หลังการยึด ของ การยึดกรุงไซ่ง่อน

ไซ่ง่อนเปลี่ยนมือ

ฝ่ายคอมมิวนิสต์เปลี่ยนชื่อเมืองเป็นนครโฮจิมินห์ ตามชื่อของอดีตประธานาธิบดีเวียดนามเหนือ แต่ตัวชื่อเองไม่ค่อยถูกใช้นัก นอกจากในธุระทางการ[44] ความสงบค่อยๆ กลับคืนมา แม้ว่ากิจการและธุรกิจเป็นจำนวนมาก รวมไปถึงสถานทูตสหรัฐฯ ที่ถูกทิ้งร้างจะถูกปล้นไปหมดแล้ว ในขณะการติดต่อสื่อสารสู่โลกภายนอกถูกตัด ฝ่ายคอมมิวนิสต์พบว่า กลไกของพรรคคอมมิวนิสต์ในเวียดนามใต้นั้นอ่อนแอลงไป ส่วนหนึ่งก็เนื่องจากโครงการฟีนิกซ์ของ CIA ที่กำจัดเวียดกงไปเป็นจำนวนมาก กองทัพเวียดนามเหนือจึงทำหน้าที่ในการรักษาความสงบแทน พลเอกเตรียน วัน ตรา รองของพลเอกจุ๋ง ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ว่าการชั่วคราว[42] ทางการคอมมิวนิสต์ใหม่จัดงานเดินขบวนฉลองชัยชนะในวันที่ 7 พฤษภาคม[45]

ตามข้อมูลของรัฐบาลฮานอย ชาวเวียดนามใต้มากกว่า 200,000 คน ซึ่งประกอบไปด้วยเจ้าหน้าที่รัฐและทหารถูกส่งไปยัง "ค่ายอบรมใหม่" ที่ๆ พวกเขาต้องเผชิญกับทารุณกรรม, โรคภัยไข้เจ็บและความอดอยาก[46]

จุดมุ่งหมายอีกข้อหนึ่งของรัฐบาลคอมมิวนิสต์คือการลดจำนวนประชากรที่อาศัยอยู่ในไซ่ง่อน ซึ่งกลายเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยคนที่เพิ่งเข้ามาอาศัยอยู่ระหว่างช่วงสงครามเป็นจำนวนมาก ทำให้มีมีปัญหาประชากรหนาแน่นเกินไปและมีอัตราการว่างงานสูง รัฐบาลทำการจัดตั้งชั้นเรียนเพื่ออบรมใหม่ให้กับอดีตทหารเวียดนามใต้ ที่ระบุให้นักเรียนย้ายออกจากเมืองไปทำกสิกรรมเพื่อแลกกับการได้รับสถานะพลเมืองของสังคมคืนมา มีการแจกข้าวให้กับคนยากจนเพื่อแลกกับสัญญาที่จะออกจากไซ่ง่อนไปยังชนบท ตามข้อมูลของรัฐบาล ภายในสองปีของการยึดเมือง มีคนย้ายออกจากไซ่ง่อนหนึ่งล้านคน[44]

วันที่ 30 เมษายนถูกจัดให้เป็นวันรวมประเทศ หรือวันปลดแอก (Ngày Giải Phóng) ซึ่งถือเป็นวันนักขัตฤกษ์ในเวียดนาม อย่างไรก็ตาม วันที่เวียดนามรวมประเทศกันอย่างเป็นทางการคือวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2519

การประเมินผลการอพยพ

มีการถกเถียงกันว่าการอพยพถือเป็นความสำเร็จหรือไม่ หลังจากสิ้นสุดสงคราม ปฏิบัติการฟรีเควียนท์วินด์ได้รับการประเมินโดยทั่วว่าเป็นความสำเร็จในระดับน่าพึงพอใจ แม้แต่หวั่น เตี๋ยง จุ๋งยังยอมรับในหนังสือบันทึกความทรงจำของเขา และหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์สกล่าวว่าการอพยพถูกจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพและกล้าหาญ[47] แต่ก็มีการตำหนิว่าการอพยพทางอากาศนั้นช้าเกินไปและไม่เด็ดขาด ทำให้อพยพประชาชนและทหารชาวเวียดนาม ที่ร่วมงานกับสหรัฐฯ ได้ไม่มากพอ

เอกอัครราชทูตมาร์ตินไม่สนใจคำตำหนิและกล่าวโทษ และไม่อธิบายแรงจูงใจใดๆ ของสิ่งที่เขาทำไปให้สื่อรับฟัง การกระทำของมาร์ตินสามารถตีผลออกได้สองด้าน ด้านหนึ่งเขาคือคนที่ยอมให้คนเวียดนามใต้ที่อาจจะหนีไม่พ้น หนีไปได้ แต่อีกด้านหนึ่ง เขาก็เป็นคนที่ทิ้งให้ชาวเวียดนามอีกหลายพันคนที่เหลือไม่สามารถหนีรอดไปได้ การอพยพอาจทำให้เกิดความตื่นตระหนก ซึ่งอาจทำให้ต้องสูญเสียชีวิตคนอเมริกัน หรืออาจเป็นไปในทางตรงกันข้าม อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ตอนเริ่มการอพยพ ประธานาธิบดีฟอร์ดและเฮนรี คิสซิงเจอร์คำนึงถึงเพียงแค่การอพยพบุคลากรอเมริกันที่สำคัญอยู่แล้ว

กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ประมาณการว่ามีลูกจ้างชาวเวียดนามที่ทำงานให้กับสถานทูตสหรัฐฯ ตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน โดยรวมครอบครัวของพวกเขาไปด้วย มีจำนวนถึง 90,000 คน ในคำให้การของมาร์ตินต่อรัฐสภา เขายืนยันว่ามีการอพยพลูกจ้างเหล่านั้นออกไปเพียง 22,294 คนเท่านั้นในช่วงปลายเดือนเมษายน[48] มีผู้ร่วมงานชาวเวียดนามเป็นหมื่นๆ คน ที่ทำงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ของสหรัฐฯ ทั้งกระทรวงการต่างประเทศ, CIA, กองทัพ รวมไปถึงนายทหารอีกจำนวนมากที่เสี่ยงต่อการล้างแค้น และชะตากรรมของพวกเขานั้น ไม่มีผู้ใดทราบ

ใกล้เคียง

การยึดกรุงไซ่ง่อน การยึดครองญี่ปุ่น การยึดครองเซอร์เบียของออสเตรีย-ฮังการี การยึดครองเยอรมนีของสยาม การยึดครองกลุ่มรัฐบอลติก การยึดกรุงคาบูล (พ.ศ. 2564) การยึดครองโรมาเนียของโซเวียต การยึดครองพม่าของญี่ปุ่น การยึดครองกัมพูชาของญี่ปุ่น การยึดครองเมืองซารันจ์