การวินิจฉัย ของ โรคกรดไหลย้อนขึ้นมาที่คอและกล่องเสียง

โรคปรากฏโดยอาการที่ไม่จำเพาะเจาะจงคือคาบเกี่ยวกับของโรคอื่น ๆ ซึ่งทำให้วินิจฉัยได้ยากเพราะอาการต่าง ๆ ทางลมหายใจและกล่องเสียงอาจมีสมุฏฐานได้หลายอย่างการวินิจฉัยโรคนี้โดยอาการเพียงอย่างเดียวจึงอาจยังเชื่อถือไม่ได้[24]

ก่อนจะวินิจฉัยโรคนี้ แพทย์จะต้องบันทึกประวัติคนไข้และถามรายละเอียดถึงอาการที่มีแบบสอบถามเช่น Reflux Symptom Index (RSI), Quality-of-Life Index (QLI) for LPR, Glottal Closure/Function Index (GCI), และ Voice Handicap Index (VHI) สามารถใช้เพื่อสอบประวัติคนไข้และอาการ[13]แล้วก็จะต้องตรวจร่างกายโดยเล็งจุดสนใจไปที่ศีรษะและคอ

วิธีวินิจฉัยที่ใช้อย่างแพร่หลายอย่างหนึ่งก็คือการทดลองรักษาด้วยยายับยั้งการหลั่งกรด (PPI)โดยให้ยา 2 ครั้งต่อวันเป็นเวลา 2-3 เดือน[upper-alpha 2]ซึ่งถ้าอาการโรคหายไปก็จะเป็นการยืนยันวินิจฉัยของโรค[34]แต่วิธีการนี้ดีที่สุดก็เพื่อวินิจฉัยโรคกรดไหลย้อนธรรมดา[13]

การใช้กล้องส่องต่อกับเส้นใยนำแสงสามารถค่อย ๆ ใส่ลงไปในคอแล้วแสดงภาพบนจอภาพซึ่งให้ภาพที่ชัดเจนของคอและกล่องเสียงอาการปรากฏของโรครวมทั้งความแดง ความบวม และความระคายเคืองที่ปรากฏชัด[13]

การตรวจสอบอื่น ๆ รวมทั้ง, 24-hour ambulatory dual probe pHmetry (การวัดความเป็นกรดด่างของหลอดอาหารที่จุดสองจุดโดยใช้ชีวิตเป็นปกติ 24 ชม), pharyngeal pHmetry (การวัดความเป็นกรดด่างที่คอหอย), transnasal esophagoscopy (TNE, การส่องกล้องดูหลอดอาหารผ่านจมูก) และการตัดเนื้อออกตรวจ ก็สามารถใช้ได้ด้วย[13][35]ส่วนการทดสอบที่ไม่เจ็บของโรคก็คือ การเก็บของที่ไหลย้อนขึ้นมาเพื่อนำไปวิเคราะห์[13]

ยังไม่มีเทคนิคการประเมินที่นักวิชาการมีมติร่วมกันเพื่อระบุโรคในเด็ก[26]เทคนิกการวัดความเป็นกรดด่างสองอย่างที่เสนอ คือ multichannel intraluminal impedance with pH monitoring (MII-pH) และ 24-hour dual probe pH monitoring มีค่าใช้จ่ายสูง และปกติจึงไม่ค่อยได้ใช้[26]

การทดลองรักษาด้วยยา

การตอบสนองต่อการบำบัดโดยระงับกรดได้เสนอว่า สามารถใช้ยืนยันวินิจฉัยของโรคแต่งานศึกษาต่าง ๆ ก็ได้แสดงว่า ในการทดลองที่อาศัยหลักฐาน การตอบสนองของคนไข้ต่อการรักษาประเภทนี้ (รวมทั้งยายับยั้งการหลั่งกรด) บ่อยครั้งน่าผิดหวัง[36]งานศึกษาหลายงานได้เน้นความสำคัญของการวัดการถูกกับกรดที่หลอดอาหารส่วนต้น หรือดีสุดคือที่กล่องเสียง ในคนไข้ที่มีอาการทางคลินิกของโรค เพื่อแสดงว่า กรดไหลย้อนเป็นเหตุ[37][38]

