เชิงอรรถ ของ สมองมนุษย์

  1. 1 2 internal jugular vein เป็นเส้นหลอดเลือดดำคอ (jugular vein) เป็นคู่ที่รวบรวมเลือดจากสมองและส่วนผิว ๆ ของใบหน้าและคอเส้นเลือดอยู่ใน carotid sheath (เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่หุ้มหลอดเลือดที่คอ) โดยอยู่รวมกันกับ common carotid artery และเส้นประสาทเวกัส
  2. การควบคุมตนเอง (self-control) เป็นส่วนของการยับยั้งตนเอง (inhibitory control หรือการยับยั้งการตอบสนอง [response inhibition]) เป็นสมรรถภาพในการควบคุมอารมณ์ ความคิด และพฤติกรรมของตนเมื่อเผชิญหน้ากับเครื่องล่อใจและอารมณ์ชั่ววูบ[3][4]เป็นส่วนหนึ่งของ executive function เป็นกระบวนการทางประชานที่จำเป็นในการควบคุมตัวเองเพื่อให้ถึงเป้าหมายที่ต้องการ[4][5]
  3. 1 2 การเฟ้นหานัยทางนามธรรม (abstraction) โดยหลักหมายถึงกระบวนการทางความคิดที่สกัดเอาหลักและแนวคิดแบบทั่วไป โดยอาศัยตัวอย่างหรือกลุ่มตัวอย่างโดยเฉพาะ ๆ หรืออาศัยวัตถุหรือบุคคลสำคัญ หรืออาศัยศัยหลักปฐมธาตุ (first principle) หรืออาศัยวิธีอื่น ๆ
  4. 1 2 สมรรถภาพการแปรรูปนานามิติ (visual-spatial ability หรือ spatial visualization ability) เป็นสมรรถภาพในการแปรรูป 2-3-4 มิติ ในใจปกติวัดด้วยข้อทดสอบทางประชานง่าย ๆ ซึ่งใช้พยากรณ์ประสิทธิภาพของบุคคลในการใช้ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้บางอย่าง
  5. โครงสร้างของ basal forebrain อยู่ข้างหน้าด้านใต้ของ striatumรวมทั้ง nucleus accumbens, nucleus basalis, diagonal band of Broca, substantia innominata และ medial septal nucleusโครงสร้างเหล่านี้สำคัญเพราะผลิต acetylcholine (ACh) ซึ่งกระจายไปทั่วสมองโดยจัดเป็นส่วนสำคัญที่สุดที่ผลิต ACh (คือเป็นระบบประสาทแบบ cholinergic) ของระบบประสาทกลาง
  6. 1 2 3 circumventricular organs (CVOs) เป็นโครงสร้างต่าง ๆ ในสมองที่มีเส้นเลือดมากมายแต่ไม่มีตัวกั้นระหว่างเลือดกับสมอง (BBB) ตามปกติ[6]CVO เชื่อมระบบประสาทกลางกับระบบไหลเวียนทั่วไปและยังเป็นส่วนสำคัญของระบบประสาทร่วมต่อมไร้ท่อ (neuroendocrine) ด้วย[7]การไร้ BBB ทำให้ CVO สามารถเป็นทางผ่านของเพปไทด์และฮอร์โมนจากเนื้อเยื่อประสาทให้เข้าไปในระบบเลือดทั่วไป ในขณะที่ยังป้องกันสมองจากสารพิษต่าง ๆ[8][9]
  7. ในระบบประสาทกลาง ช่องใต้เยื่ออะแร็กนอยด์[19](subarachnoid space) เป็นช่องระหว่างเยื่ออะแร็กนอยด์กับเยื่อเพีย
  8. 1 2 subarachnoid cistern เป็นช่องต่าง ๆ ที่เปิดกว้างขึ้นเนื่องกับการแยกจากกันของเยื่ออะแร็กนอยด์กับเยื่อเพียโดยสืบต่อกับช่องใต้เยื่ออะแร็กนอยด์ (subarachnoid space) ภายในสมองช่องคือ cistern เหล่านี้มีน้ำหล่อสมองไขสันหลัง (cerebrospinal fluid)
