การรักษา ของ โรคกรดไหลย้อน

การปรับพฤติกรรมการกิน การนอน จะสามารถช่วยรักษาได้ 20% แต่หากใช้ยาในการรักษาจะหายได้ 80-100%

--- ผศ.นพ.สมชาย ลีลากุศลวงศ์ (อายุรแพทย์ด้านระบบทางเดินอาหาร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล) ให้สัมภาษณ์เมื่อปี 2552[9]

การรักษาโรครวมทั้งการเปลี่ยนอาหารพร้อมพฤติกรรม การใช้ยา และอาจต้องผ่าตัดการรักษาเบื้องต้นบ่อยครั้งก็คือให้ทานยายับยั้งการหลั่งกรด เช่น โอมีปราโซล[36]

การเปลี่ยนพฤติกรรม

เพื่อรักษากรดไหลย้อน แนะนำให้ปรับเปลี่ยนนิสัย และการดำเนินชีวิตประจำวัน การรักษาวิธีนี้สำคัญมากเพราะทำให้ผู้ป่วยมีอาการน้อยลง ป้องกันไม่ให้เกิดอาการ และเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย โดยลดปริมาณกรดในกระเพาะอาหาร และป้องกันไม่ให้กรดไหลย้อนกลับขึ้นไปในระบบทางเดินอาหารและทางเดินหายใจ ส่วนบนมากขึ้น ที่สำคัญการรักษาด้วยวิธีนี้ควรทำอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต แม้ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นหรือหายดีแล้วโดยไม่ต้องรับประทานยาแล้วก็ตาม[ต้องการอ้างอิง]

สถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐ (NIH) แนะนำว่า คนไข้อาจควบคุมอาการด้วยตนเองได้โดย[5]

อนึ่ง สถาบันยังแนะนำด้วยว่า โรคสามารถลดอาการได้ด้วยการเปลี่ยนอาหารและพฤติกรรมรวมทั้ง[5]

  • ลดน้ำหนักถ้าจำเป็น เนื่องจากภาวะน้ำหนักเกินจะทำให้ความดันในช่องท้องมากขึ้น ทำให้กรดไหลย้อนได้มากขึ้น
  • หลีกเลี่ยงการสวมเสื้อผ้าที่คับเกินไป โดยเฉพาะบริเวณรอบเอว เพราะมันจะบีบกระเพาะแล้วดันกรดเข้าไปในหลอดอาหาร
  • หลังอาหาร อย่านอนทันที โดยให้ตั้งตัวตรง 3 ชม. และเลี่ยงการนั่งเอนหรือนั่งหลังค่อม
  • เวลานอน ควรหนุนหัวเตียงให้สูงขึ้นประมาณ 6 - 8 นิ้วจากพื้นราบ โดยใช้วัสดุรองขาเตียง เช่น ไม้ อิฐ (โดยให้นอนตะแคงซ้าย[51])

พฤติกรรมอื่น ๆ ที่อาจได้ผลรวมทั้งเลี่ยงก้มต้วเป็นเวลานาน[52]

อย่างไรก็ดี แม้จะทำตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด การเปลี่ยนอาหารพร้อมพฤติกรรมเท่านั้นบ่อยครั้งช่วยควบคุมอาการไม่ได้ จึงจะต้องอาศัยยาด้วย[53]

อาหาร

สถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐแนะนำว่า คนไข้สามารถป้องกันหรือบรรเทาอาการของโรคโดยเปลี่ยนการกิน[5]

  • ในแต่ละมื้อ ไม่ควรรับประทานอาหารมากเกินไป ทานแค่พออิ่ม (โดยเฉพาะมื้อเย็น[15])
  • ควรรับประทานอาหารปริมาณทีละน้อย ๆ แต่บ่อยครั้ง แทนการทาน 3 มื้อปกติ
  • ไม่ทานอาหาร 2-3 ชม. ก่อนนอน
  • ลดหรืองดอาหารและเครื่องดื่มที่ก่ออาการ อาหารที่อาจทำให้อาการแย่ลงรวมทั้งช็อกโกแลต กาแฟ พืชพวกมินต์ อาหารมัน อาหารเผ็ด มะเขือเทศและผลิตภัณฑ์มะเขือเทศ (เช่น ซอสมะเขือเทศ ซอสพริก ซอสในสปาเกตตีหรือพิซซา[54]) และเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ เช่น สุรา

