รายละเอียดการสอบ ของ การสอบขุนนาง

หลักสูตร

ในปี ค.ศ. 115 มีการคิดค้นหลักสูตรวิชาสำหรับผู้เข้าสอบเป็นครั้งแรก โดยกำหนดให้มีการทดสอบความสามารถใน "ศิลปะหกแขนง (Six Arts) " คือ

  • วิชาศิลป์ (Scholastic arts) 4 วิชา ได้แก่ ดนตรี (music) คณิตศาสตร์ (arithmetic) การคัดลายมือ (writing) และความรู้เกี่ยวกับพิธีกรรมทั้งพิธีในที่สาธารณะและในชีวิตส่วนตัว
  • วิชาทหาร (Militaristic) 2 วิชา ได้แก่ การขี่ม้า (horsemanship) และยิงธนู (archery)

จำนวนวิชาที่สอบในแต่ละสมัยอาจมีความแตกต่างกันไป เช่นในเวลาต่อมามีการขยายหลักสูตรเพื่อให้ครอบคลุม "คัมภีร์ทั้งห้า (Five Studies) " ได้แก่ ยุทธศาสตร์ทางทหาร (military strategy) กฎหมายแพ่ง (civil law) รายได้และภาษีอากร (revenue and taxation) เกษตรศาสตร์ (agriculture) ภูมิศาสตร์ (geography) และปรัชญาขงจื๊อ (Confucian classics)

ในราชวงศ์สุย (ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 6) อันเป็นรัชสมัยที่มีการเริ่มใช้ระบบการคัดเลือกบุคลากรเข้ามารับราชการ โดยนักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ให้ความเห็นตรงกันว่าเป็นการริเริ่มนำเอาระบบคุณธรรม (merit system) มาใช้เป็นมาตรฐานการสอบอย่างจริงจังเป็นครั้งแรก

คุณวุฒิ

Stone flagpole planted at the examiner's abode indicating the jinshi imperial examination status

การสอบผ่านได้รับคุณวุฒิระดับต่าง ๆ นั้น เป็นเสมือนการสร้าง "บันไดสู่ความสำเร็จ" โดยการสอบสำเร็จได้เป็นจิ้นชื่อ (อังกฤษ: jinshi, จีน: 進士, พินอิน: Jìnshì, แปลตามตัวอักษรว่า "บัณฑิตขั้นสูง (advanced scholar) ") ซึ่งถือได้ว่ามีระดับเทียบเท่าปริญญาเอกในปัจจุบัน เป็นคุณวุฒิที่ปัญญาชนจำนวนมากในสมัยนั้นมักแสวงหาและใฝ่ฝัน ถ้าสอบได้เป็นจิ้นซื่อ จะมีโอกาสได้รับตำแหน่งขุนนางระดับสูง ดังนั้นการสอบระดับจิ้นซื่อจึงยากที่สุด มีคนจำนวนมากที่เข้าสอบชั่วชีวิตก็ไม่อาจประสบความสำเร็จ  หรือมีบ้างที่สอบได้ก็ต่อเมื่ออายุกว่า 50 ปี ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดายิ่งในเวลานั้น

