ความสำคัญทางคลินิก ของ สมองมนุษย์

ความบาดเจ็บ

ความบาดเจ็บอาจปรากฏเป็นอาการต่าง ๆ การบาดเจ็บที่สมองเช่นจากกีฬาที่กระทบกระทั่ง จากตกหรือหกล้ม จากอุบัติเหตุรถยนต์หรือในที่ทำงาน อาจสัมพันธ์กับปัญหาทั้งระยะสั้นระยะยาวปัญหาระยะสั้นอาจรวมเลือดออกในสมอง ซึ่งกดดันเนื้อเยื่อในสมองหรือทำหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงมันให้เสียหายสมองอาจจะช้ำซึ่งก่อความเสียหายต่อลำเส้นใยประสาทเป็นจำนวนมาก แล้วก่อภาวะที่เรียกว่า diffuse axonal injury (การบาดเจ็บที่แอกซอนอย่างกระจาย)[upper-alpha 48][214]กะโหลกศีรษะแตก, ความบาดเจ็บต่อเขตหนึ่ง ๆ โดยเฉพาะ, หูหนวก และสมองกระทบกระเทือน (concussion) ก็อาจเป็นอาการที่เกิดทันทีด้วยนอกจากบริเวณที่บาดเจ็บ สมองด้านตรงข้ามอาจเกิดปัญหาด้วย ซึ่งเรียกว่า contrecoup injuryปัญหาระยะยาวที่อาจเกิดรวมทั้งความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ (PTSD) และภาวะโพรงสมองคั่งน้ำส่วนโรคสมองบาดเจ็บเรื้อรัง (chronic traumatic encephalopathy) เป็นโรคสมองเสื่อมที่แย่ลง ๆ (degenerative disease) หลังจากรับบาดเจ็บที่ศีรษะหลายครั้ง เช่นในนักกีฬา[215]

โรค

โรคประสาทเสื่อม (neurodegenerative disease) จะทำให้สมองส่วนที่ทำหน้าที่ต่าง ๆ เสียหายขึ้นเรื่อย ๆ และจะแย่ลงตามอายุตัวอย่างสามัญรวมภาวะสมองเสื่อมแบบต่าง ๆ เช่น โรคอัลไซเมอร์ ภาวะสมองเสื่อมเหตุแอลกอฮอล์ ภาวะสมองเสื่อมเหตุหลอดเลือด เป็นต้น,รวมโรคพาร์คินสันกับโรคอื่น ๆ เหตุการติดเชื้อ เหตุกรรมพันธุ์ หรือเหตุเมแทบอลิซึม เช่น โรคฮันติงตัน, โรคเซลล์ประสาทสั่งการ (motor neuron disease), ภาวะสมองเสื่อมเหตุเอชไอวี, ภาวะสมองเสื่อมเหตุซิฟิลิส และ Wilson's diseaseโรคประสาทเสื่อมอาจมีผลต่อสมองส่วนต่าง ๆ ต่อการเคลื่อนไหว ความจำ และระบบประชาน[216]แม้สมองจะป้องกันด้วยตัวกั้นระหว่างเลือดกับสมอง แต่ก็ยังติดเชื้อต่าง ๆ ได้รวมทั้งไวรัส แบคทีเรีย และเชื้อราการติดเชื้ออาจเป็นที่เยื่อหุ้มสมอง (เยื่อหุ้มสมองอักเสบ) ที่เนื้อสมอง (สมองอักเสบ) หรือภายในเนื้อสมอง (เช่น ฝีในสมอง [cerebral abscess])[217]โรคที่เชื่อว่าเกิดจากพรีออน (prion disease) ซึ่งมีน้อยรวมทั้งโรคครอยตส์เฟลดต์-จาค็อบและโรคที่เป็นรูปแบบย่อยต่าง ๆ หรือโรคคูรุ[upper-alpha 49]ก็อาจมีผลต่อสมองด้วย[217]