  9. ระดับความไม่สมมาตรกันระหว่างสมองซีกซ้ายขวาเป็นเรื่องน่าสนใจต่อนักประสาทชีววิทยาบรรพกาล เพราะมันเชื่อมกับการถนัดมือซ้ายขวา หรือกับพัฒนาการทางภาษาในบุคคลที่เป็นตัวอย่างนั้น ๆ (ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์โบราณหรือมนุษย์ปัจจุบัน)ความไม่สมมาตรเกิดเพราะการทำหน้าที่เฉพาะของสมองซีกนั้น ๆ และสามารถเห็นได้ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณความไม่เท่ากันของซีกสมองทั้งสอง ซึ่งเรียกว่า petalia เกิดเมื่อสมองซีกหนึ่งกว้างกว่าหรือยื่นออกมากกว่าซีกตรงข้ามเช่น คนถนัดมือขวาปกติจะมีสมองกลีบท้ายทอยซีกซ้ายและสมองกลีบหน้าซีกขวาที่ใหญ่กว่าซีกตรงข้ามpetalia ยังเกิดเนื่องเพราะศูนย์ภาษาที่อยู่ในซีกสมองกลีบหน้าโดยเฉพาะ ๆ ของมนุษย์ปัจจุบันpetalia ในสมองกลีบท้ายทอยจะตรวจจับได้ง่ายกว่าสมองกลีบหน้า[26]
  10. clivus (เป็นคำละตินแปลว่า พื้นลาดเอียง) เป็นกระดูกส่วนหนึ่งที่ฐานกะโหลกศีรษะ เป็นแอ่งตื้น ๆ หลัง dorsum sellæ ที่เอียงลงไปจาก dorsum sellæ ไปยังฟอราเมนแมกนัม[47]
  11. คือ เส้นประสาทกล้ามเนื้อตา เส้นประสาททรอเคลียร์ (trochlear nerve) เส้นประสาทไทรเจมินัล เส้นประสาทแอบดิวเซนต์ (abducens nerve) เส้นประสาทเฟเชียล เส้นประสาทหู (vestibulocochlear nerve) เส้นประสาทลิ้นคอหอย (glossopharyngeal nerve) เส้นประสาทเวกัส (vagus nerve) เส้นประสาทแอกเซสซอรี (accessory nerve) และเส้นประสาทกล้ามเนื้อลิ้น (hypoglossal nerve)[48]
  12. Bergmann glia (หรือ epithelial cells, Golgi epithelial cells, radial astrocytes) เป็นแอสโทรไซต์มีขั้วเดียว เป็น radial glia แบบอนุพัทธ์ สัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับเซลล์เพอร์คินจีในสมองน้อย[53]เพราะดูเหมือนจะคงยืนในสมองน้อยและมีหน้าที่คล้ายกับแอสโทรไซต์จึงยังได้เรียกได้ว่า แอสโทรไซต์พิเศษเซลล์มีส่วนยื่นเป็นรัศมี (radial) ผ่านเยื่อของเปลือกสมองไปยุติที่ผิวเยื่อเพียเป็นปลายรูปกระเปาะ[54]เซลล์ช่วยในการย้ายที่ของ granule cell คือนำทางเซลล์ประสาทเล็ก ๆ จากชั้นนอกคือ external granular layer ของเปลือกสมองน้อยไปยังชั้น internal granular layer ด้วยส่วนยื่นเป็นรัศมีที่มีอย่างมากมายของมัน[55][56]นอกจากหน้าที่ในช่วงพัฒนาการของสมองน้อยในระยะต้น ๆ เซลล์ยังจำเป็นในกระบวนการ synaptic pruningถ้าเซลล์เพอร์คินจีตายเพราะระบบประสาทกลางบาดเจ็บ เซลล์จะขยายจำนวนเพื่อทดแทนเนื้อเยื่อที่เสียหาย เป็นกระบวนการที่เรียกว่า gliosis[57][58]
  13. ependymal cell เป็นเซลล์ที่ไม่ใช่เซลล์ประสาทในระบบประสาทกลางซึ่งประกอบกันเป็น ependyma และช่วยการไหลเวียนของน้ำหล่อสมองไขสันหลัง (cerebrospinal fluid)[59]
  14. tanycyte เป็น ependymal cell พิเศษที่พบในโพรงสมองที่สามในสมอง และที่พื้นของโพรงสมองที่สี่ มีส่วนยื่นเข้าไปลึกในไฮโปทาลามัสเป็นไปได้ว่าหน้าที่ของมันก็คือเพื่อส่งต่อสัญญาณเคมีจากน้ำหล่อสมองไขสันหลัง (cerebrospinal fluid) เข้าไปยังระบบประสาทกลาง