ระดับคุณวุฒิต่าง ๆ ในการสอบขุนนาง ได้แก่

  • ถงเชิง (อังกฤษ: tongsheng, จีน: 童生, พินอิน: Tóngshēng, แปลตามตัวอักษรว่า "นักศึกษาเด็ก" (child student) ") คือผู้ที่สอบผ่านระดับต้น หรือระดับท้องถิ่นในขั้น เซี่ยนชื่อ (county exam) และ ฝู่ชื่อ (prefecture exam) โดยไม่ว่าผู้สอบผ่านนั้นจะมีอายุเท่าใดก็ตามก็จะถูกเรียกด้วยคำนี้ เป็นการสอบที่เทียบได้กับการสอบเพื่อเข้าศึกษาต่อในปัจจุบัน[17]
  • เชิงหยวน (อังกฤษ: shengyuan, จีน: 生員, พินอิน: Shēngyuán, แปลตามตัวอักษรว่า "สมาชิกนักศึกษา (student member) ") หรืออีกชื่อหนึ่งที่นิยมใช้เรียกมากกว่า คือ ชิ่วไฉ (อังกฤษ: xiucai, จีน: 秀才, พินอิน: Xiùcái, แปลตามตัวอักษรว่า "ผู้มีพรสวรรค์ (distinguished talent) ") คือผู้ที่สอบผ่านระดับต้น หรือระดับท้องถิ่นในขั้น ย่วนชื่อ (college exam) ซึ่งจะได้รับสิทธิพิเศษทางสังคม เช่น ได้รับการยกเว้นจากการถูกเกณฑ์ไปใช้แรงงาน (statute labour) ได้รับสิทธิในการเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวก และจำกัดการลงโทษทางกาย มีการแบ่งระดับต่อไปอีก 3 ระดับ ตามผลการสอบ คือ
    • หลิ่นเชิง (อังกฤษ: linsheng, จีน: 廩生, พินอิน: Lǐnshēng, แปลตามตัวอักษรว่า "นักศึกษายุ้งฉาง (granary student) ") เป็นระดับสูงสุดของเชิงหยวน คือผู้ที่มีความสามารถสอบได้คะแนนในระดับดีที่สุดของการสอบย่วนชื่อ (college exam) ซึ่งนักศึกษากลุ่มนี้จะได้รับรางวัลจากราชการในการสำเร็จการสอบด้วย โดยสามารถเข้าศึกษาต่อในบัณฑิตยสถานของราชสำนัก (Imperial Academy)  ได้ในฐานะเป็น ก้งเชิง (อังกฤษ: gongsheng, จีน: 貢生, พินอิน: Gòngshēng, แปลตามตัวอักษรว่า "นักศึกษาบรรณาการ (tribute student) ") และยังเป็นผู้ที่มีสิทธิเข้าสอบในระดับมณฑลหรือ เซียงชื่อ ได้ และอาจมีบางคนสามารถข้ามระดับไปสอบในระดับเมืองหลวงได้ด้วย
      • อั้นโฉ่ว (อังกฤษ: anshou, จีน: 案首, พินอิน: Ànshǒu, แปลตามตัวอักษรว่า "ที่หนึ่งในโต๊ะเรียน (first on the desk) ") คือผู้ที่สอบได้อันดับที่หนึ่งหรือสูงสุดในบรรดานักศึกษาหลิ่นเชิง และในบรรดานักศึกษาเชิงหยวน ด้วยเช่นกัน
    • เซิงเชิง (อังกฤษ: zengsheng, จีน: 增生, พินอิน: Zēngshēng, แปลตามตัวอักษรว่า "นักศึกษาขยาย (expanded student) ") คือผู้ที่สอบได้ในระดับที่สอบหรือระดับรองลงมาในกลุ่มนักศึกษาเชิงหยวน และนักศึกษาหลิ่นเชิง
    • ฟู่เชิง (อังกฤษ: fusheng, จีน: 附生, พินอิน: Fùshēng, แปลตามตัวอักษรว่า "นักศึกษาเพิ่มเติม (attached student) ") คือผู้ที่สอบได้ในระดับที่สามของกลุ่มนักศึกษาเชิงหยวน และเป็นกลุ่มสำรองในการคัดเลือกเข้ารับราชการ เมื่อมีตำแหน่งว่างก็จะได้เข้ารับราชการ ถือว่าเป็นผู้สอบผ่านแต่ยังคงต้องการการปรับปรุงพัฒนาอีก
  • จู่เหริน (อังกฤษ: juren, จีน: 舉人, พินอิน: Jǔrén, แปลตามตัวอักษรว่า "ผู้ได้รับการแนะนำ (recommended man) ") คือผู้ที่ผ่านการสอบคัดเลือกในระดับมณฑล (provincial exam) ซึ่งจัดขึ้นทุก ๆ 3 ปี
