การปริทัศน์เป็นระบบ ของ ไขมันอิ่มตัวกับโรคหัวใจร่วมหลอดเลือด

สาระสำคัญ

งานปริทัศน์เป็นระบบ ความสัมพันธ์ระหว่างโรคหัวใจร่วมหลอดเลือดกับกรดไขมันอิ่มตัว
American Heart Association: Presidential Advisory on Dietary Fats and Cardiovascular Disease[5] การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมแสดงว่า การลดทานไขมันอิ่มตัวและแทนด้วยไขมันพืชไม่อิ่มตัวแบบมีพันธะคู่หลายคู่ (PUFA) ลดโรคหัวใจร่วมหลอดเลือดประมาณ 30% ซึ่งใกล้กับที่พบเมื่อรักษาด้วยยาลดไขมันในเส้นเลือด statin
Hamley, 2017[13] งานทบทวนวรรณกรรมนี้ไม่พบผลของการเปลี่ยนไขมันอิ่มตัวเป็นไขมันไม่อิ่มตัวแบบมีพันธะคู่หลายคู่ (PUFA) ต่ออัตราการตายแบบรวมหรืออัตราการตายเพราะโรคหัวใจร่วมหลอดเลือด งานสรุปว่า หลักฐานที่มีจากงานทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมที่ทำดีพอแสดงว่า การเปลี่ยนไขมันอิ่มตัว (SFA) เป็น n-6 PUFA โดยมากไม่น่าจะลดปัญหาโรคหลอดเลือดหัวใจ, อัตราการตายเพราะโรคหลอดเลือดหัวใจ (CHD) และอัตราการตายโดยรวม ประโยชน์ที่แสดงในงานวิเคราะห์อภิมานก่อน ๆ ปรากฎเพราะรวมการทดลองที่มีกลุ่มควบคุมซึ่งไม่ดีพอ ข้อมูลใหม่นี้มีผลตามมาสำหรับข้อแนะนำอาหารในปัจจุบัน
Hooper, 2015[19] งานทบทวนวรรณกรรมนี้พบว่า การลดไขมันอิ่มตัวโดยเปลี่ยนเป็นไขมันไม่อิ่มตัว ลดความเสี่ยงปัญหาหัวใจร่วมหลอดเลือด 14% แต่ไม่มีผลลดไขมันทั้งหมด ไขมันอิ่มตัวไม่มีผลต่ออัตราการตายโดยรวมหรืออัตราการตายเพราะโรคหัวใจร่วมหลอดเลือด งานสรุปว่า การเปลี่ยนไขมันอาหารมีผลลดความเสี่ยงโรคหัวใจร่วมหลอดเลือดเล็กน้อยแต่สำคัญ แต่ไม่ลดไขมันทั้งหมดในงานทดลองที่ยาวกว่า ข้อแนะนำการเปลี่ยนพฤติกรรมสำหรับคนไข้ที่เสี่ยงโรคหัวใจร่วมหลอดเลือดและแม้แต่กลุ่มประชากรที่เสี่ยงน้อยกว่า ควรคงรวมการลดไขมันอิ่มตัวในอาหารและการทดแทนด้วยไขมันไม่อิ่มตัวโดยทำตลอดชีวิต
Ramsden, 2016[14] งานสรุปว่า หลักฐานจากการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมแสดงว่า การแทนไขมันอิ่มตัวด้วย linoleic acid ลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด แต่ไม่สนับสนุนสมมติฐานว่า นี่เท่ากับลดความเสี่ยงตายเพราะโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ หรือลดความเสี่ยงตายเพราะโรคทั้งหมด
de Souza, 2015[15] งานสรุปว่า ไขมันอิ่มตัวไม่สัมพันธ์กับอัตราการตายโดยรวม หรือโรคหัวใจร่วมหลอดเลือด (CVD) หรือโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ (CHD) หรือโรคหลอดเลือดสมองเหตุขาดเลือด (ischemic stroke) หรือโรคเบาหวานประเภท 2 แต่หลักฐานก็ต่าง ๆ กันเพราะใช้วิธีการต่าง ๆ กัน
Schwab, 2014[20] งานสรุปว่า มีหลักฐานที่น่าเชื่อถือว่า การเปลี่ยนกรดไขมันอิ่มตัวเป็นบางส่วนด้วย ไขมันไม่อิ่มตัวแบบมีพันธะคู่หลายคู่ (PUFA) ลดความเสี่ยงโรคหัวใจร่วมหลอดเลือดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในชาย
Chowdhury, 2014[16] งานสรุปว่า หลักฐานที่มีไม่ชัดเจนพอให้สนับสนุนแนวทางที่ให้บริโภคไขมันไม่อิ่มตัวแบบมีพันธะคู่หลายคู่ (PUFA) เป็นส่วนมากและไขมันไม่อิ่มตัวเป็นส่วนน้อย
Farvid, 2014[21] งานสรุปว่า ในงานศึกษาตามแผนแบบสังเกต (prospective observational study) กรด linolenic ในอาหารสัมพันธ์กับความเสี่ยงโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ (CHD) ที่ลดลง ข้อมูลนี้สนับสนุนคำแนะนำในปัจจุบันให้เปลี่ยนไขมันอิ่มตัวเป็นไขมันไม่อิ่มตัวแบบมีพันธะคู่หลายคู่ (PUFA) เป็นวิธีหลักเพื่อป้องกัน CHD
Ramsden, 2010[22] การเปลี่ยนไขมันอิ่มตัวด้วยกรดไขมันโอเมกา-3 และโอเมกา-6 (ซึ่งเป็นไขมันไม่อิ่มตัวแบบ n-3 และ n-6 PUFA) ลดความเสี่ยงหัวใจล้มที่ไม่ถึงตายและความตายเพราะโรคหัวใจร่วมหลอดเลือดประมาณ 22% แม้การแทนด้วยกรดไขมันโอเมกา-6 อย่างเดียวจะเพิ่มแนวโน้มความเสี่ยง 13% โดยไม่มีนัยสำคัญ งานสรุปว่า ตามหลักฐานของงานทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมดังกล่าว คำแนะนำให้เพิ่มทาน n-6 PUFA ไม่น่าจะมีประโยชน์และจริง ๆ อาจเพิ่มความเสี่ยงโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจและการตาย
Jakobsen, 2009[23] นี่เป็นงานวิเคราะห์อภิมานเดียวที่เก็บข้อมูลจากงานศึกษาแบบสังเกตโดยใช้ข้อมูลผู้เข้าร่วมรายบุคคล จึงพิจารณาว่ามีมาตรฐานสูง ข้อมูลที่รวมกันแสดงว่า การทดแทนพลังงานอาหารจากไขมันอิ่มตัวทุก ๆ 5% ด้วยไขมันไม่อิ่มตัวแบบมีพันธะคู่หลายคู่ (PUFA) ลดความเสี่ยงปัญหาหลอดเลือดหัวใจประมาณ 13% และลดอัตราการตาย 26% เทียบกับทดแทนด้วยคาร์โบไฮเดรตที่เพิ่มความเสี่ยง 7% และเพิ่มแนวโน้มความเสี่ยงการตายเพราะหลอดเลือดแต่ไม่มีนัยสำคัญ ส่วนการบริโภคกรดไขมันไม่อิ่มตัวแบบมีพันธะคู่เดี่ยว (MUFA) ไม่มีผลต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ

รายละเอียดงานปริทัศน์

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

ใกล้เคียง

ไขมัน ไขมันอิ่มตัวกับโรคหัวใจร่วมหลอดเลือด ไขมันไม่อิ่มตัว ไขมันทรานส์ ไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่หลายคู่ ไขมันพืช ไขมันเนย ไขมันไม่อิ่มตัวที่มีพันธะคู่เดี่ยว ไขมันอิ่มตัว ไขมันหมู

แหล่งที่มา

WikiPedia: ไขมันอิ่มตัวกับโรคหัวใจร่วมหลอดเลือด http://www.heartfoundation.org.au/SiteCollectionDo... http://www.scielo.br/pdf/spmj/v134n2/1806-9460-spm... http://myweb.dal.ca/susanhal/temporary/GFD2.pdf http://www.heartandstroke.ca/get-healthy/healthy-e... http://www.bmj.com/content/351/bmj.h4962 http://www.nutritionevidencelibrary.com/evidence.c... http://www.bda.uk.com/foodfacts/cholesterol.pdf http://www.efsa.europa.eu/en/efsajournal/pub/1461 http://www.fda.gov/Food/LabelingNutrition/Consumer... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2676998