เนื้องอก

เนื้องอกในสมองอาจเป็นแบบไม่ร้ายหรืออาจเป็นแบบร้ายเนื้องอกร้ายปกติจะกระจายมาจากส่วนอื่นของร่างกาย มากที่สุดจากปอด จากเต้านม และจากผิวหนัง[219]แต่มะเร็งที่เกิดในสมองก็มีเหมือนกัน โดยเกิดจากเนื้อเยื่อใดก็ได้รอบ ๆ สมองmeningioma เป็นมะเร็งเยื่อหุ้มสมอง และสามัญกว่ามะเร็งเนื้อเยื่อสมองอื่น ๆ[219]มะเร็งภายในสมองก่ออาการที่สัมพันธ์กับขนาดและตำแหน่ง อาการรวมทั้งปวดหัวคลื่นไส้ หรือก่ออาการโดยเฉพาะ ๆ เป็นปัญหาที่แย่ลงเรื่อย ๆ เช่นการเห็น การกลืน การพูด หรืออารมณ์เปลี่ยนแปลง[219]มะเร็งโดยทั่วไปจะตรวจด้วยเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์และ MRIวิธีการตรวจอื่น ๆ รวมทั้งตรวจเลือด การเจาะน้ำไขสันหลังอาจใช้เพื่อตรวจเหตุของมะเร็ง และประเมินชนิดและระยะของมะเร็ง[219]ยาสเตอรอยด์ คือ เด็กซาเมทาโซนมักให้เพื่อลดอาการบวมของเนื้อเยื่อสมองรอบ ๆ เนื้องอก แพทย์อาจพิจารณาการผ่าตัด แต่เพราะความซับซ้อนของเนื้องอก เพราะระยะหรือชนิดของมะเร็ง แพทย์อาจรักษาด้วยรังสีบำบัด (radiotherapy) หรือเคมีบำบัด[219]

จิตพิการ

จิตพิการ เช่น โรคซึมเศร้า, โรคจิตเภท, โรคอารมณ์สองขั้ว, ความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ, โรคสมาธิสั้น, โรคย้ำคิดย้ำทำ, Tourette syndrome และการติด (addiction) รู้แล้วว่าสัมพันธ์กับการทำงานของสมอง[162][166][220]การรักษาอาจรวมจิตบำบัด (psychotherapy) การรักษาทางจิตเวช การแก้ปัญหาทางสังคม และการทำงานที่มีความหมายสำหรับตน และ/หรือการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมแต่เหตุที่เป็นมูลฐานและพยากรณ์โรคที่สัมพันธ์กันก็จะต่าง ๆ กันมากในระหว่างบุคคล[221]

โรคลมชัก

การชักเหตุโรคลมชัก (epileptic seizure) เชื่อว่าสัมพันธ์กับการทำงานทางไฟฟ้าของสมองที่ผิดปกติ[222]การชักอาจปรากฏเป็นการหมดสติ เป็นอาการเฉพาะที่ ๆ เช่น การเคลื่อนไหวของแขนขาหรือปัญหาการพูด หรืออาจเป็นการชักแบบทั่ว ๆ ไป[222]ส่วน status epilepticus หมายถึงการชักครั้งเดียวหรือการชักต่อ ๆ กันที่ไม่หยุดภายใน 5 นาที[223]การชักมีเหตุหลายอย่างมาก และหลายอย่างก็ไม่สามารถตรวจพบสาเหตุได้ในคนไข้โรคลมชัก ปัจจัยเสี่ยงของการชักอาจรวมการนอนไม่หลับ การกินยาหรือแอลกอฮอล์ และความเครียดการชักอาจตรวจด้วยการตรวจเลือด, EEG และการสร้างภาพทางการแพทย์อื่น ๆ ขึ้นอยู่กับประวัติคนไข้และสิ่งที่หมอตรวจพบ[222]นอกจากรักษาเหตุที่เป็นมูลและลดการได้รับปัจจัยเสี่ยง ยากันชักอาจช่วยป้องกันการชักต่อ ๆ ไปได้[222]

โรคแต่กำเนิด

โรสมองบางอย่าง เช่น Tay-Sachs disease[224]เป็นความผิดปกติแต่กำเนิด[225]และเชื่อมกับการกลายพันธุ์ของยีนและโครโมโซม[225]กลุ่มโรคประเภท cephalic disorder ซึ่งมีแต่กำเนิด มีน้อย และเรียกว่า lissencephaly มีอาการคือมีรอยพับในเปลือกสมองไม่พอ[226]พัฒนการของสมองในครรภ์อาจผิดปกติเพราะขาดอาหาร[227],เพราะสารก่อวิรูป (teratogen)[228],โรคติดต่อ[229]และการใช้ยาเสพติดรวมทั้งแอลกอฮอล์ (ซึ่งอาจก่อ fetal alcohol spectrum disorders)[227][230]