  15. radial glial cell เป็นเซลล์มีสองขั้วที่กระจายไปตามกว้างของเปลือกสมองในระบบประสาทกลางของตัวอ่อนสัตว์มีกระดูกสันหลังที่กำลังพัฒนา[60][61]ทำหน้าที่เป็น primary progenitor cell (เซลล์ต้นกำเนิด) ที่สามารถกลายเป็นเซลล์ประสาท แอสโทรไซต์ และโอลิโกเดนโดรไซต์[62]
  16. microglia เป็นเซลล์เกลียชนิดหนึ่งที่พบทั่วสมองและไขสันหลัง[63]เป็นเซลล์ 10-15% ที่พบในสมอง[64]เพราะเป็นเซลล์มาโครฟาจ (macrophage) จึงมีหน้าที่เกี่ยวกับภูมิคุ้มกันในระบบประสาทกลาง[65]
  17. เซลล์รูปดาว (stellate cell) เป็นเซลล์อะไรก็ได้ที่มีรูปคล้ายดาวเพราะเดนไดรต์ที่ยื่นออกจากตัวเซลล์ซึ่งพบได้ในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
  18. เซลล์ปฏิบัติงาน (effector cell) เป็นเซลล์ชนิดต่าง ๆ ที่ตอบสนองอย่างแอ๊กถีฟต่อสิ่งเร้าโดยทำให้เกิดผลอะไรบางอย่าง
  19. การส่งสัญญาณทางเคมีชีวภาพระหว่างทางเดินอาหารกับระบบประสาทกลางที่เรียกสั้น ๆ ว่า brain-gut axis
  20. ในบรรดาน้ำทั้งหมดในร่างกาย transcellular fluid (น้ำผ่านเซลล์) เป็นส่วนซึ่งอยู่ในช่องที่บุด้วยเนื้อเยื่อบุผิวเป็นส่วนน้อยสุดของน้ำนอกเซลล์ (extracellular fluid) ซึ่งรวมพลาสมาและสารน้ำแทรกมันมักจะไม่นับรวมเป็นส่วนของน้ำนอกเซลล์ แต่ก็อยู่ที่ประมาณ 2.5% ของน้ำร่างกายทั้งหมด หรือ 5% ของน้ำนอกเซลล์น้ำประเภทนี้รวมน้ำหล่อสมองไขสันหลัง, ocular fluid และไขข้อ[72]
  21. ช่องกลาง (central canal, ependymal canal) เป็นช่องมีน้ำหล่อสมองไขสันหลังที่วิ่งตามยาวตลอดไขสันหลังทั้งหมดโดยเชื่อมกับระบบโพรงสมอง
  22. 1 2 ชื่อว่า glymphatic system บัญญัติขึ้นเพื่อให้รู้ว่ามันอาศัยเซลล์เกลียโดยมีหน้าที่คล้ายกับระบบน้ำเหลืองนอกประสาทส่วนกลาง[76]
  23. หลอดน้ำเหลืองในเยื่อสมอง (meningeal lymphatic vessel หรือ meningeal lymphatic) เป็นเครือข่ายหลอดน้ำเหลืองธรรมดาที่ค้นพบในปี 2014 อยู่ขนานกับ dural sinusและหลอดเลือดในเยื่อสมอง (meningeal arteries) ในระบบประสาทกลาง (CNS) ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเป็นส่วนของระบบน้ำเหลือง มีหน้าที่ระบายเซลล์ภูมิคุ้มกัน โมเลกุลเล็ก ๆ และน้ำที่มีมากเกินจาก CNS เข้าไปในปุ่มน้ำเหลืองลึกที่คอ[80][81]
  24. 1 2 โพรงหลอดเลือดดำในเยื่อดูรา (dural venous sinuse หรือ dural sinus หรือ cerebral sinus หรือ cranial sinus) เป็นโพรงหลอดเลือดดำ (venous channel) ที่พบในระหว่างชั้น endosteal layer กับชั้น meningeal layer ของเยื่อดูราในสมอง[82]
  25. หลอดเลือดแดง internal carotid artery เป็นหลอดเลือดแดงหลักอย่างหนึ่ง มีเป็นคู่ แต่ละเส้นอยู่ที่ข้างคอและศีรษะมนุษย์เกิดจากหลอดเลือดแดง common carotid artery ซึ่งแยกออกเป็นสองสาขาคือ internal carotid artery และ external carotid artery ที่ลำกระดูกไขสันหลังระดับ 3 หรือ 4 (ที่คอ)internal carotid artery ส่งเลือดไปเลี้ยงสมอง เทียบกับ external carotid artery ซึ่งส่งเลือดไปเลี้ยงส่วนอื่น ๆ ของศีรษะ เช่น ใบหน้า หนังศีรษะ กะโหลกศีรษะ และเยื่อหุ้มสมอง