    • เจี้ยหยวน (อังกฤษ: jieyuan, จีน: 解元, พินอิน: Jièyuán, แปลตามตัวอักษรว่า "ผู้เข้าสอบระดับบน (top escorted examinee) ") คือจู่เหริน ที่สอบได้เป็นอันดับที่หนึ่ง หรืออันดับสูงสุดในการสอบระดับมณฑล
  • ก้งชื่อ (อังกฤษ: gongshi, จีน: 貢士, พินอิน: Gòngshì, แปลตามตัวอักษรว่า "บัณฑิตบรรณาการ (tribute scholar) ") คือผู้ที่ประสบความสำเร็จในการสอบระดับเมืองหลวง (หรืออาจเรียกว่าระดับประเทศก็ได้) ที่มีการจัดสอบเป็นประจำทุก ๆ 3 ปี หากบัณฑิตคนใดสอบได้เป็น "ก้งชื่อ" จะมีสิทธิได้รับคัดเลือกจากกษัตริย์ให้เป็นผู้ถวายการรับใช้ ดังนั้นการสอบได้เป็นก้งชื่อ จึงถือว่าได้เป็นการก้าวสู่เส้นทางการเป็นขุนนางอย่างหนึ่ง[17]
    • ฮุ้ยหยวน (อังกฤษ: huiyuan, จีน: 會元, พินอิน: Huì yuán, แปลตามตัวอักษรว่า "ผู้เข้าสอบการประชุมระดับบน (top conference examinee) ") คือบัณฑิตก้งชื่อ ทีสอบได้อันดับสูงสุดของการสอบระดับเมืองหลวง (หรือระดับประเทศ, national exam)
  • จิ้นชื่อ (อังกฤษ: jinshi, จีน: 進士, พินอิน: Jìnshì, แปลตามตัวอักษรว่า "บัณฑิตขั้นสูง (advanced scholar) ") คือผู้ที่สอบผ่านการสอบระดับราชสำนัก หรือระดับราชวัง ที่จัดขึ้นทุก ๆ 3 ปี หากบัณฑิตคนใดสอบได้เป็นจิ้นซื่อ ก็เท่ากับมีโอกาสได้เป็นขุนนางในราชสำนักค่อนข้างแน่นอนแล้ว
    • จิ้นชื่อ จี๋ตี้ (อังกฤษ: jinshi jidi, จีน: 進士及第, พินอิน: Jìnshì jí dì, แปลตามตัวอักษรว่า "จิ้นชื่อผู้โดดเด่น (distinguished jinshi) ") คือบัณฑิตจิ้นชื่อ ที่สอบได้คะแนนระดับสูงสุดในการสอบราชสำนัก ซึ่งมักหมายถึงผู้ที่สอบได้ 3 แรก
      • จอหงวน (อังกฤษ:, จีน: 狀元, พินอิน: Zhuàngyuán, แปลตามตัวอักษรว่า "top thesis author") คือบัณฑิตจิ้นชื่อ ที่สอบได้อันดับที่หนึ่งของประเทศ จอหงวนเป็นวิทยฐานะที่มีเกียรติสูงและมีสิทธิหลายอย่างที่บุคคลอื่นไม่อาจจะมี เช่นอาจได้เป็นอัครมหาเสนาบดีเป็นต้น
      • ปั้งเหยี่ยน/ป๋างั่ง (อังกฤษ: bangyan, จีน: 榜眼, พินอิน: Bǎngyǎn, แปลตามตัวอักษรว่า "eyes positioned alongside") คือบัณฑิตจิ้นชื่อ ที่สอบได้อันดับที่สอง หรือเป็นรองแค่บัณฑิตจอหงวน เท่านั้น
      • ทั่นฮวา/ท่ำฮวย(อังกฤษ: tanhua, จีน: 探花, พินอิน: Tànhuā, , แปลตามตัวอักษรว่า "flower snatcher") คือบัณฑิตจิ้นชื่อ ที่สอบได้อันดับที่สาม
    • จิ้นชื่อ ชูเซิน (อังกฤษ: jinshi chushen, จีน: 進士出身, พินอิน: Jìnshì chūshēn, lit. "jinshi background") คือกลุ่มบัณฑิตที่สอบได้ระดับรองลงมาจากทั่นฮวา
    • ถงจิ้นชื่อ ชูเซิน (อังกฤษ: tong jinshi chushen, จีน: 同進士出身, พินอิน: Tóng jìnshì chūshēn, แปลตามตัวอักษรว่า "along with jinshi background") คือกลุ่มบัณฑิตที่สอบได้ระดับรองลงมาเป็นระดับที่สามในการสอบราช่สำนัก คือรองจากระดับจิ้นชื่อ ชูเซิน ลงมา

