อาการ ของ โรคกรดไหลย้อน

แต่เท่าที่พบ ผู้ป่วยบางรายไม่ได้มาด้วยอาการแสบยอดอก เรอเปรี้ยว แต่มาหาหมอด้วยอาการของโรคหู คอ จมูก เช่น ไอเรื้อรัง เสียงแหบเรื้อรัง มีกลิ่นปาก หรืออาจมาด้วยอาการทางระบบหายใจ เช่น หอบหืด บางรายก็มาด้วยอาการเจ็บหน้าอก ซึ่งเมื่อวินิจฉัยแล้วไม่พบโรคอื่น ก็จะส่งมาที่แผนก และส่วนใหญ่จะพบว่าเป็นโรคกรดไหลย้อน

--- รศ.นพ.อุดม คชินทร (หัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล) ให้สัมภาษณ์เมื่อปี 2552[9]

รูปแบบต่าง ๆ และอาการ[10]
รูปแบบอาการ
ตรงแบบ/คลาสสิกเรอเปรี้ยว แสบร้อนกลางอก
นอกแบบจุก-แน่น-อึดอัด-เจ็บที่ยอดอก/ใต้ลิ้นปี่ อาหารไม่ย่อย คลื่นไส้ ท้องอืด ท้องเฟ้อ เรอ
อาการนอกเหนือหลอดอาหารไอเรื้อรัง หลอดลมหดเกร็ง หายใจเสียงหวีด เสียงแหบ เจ็บคอ หอบหืด กล่องเสียงอักเสบ ฟันกร่อน

ผู้ใหญ่

อาการสามัญที่สุดของโรคก็คือเรอเปรี้ยว เรอขม (คือรู้สึกถึงรสขมของน้ำดี รสเปรี้ยวของกรด ในปากหรือลำคอ) และแสบร้อนกลางอก[18] (เนื่องจากกรดไปทำให้หลอดอาหารอักเสบ)ส่วนอาการที่สามัญน้อยกว่ารวมทั้งอาการกลืนเจ็บ เจ็บคอ น้ำลายมาก คลื่นไส้[19]เจ็บปวดหน้าอก จุกแน่นบริเวณหน้าอก ลมหายใจเหม็น อาเจียน ฟันกร่อน[5]โรคนี้บางครั้งทำหลอดอาหารให้เสียหายโดยอาจเกิดดังต่อไปนี้

  • Reflux esophagitis (หลอดอาหารอักเสบเหตุกรดไหลย้อน) - เป็นการอักเสบของเยื่อบุหลอดอาหาร (esophageal epithelium) ซึ่งอาจทำให้เป็นแผลเปื่อยที่ส่วนเชื่อมระหว่างกระเพาะและหลอดอาหาร ผู้ใหญ่ที่มีหลอดอาหารอักเสบเรื้อรังเป็นเวลาหลายปีมีโอกาสสูงที่หลอดอาหารจะเปลี่ยนเป็นมีเนื้อเยื่อเสี่ยงมะเร็ง
  • Esophageal stricture (หลอดอาหารตีบ) - เป็นการตีบของหลอดอาหารที่คงยืนเนื่องจากการอักเสบเหตุกรดไหลย้อน ซึ่งทำให้มีปัญหาในการกลืน[5]
  • เยื่อบุผิวเสี่ยงมะเร็งในหลอดอาหารคือ Barrett's esophagus - เป็นการเปลี่ยนแปลงผิดปกติ (metaplasia) ในเซลล์ที่ส่วนล่างของหลอดอาหาร คือเยื่อบุหลอดอาหารแบบ stratified squamous epithelium จะแทนที่ด้วย simple columnar epithelium[20] ซึ่งบางครั้งกลายเป็นมะเร็งชนิดต่อมที่หลอดอาหาร
  • Esophageal adenocarcinoma (มะเร็งชนิดต่อมที่หลอดอาหาร) - เป็นมะเร็งชนิดหนึ่งซึ่งบ่อยมากทำให้เสียชีวิต[19][12]

โรคสามารถทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ เพราะกรดอาจเข้าไปในคอและปอด รวมทั้ง[5]

  • โรคหืด เป็นโรคระยะยาวในปอดที่ทำให้ไวเป็นพิเศษต่อสิ่งที่แพ้
  • แน่นหน้าอก หรือมีน้ำในปอด
  • ไอแห้ง ๆ เป็นระยะนาน หรือคอเจ็บ
  • เสียงแหบ
  • กล่องเสียงอักเสบ (laryngitis) ทำให้เสียงแย่ลง
  • ปอดบวม คือเชื้อที่ปอดข้างหนึ่งหรือทั้งสอง โดยเป็นใหม่บ่อย ๆ
  • หายใจเป็นเสียงหวีด

นักวิจัยบางพวกได้เสนอว่า การติดเชื้อที่หูซึ่งเป็นซ้ำ ๆ[21]และภาวะเกิดผังผืดที่ปอดซึ่งไม่ทราบสาเหตุ (idiopathic pulmonary fibrosis)[22]อาจมีความสัมพันธ์ในบางกรณีกับโรค แต่ก็ยังไม่สามารถแสดงความเป็นเหตุผล[ไม่อยู่ในแหล่งอ้างอิง]โรคดูจะไม่สัมพันธ์กับโพรงอากาศอักเสบเรื้อรัง (chronic sinusitis)[23]

อาการและผลต่อชีวิต (เอเชีย)

งาน "The Asian Burning Desires Survey" ได้สำรวจผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อน 1,020 คน ในประเทศเอเชีย 7 ประเทศ คือ จีน ฮ่องกง อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน และไทย เรื่องผลกระทบต่อการทำงานและชีวิต แล้วได้พบว่า[9]

  • 65% ของผู้ป่วยรวมที่ไปพบแพทย์ไม่รู้ว่า ตนกำลังป่วยเป็นโรคนี้
  • 75% มีอาการเรอเปรี้ยวและแสบร้อนกลางอก
  • 60% รู้สึกไม่สบาย เลี่ยงน้ำและอาหาร เหนื่อย และกังวลเรื่องโรค
  • 50% ตื่นขึ้น 1-2 ครั้งต่อเดือนเพราะอาการของโรค

เด็ก

โรคอาจรู้ได้ยากในทารกและเด็ก เพราะไม่สามารถบอกว่ารู้สึกอย่างไรโดยผู้ใหญ่ต้องสังเกตอาการเอาเองอาการอาจต่างจากของผู้ใหญ่โดยทั่ว ๆ ไปโรคในเด็กอาจทำให้อาเจียนบ่อย ๆ การขากออกโดยไม่ตั้งใจ ไอ และปัญหาการหายใจอื่น ๆ เช่น เสียงหายใจหวีดโดยอาการอื่น ๆ รวมทั้งการร้องไห้แบบปลอบไม่ได้ ปฏิเสธอาหาร ร้องไห้เรียกร้องอาหารแต่แล้วก็เอาขวดนมออก แล้วร้องขออีก น้ำหนักไม่สมวัย ลมหายใจเหม็น และเรอ ก็สามัญด้วยเหมือนกันเด็กอาจมีอาการเดียวหรือหลายอย่างไม่มีอาการไหนที่เหมือนกันในเด็กทุกคนที่เป็นโรค

ในสหรัฐอเมริกาแต่ละปี ทารกเกิดใหม่ถึง 35% อาจมีปัญหากรดไหลย้อนในช่วง 2-3 เดือนแรก[24]ทฤษฎีหนึ่งคือ "fourth trimester theory" (ทฤษฎีไตรมาสที่สี่) ซึ่งให้ข้อสังเกตว่า สัตว์โดยมากเกิดมาเคลื่อนไหวไปมาได้ทันที ส่วนมนุษย์ค่อนข้างจะช่วยตนเองไม่ได้เมื่อเกิด ซึ่งแสดงว่า อาจเคยอยู่ในครรภ์เป็นไตรมาสที่สี่ แต่ต่อมาเกิดความกดดันทางวิวัฒนาการให้มีศีรษะและสมองที่ใหญ่ขึ้นโดยก็ยังต้องลอดช่องคลอดออกมาได้ จึงต้องเกิดก่อนและทำให้ระบบย่อยอาหารยังไม่พัฒนาขึ้นเต็มที่[ต้องการอ้างอิง]เด็กโดยมากจะเลิกมีปัญหานี้ภายในปีแรกแต่ก็มีจำนวนหนึ่งซึ่งน้อยแต่ยังสำคัญ ผู้จะยังมีปัญหานี้อยู่โดยจริงเป็นพิเศษสำหรับครอบครัวที่มีประวัติโรคนี้[ต้องการอ้างอิง]