วิธีการทานอาหารอื่น ๆ ที่อาจได้ผลรวมทั้ง

การเปลี่ยนวิถีชีวิตตามงานวิจัยและแนวทางการรักษาของแพทย์

แม้อาหารและพฤติกรรมบางอย่างพิจารณาว่า โปรโหมตให้เกิดโรค แต่ประสิทธิผลการรักษาโรคของการเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตบางอย่างก็มีหลักฐานน้อยมาก[56][51]การเปลี่ยนพฤติกรรมต่าง ๆ รวมทั้งการยกเตียงขึ้นสูงทางศีรษะ เลี่ยงทานอาหารใกล้นอน เลี่ยงทานอาหารโดยเฉพาะ ๆ หรือเลี่ยงกิจกรรมบางโดยเฉพาะ ๆ เป็นต้น ควรจะแนะนำต่อคนไข้ที่การกระทำเช่นนั้นสัมพันธ์กับอาการเท่านั้น[38]เช่น คนไข้ที่มีปัญหาแสบร้อนกลางอกในช่วงกลางคืนอาจได้ประโยชน์ด้วยการยกหัวเตียงให้สูงขึ้น แต่การแนะนำให้คนไข้ทำเช่นนี้ผู้ไม่มีอาการตอนกลางคืนอาจไม่ได้ประโยชน์อะไร[6]

อาหารที่อาจมีผลรวมทั้งกาแฟ สุรา/แอลกอฮอล์ ช็อกโกแลต อาหารมัน (เช่นของทอด ของมัน) อาหารที่เป็นกรด (ปกติมีรสเปรี้ยว) และอาหารเผ็ด[38]

งานทบทวนวรรณกรรมและการวิเคราะห์อภิมานปี 2006 พบว่า การลดน้ำหนักและการยกศีรษะเมื่อนอนโดยทั่วไปได้ผลดี และการนอนตะแคงซ้ายก็เช่นกัน (เพราะหูรูดคลายตัวน้อยครั้งลง[15] )แม้จะทำได้ยาก[51]โดยการลดน้ำหนักแนะนำสำหรับผู้หนักเกินและผู้ที่น้ำหนักเพิ่มขึ้นเร็ว ๆ นี้[36]

หมอนรูปลิ่มที่ยกศีรษะอาจช่วยระงับกรดไหลย้อนในเวลานอนได้[57]แต่การหยุดสูบบุหรี่และการหยุดทานเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ดูจะไม่ปรับปรุงอาการอย่างมีนัยสำคัญ[51]แม้การออกกำลังกายหนักกลาง ๆ อาจช่วยปรับปรุงอาการ แต่การออกกำลังกายหนักดูเหมือนจะทำให้แย่ลง[56]

อย่างไรก็ดี แม้จะทำตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด การเปลี่ยนอาหารพร้อมพฤติกรรมเท่านั้นบ่อยครั้งช่วยควบคุมอาการไม่ได้ จึงจะต้องอาศัยยาด้วย[53]

เนื่องจากโรคกรดไหลย้อนจะมีอาการท้องอืดท้องเฟ้อร่วมด้วย คล้าย ๆ กับอาการของโรคกระเพาะอาหาร จึงทำให้คนส่วนใหญ่มักจะเหมารวมว่าตนเองอาจจะเป็นโรคกระเพาะอาหาร และไปซื้อยาลดกรด (antacids) ที่มีวางจำหน่ายตามท้องตลาดมารับประทาน ซึ่งยาประเภทนี้มีประสิทธิภาพไม่สูงพอที่จะรักษา ทำให้การรักษาไม่ตรงจุด โดยเฉพาะคนไทยเรามักจะชอบซื้อยามารับประทานเองและคิดว่าการไปพบแพทย์เป็น เรื่องใหญ่ ระยะหลังมานี้จึงพบโรคกรดไหลย้อนเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ

--- ผศ.นพ.สมชาย ลีลากุศลวงศ์ (อายุรแพทย์ด้านระบบทางเดินอาหาร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล)[15]

