป็นกลยุทธ์ที่มีเหตุผล หรือไร้เหตุผลกลยุทธ์ที่มีเหตุผลรวมทั้ง การยอมรับความจริงว่าโลกไม่ยุติธรรม ความพยายามป้องกันความไม่ยุติธรรมและให้ชดใช้คืน และการยอมรับความจำกัดของตนเองส่วนกลยุทธ์ไร้เหตุผลรวมทั้ง การปฏิเสธความจริง การถอนตัวออกทางสังคม (เช่นการไม่คุยกับใคร) และการตีความเหตุการณ์แบบแก้ต่าง[ต้องการอ้างอิง]

มีการตีความได้หลายอย่างที่จะทำให้เหตุการณ์เข้ากับความเชื่อว่าโลกยุติธรรมเช่นตีความผลที่ได้ สาเหตุ และ/หรือ ลักษณะต่าง ๆ ของผู้รับเคราะห์และในกรณีที่เห็นความไม่ยุติธรรมที่ได้รับของคนที่ไม่ได้ทำอะไรผิด วิธีการหลักในการเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับเหตุการณ์ก็คือ การตีความว่าผู้รับเคราะห์ควรที่จะได้รับผลอันนั้น[1]โดยเฉพาะก็คือ ผู้สังเกตการณ์อาจจะโทษผู้รับเคราะห์ ด้วยเหตุพฤติกรรมหรือลักษณะอะไรอื่น ๆ[6]งานวิจัยทางจิตวิทยาในสมมติฐานนี้โดยมาก พุ่งความสนใจไปในปรากฏการณ์สังคมเชิงลบ คือ การโทษหรือการดูถูกผู้รับเคราะห์ในสถานการณ์ต่าง ๆ[2]

ผลที่ได้อีกอย่างหนึ่งในการคิดเช่นนี้ก็คือว่า คน ๆ นั้นจะรู้สึกปลอดภัยกว่า เพราะว่าไม่เชื่อว่าตนได้ทำอะไรที่จะให้ได้รับผลลบเช่นนั้น[2]ซึ่งสัมพันธ์กับปรากฏการณ์ความเอนเอียงรับใช้ตนเอง (self-serving bias) ที่นักจิตวิทยาสังคมก็ได้สังเกตพบเช่นกัน[8]

มีนักวิจัยเป็นจำนวนมากที่ตีความเรื่องความเชื่อว่าโลกยุติธรรมว่า เป็นตัวอย่างในเรื่องการอธิบายเหตุ (causal attribution) ที่ผิดพลาดคือ ในเรื่องการโทษผู้รับเคราะห์ มีการอ้างเหตุของเคราะห์ร้ายว่าเป็นเพราะบุคคล แทนที่จะเป็นเพราะสถานการณ์ดังนั้น ความเชื่อในเรื่องโลกยุติธรรม อาจจะสัมพันธ์กับ หรืออาจจะอธิบายได้โดย รูปแบบบางอย่างในทฤษฎีจิตวิทยาเรื่องการอธิบายเหตุ[9]

ใกล้เคียง

สมมติฐานโลกยุติธรรม สมมติฐาน สมมติฐานของค็อค สมมติฐานประสิทธิภาพของตลาด สมมติฐานโลกของ RNA สมมติฐานความต่อเนื่อง สมมติสงฆ์ สมมติฐานเนบิวลา สมมติฐานทางสัญญาณสองทาง สมมติฐานเฉพาะกิจ

แหล่งที่มา

WikiPedia: สมมติฐานโลกยุติธรรม http://www.brocku.ca/psychology/people/Hafer_Begue... http://www.units.muohio.edu/psybersite/justworld/i... http://www.scu.edu/ethics/publications/iie/v3n2/ju... http://www.peplaulab.ucla.edu/Publications_files/R... http://www.peplaulab.ucla.edu/Publications_files/R... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/5969146 //doi.org/10.1037%2F0033-2909.131.1.128 //doi.org/10.1037%2Fh0023562 //doi.org/10.1111%2Fj.1540-4560.1973.tb00104.x //doi.org/10.1111%2Fj.1540-4560.1975.tb00997.x