วิธีการปฏิบัติ ของ เรื่องอื้อฉาวการลงทุนแมดอฟฟ์

ในปี 2535 แมดอฟฟ์ได้อธิบาย "กลยุทธ์" ของเขาต่อหนังสือพิมพ์ The Wall Street Journalเขากล่าวว่าผลกำไรของเขาไม่ได้แปลกอะไร เพราะว่า ดัชนีหุ้น Standard & Poors 500 ให้ผลกำไรเฉลี่ยต่อปีที่ 16.3% ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2525 จนถึง เดือนพฤศจิกายน 2535และว่า "ผมจะแปลกใจมากถ้ามีใครคิดว่าการทำรายได้เท่ากับ S&P เป็นเวลา 10 ปีเป็นอะไรที่เด่น"แต่จริง ๆ ผู้บริหารหลักทรัพย์โดยมากทำรายได้น้อยกว่าดัชนี S&P 500 ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980หนังสือพิมพ์สรุปความว่า แมดอฟฟ์ได้ใช้สัญญาซื้อขายในอนาคต (futures และ options) เพื่อช่วยบรรเทาความเสี่ยงต่อการขึ้นลงของตลาดส่วนตัวเขาเองกล่าวว่า ค่าใช้จ่ายในการซื้อขายสัญญา ซึ่งควรจะทำให้เขาได้รายได้น้อยกว่าดัชนี มาจากผลตอบแทนที่ได้จากการเลือกซื้อขายหุ้นในเวลาที่ดี[18]

กลยุทธ์ "กุ"

วิธีการขายของแมดอฟฟ์ก็คือการอ้างกลยุทธ์ลงทุนที่อาศัยการซื้อหุ้นบลูชิป และซื้อสัญญาการค้าขายอนาคต ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่เรียกว่า split-strike conversion หรือว่า collar ดังที่เข้าให้สัมภาษณ์กับนิตยสาร ฟอบส์ ในปี 2552[32]นอกจากนั้นแล้ว ในปี 2546 เขายังได้ให้สัมภาษณ์กับ เดอะวอลล์สตรีทเจอร์นัล ว่า ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 เขาได้กำไรจากการซื้อและขายในต่างตลาดเวลาเดียวซึ่งหุ้นของบริษัทยักษ์ใหญ่ (large-cap) โดยหวังผลกำไรได้ในระหว่าง 18%-20%[32]และเริ่มตั้งแต่ปี 2535 เขาเริ่มใช้สัญญาเพื่อซื้อขายในอนาคตตามดัชนีหุ้น และได้ซื้อสัญญาเพื่อจะขายหุ้นในราคาที่แน่นอน (put option) ในช่วงเหตุการณ์ตลาดหลักทรัพย์วอลล์สตรีทตกในปี 2540[32]แต่ว่า นักวิเคราะห์จำนวนหนึ่งที่ตรวจสอบวิธีการของแมดอฟฟ์ไม่สามารถจะเลียนแบบได้ผลตามที่แมดอฟฟ์ได้โดยใช้ข้อมูลย้อนหลังของราคาหุ้นและราคาสัญญาซื้อขายในอนาคตของดัชนีหุ้น[33][34]ดังนั้น จึงปรากฏบทความในหนังสือพิมพ์ Barron's ต่อมาว่า ผลกำไรของแมดอฟฟ์อาจจะทำโดยอาศัยการซื้อขายหุ้นของกองทุนก่อนการดำเนินการซื้อขายหุ้นตามคำสั่งของลูกค้ารายอื่น ๆ (front running)[35]