ประเภทยาต่าง ๆ ที่ใช้รักษา

ยาที่ใช้รักษาบางอย่างสามารถซื้อเองได้โดยไม่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์ แต่ถ้าอาการไม่หาย คนไข้ควรไปหาแพทย์ ยาประเภทต่าง ๆ ทำงานต่างกัน และอาจต้องใช้ยาร่วมกันเพื่อควบคุมอาการ[5]

ยาลดกรด - แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยานี้ก่อนสำหรับอาการแสบร้อนกลางอกและอาการอื่น ๆ ของโรค[5]

ยาต้านตัวรับเอช2 - เป็นยาลดการผลิตกรด เป็นยาบรรเทาอาการชั่วคราว และอาจช่วยรักษาหลอดอาหาร แม้จะไม่เท่ายาอื่น ๆ ถ้าคนไข้มีอาการแสบร้อนกลางอกหลังทานอาหาร แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาลดกรดบวกยานี้ เพราะแม้เมื่อยาลดกรดหมดฤทธิ์ทำกรดให้เป็นกลางแล้ว แต่ยานี้ก็ได้ระงับการผลิตกรดแล้วเช่นกัน มียาชนิดต่าง ๆ รวมทั้ง[5]

ยายับยั้งการหลั่งกรด (PPI) เป็นยาลดการผลิตกรด ซึ่งมีประสิทธิภาพรักษาอาการของโรคนี้ดีกว่ายาต้านตัวรับเอช2 มันสามารถรักษาหลอดอาหารในคนไข้โดยมาก แพทย์บ่อยครั้งสั่งยานี้เพื่อใช้ในการรักษาระยะยาว แต่ก็มีงานวิจัยที่แสดงว่า คนไข้ที่ใช้ยาในระยะยาวหรือในขนาดสูง เสี่ยงต่อกระดูกแตก/หักที่สะโพก ข้อมือ และสันหลัง คนไข้ต้องทานยาเมื่อท้องว่างเพื่อจะให้ยามีประสิทธิผล มียาชนิดต่าง ๆ รวมทั้ง[5]

ยาเพิ่มการบีบตัวของลำไส้เล็ก (prokinetic) ช่วยทำให้กระเพาะเคลียร์อาหารได้เร็วขึ้น ยาเช่น[5]

ยาปฏิชีวนะบางอย่างรวมทั้งอิริโทรมัยซิน ช่วยทำให้กระเพาะเคลียร์อาหารได้เร็วขึ้น และอาจมีผลข้างเคียงน้อยกว่ายาเพิ่มการบีบตัวของลำไส้เล็ก แต่ก็อาจทำให้ท้องร่วงได้[5]

งานวิเคราะห์อภิมานปี 2007 แสดงว่า เมื่อใช้ยาที่คนไข้หาซื้อเองได้โดยไม่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์เพื่อรักษาโรคนี้ ยาต่าง ๆ มีผลดังต่อไปนี้เมื่อเทียบกับยาหลอก[58]

  • ยาลดกรดบวกกับกรดอัลจินิก (เช่นยี่ห้อกาวิสคอน) ทำให้คนไข้รู้สึกดีขึ้นถึง 60% (NNT=4)
  • ยาต้านตัวรับเอช2 ทำให้อาการต่าง ๆ ดีขึ้นได้ถึง 41%
  • ยาลดกรดทำให้คนไข้รู้สึกดีขึ้นได้ 11% (NNT=13)

สถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐ (NIH) แนะนำให้ไปหาหมอเมื่ออาการกรดไหลย้อนไม่ดีขึ้นเมื่อทานยาลดอาการที่ไม่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์ หรือเมื่อเปลี่ยนอาหารและพฤติกรรมแล้ว แต่ให้ไปหาหมอทันทีเมื่อ[5]

  • อาเจียนเป็นจำนวนมาก
  • อาเจียนแรงเป็นประจำ
  • อาเจียนเป็นสีเขียว สีเหลือง สีน้ำตาล (คล้ายกาแฟ) หรือมีเลือด
  • มีปัญหาหายใจหลังอาเจียน
  • เจ็บปากหรือคอเมื่อทานข้าว
  • กลืนลำบากหรือกลืนเจ็บ