การส่องกล้อง

การส่องกล้องดูกล่องเสียง (laryngoscopy) เช่น ความแดง ความบวมน้ำ แกรนูโลมาของกล่องเสียง (เป็นการอักเสบอย่างหนึ่ง) และการโตเกินของ interarytenoid fold สามารถใช้เพื่อวินิจฉัยแต่ผลเหล่านี้ก็ยังไม่จำเพาะเจาะจง และปรากฏในบุคคลที่ไม่มีอาการของโรคโดยมากด้วย[39]ถึงกระนั้น วิธีการตรวจนี้ก็ยังอาจสำคัญเพราะความสัมพันธ์ของโรคนี้กับมะเร็งกล่องเสียงงานวิจัยแสดงว่าคนไข้ 25% จะมีแผลในหลอดอาหาร และ 7% จะมีเยื่อบุผิวเสี่ยงมะเร็งในหลอดอาหารแบบ Barrett's esophagus[35]งานหนึ่งได้เสนอว่า แผลที่กล่องเสียง (lesion) มีความจำเพาะที่ 91% โดยคนไข้ที่มีอาการนี้ 88% จะตอบสนองต่อการรักษาด้วยยายับยั้งการหลั่งกรด (PPI)และอีกงานหนึ่งได้สร้างแบบรวมคะแนน คือ Reflux finding score (RFS) ตามอาการต่าง ๆ ที่พบโดยส่องกล้องแบบติดเส้นใยนำแสง ซึ่งผู้พัฒนาพบว่า เมื่ออาการที่ส่องกล้องพบได้คะแนนรวมถึงระดับหนึ่ง จะเป็นตัวแสดงนัยถึงโรคนี้[40]

กล้องชนิดต่าง ๆ ที่ใช้รวมทั้งกล้องตรวจเฉพาะกล่องเสียง (indirect หรือ rigid หรือ flexible), กล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนบน (EGD), และ fibre-optic transnasal laryngoscopy (การส่องกล้องแบบเส้นใยนำแสงผ่านจมูก)[13][35]

การวัดความเป็นกรดด่าง

ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่: โรคกรดไหลย้อน § pH monitoring

การวัดการไหลย้อนของกรดที่ดีสุดก็คือวิธี multichannel intraluminal impedance pH monitoring ซึ่งสามารถตรวจสิ่งไหลย้อนทั้งที่เป็นกรด ไม่เป็นกรด และเป็นของเหลวมากไปด้วยแก๊ส[41]ถึงอย่างนั้น ค่าวัดที่ได้ก็ต่าง ๆ กันอย่างมาก จึงไม่มีมติร่วมกันว่าอะไรเป็นค่าผิดปกติ[42]โดยอาจได้ค่าต่าง ๆ กันเพราะเหตุทางชีวภาพในแต่ละบุคคล[43]มีความไวต่อโรคนี้เมื่อวัดใต้กล่องเสียงเพียงแค่ 40%[44]และเป็นตัวใช้บ่งชี้ความรุนแรงของอาการโรคนี้ได้ไม่ดี[45]อนึ่ง ยังจัดเป็นหัตถการทำให้เจ็บ (invasive) มีค่าใช้จ่ายสูง ทำได้ในบางองค์กรเท่านั้น และไม่มีเกณฑ์มาตรฐานร่วมกันในการวินิจฉัยโรค ดังนั้น จึงมักใช้ในบางกรณีเท่านั้น เช่น ในงานวิจัยหรือในคนไข้ที่ต้องการผ่าตัด[35]

ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ

อนึ่ง มีการตรวจสอบตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ (biomarker) ของโรคหลายอย่างซึ่งรวมทั้งโปรตีน cytokine (ซึ่งมีบทบาทในการอักเสบ), carbonic anyhydrase, e-cadherin, และ mucinแต่ความเป็นเหตุโดยตรงของโปรตีนพวกนี้ก็ยังไม่ได้หลักฐาน[46]

การมีเพปซินซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ผลิตในกระเพาะอาหารในคอหอยส่วนกล่องเสียง (hypopharynx) ก็เป็นตัวบ่งชี้ทางชีวภาพของโรคที่ได้วิจัยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ[47][48]งานวิจัยแสดงว่า เพปซินมีบทบาทที่ขาดไม่ได้ในกลไกอันซับซ้อนของโรค[49]เช่นพบว่ากล่องเสียงจะเสียหายได้ก็จะต้องมีกรดบวกกับเพปซิน[50]เป็นตัวก่อความเสียหายในการไหลย้อนที่ไม่เป็นกรด[51],เพราะสามารถคงสภาพอยู่ในกล่องเสียงได้แล้วทำความเสียหายอาศัยกรดจากภายในหรือแม้ภายนอกซึ่งมากระทบภายหลัง[52]

การวินิจฉัยแยกโรค

งานทบทวนหลักฐานปี 2008 ของสมาคมวิทยาทางเดินอาหารอเมริกันชี้แจงว่า วิธีการกำหนดโรคกรดไหลย้อนว่าเป็นเหตุของอาการนอกหลอดอาหารยังเป็นเรื่องที่ไม่ลงตัว และการสรุปใช้เกณฑ์วินิจฉัยต่าง ๆ อาจทำให้วินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้มากเกินไป ซึ่งทำให้เสียค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบและการรักษาซ้ำ ๆ อย่างไร้ผล โรคที่เป็นปัจจัยหรือเป็นปัจจัยร่วมที่มักจะพิจารณาไม่เพียงพอรวมทั้ง[32]

อนึ่ง โรคและสภาวะอื่น ๆ ที่มีอาการคล้ายกับโรคนี้รวมทั้ง[53]

  • โรคภูมิแพ้เรื้อรังทางหู คอ จมูก
  • กล่องเสียงอักเสบเหตุติดเชื้อ เช่น เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย หนองใน วัณโรค และเชื้อรา
  • โรคที่มีอาการไอเรื้อรังอื่น ๆ รวมทั้งโพรงอากาศอักเสบเรื้อรัง โรคหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และวัณโรค
  • เนื้องอกกล่องเสียงหรือ postcricoid tumor
  • สายเสียงพิการ (vocal cords paralysis) จากอัมพาต อุบัติเหตุ หรือมะเร็งปอด
  • การใช้เสียงมากหรือไม่ถูกวิธี
  • ทานอาหารหรือยาที่ก่อความระคายเคืองต่อกล่องเสียง
  • กล่องเสียงอักเสบแบบเป็นแผลเปื่อยที่ไม่ทราบสาเหตุ (idiopathic ulcerative laryngitis)

ใกล้เคียง

โรคกรดไหลย้อน โรคกรดไหลย้อนขึ้นมาที่คอและกล่องเสียง โรคกระดูกพรุน โรคกระดูกอ่อนในเด็ก โรคกรวยไตอักเสบ โรคกระเพาะ โรคกระดูกเจริญผิดปกติชนิดไม่สามารถรอดชีวิตได้ โรคกรรมพันธุ์ โรคระบบหัวใจหลอดเลือด โรคริดสีดวงทวาร

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรคกรดไหลย้อนขึ้นมาที่คอและกล่องเสียง http://linkinghub.elsevier.com/retrieve/pii/S1072-... http://www.hindawi.com/journals/ijoto/2012/646901/ http://www.linxforlife.com http://www.refluxgate.com/ http://journals.sagepub.com/doi/10.1177/0194599817... http://women.sanook.com/health/healthcare/sick_350... http://www.stretta-therapy.com http://www.voiceinstituteofnewyork.com/silent-refl... http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1111/nyas.13... http://content.wkhealth.com/linkback/openurl?sid=W...