ศาสตราจารย์วารสารศาสตร์ของมหาวิทยาลัยบอสตันและผู้เขียนหนังสือ กลยุทธ์ของพอนซี่ - เรื่องจริงของตำนานการเงิน (Ponzi's Scheme: The True Story of a Financial Legend) ได้กล่าวไว้ว่า กฎหมายที่บังคับให้องค์กรการกุศลใช้จ่ายเงินทุนอย่างน้อย 5% ทุกปี ทำให้กลยุทธ์พอนซี่ของแมดอฟฟ์ไม่ปรากฏเป็นระยะเวลายาวนานเพราะว่าเขาบริหารเงินโดยมากให้กับองค์กรการกุศลโดยให้ข้อสังเกตว่า "สำหรับเงินการลงทุนจากมูลนิธิทุก ๆ 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยการปฏิบัติแล้ว แมดอฟฟ์จำต้องจ่ายเงินออกเพียงแค่ 50 ล้านดอลลาร์ต่อปี"ถ้าเขาไม่ได้ลงทุนอะไรเลย แม้เพียงแค่เงินต้นทุนอย่างเดียว เขาก็จะสามารถอยู่ได้นานถึง 20 ปีโดยตั้งเป้าหมายที่องค์กรการกุศล แมดอฟฟ์สามารถหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในการถอนเงินอย่างกะทันหัน (ของลูกค้า) ที่ไม่ทันรู้ล่วงหน้าได้[36]

เมื่อสารภาพความผิด แมดอฟฟ์ยอมรับว่าเขาไม่ได้ค้าขายหุ้นเริ่มตั้งแต่ต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 แล้ว และผลกำไรที่เขาแสดงแก่ลูกค้าเป็นเรื่องกุขึ้นทั้งหมด[37]แต่ว่า ผู้สืบสวนหลักท่านหนึ่งที่ทำงานให้เจ้าหน้าที่ที่พยายามเรียกคืนทรัพย์มาคืนผู้เสียการลงทุน เชื่อว่าแผนกการบริหารทรัพย์ของแมดอฟฟ์เป็นการฉ้อฉลเริ่มมาตั้งแต่ต้น[38]

ธุรกิจของแมดอฟฟ์ต่างจากธุรกิจแบบพอนซี่โดยทั่วไป คือ ธุรกิจแบบพอนซี่โดยมากเป็นเรื่องกุขึ้นล้วน ๆ แต่แผนกนายหน้าค้าขายหุ้นของแมดอฟฟ์เป็นธุรกิจที่ดำเนินการจริง ๆ

วิธีการขาย

แทนที่จะให้ผลกำไรสูงสำหรับผู้เข้าลงทุนทุกคน แมดอฟฟ์ให้ผลกำไรพอสมควรแต่สม่ำเสมอต่อลูกค้าที่เลือกสรรโดยอ้างว่า วิธีการลงทุน "ซับซ้อนเกินกว่าที่คนนอกจะเข้าใจได้" เขาเก็บความลับเกี่ยวกับทั้งวิธีการลงทุน และงบการเงินของบริษัท[39]หนังสือพิมพ์ New York Post รายงานว่า แมดอฟฟ์ได้ใช้เครือข่ายคนยิวร่ำรวยที่เขารู้จักได้พบในสโมสรทั้งในเขต Long Island และในเมือง Palm Beach[40]หนังสือพิมพ์ เดอะนิวยอร์กไทมส์ รายงานว่า แมดอฟฟ์คุยจีบผู้บริหารชาวยิวและองค์กรชาวยิวเป็นจำนวนมาก และตามสำนักข่าว Associated Press (AP) "พวกเขาเชื่อใจ (แมดอฟฟ์) เพราะเขาเป็นคนยิว"[37]คนที่โปรโมตการลงทุนของแมดอฟฟ์ที่เด่นที่สุดเป็นคนยิวอีกคนหนึ่ง คือ นาย J. Ezra Merkin ผู้บริหารทุนหลักทรัพย์ที่ชื่อว่า Ascot Partners ที่ได้ลงทุนทรัพย์เป็นจำนวน 1,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 64,401 บาทต้นปี 2559) กับแมดอฟฟ์[41]