Barrett's esophagus

ดูบทความหลักที่: Barrett's esophagus

Barrett's esophagus หมายถึงการเปลี่ยนแปลงผิดปกติ (metaplasia) ในเซลล์บุเยื่อที่ส่วนล่างของหลอดอาหารคือเยื่อบุหลอดอาหารแบบ stratified squamous epithelium จะแทนที่ด้วย simple columnar epithelium ซึ่งประกอบด้วย goblet cell (ซึ่งปกติพบในส่วนล่างของทางเดินอาหาร)ความสำคัญทางการแพทย์ของอาการนี้ก็คือ สัมพันธ์อย่างมีกำลังกับมะเร็งชนิดต่อมที่หลอดอาหาร (esophageal adenocarcinoma) ซึ่งบ่อยมากทำให้เสียชีวิต[12]

โรคกรดไหลย้อนอาจแย่ลงจนกลายเป็น Barrett's esophagus[20]ซึ่งก็เป็นอาการเริ่มต้นก่อนจะเป็นมะเร็งหลอดอาหารความเสี่ยงการแย่ลงจากการเปลี่ยนแปลงผิดปกติ (metaplasia) ไปเป็นการเจริญผิดปกติ (dysplasia) ยังไม่ชัดเจน แต่ประเมินอยู่ที่ 20%[11]เนื่องจากการแสบร้อนกลางหน้าอกเรื้อรังอาจแย่ลงจนเป็น Barrett's esophagus จึงแนะนำให้ส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนบน ทุก ๆ 5 ปีสำหรับผู้แสบร้อนกลางอกเรื้อรังหรือคนไข้โรคนี้แบบเรื้อรังที่ทานยาเป็นประจำ[25]

สภาวะปกติเทียบกับโรคกรดไหลย้อน บน-หูรูดปกติ ล่าง-หูรูดในคนไข้โรคกรดไหลย้อน (การไหลย้อนของกรดและของในกระเพาะเข้าไปในหลอดอาหารทำให้แสบร้อนกลางอก) คำแปล - Esophagus=หลอดอาหาร, Stomach=กระเพาะอาหาร, Lower esophageal sphincter (closed/open)=หูรูดหลอดอาหารส่วนล่างปิด/เปิด, Normal=ปกติ, GERD=โรคกรดไหลย้อนแผนภาพแสดงโรคกรดไหลย้อน

ใกล้เคียง

โรคกรดไหลย้อน โรคกรดไหลย้อนขึ้นมาที่คอและกล่องเสียง โรคกระดูกพรุน โรคกระดูกอ่อนในเด็ก โรคกรวยไตอักเสบ โรคกระเพาะ โรคกระดูกเจริญผิดปกติชนิดไม่สามารถรอดชีวิตได้ โรคกรรมพันธุ์ โรคระบบหัวใจหลอดเลือด โรคริดสีดวงทวาร

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรคกรดไหลย้อน http://www.collinsdictionary.com/dictionary/americ... http://www.collinsdictionary.com/dictionary/americ... http://www.diseasesdatabase.com/ddb23596.htm http://www.emedicine.com/med/topic857.htm http://www.emedicine.com/ped/topic1177.htm http://www.emedicine.com/radio/topic300.htm http://www.gerd-library.com/dysplasia-and-barretts... http://www.gerdthai.com:80/ger.php http://www.gerdthai.com:80/gerd.php http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=530....