  26. ช่อง interpeduncular cistern โอบล้อม cerebral peduncle และโครงสร้างที่อยู่ใน interpeduncular fossa และมีโครงสร้างหลอดเลือดคือ circle of Willis และประสาทกล้ามเนื้อตา (CN3)
  27. ช่องแครอทิด (carotid canal) เป็นทางผ่านเข้าไปในกระดูกขมับ เป็นทางที่ internal carotid artery เข้าไปใน middle cranial fossa จากคอช่องเริ่มที่ผิวด้านล่างของกระดูกขมับเป็นทางเข้าจากด้านนอก
  28. กระดูกคอ (cervical vertebrae) มี ช่องตามขวาง (transverse foramina) เพื่อให้ vertebral artery ผ่านไปถึงช่องฟอราเมนแมกนัมแล้วเข้าไปสุดที่ circle of Willis ได้ นี่เป็นกระดูกคอที่เล็กสุด เบาสุด โดยช่องตามขวางมีรูปสามเหลี่ยม
  29. ในสมองมนุษย์ superior cerebellar peduncle (หรือ brachium conjunctivum) เป็นคู่โครงสร้างของเนื้อขาวที่เชื่อมสมองน้อยกับสมองส่วนกลาง
  30. cerebellar tentorium จากภาษาละตินว่า tentorium cerebelli ซึ่งแปลว่า เต็นท์ของสมองน้อย เป็นส่วนยืดของเยื่อดูราที่แยกสมองน้อยจากส่วนล่าง (inferior) ของสมองกลีบท้ายทอย
  31. superior cerebral vein หรือ exterior cerebral vein
  32. ที่เรียกว่า anastomosing veins
  33. confluence of sinuses หรือ torcular herophili หรือ torcula เป็นจุดรวมโพรงเลือดคือ superior sagittal sinus, straight sinus และ occipital sinusจุดนี้อยู่ที่ปุ่มของท้ายทอย (occipital protuberance)
  34. pericyte เป็นเซลล์หดเกร็งได้ (contractile cell) ซึ่งพันรอบเซลล์เอนโดทีเลียมที่บุหลอดเลือดฝอยและหลอดเลือดดำเล็กทั่วร่างกาย[92]
  35. area postrema เป็นโครงสร้างในก้านสมองส่วนท้ายซึ่งควบคุมการอาเจียน
  36. ตั้วกั้นระหว่างเลือดกับน้ำหล่อสมองไขสันหลัง ก็คือ ข่ายหลอดเลือดสมอง (choroid plexus)
  37. neural crest cell เป็นกลุ่มเซลล์ชั่วคราวที่มีเฉพาะสัตว์มีกระดูกสันหลัง เกิดจากชั้นเซลล์เอ็กโทเดิร์มในตัวอ่อน เป็นตัวก่อเซลล์ประเภทต่าง ๆ รวมทั้ง melanocyte, กระดูกอ่อนและกระดูกของกะโหลกและใบหน้า, กล้ามเนื้อเรียบ, เซลล์ประสาทนอกส่วนกลาง, เซลล์ประสาทในลำไส้ และเซลล์เกลีย[95]
  38. encephalization เป็นกระบวนการทางวิวัฒนาการที่ทำให้สมองใหญ่กว่าที่คาดไว้สำหรับสัตว์สปีชีส์หนึ่ง ๆ (เช่น มนุษย์)[112]
  39. medullary pyramid (พิระมิดของเมดัลลา) เป็นโครงสร้างเนื้อขาวเป็นคู่ของก้านสมองส่วนท้ายที่มีเส้นใยประสาทสั่งการของ corticospinal tract และ corticobulbar tract โดยรวมเรียกว่า pyramidal tractขอบล่างของพิระมิดจะกำหนดด้วยเส้นใยประสาทที่ข้ามไขว้ทแยง (decussate)
  40. จังหวะอัลตราเดียน (ultradian rhythm) คือจังหวะการทำงานของร่างกายที่มีวัฏจักรน้อยกว่า 24 ชม.
