ความเห็น ของ ไขมันอิ่มตัวกับโรคหัวใจร่วมหลอดเลือด

ความเห็นส่วนมาก

ในหนังสือเฉพาะทาง

หนังสือ European Society of Cardiology Textbook of Cardiovascular Medicine ปี 2009 อ้างงานศึกษาตามแผนว่า ความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างการทานไขมันกับโรคหัวใจร่วมหลอดเลือด มาจากไขมันแบบอิ่มตัว[24]

หนังสือ Cardiovascular Prevention and Rehabilitation ปี 2007 อ้างว่า งานศึกษาทางวิทยาการระบาดขนาดใหญ่ได้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างการทานไขมันอิ่มตัวกับ อัตราการตายเพราะโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจอย่างคงเส้นคงวา[25]

หนังสือ Critical Pathways in Cardiovascular Medicine ปี 2007 อ้างว่า การแทนไขมันอิ่มตัวด้วยไขมันไม่อิ่มตัวอาจลดคอเลสเตอรอลแบบไม่ดี (LDL) โดยไม่ลดคอเลสเตอรอลแบบดี (HDL)หลักการนี้เป็นเหตุส่วนหนึ่งที่อาหารแบบเมดิเตอร์เรเนียนสัมพันธ์กับอัตราการเกิดปัญหาหัวใจร่วมหลอดเลือดที่ลดลงในงานทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมสองงาน[26]

หนังสือ Evidence-based Cardiology ปี 2003 แนะนำให้ทานไขมันอิ่มตัวน้อย โดยเป็นพลังงานอาหารที่ทานน้อยกว่า 7% ต่อวัน และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีกรดไขมันมิริสติกมาก[upper-alpha 1]และกรดไขมันปาล์ม[upper-alpha 2]โดยเฉพาะคำแนะนำนี้ประเมินว่า ได้หลักฐานในขั้นดีที่สุด[29]

จุดยืนและแนวทางขององค์กรสุขภาพหลัก ๆ

การแพทย์

ในปี 2003 องค์การอนามัยโลกและองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติออกรายงานของผู้เชี่ยวชาญโดยสรุปว่า "การทานกรดไขมันอิ่มตัวสัมพันธ์กับความเสี่ยงโรคหัวใจร่วมหลอดเลือดโดยตรงเป้าหมายทั่วไปก็คือให้จำกัดทานกรดไขมันอิ่มตัวให้น้อยกว่า 10% ของพลังงานที่ได้ทั้งวัน และให้น้อยกว่า 7% สำหรับกลุ่มเสี่ยงถ้ากลุ่มประชากรทานน้อยกว่า 10% อยู่แล้ว ก็ไม่ควรเพิ่มให้มากกว่านี้และภายในขีดจำกัดเช่นนี้ ให้เปลี่ยนอาหารที่มีกรดไขมันมิริสติก[upper-alpha 1]และกรดไขมันปาล์ม[upper-alpha 2] เป็นอาหารที่มีน้ำมันเช่นนี้น้อยลงแต่ในประเทศกำลังพัฒนาที่กลุ่มประชากรบางพวกได้พลังงานไม่พอ ใช้พลังงานมาก และร่างกายสะสมไขมันน้อย (ดัชนีมวลกาย <18.5 กก./ม.2)ควรพิจารณาทั้งคุณภาพและปริมาณของไขมันโดยนึกถึงความจำเป็นเพื่อให้ได้พลังงานพอด้วยเพราะแหล่งไขมันอิ่มตัวบางอย่าง เช่น น้ำมันมะพร้าวและน้ำมันปาล์ม อาจให้พลังงานในราคาย่อมเยา และอาจเป็นแหล่งพลังงานสำคัญสำหรับคนจน"[1]

แนวทางปี 2007 ของสมาคมหทัยวิทยายุโรป (ESC) อ้างว่า การทานไขมันอิ่มตัวสัมพันธ์อย่างมีกำลัง อย่างคงเส้นคงวา และเป็นไปตามขนาด กับระดับคอเลสเตอรอลในเลือดและการเกิดโรคหัวใจร่วมหลอดเลือดและยอมรับว่า นี่เป็นความสัมพันธ์โดยเหตุ[30]

คลินิกมาโย (Mayo Clinic) พิจารณาไขมันอิ่มตัวว่าอาจเป็นอันตราย และไขมันไม่อิ่มตัวแบบมีพันธะคู่เดี่ยว (MUFA) และแบบมีพันธะคู่หลายคู่ (PUFA) ว่าอาจมีประโยชน์องค์กรอ้างอิงรายงาน แนวทางอาหารสำหรับชาวอเมริกัน 2010 (Dietary Guidelines for Americans) แนะนำให้ลดอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวมาก และเน้นทานอาหารที่มีไขมันแบบไม่อิ่มตัวทั้งแบบมีพันธะคู่เดี่ยว (MUFA) และแบบพันธะคู่หลายคู่ (PUFA) มากกว่า[31]