การรักษาด้วยยา

ภาพรวม

พบว่าประมาณร้อยละ 80-100% ของผู้ป่วยที่มีอาการของโรคกรดไหลย้อนสามารถควบคุมอาการได้ด้วยยา[9] ปัจจุบันยายับยั้งการหลั่งกรดกลุ่ม PPI เป็นยาที่ได้ผลดีที่สุด มีประสิทธิภาพสูงมากเพื่อป้องกันการแสบร้อนกลางอก เพื่อสมานแผลที่หลอดอาหาร แพทย์จะแนะนำให้ทานยากลุ่มนี้เป็นเวลา 6-8 อาทิตย์ แต่บางรายที่เป็นมาก อาจต้องใช้ยาหลายเดือนหรือเป็นปี โดยอาจปรับใช้เป็นช่วงสั้น ๆ เช่นไม่กี่วัน ตามอาการที่มี หรืออาจต้องทานติดต่อกันเป็นเวลานาน[15]

อย่างไรก็ตาม ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เมื่อใช้ยา[15]ควรรับประทานยาสม่ำเสมอตามแพทย์สั่ง ไม่ควรลดขนาดยา หรือ หยุดยาเอง นอกจากแพทย์แนะนำ และควรมาพบแพทย์ตามแพทย์นัดอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ซึ่งผู้ป่วยบางรายอาจใช้เวลานานประมาณ 1-3 เดือน กว่าที่อาการต่าง ๆ จะดีขึ้น ที่สำคัญไม่ควรซื้อยารับประทานเองเวลาป่วย เนื่องจากยาบางชนิดจะทำให้กระเพาะอาหารหลั่งกรดเพิ่มขึ้น หรือกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนล่างคลายตัวมากขึ้น[55]

เมื่ออาการต่าง ๆ ดีขึ้น และผู้ป่วยสามารถปรับเปลี่ยนนิสัยและการดำเนินชีวิตประจำวันข้างต้นดังกล่าวได้ และได้รับประทานยาต่อเนื่อง แพทย์ก็จะปรับลดขนาดยาลง[55]ส่วนถ้าทานยาแล้วไม่ดีขึ้น แพทย์อาจพิจารณาตรวจด้วยการส่องกล้อง และด้วยการวัดความกรดด่างในหลอดอาหาร[45]

การรักษาเบื้องต้น

ยาหลักที่ใช้รักษาโรคก็คือยายับยั้งการหลั่งกรด, ยาต้านตัวรับเอช2, และยาลดกรดโดยใช้หรือไม่ใช้ร่วมกับกรดอัลจินิก (alginic acid)[8]ยายับยั้งการหลั่งกรด (PPI) เช่น โอมีปราโซล ได้ผลดีที่สุด ตามมาด้วยยาต้านตัวรับเอช2 เช่น แรนิทิดีน[38]

สำหรับคนไข้ที่มีอาการไม่ซับซ้อนคือมีอาการแบบคลาาสสิก แพทย์อาจเริ่มลองรักษาด้วยยากลุ่ม PPI[35]ถ้าทานยา PPI ครั้งเดียวต่อวันเพียงได้ผลบ้าง ก็อาจใช้ได้สองครั้งต่อวัน[38] โดยเฉพาะคนไข้ที่มีอาการตอนกลางคืน มีเวลาการทำงานไม่แน่นอน และ/หรือนอนหลับได้ไม่ดี[36]

ยาควรทานครึ่ง ชม. ถึงชั่วโมงหนึ่งก่อนอาหาร โดยอาจมียาแบบใหม่ ๆ ที่ไม่จำเป็นต้องรอ[36] เช่น dexlansoprazole ซึ่งสามารถทานได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงอาหาร[45]PPI แบบต่าง ๆ ไม่แตกต่างในการรักษาอย่างสำคัญ[36]

การรักษาเมื่อดื้อยา

สำหรับคนไข้ที่ทานยา PPI อย่างเดียวไม่หาย และมีอาการตอนกลางคืน แพทย์อาจเพิ่มยาต้านตัวรับเอช2ให้ทานเวลากลางคืน แต่ผลของยาอาจมีแค่ชั่วคราวคือเดือนเดียว ส่วนยาทำการต่อหน่วยรับกาบาบี (GABAB agonist) คือ baclofen ซึ่งลดอาการหลังอาหารและหลดกรดไหลย้อนทั้งในบุคคลปกติและคนไข้โรคนี้ (โดยมีผลข้างเคียงหลายอย่างเช่นง่วงนอน คลื่นไส้ อ่อนเปลี้ยและล้า) งานทดลองปี 2012 ได้พบว่า เมื่อทานเวลากลางคืน จะช่วยลดกรดไหลย้อนและช่วยทำให้คนไข้นอนหลับได้ดีขึ้นไม่ว่าจะวัดโดยค่าที่เป็นอัตวิสัยหรือปรวิสัย ดังนั้น ยานี้อาจมีอนาคตสำหรับคนไข้ที่ยังมีอาการเมื่อใช้ PPI เต็มที่แล้วแต่ยังมีอาการตอนกลางคืน[59]