การสอบเลื่อนขั้นหรือตำแหน่ง

นอกจากการสอบปกติแล้ว ยังมีการจัดสอบเพื่อจุดประสงค์อื่น ๆ โดยเฉพาะเป็นครั้งคราว โดยมากมักเป็นการสอบเพื่อคัดเลือกบุคลากรที่มีพรสวรรค์และความสามารถโดดเด่นเพื่อปรับเลื่อนขั้นหรือตำแหน่ง หรือเพื่อเฟ้นหาบุคคลที่มีความสามารถเฉพาะทางสำหรับการปฏิบิติภารกิจเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นต้น ในสมัยสมเด็จพระจักรพรรดิซ่งเหรินจงแห่งราชวงศ์ซ่ง ปี ค.ศ. 1061 มีพระบัญชาให้จัดการสอบเพื่อค้นหาผู้ที่มีความสามารถด้าน "zhiyan jijian (direct speech and full remonstrance) " โดยกำหนดให้ผู้เข้าสอบส่งบทเรียงความที่มีการเขียนเตรียมไว้แล้ว 50 เรื่อง โดยครึ่งหนึ่ง (คือ 25 เรื่อง) เป็นเรียงความเกี่ยวกับ 25 ปัญหาเศรษฐกิจและสังคมของยุคนั้น และอีกครึ่งหนึ่ง (อีก 25 เรื่อง) เป็นบทเรียงความเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ทั่วไป และเมื่ออยู่ในห้องสอบ ผู้เข้าสอบจะต้องเขียนบทเรียงความตามหัวข้อที่ผู้คุมสอบกำหนดไว้จำนวน 6 เรื่อง และในลำดับสุดท้ายจะต้องเขียนเรียงความความยาว 3,000 ตัวอักษรตามหัวข้อที่สมเด็จพระจักรพรรดิเหรินจงเป็นผู้กำหนด ซึ่งเป็นหัวข้อเกี่ยวกับหลักการและนโยบายด้านการเมืองการปกครองประเทศ ในบรรดาผู้เข้าสอบที่สำเร็จผ่านการสอบครั้งนี้ มีสองพี่น้องตระกูลซู คือ ซูชื่อ (Su Shi) และซูเจ้อ (Su Zhe) ผู้ซึ่งสอบผ่านเป็นจิ้นชื่อ สำเร็จแล้วในปี ค.ศ. 1057 โดยซูชื่อนั้นมีผลคะแนนการสอบที่ดีมากจนมีการคัดสำเนาบทเรียงความเขาที่เขาสอบเผยแพร่อย่างกว้างขวาง[20]

การสอบทางการทหาร

การสอบทางการทหารจัดขึ้นเพื่อคัดเลือกบุคลากรเข้ารับราชการทหารหรือกองทัพ[21] ผู้สอบผ่านจะได้รับรางวัลและคุณวุฒิเทียบได้กับระดับจิ้นชื่อ และจู่เหริน ในการสอบขุนนางทั่วไป ในส่วนของระบบการสอบก็มีความคล้ายคลึงกันมาก เช่น มีการจัดสอบเป็นระดับภูมิภาค (provincial exams) ระดับเมืองหลวง (metropolitan exams) และการสอบในราชสำนัก (palace exams) เช่นกัน นอกจากนั้นผู้เข้าสอบยังต้องมีความรู้ด้านปรัชญาขงจื๊อเช่นเดียวกับการสอบขุนนางปกติ อีกทั้งมีทักษะด้านการยิงธนูและการขี่บังคับม้า รวมถึงความรู้ทฤษฏีการออกศึก เช่น ตำราพิชัยสงครามของซุนวู เป็นต้น[22]

กระบวนการสอบ

Examination hall with 7500 cells, มณฑลกวางตุ้ง, 1873.

