สาเหตุ ของ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

สาเหตุหลักของ COPD คือการสูบบุหรี่ ร่วมกับการได้รับสัมผัสทางอาชีพ และมลพิษทางอากาศจากเพลิงไหม้ภายในสถานที่ เป็นสาเหตุสำคัญในบางประเทศ[1] โดยทั่วไปการได้รับสัมผัสเหล่านี้ต้องเกิดขึ้นเป็นเวลาหลายสิบปีก่อนที่อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้น[1] พันธุกรรมของบุคคลก็มีผลกะทบต่อความเสี่ยงเช่นกัน[1]

การสูบบุหรี่

Percentage of females smoking tobacco as of the late 1990s early 2000s
Percentage of males smoking tobacco as of the late 1990s early 2000s. Note the scales used for females and males differ.[22]

ปัจจัยเสี่ยงสำคัญสำหรับ COPD ในทั่วโลกคือการสูบบุหรี่[1] ประมาณ 20% ของผู้ที่สูบบุหรี่จะเป็น COPD[23] และจำนวนครึ่งหนึ่งของผู้ที่สูบบุหรี่เป็นเวลานานเกือบชั่วชีวิตจะเป็น COPD[24] ในประเทศสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร 80-95% ของผู้ที่เป็น COPD นั้นเป็นผู้ที่สูบบุหรี่ในปัจจุบันหรือเคยสูบบุหรี่[23][25][26] แนวโน้มในการพัฒนาโรคของ COPD เพิ่มขึ้นจากการได้รับสัมผัสจากการสูบบุหรี่ทั้งหมด [27] นอกจากนี้แล้ว เพศหญิงยังมีความไวต่อผลกระทบที่เป็นอันตรายของการสูบบุหรี่สูงกว่าเพศชาย[26] ในผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ การอยู่ใกล้ชิดผู้ที่สูบบุหรี่คือกรณีที่เป็นสาเหตุของโรคประมาณ 20%[25] การสูบประเภทอื่นๆ อาทิเช่น การสูบกัญชา ซิการ์ และไปป์น้ำ ก็ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงเช่นกัน[1] หญิงที่สูบบุหรี่ในระหว่างการตั้งครรภ์อาจเพิ่มความเสี่ยงของ COPD ในเด็กได้[1]

มลพิษทางอากาศ

การถ่ายเทที่ไม่ดีของควันไฟจากการทำอาหาร ซึ่งส่วนมากใช้เชื้อเพลิงจากถ่านหินหรือเชื้อเพลิงมวลชีวภาพ เช่น ไม้ และมูลสัตว์ ที่ส่งผลต่อมลพิษทางอากาศภายในอาคารและเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของ COPD ในประเทศที่กำลังพัฒนา[28] ควันไฟจากรูปแบบของการทำอาหารและการทำความร้อนเหล่านี้ส่งผลให้ผู้คนจำนวนเกือบ 3 พันล้านคนได้รับผลกระทบทางสุขภาพมากขึ้น โดยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงเนื่องจากการได้รับสัมผัสที่สูงกว่า[1][28] เชื้อเพลิงเหล่านี้ถูกใช้เป็นแหล่งเชื้อเพลิงหลักของพลังงานในครัวเรือน ซึ่งคิดเป็น 80% ในประเทศอินเดีย จีนและแอฟริกาใต้สะฮารา[29]

ประชากรที่อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่มีอัตราของ COPD สูงกว่าเมื่อเทียบกับประชากรที่อาศัยอยู่ในชนบทห่างไกล[30] ขณะที่มลพิษทางอากาศในชนบทมีปัจจัยที่ส่งผลเป็นการกำเริบของโรค บทบาทโดยรวมของมลพิษทางอากาศที่เป็นสาเหตุของ COPD นั้นยังไม่ทราบอย่างชัดเจน[1] โดยทั่วไปพื้นที่ต่างๆ ที่มีคุณภาพอากาศภายนอกอาคารที่ไม่ดี รวมถึงจากควันไอเสียนั้นมีอัตราของ COPD ที่สูงกว่า[29] อย่างไรก็ตาม ผลกระทบโดยรวมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่นั้นเชื่อว่ามีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น[1]