metoclopramide ซึ่งเป็นยาเพิ่มการบีบตัวของลำไส้เล็ก (prokinetic) ไม่แนะนำไม่ว่าจะใช้เดี่ยว ๆ หรือใช้กับการรักษาแบบอื่น ๆ เนื่องจากผลที่ไม่พึงประสงค์[8][38]ส่วนประโยชน์ของยาเพิ่มการบีบตัวของลำไส้เล็ก mosapride อาจอยู่ในระดับกลาง ๆ[8]โดยงานทดลองทางคลินิกแบบสุ่มปี 2011 แสดงว่า ยา PPI บวก mosapride ไม่มีผลดีกว่ายา PPI บวกยาหลอก เพื่อควบคุมอาการคนไข้แบบหลอดอาหารไม่มีแผลอาศัยงานนี้และอื่น ๆ งานทบทวนวรรณกรรมปี 2014 จึงไม่แนะนำให้ใช้ยาเพิ่มการบีบตัวของลำไส้เล็กสำหรับโรคนี้[60]ส่วนแนวทางการรักษาปี 2013 แสดงทางเลือกเป็นยา domperidone ที่แม้จะไม่ได้อนุมัติให้ใช้สำหรับโรคนี้และทั้งไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับโรคนี้ แต่ก็มีข้อมูลแสดงว่า มีผลเท่ากับของ metoclopramide เพื่อเคลียร์กระเพาะอาหาร แต่แพทย์อาจต้องคอยตรวจตราการเปลี่ยนคลื่นหัวใจ (QT prolongation) เพราะมีความเสี่ยงเล็กน้อยเนื่องจากหัวใจเต้นเสียจังหวะและทำให้ถึงตายได้[36]

แม้ยา sucralfate จะมีประสิทธิผลคล้ายกับสารต้านตัวรับเอช2แต่ก็ต้องทานหลายครั้งต่อวัน ทำให้การใช้จำกัด[8]ส่วนยาทำการต่อหน่วยรับกาบาบีคือ baclofen แม้จะมีประสิทธิผล แต่ก็มีปัญหาคล้ายกันคือต้องทานบ่อยครั้งบวกกับมีผลไม่พึงประสงค์มากกกว่ายาอื่น ๆ[8]

การรักษาดำรงสภาพ

คนไข้ที่เมื่อหมดอาการแล้วกลับมีอาการอีกเมื่อหยุดยา PPI หรือคนไข้ที่มีภาวะแทรกซ้อนเช่นหลอดอาหารอักเสบแบบมีแผล (erosive esophagitis) หรือเยื่อบุผิวเสี่ยงมะเร็งในหลอดอาหารคือ Barrett's esophagitis อาจควรใช้ยาเป็นประจำ[36][45]เมื่อใช้ยาในระยะยาว ควรใช้ในขนาดน้อยสุดซึ่งมีประสิทธิผล[38]

สำหรับคนไข้ที่ไม่มีปัญหาเรื่องแผลในหลอดอาหาร อาจสามารถทานยา PPI เพียงเมื่อตอนมีอาการ หรืออาจใช้ยาอื่น ๆ เช่น ยาต้านตัวรับเอช2 เพราะการใช้ยา PPI เป็นประจำอาจมีค่าใช้จ่ายสูง งานปี 2014 จึงแนะนำให้ใช้ยาต้านตัวรับเอช2ในระยะยาวถ้าจำเป็นเพื่อกันไม่ให้อาการกลับมา แล้วเปลี่ยนเป็นใช้ PPI ในระยะยาวถ้าโรคยังกำเริบ[45]