แมดอฟฟ์เป็นคนเก่งมากในการวางตลาด[42]โดยที่กองทุนของเขาถือว่าจำกัดเฉพาะแก่ลูกค้าบางพวก ทำให้รู้สึกว่าเป็นสิ่งที่น่าต้องการจริง ๆ[41][42]เขาโดยทั่วไปมักจะปฏิเสธที่จะพบกับผู้ลงทุนโดยตรง ซึ่งยิ่งเพิ่มความน่าสนใจที่จะลงทุนกับเขา[31]นักลงทุนบางท่านไม่กล้าที่จะถอนเงินออกจากกองทุน เพราะกลัวว่าจะกลับเข้าไปเหมือนเก่าไม่ได้ในภายหลัง[8]อัตราผลกำไรของแมดอฟฟ์สม่ำเสมออย่างไม่น่าเชื่อ[43]ที่ประมาณ 10% ซึ่งเป็นปัจจัยกุญแจสำคัญที่ทำให้การฉ้อฉลดำรงต่อไปได้[44]เพราะธุรกิจพอนซี่โดยมากให้ผลกำไร 20% หรือมากกว่านั้น จึงล้มเร็ว

กองทุนหนึ่งของแมดอฟฟ์ ซึ่งอธิบาย "กลยุทธ์" ว่าเพ่งความสนใจไปที่ ดัชนีหุ้น 100 หุ้น (Standard & Poor) และแสดงว่าให้ผลกำไร 10.5% ต่อปีใน 17 ปีที่ผ่านมาแม้จนกระทั่งว่าในช่วงท้ายเดือนพฤศจิกายน 2551 ที่ตลาดหุ้นกำลังทรุดลงอย่างต่อเนื่อง กองทุนนี้กลับรายงานผลกำไร 5.6% ในขณะที่ดัชนีหุ้น 500 (Standard & Poor) ตกลงถึง 38%[9]ผู้ลงทุนที่ไม่ต้องการออกตัวท่านหนึ่งให้ข้อสังเกตว่า "ผลกำไรที่ได้มหัศจรรย์จริง ๆ และเราได้ไว้ใจนายคนนี้มาเป็นทศวรรษ ๆ และถ้าคุณต้องการเอาเงินออก คุณก็จะได้เงินของคุณภายในไม่กี่วัน นี่เป็นเหตุที่พวกเรา (ตอนนี้) รู้สึกมึนมาก"[45][โปรดขยายความ][46]ส่วนธนาคารสวิตเซอร์แลนด์ คือ Union Bancaire Privée อธิบายว่า เพราะว่าแผนกนายหน้าซื้อขายของแมดอฟฟ์ซื้อขายหุ้นเป็นจำนวนมาก ธนาคารเชื่อว่าเขาได้เปรียบเพราะการซื้อขายของเขาสามารถเก็งเวลาได้ดี ซึ่งแสดงว่า ธนาคารเชื่อว่า แมดอฟฟ์ซื้อขายหุ้นทุนตนเองก่อนดำเนินการซื้อขายหุ้นตามคำสั่งของลูกค้า (ซึ่งเป็นเรื่องที่พิจารณาว่าไม่ถูกจริยธรรม และสถาบันการเงินหลายบริษัทในสหรัฐอเมริกาถูกจับได้ในปี 2546)[47]

การเข้าถึงนักการเมืองในวอชิงตัน ดี.ซี.