  41. motivational salience (ความเด่นทางแรงจูงใจ) เป็นกระบวนการทางประชานและรูปแบบการใส่ใจอย่างหนึ่งที่ให้แรงจูงใจ หรือผลักดัน ให้บุคคลมีพฤติกรรมเข้าหาหรือหนีจากวัตถุ/บุคคล เหตุการณ์ หรือผลโดยเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง[151]motivational salience ควบคุมความรุนแรงของพฤติกรรมที่ช่วยให้ถึงเป้าหมายโดยเฉพาะอย่างหนึ่ง ควบคุมเวลาและพลังงานที่บุคคลพร้อมจะอุทิศให้เพื่อให้ถึงเป้าหมาย และควบคุมความเสี่ยงที่บุคคลยอมรับเมื่อทำการให้ถึงเป้าหมาย[151]
  42. การยับยั้งทางประชาน (cognitive inhibition) หมายถึงสมรรถภาพทางใจในการไม่ใส่ใจสิ่งเร้าที่ไม่สำคัญต่องานที่กำลังทำอยู่ หรือต่อสภาพทางจิตใจที่มีอยู่ซึ่งทำได้แบบสิ้นเชิงหรือแบบเป็นบางส่วน ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่[158]
  43. 1 2 task switching หรือ set-shifting เป็น executive function ในการเปลี่ยนการใส่ใจระหว่างงานต่าง ๆ โดยไม่ได้ตั้งใจเทียบกับ cognitive shifting ที่ทำการคล้ายกันแต่ทำโดยตั้งใจหน้าที่สองอย่างนี้เป็นประเภทย่อยของแนวคิดในเรื่องความยืดหยุ่นได้ทางประชาน (cognitive flexibility)
  44. การยับยั้งการตอบสนอง (response inihibition หรือ inhibitory control) เป็นกระบวนการทางประชานที่ทำให้บุคคลสามารถยับยั้งอารมณ์ชั่ววูบและการตอบสนองตามธรรมชาติหรือตามนิสัยต่อสิ่งเร้า (ที่เรียกว่า prepotent response)เพื่อเลือกพฤติกรรมที่สมควรกว่า และสอดคล้องกับเป้าหมายที่ต้องการทำให้สำเร็จ[159][160]เช่น การห้ามใจการตอบสนองตามธรรมชาติเพื่อจะกินขนมเค้กเมื่อกำลังอยากจำเป็นต้องใช้กระบวนการนี้
  45. 1 2 เครือข่ายภาวะโดยปริยาย (default mode network) เป็นเครือข่ายเซลล์ประสาทในสมองที่ทำงานเมื่อบุคคลไม่ได้ใส่ใจในสิ่งเร้าภายนอกอื่น ๆ ซึ่งเห็นได้ดีที่สุดเมื่อบุคคลกำลังพักธรรมดา ๆ ไม่ได้ทำอะไรเป็นพิเศษ และเห็นน้อยที่สุดเมื่อต้องตั้งสมาธิกับสิ่งเร้าภายนอกแต่เครือข่ายก็ยังทำงานด้วยเมื่อทำกิจในใจ (โดยเฉพาะเมื่อพินิจพิจารณาสิ่งที่อยู่ในใจ) รวมทั้งการระลึกถึงความจำอาศัยเหตุการณ์ นึกถึงอนาคต และการมองในแง่มุมของผู้อื่นแม้นักวิชาการจะยอมรับว่ามีเครือข่ายนี้ และเห็นพ้องด้วยกันว่า แกนเครือข่ายอยู่ที่ไหน (เช่น medial prefrontal cortex, posterior cingulate cortex, angular gyrus, precuneus และ middle frontal gyrus เป็นต้น)แต่หน้าที่และระบบย่อยของมันก็ยังศึกษาอยู่โดยมีนักวิชาการที่เสนอว่า การพินิจพิจารณาเกี่ยวกับตนเองแบบไม่จำกัดอาจเป็นภาวะทางจิตใจโดยปริยายเมื่อบุคคลไม่ได้ทำอะไร[196][197]