การตั้งครรภ์

เมื่อตั้งครรภ์ การเปลี่ยนอาหารและพฤติกรรมอาจลองดูได้ แต่บ่อยครั้งมีผลน้อยมากและแนะนำให้ใช้ยาลดกรดแบบเป็นแคลเซียมถ้าไม่ได้ผลโดยยาลดกรดแบบเป็นอะลูมิเนียมและแมกนีเซียมก็ปลอดภัยด้วย และเช่นกัน ยาต้านตัวรับเอช2 คือ แรนิทิดีน[61]และยายับยั้งการหลั่งกรดต่าง ๆ[36]

ทารก

ทารกอาจบรรเทาอาการได้ถ้าเปลี่ยนเทคนิกการให้นม เช่น เช่นให้ในปริมาณน้อยกว่าแต่บ่อยครั้งกว่า ให้เปลี่ยนอิริยาบถร่างกายเมื่อทานนม หรือเมื่อเรอบ่อยขึ้นเมื่อกำลังทานนม[62]หรือก็สามารถให้ยาได้ด้วย เช่น แรนิทิดีนหรือยายับยั้งการหลั่งกรด (PPI)[63]แต่ PPI ก็ไม่พบว่ามีประสิทธิผลในทารกและก็ไม่มีหลักฐานด้วยว่าปลอดภัย[64]

การรักษาเกินควร

การบำบัดด้วยยาระงับกรดเป็นการตอบสนองที่สามัญต่อการมีอาการต่าง ๆ ของโรคนี้ และคนไข้หลายคนอาจได้การรักษาแบบนี้มากกว่าที่กรณีของตนควร[65]การใช้วิธีการรักษานี้มากเกินเป็นปัญหาเพราะผลที่ไม่พึงประสงค์ และคนไข้ไม่ควรรักษาเกินความจำเป็น[65]ในบางกรณี คนที่มีอาการอาจรักษาด้วยยาที่ไม่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์และด้วยการเปลี่ยนอาหารพร้อมพฤติกรรม[66]ซึ่งปกติจะปลอดภัยกว่าและเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่ายาที่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์[66]มีแนวทางการรักษาที่แนะนำให้ลองรักษาอาการด้วยยาต้านตัวรับเอช2 ก่อนจะใช้ยายับยั้งการหลั่งกรดเพราะปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายและความปลอดภัย[66]

ปัญหาการใช้ยา PPI ในระยะยาว

การใช้ยายับยั้งการหลั่งกรด (PPI) ในระยะยาวสัมพันธ์อย่างมีกำลังกับการเกิดติ่งเนื้อเมือกที่ไม่ร้าย (benign polyp) จากต่อมส่วนกระพุ้งกระเพาะ (fundic gland) (ซึ่งต่างจากโรค fundic gland polyposis)ติ่งเหล่านี้ไม่ได้ก่อมะเร็งและจะหายไปเองเมื่อหยุดใช้ยายังไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ PPI กับมะเร็ง แต่การใช้ยาก็อาจอำพรางมะเร็งหรือปัญหากระเพาะปัญหาที่หนักอื่น ๆ ซึ่งแพทย์จะต้องคอยระวัง[67]

งานทบทวนวรรณกรรมปี 2017 พบความสัมพันธ์ของการใช้ยา PPI ระยะยาวกับสภาวะต่าง ๆ ในระดับไม่เท่ากันคือ[68]

การรักษาด้วยการผ่าตัด

การผ่าตัดมาตรฐานสำหรับโรคที่อาการรุนแรง รักษาด้วยาไม่ดีขึ้น เรียกว่า fundoplication (การผูกหูรูดกระเพาะอาหาร)เป็นการผ่าตัดรักษาโรคนี้ซึ่งใช้บ่อยครั้งที่สุด และในกรณีโดยมากทำให้สามารถควบคุมกรดไหลย้อนในระยะยาวได้[5]แต่ก็แนะนำสำหรับคนไข้ที่ไม่ดีขึ้นเมื่อใช้ยายับยั้งการหลั่งกรด (PPI) แล้วเท่านั้น[36]แม้คุณภาพชีวิตจะดีขึ้นในระยะสั้นเทียบกับการทานยา แต่ประโยชน์ของการผ่าตัดเหนือการรักษาด้วย PPI ในระยะยาวก็ไม่ชัดเจน[69]การผ่าตัดในประเทศไทยอาจต้องอาศัยศัลยแพทย์มือหนึ่ง ซึ่งอาจยังมีจำนวนน้อย[9]