การได้รับสัมผัสทางอาชีพ

การได้รับสัมผัสของฝุ่น สารเคมี และควันในสถานที่ทำงานในขนาดเข้มข้นและเป็นเวลานานนั้นทำให้ทั้งผู้ที่สูบบุหรี่และผู้ที่ไม่สูบบุหรี่มีความเสี่ยงของ COPD มากขึ้น[31] โดยเชื่อว่าการได้รับสัมผัสทางอาชีพนั้นเป็นสาเหตุของการป่วยที่คิดเป็น 10-20%[32] ในสหรัฐอเมริกา คนที่นั่นเชื่อว่ามีความเกี่ยวข้องกับการป่วยที่คิดเป็น 30% ของกลุ่มผู้ที่ไม่เคยสูบบุหรี่และอาจแสดงความเสี่ยงที่สูงกว่าในประเทศที่ไม่มีระเบียบข้อบังคับที่มีประสิทธิภาพ[1]

จำนวนของอุตสาหกรรมและแหล่งที่มาก็มีส่วนเกี่ยวข้อง รวมถึง[29] ระดับความเข้มข้นสูงของฝุ่นในการทำเหมืองถ่านหิน การทำเหมืองทองและอุตสาหกรรมสิ่งทอจากฝ้าย อาชีพที่เกี่ยวข้องกับแคดเมียมและไอโซไซยาเนต และควันจากการเชื่อมโลหะ[31] Working in agriculture is also a risk.[29] ในบางอาชีพความเสี่ยงนี้มีการประมาณว่าเท่ากับการสูบบุหรี่จำนวนครึ่งซองถึงสองซองต่อวัน[33] การได้รับสัมผัสฝุ่นจากซิลิกาก็สามารถส่งผลเป็น COPD ได้เช่นกัน อนึ่งความเสี่ยงนี้ไม่เกี่ยวข้องกับโรคฝุ่นหินจับปอด[34] ผลกระทบเชิงลบของการได้รับสัมผัสฝุ่นและการสูบบุหรี่คือการเสพติดหรืออาจยิ่งกว่าการเสพติด[33]

พันธุกรรม

พันธุกรรมมีบทบาทในการพัฒนาของ COPD[1] ซึ่งโดยทั่วไปพบในกลุ่มญาติของผู้ที่เป็น COPD ซึ่งเป็นผู้ที่สูบบุหรี่มากกว่าผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่[1] ในปัจจุบัน ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถสืบทอดได้ที่แน่ชัดนั้นคือการพร่องอัลฟ่า วัน-แอนติทริพซิน (AAT) เท่านั้น[35] ความเสี่ยงนี้มีระดับสูงก็ต่อเมื่อบุคคลนั้นพร่องอัลฟ่า วัน-แอนติทริพซิน พร้อมกับการสูบบุหรี่[35] สาเหตุนี้คิดเป็นประมาณ 1-5% ของผู้ป่วย[35][36] และสภาวะนี้คิดเป็นประมาณ 3-4 คนจากจำนวน 10,000 คน[2] ปัจจัยทางพันธุกรรมอื่นๆ นั้นอยู่ในระหว่างการศึกษาวิจัย[35] ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะมีจำนวนมาก[29]