  46. อวัยวะเทียมคล้ายสมอง (cerebral organoid) เป็นอวัยวะรูปย่อคล้ายสมองที่เลี้ยงขึ้นในหลอดแก้วโดยเลี้ยง pluripotent stem cell (เซลล์ต้นกำเนิดที่กลายเป็นเซลล์ได้หลายชนิด) เป็นเวลาหลายเดือนใน bioreactor ที่หมุนได้เชิงสามมิติ[189]สมองมนุษย์เป็นระบบที่ซับซ้อนมากประกอบด้วยเนื้อเยื่อวิวิธพันธุ์ เป็นชุดเซลล์ประสาทที่ต่าง ๆ กันมากมายความซับซ้อนเช่นนี้ทำให้การศึกษาและเข้าใจสมองเป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะเมื่อเกี่ยวกับโรคประสาทเสื่อม (neurodegenerative disease)ดังนั้น จุดหมายของการสร้างแบบจำลองประสาทในหลอดแก้วก็เพื่อศึกษาโรคเหล่านี้ในสิ่งแวดล้อมที่ง่าย ๆ กว่าโดยไม่มีข้อจำกัดเหมือนกับสมองเป็น ๆ โดยเฉพาะเมื่อทำกับมนุษย์สรีรภาพที่ต่างกันระหว่างมนุษย์กับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ใช้เป็นตัวแบบอื่น ๆ มักจำกัดขอบเขตของงานศึกษาเกี่ยวกับโรคทางประสาท (neurological disorder)อวัยวะเทียมคล้ายสมองเป็นเนื้อเยื่อสังเคราะห์ที่มีเซลล์ประสาทหลายชนิดและมีลักษณะทางกายวิภาคหลายอย่างที่คล้ายกับสมองสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีลักษณะคล้ายกับชั้นเซลล์ประสาทในเปลือกสมองและข่ายหลอดเลือดสมอง (choroid plexus) มากที่สุดในบางกรณี จะทำเป็นโครงสร้างคล้ายกับจอตา เยื่อหุ้มสมอง และฮิปโปแคมปัส[189][190]ซึ่งทำได้เพราะเซลล์ต้นกำเนิดมีศักยภาพในการกลายเป็นเนื้อเยื่อรูปแบบต่าง ๆ โดย "ชะตา" ของมันจะขึ้นอยู่กับปัจจัยมากมายจึงสามารถให้ปัจจัยกับเซลล์ต้นกำเนิดเพื่อสร้างอวัยวะเทียมคล้ายสมองที่มีโครงสร้างแบบต่าง ๆ
  47. 1 2 transcriptome เป็นเซตของโมเลกุลอาร์เอ็นเอทั้งหมดในเซลล์ตัวหนึ่งหรือในเซลล์กลุ่มหนึ่งบางครั้งหมายถึงอาร์เอ็นเอทั้งหมด บางครั้งหมายถึง mRNA เท่านั้น ขึ้นอยู่กับการทดลองมันต่างกับ exome เพราะรวมแต่โมเลกุลอาร์เอ็นเอที่พบในกลุ่มเซลล์ที่ระบุโดยเฉพาะ และปกติจะรวมจำนวนหรือความเข้มข้นของโมเลกุลอาร์เอ็นเอแต่ละอย่างนอกเหนือไปจากว่าเป็นโมเลกุลอะไร
  48. diffuse axonal injury (DAI) เป็นความบาดเจ็บในสมองที่ก่อรอยโรคอย่างกว้างขวางที่เนื้อเทาคือที่ลำเส้นใยประสาทเป็นการบาดเจ็บศีรษะ (traumatic brain injury) ที่สามัญที่สุดและก่อความเสียหายมากที่สุดอย่างหนึ่ง[211]เป็นเหตุหลักอย่างหนึ่งที่ทำให้หมดสติและก่อสภาพผักเรื้อรังหลังจากบาดเจ็บหนักที่ศีรษะ[212]มันเกิดในครึ่งหนึ่งของคนไข้ที่บาดเจ็บหนักที่ศีรษะ และอาจเป็นความเสียหายหลักในคนไข้มันสมองกระทบกระเทือน (concussion)ผลบ่อยครั้งคืออาการโคม่า โดยคนไข้ 90% ที่มี DAI ขั้นรุนแรงจะไม่ฟื้นคืนสติอีก[212]ผู้ที่กลับคืนสติอีกบ่อยครั้งจะพิการอย่างสำคัญ[213]