ข้อบ่งใช้ในการผ่าตัดรักษาโรคนี้ ซึ่งปกติจะเป็นการผูกหูรูดกระเพาะอาหารหรือการผ่าตัดรักษาโรคอ้วน (bariatic surgery) รวมความไม่ต้องการใช้ยาตลอดชีวิต, การแพ้หรืออดทนต่อยาไม่ได้, อาการที่ดื้อยาบวกหลักฐานว่ามีโรคจากการส่องกล้องหรือการวัดความเป็นกรดด่างในหลอดอาหาร, โรคนี้บวกกับกระเพาะอาหารที่เลื่อนเข้าไปในช่องกลางของหน้าอก[upper-alpha 1]อย่างมาก, และอาการที่ดื้อยาบวกกับโรคอ้วนระดับเป็นเหตุโรค (morbid)[upper-alpha 11][71]

ผลดีที่สุดจะได้ในคนไข้ที่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา หรือวัดความเป็นกรดด่างในหลอดอาหารได้ผิดปกติโดยสัมพันธ์กับอาการของโรคเป็นอย่างดี แต่ไม่ดีเท่าในคนไข้ที่มีอาการไม่ตรงแบบหรือมีอาการนอกเหนือหลอดอาหาร[71] เช่น งานศึกษาหนึ่งสำรวจคนไข้หลังผ่าตัด 69 เดือน แล้วพบว่าคนไข้ได้หมดอาการหรือลดอาการต่าง ๆ เทียบกับก่อนผ่าตัด โดยมีอัตราคนไข้ดังต่อไปนี้[72]

  • แสบร้อนกลางอก 90%
  • เรอเปรี้ยว/เรอขม 92%
  • กลืนลำบาก 75%
  • เสียงแหบ (อาการนอกเหนือหลอดอาหาร) 69%
  • ไอ (อาการนอกเหนือหลอดอาหาร) 69%

การผ่าตัดจะทำให้อาการตรงแบบต่าง ๆ ของโรคดีขึ้นในระยะสั้นและระยะกลาง แต่ในระยะยาวประโยชน์ที่ได้อาจลดลง งานศึกษาหนึ่งติดตามคนไข้ในระยะ 10-13 ปี แล้วพบว่า คนไข้ทีได้ผ่าตัด 62% ยังต้องทานยารักษาโรคนี้เป็นประจำ เทียบกับคนไข้ที่รักษาด้วยยาผู้ยังต้องทานยาเป็นปกติที่ 92% ดังนั้น แม้การผ่าตัดอาจมีประสิทธิผล แต่คนไข้ไม่ควรหวังว่าจะไม่ต้องทานยาอีก[73]

แพทย์อาจผ่าตัดโดยใช้กล้องส่องตรวจช่องท้อง (laparoscope) ซึ่งเป็นหลอดเล็ก ๆ ต่อกับกล้อง ในระหว่างการผ่าตัด แพทย์จะเย็บส่วนบนของกระเพาะอาหารรอบ ๆ หลอดอาหารซึ่งเพิ่มกำลัง/แรงกดของหูรูดหลอดอาหารส่วนล่าง (LES) ลดการไหลย้อน และรักษาปัญหากระเพาะอาหารเลื่อนผ่านกะบังลม[upper-alpha 1] เป็นการผ่าตัดที่ใช้ยาชา ซึ่งคนไข้สามารถออกจาก รพ. ได้ภายใน 2-3 วัน โดยคนส่วนมากสามารถกลับไปทำกิจกรรมชีวิตได้ปกติภายใน 2-3 อาทิตย์[5][74]

ภาวะแทรกซ้อนเนื่องกับการผ่าตัดรวมทั้งกลืนลำบาก ซึ่งรุนแรงพอที่จะต้องขยายหลอดอาหาร (esophageal dilation) ในคนไข้ผ่าตัดถึง 6%, ลมในท้อง/ท้องอืดท้องเฟ้อ, และเรอไม่ได้[71]

เมื่อเทียบเทคนิคการผ่าตัดโดย fundoplication แบบต่าง ๆ partial posterior fundoplication จะมีประสิทธิผลกว่า partial anterior fundoplication[75]และ partial fundoplication ก็มีผลดีกว่า total fundoplication[76]