อื่นๆ

จำนวนของปัจจัยอื่นๆ นั้นมีความเกี่ยวข้องกับ COPD น้อยกว่า ความเสี่ยงนี้เพิ่มสูงขึ้นในกลุ่มคนจน ถึงแม้ว่าจะไม่เป็นที่ชัดเจนว่าเนื่องมาจากความยากจนหรือปัจจัยเสี่ยงอื่นที่เกี่ยวข้องกับความยากจน อาทิเช่น มลพิษทางอากาศและทุพโภชนาการ[1] มีหลักฐานที่อาจเป็นไปได้ว่ากลุ่มผู้ที่เป็นโรคหอบหืดและภาวะระบบทางเดินหายใจตอบสนองไวเกินนั้นมีความเสี่ยงของ COPD เพิ่มมากขึ้น[1] ปัจจัยจากการเกิด เช่น น้ำหนักน้อยเมื่อคลอด อาจมีบทบาทต่อการเป็นโรคติดเชื้อบางอย่างเช่นกัน รวมถึงเอชไอวี /เอดส์และวัณโรค[1] การติดเชื้อของระบบหายใจ เช่น ปอดบวมนั้นไม่แสดงว่าเป็นปัจจัยความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของ COPD อย่างน้อยก็ในผู้ใหญ่[2]

การกำเริบของโรค

การกำเริบของโรคอย่างเฉียบพลัน(อาการทรุดลงอย่างรวดเร็ว)[37] นั้นโดยมากมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อหรือมลพิษจากสิ่งแวดล้อม หรือบางครั้งโดยปัจจัยอื่น เช่น การใช้ยาอย่างไม่ถูกต้อง[38] การติดเชื้อซึ่งดูเหมือนจะเป็นสาเหตุนั้นคิดเป็น 75% ของผู้ป่วย[38][39] โดยเชื้อแบคทีเรียคิดเป็น 25% เชื้อไวรัส 25% และทั้งสองเชื้อ 25%[40] มลพิษจากสิ่งแวดล้อมนี้ ได้แก่ คุณภาพของอากาศทั้งภายในและภายนอกอาคาร[38] การได้รับสัมผัสโดยการสูบบุหรี่ของบุคคลนั้นและการอยู่ใกล้ชิดผู้ที่สูบบุหรี่นั้นเป็นการเพิ่มความเสี่ยง[29] อากาศเย็นอาจมีบทบาทด้วยเช่นกัน โดยการกำเริบของโรคส่วนใหญ่เกิดขึ้นในฤดูหนาว[41] กลุ่มผู้ที่มีโรคร้ายแรงกว่าแอบแฝง จะมีการกำเริบของโรคบ่อยครั้งกว่า: ในโรคเล็กน้อยคิดเป็น 1.8 ครั้งต่อปี ขั้นปานกลาง 2 ถึง 3 ครั้งต่อปีและขั้นรุนแรงคือ 3.4 ครั้งต่อปี[42] กลุ่มผู้ที่มีการกำเริบของโรคหลายครั้งมีอัตราการเสื่อมสภาพของการทำงานของปอดที่สูงกว่า[43] ในผู้ป่วยที่เคยเป็น COPD มาก่อนสิ่งหลุดอุดหลอดเลือด (เลือดอุดกั้นในปอด) อาจทำให้อาการทรุดลงได้[3]

ใกล้เคียง

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคปอดอักเสบจาก pneumocystis jirovecii โรคปอดอักเสบจากการใช้บุหรี่ไฟฟ้า โรคปอดบวม โรคปอดเรื้อรังในทารกแรกเกิด โรคของปอด โรคอารมณ์สองขั้ว โรคอัลไซเมอร์ โรคจอตามีสารสี โรคออทิซึม

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง http://books.google.ca/books?id=0CXcUnr-0eoC&pg=PA... http://books.google.ca/books?id=1h6vu60L6FcC&pg=PA... http://books.google.ca/books?id=2F-DPG0c5IMC&pg=PT... http://books.google.ca/books?id=2sOJk-yKPpUC&pg=PT... http://books.google.ca/books?id=48gaALnXhcQC&pg=PA... http://books.google.ca/books?id=945lM1g_uQoC&pg=PA... http://books.google.ca/books?id=9bYbE87FbtMC&pg=PA... http://books.google.ca/books?id=D5n6lqqxkNUC&pg=PA... http://books.google.ca/books?id=DiTThQJkc0UC&pg=PA... http://books.google.ca/books?id=H4Sv9XY296oC&pg=PA...