ในสมัยโบราณถึงปี ค.ศ. 1370 การสอบขุนนางใช้เวลาในการสอบยาวนานตั้งแต่ 24 ถึง 72 ชั่วโมง ผู้สอบแต่ละคนจะถูกจัดให้อยู่ในห้องสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ หรือในคอก แยกสำหรับแต่ละคน เพื่อให้กินอยู่หลับนอนในช่วงเวลาที่สอบนั้นได้ ภายในห้องหรือคอกนี้มีไม้กระดานสองแผ่นซึ่งจะใช้เป็นที่นอน หรือใช้เป็นโต๊ะและเก้าอี้ในขณะทำข้อสอบก็ได้

สนามสอบระดับฮุ้ยชื่อที่สำคัญในสมัยราชวงศ์หมิงและชิงตั้งอยู่ที่เมืองปักกิ่ง เป็นสนามสอบที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยจักรพรรดิหย่งเล่อ (ค.ศ. 1403-1424) แห่งราชวงศ์หมิง เรียกว่าสนามสอบ "ก้งเยวี่ยน" การก่อสร้างดั้งเดิมเป็นกระท่อมที่สร้างจากไม้

เมื่อผู้เข้าสอบเข้าห้องสอบของแต่ละคนแล้ว จะต้องล็อกประตูด้านนอก ภายในห้องมีภาชนะใส่ถ่านไว้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับจุดไฟเพื่อให้ความอบอุ่น และมีตะเกียงสำหรับให้แสงสว่าง ในการสอบยุคโบราณมักมีการเกิดเพลิงไหม้สนามสอบอยู่บ่อยครั้ง ครั้งหนึ่งเกิดเพลิงไหม้ใหญ่จนเป็นเหตุให้มีผู้เข้าสอบเสียชีวิตกว่า 90 คน จนมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างจากกระท่อมไม้มาเป็นการก่ออิฐแทน หลังจากมีการประกาศเลิกใช้ระบบการสอบขุนนางในปี ค.ศ. 1905 สนามสอบก้งเยวี่ยนนี้จึงถูกดัดแปลงเพื่อประโยชน์ใช้สอบอื่นแทน คงหลงเหลือเพียงชื่อสถานที่ "ถนนก้งเยวี่ยน" ไว้[3]

สมัยราชวงศ์ถังและราชวงศ์ซ่ง มีการประดิษฐานประติมากรรมสองชิ้นไว้ในท้องพระโรง ชิ้นหนึ่งเป็นรูปมังกร อีกชิ้นเป็นรูปเต่ามังกร (Ao; 鳌) ซึ่งเชื่อกันว่าขาถูกตัดมาเป็นเสาค้ำฟ้า ประติมากรรมทั้งสองนี้ตั้งไว้กลางบันไดซึ่งผู้สอบผ่านจะพากันมาเข้าแถวรอเรียกขานตามบัญชีที่เรียก "ทะเบียนทอง" (จีน: 金榜; พินอิน: jīnbǎng; "gold list") ผู้สอบได้อันดับหนึ่งเรียกว่าเป็น "จ้วงเยฺหวียน" หรือ "จอหงวน" ตามสำเนียงอื่น (จีน: 狀元; พินอิน: zhuàngyuán) และให้ยืนเฝ้าพระเจ้าแผ่นดินอยู่หน้ารูปเต่ามังกรดังกล่าว ก่อให้เกิดสำนวนว่า "ยืนหัวเต่า" (จีน: 占鳌头; พินอิน: zhàn áo tóu; แปลตามตัวอักษรว่า "to have stood alone at Ao's head (独占鳌头; Dú zhàn ào tóu) ") ซึ่งสื่อถึงคุณลักษณะของจ้วงเยฺหวียน รวมถึงบุคคลซึ่งเป็นหัวกะทิในสาขาวิชาหนึ่ง ๆ[23]

ข้อกำหนดการสอบ

ชาวจีนในสมัยโบราณมีการแบ่งกลุ่มชนชั้นออกเป็นกลุ่มชนชั้นสูง ข้าราชการ และประชาชนสามัญทั่วไป โดยกลุ่มประชาชนยังแบ่งย่อยออกเป็น 4 กลุ่ม ตามสาขาอาชีพ โดยเรียงตามลำดับความสำคัญและสิทธิที่ได้รับ ดังนี้ กลุ่มบัณฑิต ชาวนาชาวสวน ช่างฝีมือ และพ่อค้า[24] สถานะที่ต่ำกว่ากลุ่มเหล่านี้เรียกว่า "คนต่ำต้อย" (mean people) หรือในบางท้องถิ่นอาจมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น คนเรือ (boat-people) ขอทาน (beggars) โสเภณี (sex-workers) นักบันเทิง (entertainers) ทาส (slaves) และข้ารับใช้ชั้นต่ำ (low-level government employees) เป็นต้น ซึ่งในบางยุคสมัย กลุ่มคนเหล่านี้อาจไม่ได้รับอนุญาตให้เข้ารับราชการรวมทั้งเข้าสอบคัดเลือเป็นขุนนาง[25][26]

