ประวัติ ของ อาหารดัดแปรพันธุกรรม

เทคโนโลยีชีวภาพด้านอาหารเป็นสาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์การอาหารที่ซึ่งเทคนิคทางเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ถูกนำมาใช้ในการปรับปรุงการผลิตอาหารหรือปรับปรุงตัวอาหารเอง[10] กระบวนการทางเทคโนโลยีชีวภาพที่แตกต่างกันได้ถูกใช้ในการสร้างและพัฒนาอาหารและผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มใหม่รวมถึงอุตสาหกรรมการหมัก การปลูกพืชและพันธุวิศวกรรม[11]

การใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการทำอาหารสามารถย้อนกลับไปหลายพันปีที่ผ่านมาจนถึงยุคของชาวซูเมอร์และชาวบาบิโลเนีย กลุ่มชนเหล่านี้ใช้ยีสต์ในการทำเครื่องดื่มหมักเช่นเบียร์[12] การใช้เอนไซม์ของพืชเช่นมอลต์ถูกใช้เป็นพันปีมาแล้วก่อนที่จะมีความเข้าใจเกี่ยวกับเอนไซม์ด้วยซ้ำ[13] ความก้าวหน้าในด้านเทคโนโลยีชีวภาพด้านอาหารได้เกิดขึ้นกับการประดิษฐ์ของกล้องจุลทรรศน์โดยอันโตนี ฟัน เลเวินฮุก ซึ่งช่วยให้มนุษย์สามารถค้นพบจุลินทรีย์ที่จะถูกนำมาใช้ในการผลิตอาหาร[13] เทคโนโลยีชีวภาพด้านอาหารได้ก้าวหน้าขึ้นไปอีกในปี 1871 เมื่อ หลุยส์ ปาสเตอร์พบว่าน้ำร้อนที่อุณหภูมิหนึ่งสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ไม่ดีได้ ซึ่งจะมีผลกับไวน์และการหมัก กระบวนการนี้จะถูกนำไปใช้กับการผลิตนม การให้ความร้อนกับนมที่อุณหภูมิหนึ่งสามารถปรับปรุงสุขอนามัยด้านอาหาร[13]

วิทยาศาสตร์ด้านอาหารและเทคโนโลยีชีวภาพด้านอาหารก้าวหน้าไปรวมถึงการค้นพบของเอนไซม์ทั้งหลายและบทบาทของพวกมันในการหมักและการย่อยอาหาร การค้นพบนี้ทำให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นต่อไปของเอนไซม์ เอนไซม์ในอุตสาหกรรมทั่วไปจะใช้สารที่สกัดพืชและจากสัตว์ แต่พวกมันถูกแทนที่ในภายหลังโดยเอนไซม์จากจุลินทรีย์ ตัวอย่างหนึ่งคือการใช้ chymosin (เอนไซม์ย่อยโปรตืนที่พบในกระเพาะสัตว์ทำให้นมจับต้วเป็นก้อน) ในการผลิตเนยแข็ง โดยทั่วไปเนยแข็งมักจะถูกทำขึ้นโดยการใช้เอนไซม์ที่สกัดจากเยื่อบุกระเพาะอาหารของวัว นักวิทยาศาสตร์เริ่มใช้ chymosin แบบ recombinant ที่จะทำให้เกิดการแข็งตัวของนมทำให้ได้นมข้นเนยแข็ง (อังกฤษ: cheese curd) [13] การผลิตเอนไซม์อาหารโดยการใช้เอนไซม์จุลินทรีย์เป็นการประยุกต์ครั้งแรกของสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมในการผลิตอาหาร[14] เทคโนโลยีชีวภาพด้านอาหารได้เติบโตขึ้นไปรวมถึงการโคลนพืชและสัตว์เช่นเดียวกับการพัฒนาขั้นต่อไปของอาหารดัดแปรพันธุกรรมในหลายปีที่ผ่านมา

นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบในปี 1946 ว่าดีเอ็นเอสามารถถ่ายโอนระหว่างสิ่งมีชีวิต[15] ครั้งแรกของพืชดัดแปรพันธุกรรมถูกผลิตขึ้นในปี 1983 โดยใช้พืชยาสูบที่ทนต่อยาปฏิชีวนะ ในปี 1994 การดัดแปรพันธุกรรมมะเขือเทศ Flavr SAVR ได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยาสำหรับการตลาดในสหรัฐอเมริกา การดัดแปลงทำให้มะเขือเทศชะลอการสุกหลังจากเก็บเกี่ยว[2] ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1990 chymosin recombinant ได้รับการอนุมัติให้นำมาใช้ในหลายประเทศทดแทนกระเพาะวัวในการทำเนยแข็ง[16][14]

ในสหรัฐอเมริกาปี 1995 พืชดัดแปรพันธุกรรมต่อไปนี้ได้รับการอนุมัติให้จำหน่ายในตลาดได้: คาโนลาที่มีส่วนประกอบของน้ำมันดัดแปลง (บริษัท Calgene), ข้าวโพดแบคทีเรีย Bacillus thuringiensis (Bt) (บริษัท Ciba-Geigy), ฝ้ายทนต่อสารกำจัดวัชพืช bromoxynil (บริษัท Calgene), ฝ้าย Bt (บริษัท Monsanto), มันฝรั่ง Bt (บริษัท Monsanto), ถั่วเหลืองทนต่อสารกำจัดวัชพืช glyphosate (บริษัท Monsanto), สควอชทนต่อไวรัส (บริษัท Monsanto-Asgrow) และมะเขือเทศสุกล่าช้าเพิ่มเติม (บริษัท DNAP, Zeneca/Peto และ Monsanto) [2] ในปี 2000 ได้มีการผลิตข้าวสีทอง นักวิทยาศาสตร์อาหารได้ดัดแปรพันธุกรรมอาหารเพื่อเพิ่มคุณค่าสารอาหารของมันเป็นครั้งแรก ณ ปี 2011 สหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำในรายชื่อของประเทศที่ผลิตพืชจีเอ็ม และพืชจีเอ็ม 25 ชนิดได้รับการอนุมัติตามกฎระเบียบให้ปลูกในเชิงพาณิชย์ได้[17] ณ ปี 2013 ประมาณ 85% ของข้าวโพด 91% ของถั่วเหลือง และ 88% ของฝ้ายที่ผลิตในประเทศสหรัฐอเมริกาได้รับการดัดแปลงทางพันธุกรรม[18]

แหล่งที่มา

WikiPedia: อาหารดัดแปรพันธุกรรม http://www.biotechnologyonline.gov.au/foodag/timel... http://www.phaa.net.au/documents/policy/GMFood.pdf http://cape.ca/capes-position-statement-on-gmos/ http://www.cbc.ca/news/gmo-salmon-firm-clears-one-... http://www.hc-sc.gc.ca/sr-sr/pubs/biotech/reg_gen_... http://www.arcticapples.com/arctic-apples-story/ho... http://www.britannica.com/EBchecked/topic/557184/s... http://www.burlingtonfreepress.com/story/news/poli... http://www.chr-hansen.com/products/product-areas/e... http://www.cottonseed.com/publications/facts.asp