โรคหลอดเลือดสมอง

ดูบทความหลักที่: โรคหลอดเลือดสมอง
ภาพเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ของการตกเลือดในสมองแบบ intraparenchymal bleed (ตกเลือดใน parenchyma ดูลูกศรล่าง) กับการบวมน้ำ (edema) รอบ ๆ (ลูกศรบน)

โรคหลอดเลือดสมองมีเหตุจากการขาดเลือดไปเลี้ยงบริเวณสมอง ทำให้เซลล์ตายและทำให้สมองบาดเจ็บซึ่งก่ออาการต่าง ๆ มากมาย รวมทั้งที่ย่อเป็นคำช่วยจำว่า FAST คือ หน้าห้อย (Facial droop), แขนไม่มีแรง (Arm weakness), ปัญหาการพูด (Speech difficulties) รวมทั้งอาการพูดไม่เป็นความ (dysarthria) และภาวะเสียการสื่อภาษา (dysphasia) คือหาคำพูดหรือสร้างประโยคไม่ได้[upper-alpha 50][231]อาการจะสัมพันธ์กับหน้าที่ของบริเวณสมองที่เกิดปัญหา ดังนั้น จึงอาจบ่งบริเวณที่เป็นเหตุของโรคเช่น ปัญหาการเคลื่อนไหว การพูด หรือการเห็นปกติจะสัมพันธ์กับสมองใหญ่ ส่วนปัญหาเกี่ยวการทรงตัว การเห็นภาพซ้อน อาการรู้สึกหมุน และอาการที่มีผลต่อร่างกายทั้งสองซีก ปกติจะสัมพันธ์กับก้านสมองและสมองน้อย[232]

โรคหลอดเลือดสมองโดยมากเกิดจากขาดเลือด/เส้นเลือดอุดตัน ปกติเพราะมีสิ่งหลุดอุดหลอดเลือด (embolus) ตะกรันท่อเลือดแดงหลุดออก (atheroma) แล้วอุดเส้นเลือด ณ ที่อื่น (เป็นลิ่มเลือดในหลอดเลือด) หรือเส้นเลือดแดงเล็กตีบแต่ก็อาจเกิดจากการตกเลือดในสมอง[233]โรคที่อาการหายไปภายใน 24 ชม. เรียกว่า ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว (TIA)[233]

วิธีการตรวจรวมทั้งการตรวจร่างกาย (รวมทั้งตรวจประสาท) การซักประวัติคนไข้โดยเน้นช่วงเวลาการเกิดอาการและปัจจัยเสี่ยง (รวมทั้งความดันโลหิตสูง) จังหวะการเต้นหัวใจผิดปกติ (atrial fibrillation) และการสูบบุหรี่[234][235]คนไข้ที่อายุน้อยกว่าอาจต้องตรวจมากกว่า[234]การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) และ biotelemetry อาจใช้ระบุจังหวะการเต้นหัวใจผิดปกติ (atrial fibrillation)อัลตราซาวนด์อาจใช้ตรวจการตีบของหลอดเลือดแดงแครอทิดการบันทึกภาพหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงอาจใช้หาลิ่มเลือดในหัวใจ, โรคเกี่ยวกับลิ้นหัวใจ หรือช่องหัวใจไม่ปิด (patent foramen ovale)[234]การตรวจเลือดปกติจะทำโดยเป็นส่วนการเก็บประวัติคนไข้ รวมทั้งการตรวจเบาหวาน และการตรวจระดับไขมันในเลือด[234]

วิธีการรักษาโรคบางอย่างต้องทำให้ทันเวลารวมทั้ง

  • การละลายลิ่มเลือด (thrombolysis) หรือการผ่าตัดเอาลิ่มเลือดออก (embolectomy) สำหรับโรคแบบหลอดเลือดอุดตัน (ischaemic stroke)
  • การผ่าตัดลดความกดดันสมอง (decompression) สำหรับโรคแบบตกเลือด (haemorrhagic stroke)[236][237]

