สมมติฐานโลกยุติธรรม

สมมติฐานโลกยุติธรรม (อังกฤษ: just-world hypothesis, just-world fallacy) เป็นความเอนเอียงทางประชาน หรือเป็นการสมมุติว่า การกระทำของบุคคลหนึ่ง ๆ มีแนวโน้มที่จะนำผลที่ยุติธรรมโดยศีลธรรมและที่เหมาะสมมายังบุคคลนั้น ๆ คือในที่สุดกรรมดีก็จะได้ผลดี และกรรมชั่วก็จะได้ผลชั่วกล่าวอีกอย่างก็คือ เป็นแนวโน้มที่จะอ้างหรือคาดหวังว่า ผลที่เห็นมีเหตุเนื่องกับพลังจักรวาลที่ปรับโลกให้สมดุลอย่างยุติธรรมความเชื่อเช่นนี้ทั่วไปส่องถึงความเชื่อเรื่องความยุติธรรมจักรวาล ชะตากรรม ลิขิตของผู้เป็นเจ้า ความสมดุลทางจักรวาล ระเบียบจักรวาล และมีโอกาสสูงที่จะให้ผลเป็นเหตุผลวิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่บุคคลให้เหตุผลความเคราะห์ร้ายของผู้อื่นว่า คน ๆ นั้น ๆ "สมควร" จะได้รับผลเช่นนั้นในภาษาอังกฤษ สมมติฐานเช่นนี้พบได้ในภาพพจน์ต่าง ๆ ที่แสดงนัยรับประกันที่จะได้ผลร้ายคืน เช่น "You got what was coming to you" (คุณได้สิ่งที่ควรจะมาหาคุณ) "What goes around comes around" (อะไรเวียนไปก็ย่อมจะเวียนมา) "chickens come home to roost" (ไก่ย่อมกลับบ้านเพื่อมานอน) และ "You reap what you sow" (คุณเก็บเกี่ยวสิ่งที่คุณหว่าน)เป็นสมมติฐานที่ศึกษากันอย่างกว้างขวางโดยนักจิตวิทยาสังคม เริ่มต้นที่งานทรงอิทธิพลของ ศ.ดร.เลอร์เนอร์ ในต้นคริสต์ทศวรรษ 1960[1]ตั้งแต่นั้น งานวิจัยก็ได้ดำเนินต่อมาเรื่อย ๆ โดยตรวจสอบสมรรถภาพการพยากรณ์ของทฤษฎีนี้ในสถานการณ์ต่าง ๆ และในวัฒนธรรมต่าง ๆ ช่วยให้ความเข้าใจเรื่องนี้ดีขึ้นและขยายกว้างออกไป[2]

ใกล้เคียง

สมมติฐานโลกยุติธรรม สมมติฐาน สมมติฐานของค็อค สมมติฐานโลกของ RNA สมมติฐานประสิทธิภาพของตลาด สมมติสงฆ์ สมมติฐานความต่อเนื่อง สมมติฐานเนบิวลา สมมติฐานทางสัญญาณสองทาง สมมติฐานเฉพาะกิจ

แหล่งที่มา

WikiPedia: สมมติฐานโลกยุติธรรม http://www.brocku.ca/psychology/people/Hafer_Begue... http://www.units.muohio.edu/psybersite/justworld/i... http://www.scu.edu/ethics/publications/iie/v3n2/ju... http://www.peplaulab.ucla.edu/Publications_files/R... http://www.peplaulab.ucla.edu/Publications_files/R... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/5969146 //doi.org/10.1037%2F0033-2909.131.1.128 //doi.org/10.1037%2Fh0023562 //doi.org/10.1111%2Fj.1540-4560.1973.tb00104.x //doi.org/10.1111%2Fj.1540-4560.1975.tb00997.x