สมาคมอาหารและสารอาหารบริติช (ฺBDA) พบหลักฐานที่ดีในงานปริทัศน์เป็นระบบซึ่งทบทวนงานทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมว่า การลดไขมันอิ่มตัวทำให้คนไข้โรคหัวใจร่วมหลอดเลือดดีขึ้น[32]

สมาคมอาหารและสารอาหารอเมริกัน (ADA) องค์กรนักโภชนาการแคนาดา (DC) มีจุดยืนว่า งานศึกษาวิทยาการระบาดแสดงว่า การทานกรดไขมันอิ่มตัวสัมพันธ์กับการเกิดโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ[3]

คณะสาธารณสุขของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดมีจุดยืนว่า ควรแทนที่ไขมันอิ่มตัวด้วยไขมันไม่อิ่มตัวแบบมีพันธะคู่เดี่ยว (MUFA) หรือหลายคู่ (PUFA) แบบ cis แต่ไม่ควรแทนด้วยคาร์โบไฮเดรตขัดสี[33]

องค์กรสุขภาพหัวใจ

มูลนิธิหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองแห่งแคนาดาประเมินว่า การทานไขมันอิ่มตัวเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลแบบไม่ดี (LDL) ในเลือด ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจร่วมหลอดเลือด[34]เป็นจุดยืนเช่นเดียวกัยของสมาคมหัวใจอเมริกัน (AHA)[5]ของมูลนิธิหัวใจบริติช (BHF)[6]ของมูลนิธิหัวใจแห่งชาติออสเตรเลีย[35]ของมูลนิธิหัวใจแห่งชาตินิวซีแลนด์[36]และของสหพันธ์หัวใจแห่งโลก (WHF)[8]

ส่วนมูลนิธิหัวใจไอริชอ้างว่า ไขมันอิ่มตัวอาจเพิ่มคอเลสเตอรอลแบบไม่ดี (LDL) และเพิ่มโอกาสการเกิดโรคหัวใจหรือโรคหลอดเลือดสมอง[37]

รัฐบาล

กระทรวงเกษตรสหรัฐ (USDA) และกระทรวงสาธารสุขสหรัฐ (HHS) ซึ่งมีหน้าที่ตีพิมพ์ แนวทางอาหารสำหรับชาวอเมริกัน 2010 (The Dietary Guidelines for Americans) กล่าวว่า ร่างกายมนุษย์ผลิตไขมันอิ่มตัวได้เองเพียงพอและไม่จำเป็นต้องได้จากอาหารกล่าวว่า ไขมันอิ่มตัวที่สูงกว่าสัมพันธ์กับการมีคอเลสเตอรอลทั้งหมด (total cholesterol) และคอเลสเตอรอลแบบไม่ดี (LDL) ที่สูงกว่า และแนะนำให้ลดทานไขมันอิ่มตัว[38]เป็นการแนะนำอาศัยงานทบทวนวรรณกรรม 12 งานระหว่างปี 2004-2009 ที่ได้สรุปโดยมีหลักฐานที่ดี (strong) ว่า ไขมันอิ่มตัวจากอาหารเพิ่มคอเลสเตอรอลทั้งหมดและแบบ LDL ตลอดจนเพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจร่วมหลอดเลือด[39][40]

บทความบรรณาธิการ ความเห็น และข้อสรุปงานประชุม

การอภิปรายปี 2010 ที่งานประชุมของสถาบันอาหารและสารอาหาร (Academy of Nutrition and Dietetics) สรุปว่า ในเรื่องไขมันอิ่มตัว ประเด็นสำคัญที่คณะกรรมการและชุมชนนักวิทยาศาสตร์เห็นร่วมกันก็คือ การแทนไขมันอิ่มตัวด้วยไขมันไม่อิ่มตัวแบบมีพันธะคู่หลายคู่ (PUFA) มีประโยชน์ต่อสุขภาพและโรคหัวใจร่วมหลอดเลือดแนะนำให้นักโภชนาการเน้นใช้ไขมันไม่อิ่มตัวแบบมีพันธะคู่เดี่ยว (MUFA) และหลายคู่ (PUFA) เท่าที่ทำได้ และให้เลี่ยงไขมันทรานส์อนึ่ง แม้หลักฐานต่อต้านไขมันอิ่มตัวอาจจะไม่ดีเท่าที่แนวทางการทานอาหารต่าง ๆ จะยกขึ้น แต่ก็ชัดเจนว่า PUFA และ MUFA เป็นไขมันที่ดีต่อสุขภาพ และแม้ไม่อาจกำจัดไขมันอิ่มตัวออกจากอาหารที่ทานได้ ก็ไม่ควรมองว่าดีต่อร่างกาย[41]