ในปี 2012 องค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA) ได้อนุมัติอุปกรณ์คือ LINX ซึ่งประกอบด้วยเม็ดลูกปัดโลหะที่มีแกนเป็นแม่เหล็กและต่อเป็นโซ่ และใช้พันรอบ ๆ LES ในการผ่าตัดรักษาคนไข้ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาแบบอื่น ๆเป็นวิธีการที่ปรับปรุง LES โดยไม่ต้องเปลี่ยนกายวิภาคของกระเพาะอาหาร ซึ่งหลังจากผ่าตัด 4 ปี คนไข้ 87.5% พึงพอใจกับสภาพที่ตนมี และ 80% ไม่ต้องทานยายับยั้งการหลั่งกรดเป็นประจำ [71]อาการของโรคจะดีขึ้นคล้ายกับการผ่าตัดโดย Nissen fundoplication แม้จะยังไม่มีข้อมูลในระยะยาวแต่เมื่อเทียบกับ Nissen fundoplication วีธีนี้จะลดภาวะแทรกซ้อน เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ ซึ่งเกิดอย่างสามัญเมื่อผ่าตัดปกติผลไม่พึงประสงค์รวมทั้งกลืนลำบาก เจ็บปวดหน้าอก คลื่นไส้ และอาเจียน ข้อห้ามใช้ก็คือคนไข้ที่แพ้หรืออาจแพ้ไทเทเนียม เหล็กกล้าไร้สนิม นิกเกิล หรือวัสดุที่เป็น Iron (II) oxide/ferrous oxideโดยมีคำเตือนว่า ไม่ควรใช้ในคนไข้ที่อาจต้องประสบกับ หรือต้องตรวจด้วยการสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก (MRI) เพราะอาจทำให้บาดเจ็บหนักหรืออาจทำอุปกรณ์ให้เสียหาย[77]

สำหรับคนไข้ที่ไม่ดีขึ้นเพราะยา PPI การผ่าตัดโดยใช้กล้องส่องแบบ transoral incisionless fundoplication ก็อาจช่วย[78]โดยมีผลดีอาจถึง 6 ปี[79]แม้จะได้มีรายงานว่า คนไข้ส่วนย่อยเท่านั้นที่มีคุณภาพชีวิตดีขึ้นและสามารถลดใช้ยายับยั้งการหลั่งกรดเมื่อติดตามหลังผ่าตัด 3 ปี และมีคนไข้เกินจำนวนที่ยอมรับได้ ผู้ต้องใช้ยาต่อไปอีกหรือต้องผ่าตัดเพิ่ม[80]

คนไทยจะพบโรคนี้ประมาณ 7.4% ซึ่งมากกว่าเบาหวานซึ่งจะพบแค่ 4% ของประชากรเท่านั้น แต่ผู้ที่มีโรคนี้ประมาณ 40% จะไม่กระทบกับการดำเนินชีวิตประจำวัน

--- ผศ.นพ.สมชาย ลีลากุศลวงศ์ (อายุรแพทย์ด้านระบบทางเดินอาหาร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล) ให้สัมภาษณ์เมื่อปี 2552[9]

ใกล้เคียง

โรคกรดไหลย้อน โรคกรดไหลย้อนขึ้นมาที่คอและกล่องเสียง โรคกระดูกพรุน โรคกระดูกอ่อนในเด็ก โรคกรวยไตอักเสบ โรคกระเพาะ โรคกระดูกเจริญผิดปกติชนิดไม่สามารถรอดชีวิตได้ โรคกรรมพันธุ์ โรคระบบหัวใจหลอดเลือด โรคริดสีดวงทวาร

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรคกรดไหลย้อน http://www.collinsdictionary.com/dictionary/americ... http://www.collinsdictionary.com/dictionary/americ... http://www.diseasesdatabase.com/ddb23596.htm http://www.emedicine.com/med/topic857.htm http://www.emedicine.com/ped/topic1177.htm http://www.emedicine.com/radio/topic300.htm http://www.gerd-library.com/dysplasia-and-barretts... http://www.gerdthai.com:80/ger.php http://www.gerdthai.com:80/gerd.php http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=530....