ในบางสมัยมีการห้ามไม่ให้คนกลุ่มอื่นบางกลุ่มเข้าสอบเช่นกัน เช่นกรณีของเมืองหนิงป่อ (จีน: 宁波; พินอิน: Níngbō; Ningbo dialect:  Nyin-poh/Nyin-pou  (วิธีใช้·ข้อมูล) ) ซึ่งประกอบด้วยชนชั้นจัณฑาลมากกว่า 3,000 คน โดยเชื่อกันว่ามีบางคนในกลุ่มนี้เป็นลูกหลานของราชวงศ์จิน (Jin Dynasty, ค.ศ. 1115-1234) ไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าสอบขุนนางรวมถึงถูกจำกัดสิทธิด้านอื่น ๆ ด้วย[27] ผู้หญิงก็เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าสอบ (มีเพียงบางยุคเท่านั้นที่อนุญาตให้ผู้หญิงร่วมสอบได้ แต่ก็เป็นเพียงช่วงเวลาอันสั้น) ในบางสมัย คนฆ่าสัตว์ (butchers) และคนทรงเจ้า (sorcerers, shaman) ก็ถูกห้ามไม่ให้เข้าสอบด้วยเช่นกัน[28] ในส่วนพ่อค้าไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมสอบขุนนางจนกระทั่งถึงสมัยราชวงศ์หมิง (Ming synasty, ค.ศ. 1368–1644) และราชวงศ์ชิง (Qing dynasty, ค.ศ. 1644–1912) จึงมีสิทธิเข้าสอบได้[29] ในสมัยราชวงศ์สุย (Sui dynasty, ค.ศ. 581–618) และราชวงศ์ถัง (Tang dynasty, ค.ศ. 618–907) ช่างฝีมือถูกจำกัดสิทธิไม่ให้เข้ารับราชการ และสมัยราชวงศ์ซ่ง ทั้งช่างฝีมือและพ่อค้าก็ถูกจำกัดไม่ให้ร่วมเข้าสอบจิ้นชื่อได้ หรือในสมัยราชวงศ์เหลียว (Liao dynasty, ค.ศ. 907–1125) มีคนกลุ่มพ่อค้า นักฆ่าสัตว์ แพทย์ (physicians) และโหร (diviners) ไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าสอบขุนนางด้วย[30]

และในหลาย ๆ ครั้ง ระบบจำกัดจำนวนผู้เข้าสอบหรือผู้สอบผ่านก็ถูกนำมาใช้ในการจำกัดสิทธิของคนบางกลุ่ม เช่น คนที่พำนักอาศัยในบางพื้นที่ หรือคนตามข้อกำหนดอื่น ๆ เป็นต้น

ใกล้เคียง

การสอบขุนนาง การสอบสวนประเด็นการโกงผลคะแนนในรายการของสถานีโทรทัศน์ เอ็มเน็ต การสอบสนามหลวง การสอบวัดระดับความสามารถทางภาษาญี่ปุ่น การสอดแนมมวลชน การสอบเอ็นทรานซ์ การสอน การสอบสวนโดยไม่เชื่อ การสอดแนมไซเบอร์ การสอดแนม

แหล่งที่มา

WikiPedia: การสอบขุนนาง http://books.google.com.au/books?id=Pk0UAAAAYAAJ&q... http://thai.cri.cn/learnchinese/lesson11/6.html http://books.google.com/books?id=8hOgAAAAIAAJ http://books.google.com/books?id=F3baSe8QlPUC&pg=P... http://books.google.com/books?id=cpfgQNWXpyoC&pg=P... http://www.princeton.edu/~ealj/robe.htm http://e-asia.uoregon.edu/node/4838 https://archive.org/details/pratiquedesexam00zigoo... https://commons.wikimedia.org/wiki/Category:Imperi...