งานทบทวนวรรณกรรมปี 2010 พบว่า ความเสี่ยงโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจจะลดลงเมื่อแทนกรดไขมันอิ่มตัวด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัวแบบมีพันธะคู่หลายคู่ (PUFA) แต่ไม่มีประโยชน์ถ้าแทนด้วยคาร์โบไฮเดรตหรือไขมันไม่อิ่มตัวแบบมีพันธะคู่เดียว (MUFA)[42]

งานทบทวนวรรณกรรมปี 2009 พบว่า หลักฐานที่คุณภาพดีสุดแสดงว่า การลดทานไขมันอิ่มตัวลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ[43]

งานทบทวนวรรณกรรมปี 2009 อีกงานหนึ่งพบว่า หลักฐานทางวิทยาการระบาดแสดงนัยว่า ไขมันอิ่มตัวมีผลลบต่อเส้นเลือด แต่หลักฐานแบบทดลองไม่สนับสนุนข้อสรุปเช่นนี้อย่างน่าเชื่อถือ[44]

การคัดค้านความเห็นหลัก

รายงานการประชุมทางวิทยาศาสตร์ปี 2009 ระบุว่า แม้ผลิตภัณฑ์นมที่ทานในอาหารจะมีไขมันอิ่มตัว แต่หลักฐานก็ไม่ชัดเจนว่า การบริโภคผลิตภัณฑ์นมสัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจร่วมหลอดเลือดอย่างคงเส้นคงวา[45]

นักวิทยาศาสตร์บางกลุ่มวิจารณ์ แนวทางอาหารสำหรับชาวอเมริกัน 2010 ว่า "อ้างหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องอย่างไม่สมบูรณ์ซึ่งแสดง ตีความ และย่อความวรรณกรรมที่มีอย่างไม่ถูกต้องแล้วสรุปหรือแนะนำโดยไม่พิจารณาข้อจำกัดหรือข้อขัดแย้งที่มีทางวิทยาศาสตร์" และอ้างว่า หลักฐานที่สัมพันธ์ไขมันอิ่มตัวในอาหารกับการเพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจร่วมหลอดเลือดยังไม่สามารถสรุปได้[17]

งานวิเคราะห์อภิมานปี 2010 สรุปว่า ไม่มีหลักฐานยืนยันว่า ไขมันอิ่มตัวในอาหารสัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจร่วมหลอดเลือด[12]แต่ข้อสรุปนี้ก็ถูกโต้แย้ง[46]และผู้เขียนงานเองก็ระบุในภายหลังว่า "คำถามสำคัญข้อหนึ่งก็คือ สารอาหารอะไรควรใช้แทนที่ไขมันอิ่มตัว...งานศึกษาทางวิทยาการระบาดและงานทดลองทางคลินิกแบบสุ่มได้แสดงหลักฐานอย่างคงเส้นคงว่าว่า การเปลี่ยนไขมันอิ่มตัวด้วยไขมันไม่อิ่มตัวแบบมีพันธะคู่หลายคู่ (PUFA) แต่ไม่ใช่คาร์โบไฮเดรต มีประโยชน์ต่อโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ"[47]

ในปี 2015 วารสารการแพทย์เดอะบีเอ็มเจ ได้พิมพ์ (ใน op-ed) ความเห็นของนักวิชาการผู้หนึ่งต่อต้านการแนะนำให้ทานไขมันอิ่มตัวน้อยลง โดยย่อความงานปริทัศน์เป็นระบบและงานวิเคราะห์อภิมาน แล้วเสนอว่า ผลของการลดไขมันอิ่มตัวในอาหารต่อความชุกโรคของโรคหัวใจร่วมหลอดเลือดไม่มีนัยสำคัญ[48]แต่นักวิทยาศาสตร์กว่า 180 ท่านต่อมาก็ได้เรียกร้องให้ถอนบทความนี้[49][50]จึงกลายเป็นบทความที่ถูกแก้ถึง 2 ครั้ง[51][52]

ใกล้เคียง

ไขมัน ไขมันอิ่มตัวกับโรคหัวใจร่วมหลอดเลือด ไขมันไม่อิ่มตัว ไขมันทรานส์ ไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่หลายคู่ ไขมันพืช ไขมันเนย ไขมันไม่อิ่มตัวที่มีพันธะคู่เดี่ยว ไขมันอิ่มตัว ไขมันหมู

แหล่งที่มา

WikiPedia: ไขมันอิ่มตัวกับโรคหัวใจร่วมหลอดเลือด http://www.heartfoundation.org.au/SiteCollectionDo... http://www.scielo.br/pdf/spmj/v134n2/1806-9460-spm... http://myweb.dal.ca/susanhal/temporary/GFD2.pdf http://www.heartandstroke.ca/get-healthy/healthy-e... http://www.bmj.com/content/351/bmj.h4962 http://www.nutritionevidencelibrary.com/evidence.c... http://www.bda.uk.com/foodfacts/cholesterol.pdf http://www.efsa.europa.eu/en/efsajournal/pub/1461 http://www.fda.gov/Food/LabelingNutrition/Consumer... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2676998