เนื่องจากเวลาเป็นเรื่องวิกฤติสำหรับโรคนี้[238]ทั้งโรงพยาบาลทั้งหน่วยพยาบาลอื่น ๆ จะตรวจสอบอย่างเร่งด่วน

ภาพ MRI ซึ่งอาจมีใช้น้อยกว่า อาจแสดงบริเวณสมองที่มีปัญหาได้แม่นยำกว่า โดยเฉพาะโรคแบบหลอดเลือดอุดตัน[234]

คนไข้ที่อาการของโรคเกิดขึ้นแล้ว รพ. อาจรับเข้าหน่วยโรคหลอดเลือดสมอง และการรักษาจะมุ่งการป้องกันไม่ให้เกิดอาการของโรคอีกรวมทั้งให้ทานยากันลิ่มเลือด (anticoagulant) เช่น แอสไพรินหรือ clopidogrel, ยาลดความดัน และยาลดไขมันในเส้นเลือด[236]ในบางที่ อาจใช้ทีมผู้รักษาเพื่อสนับสนุนคนไข้และการฟื้นตัว ทีมรวมทั้งผู้บำบัดการพูด นักกายภาพบำบัด และนักจิตวิทยา[239][234]ประวัติการมีโรคจะเพิ่มความเสี่ยงการเกิดภาวะสมองเสื่อมราว ๆ 70% และการมีโรคเร็ว ๆ นี้เพิ่มความเสี่ยงราว ๆ 120%[240]

สมองตาย

ดูบทความหลักที่: ภาวะสมองตาย

สมองตายหมายถึงสมองที่ไม่ทำงานโดย "สิ้นเชิง" และฟื้นสภาพไม่ได้[241][242]ซึ่งมีอาการเป็นโคม่า การไร้รีเฟล็กซ์ และการหยุดหายใจ (apnea)[241]แต่การระบุว่าคนไข้สมองตายแล้วก็ต่างกันในประเทศต่าง ๆ และยังไม่ได้การยอมรับอย่างทั่วไป[242]บางประเทศยังนิยามภาวะสมองน้อยตาย (brainstem death)[upper-alpha 53]ด้วย[243]ถ้าแพทย์ระบุว่าสมองตายก็จะมีผลต่อการรักษาคนไข้โดยหลักการรักษาพยาบาลที่ไร้ประโยชน์[upper-alpha 54]คือมักจะสัมพันธ์กับการเอาเครื่องช่วยให้คนไข้รอดชีวิตได้ออก[244]และคนไข้ที่สมองตายบ่อยครั้งมีอวัยวะที่บริจาคได้[242][245]แต่บ่อยครั้งทำได้ยากเพราะสื่อสารกับครอบครัวของคนไข้ได้ไม่ดี[246]

เมื่อหมอสงสัยว่าคนไข้สมองตายแล้ว ก็จะต้องแยกวินิจฉัยอาการหรือโรคที่ฟื้นสภาพได้ เช่น สมองหยุดทำงานเนื่องกับความไม่สมดุลของอิเล็กโทรไลต์ หรือการหยุดการทำงานทางประชานเหตุประสาท (neurological cognitive suppression) หรือเหตุยา[241][244]การตรวจรีเฟล็กซ์[upper-alpha 55]สามารถช่วยให้ตัดสินได้ การไร้การตอบสนองของคนไข้หรือการหายใจก็เช่นกัน[244]สังเกตการณ์ทางคลินิก รวมทั้งการไร้การตอบสนองโดยสิ้นเชิง วินิจฉัยโรคที่รู้อยู่แล้ว หลักฐานเป็นภาพประสาท ล้วนอาจมีบทบาทให้ตัดสินได้ว่า สมองตายแล้ว[241]

แหล่งที่มา

WikiPedia: สมองมนุษย์ http://www.cerebromente.org.br/n06/historia/bioele... http://www.douglas.qc.ca/page/imagerie-cerebrale?l... http://www.unifr.ch/ifaa/Public/EntryPage/TA98%20T... http://www.anaesthesiamcq.com/FluidBook/fl2_1.php http://etymonline.com/index.php?allowed_in_frame=0... http://www.medcyclopaedia.com/library/topics/volum... http://emedicine.medscape.com/article/326510-overv... http://www.readperiodicals.com/201203/2662763741.h... http://dictionary.reference.com/browse/cerebrum http://www.scientificamerican.com/article/why-does...