ตระกูลของแมดอฟฟ์สามารถเข้าถึงนักการเมืองและเจ้าหน้าที่ควบคุมของรัฐบาลกลางในวอชิงตัน ดี.ซี. ได้อย่างพิเศษผ่านกลุ่มองค์กรธุรกิจชั้นนำและมีความสัมพันธ์ที่ยาวนานกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสมาคมอุตสาหกรรมหลักทรัพย์และตลาดการเงิน (Securities Industry and Financial Markets Association ตัวย่อ SIFMA) ซึ่งเป็นองค์กรอุตสาหกรรมหลักทรัพย์หลักคือ นายเบอร์นาร์ด แมดอฟฟ์ ได้เป็นกรรมการของสมาคมอุตสาหกรรมหลักทรัพย์ (Securities Industry Association) ซึ่งต่อมารวมเข้ากับสมาคมตลาดพันธบัตร (Bond Market Association) ในปี 2549 กลายเป็น SIFMA ต่อจากนั้นปีเตอร์น้องชายก็ได้เป็นกรรมการของ SIFMA อีกสองวาระ[48][49]ต่อมาเมื่อการฉ้อฉลถูกเปิดเผย ปีเตอร์จึงได้ลาออกเมื่อเดือนธันวาคม 2551 ภายใต้การวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องความสัมพันธ์ของแมดอฟฟ์กับนักการเมือง และว่า ความสัมพันธ์เช่นนั้นอาจจะอำนวยให้เกิดการฉ้อฉลนี้ขึ้น[50]ในระหว่างปี 2543-2551 พี่น้องแมดอฟฟ์ได้บริจาคเงินกว่า 56,000 ดอลลาร์สหรัฐให้กับ SIFMA (ประมาณ 1,933,000 บาท)[50]และอีกเป็นหมื่น ๆ ดอลลาร์เพื่อสนับสนุนงานประชุมอุตสาหกรรมของ SIFMA[51]

นอกจากนั้นแล้ว หลานสาวของนายแมดอฟฟ์คือชานา[52]ยังมีบทบาทในคณะกรรรมการบริหารของ SIFMA ในแผนกปฏิบัติตามกฎหมาย (Compliance & Legal Division) แต่หลังจากลุงของเธอถูกจับ ก็ได้ลาออก[53]เธอได้แต่งงานกับผู้ช่วยผู้อำนวยการแผนกการตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎหมายของคณะกรรมาธิการหลักทรัพย์และการแลกเปลี่ยน (SEC) อีริค สวอนสัน[54]ซึ่งเธอได้พบในปี 2546 เมื่อเขากำลังตรวจสอบบริษัทลุงของเธอการตรวจสอบได้สิ้นสุดลงในปี 2548 และในปีต่อมา นายสวอนสันก็ได้ลาออกจาก SEC แล้วหมั้นกับชานา ต่อมาปี 2550 ทั้งสองก็ได้แต่งงานกัน[55][56][57]ส่วนโฆษกของนายสวอนสันกล่าวว่า "เขาไม่ได้มีส่วนร่วมในการตรวจสอบบริษัท Bernard Madoff Securities หรือบริษัทในเครือในขณะที่มีความสัมพันธ์" กับชานา[58]

ใกล้เคียง

เรื่องหัวใจ ไม่ไหวอย่าฝืน เรื่องเล่าเช้านี้ เรื่องอื้อฉาวการลงทุนแมดอฟฟ์ เรื่องพิศวง เด็กสาว และเทพลักซ่อน เรื่องฝันปั่นป่วยของผม เรื่องจริงหลังไมค์ของคู่หูยัยนักพากย์ เรื่องอื้อฉาวฟุตบอลไทย พ.ศ. 2560 เรื่องราวอีเหละเขะขะของแม่ลูกแม่มด เรื่องตลก 69 เรื่องเล่าการทรงสร้างในปฐมกาล

แหล่งที่มา

WikiPedia: เรื่องอื้อฉาวการลงทุนแมดอฟฟ์ http://www.theaustralian.news.com.au/business/stor... http://business.smh.com.au/business/madoffs-assets... http://www.cbc.ca/money/story/2009/06/29/madoff-po... http://www.1010wins.com/pages/3547010.php http://news.aol.com/article/did-bernard-madoff-act... http://www.bloomberg.com/apps/news?pid=20601039&si... http://www.bloomberg.com/apps/news?pid=20601087&si... http://www.bloomberg.com/apps/news?pid=20601087&si... http://www.bloomberg.com/apps/news?pid=20601087&si... http://www.bloomberg.com/apps/news?pid=20601087&si...