  49. โรคคูรุ (Kuru) เป็นการติดเชื้อไวรัสนอกแบบที่ระบบประสาทส่วนกลาง พบที่ประเทศปาปัวนิวกินี เป็นโรคประสาทเสื่อมที่แก้ไขไม่ได้ เกิดจากพรีออนหนึ่งที่มีในมนุษย์[218]โรคเกิดจากการแพร่โปรตีนพรีออนที่พับผิดปกติ ซึ่งก่ออาการต่าง ๆ เช่นสั่น กล้ามเนื้อเสียสหการ และประสาทเสื่อม
  50. ในคำว่า FAST อักษรสุดท้ายหมายถึง Time คือถ้ามีอาการเช่นนี้แล้ว มีเวลาเหลือน้อย ให้รีบไปโรงพยาบาล
  51. computed tomography angiography (CTA, CT angiography) เป็นเทคนิคการถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์ที่ใช้แสดงภาพหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำทั่วร่างกายเริ่มตั้งแต่หลอดเลือดแดงที่ส่งไปเลี้ยงสมอง ที่ไปเลี้ยงปอด ไต และขา
  52. magnetic resonance angiography (MRA) เป็นกลุ่มเทคนิคที่ทำด้วย MRI เพื่อแสดงภาพหลอดเลือด (และหลอดเลือดดำแต่น้อยกว่า) และตรวจดูว่ามันตีบ อุดตัน ผนังบวม มีโอกาสแตก หรือมีความผิดปกติอื่น ๆ หรือไม่บ่อยครั้งใช้ตรวจเส้นเลือดคอและสมอง อกและท้อง เส้นเลือดไต และเส้นเลือดขา
  53. ภาวะสมองน้อยตาย (brainstem death) เป็นอาการทางคลินิกของคนไข้โคม่าที่หายใจผ่านเครื่องช่วยหายใจ คือการไร้รีเฟล็กซ์ที่มีวิถีประสาทผ่านก้านสมอง ซึ่งเป็นจุดที่เชื่อมไขสันหลังกับสมองส่วนกลาง, กับสมองน้อย และกับเปลือกสมอง การระบุว่ามีภาวะนี้เท่ากับระบุว่าคนไข้มีพยากรณ์โรคคือโอกาสรอดชีวิตที่น้อยมากหัวใจจะหยุดเต้นบ่อยครั้งภายในไม่กี่วัน แต่อาจดำเนินต่อไปได้เป็นอาทิตย์ ๆ หรือเป็นเดือน ๆ ถ้าใช้เครื่องช่วยให้มีชีวิตต่อไปได้
  54. futile medical care หรือ medical futility
  55. รวม vestibulo-ocular reflex, corneal reflex, gag reflex และการเปลี่ยนขนาดม่านตาเป็นการตอบสนองต่อแสง[244]

แหล่งที่มา

WikiPedia: สมองมนุษย์ http://www.cerebromente.org.br/n06/historia/bioele... http://www.douglas.qc.ca/page/imagerie-cerebrale?l... http://www.unifr.ch/ifaa/Public/EntryPage/TA98%20T... http://www.anaesthesiamcq.com/FluidBook/fl2_1.php http://etymonline.com/index.php?allowed_in_frame=0... http://www.medcyclopaedia.com/library/topics/volum... http://emedicine.medscape.com/article/326510-overv... http://www.readperiodicals.com/201203/2662763741.h... http://dictionary.reference.com/browse/cerebrum http://www.scientificamerican.com/article/why-does...