การคำนวณ ของ การสูญเสียปีสุขภาวะ

จำนวนปีที่เสียไปเพราะสุขภาพไม่ดี พิการ หรือเสียชีวิตก่อนวัย (DALY)

จำนวนปีที่เสียไปเพราะสุขภาพไม่ดี พิการ หรือเสียชีวิตก่อนวัย (DALY) เป็นค่าวัดภาระโรคและความพิการในกลุ่มประชากรคำนวณโดยรวมค่าที่ลดลงของทั้งการคาดหมายคงชีพและคุณภาพชีวิตเพราะโรคหรือความพิการของกลุ่มประชากรเป็นค่าที่สัมพันธ์กับค่า quality-adjusted life year (QALY)[upper-alpha 1]แต่ค่า QALY วัดแต่ประโยชน์เมื่อมีหรือไม่มีการรักษาพยาบาล ดังนั้น จึงไม่ได้วัดภาระทั้งหมดอนึ่ง QALY มักจะเป็นค่าวัดส่วนตัว ไม่ใช่ค่าวัดภาระต่องสังคม

ปกติแล้ว ความรับผิดชอบทางสุขภาพ (เช่น โดยองค์กรสุขภาพ) สามารถวัดใช้ค่า years of life lost (YLL) คือปีที่เสียไปเพราะเสียชีวิตก่อนวัยแต่โรคที่ไม่ทำให้เสียชีวิตก่อนวัยก็ไม่ได้นับจึงมีค่าอีกค่าหนึ่งคือ years lost due to disability (YLD) ซึ่งวัดปีที่เสียไปเพราะโรคหรือความพิการ

DALY รวมค่าสองอย่างเข้าด้วยกัน คือ[6]

DALY = YLL + YLD

DALY ขึ้นอยู่กับการยอมรับว่า ค่าวัดผลของโรคเรื้อรังที่เหมาะที่สุดก็คือเวลา ทั้งที่เสียไปเพราะตายก่อนวัยและเพราะใช้ชีวิตกับความพิการค่า DALY 1 หน่วย จึงเท่ากับหนึ่งปีที่เสียไปของชีวิตที่มีสุขภาพดี

โรค/ความพิการมีผลลบต่อบุคคลเท่าไรเรียกว่า น้ำหนักความพิการ (disability weight, DW)โดยไม่ต่างกันตามอายุมีตารางที่ระบุโรคและความพิการเป็นจำนวนพัน ๆ เริ่มตั้งแต่โรคอัลไซเมอร์ไปจนถึงการเสียนิ้ว แต่ละรายการระบุน้ำหนักความพิการเนื่องกับเหตุนั้น ๆ

ตัวอย่างน้ำหนักความพิการ (DW)
สภาพDW ปี 2004[7]DW ปี 2010[8]
โรคอัลไซเมอร์และโรคสมองเสื่อมอื่น ๆ0.6660.666
ตาบอด0.5940.195
โรคจิตเภท0.5280.576
เอดส์ ไม่ได้รักษาด้วย ART0.5050.547
แผลไหม้ 20%-60% ของร่างกาย0.4410.438
กระดูกต้นขาหัก0.3720.308
คราวโรคซึมเศร้ากำเริบระดับปานกลาง
(moderate depression episode)
0.3500.406
ตัดเท้า0.3000.021-0.1674
หูหนวก0.2290.167-0.281
ภาวะการมีบุตรยาก0.1800.026-0.056
ตัดนิ้ว0.1020.030
ปวดหลังด้านล่าง0.0610.322-0.374

ตัวอย่างน้ำหนักความพิการอยู่ทางด้านขวาบางค่าเป็นค่าระยะสั้น โดยมีค่าระยะยาวที่ต่างกัน

น้ำหนักความพิการระหว่างปี 2004 กับ 2010 บางค่าลดลงมาอย่างมาก เช่น ตาบอด หูหนวก เป็นต้น เพราะพิจารณาว่า เป็นค่าวัดสุขภาพ (health) ไม่ได้วัดความเป็นอยู่ที่ดี (well-being, welfare) และคนตาบอดหรือคนหูหนวก ไม่นับว่าป่วยคือ"ตามศัพท์ในเรื่องภาระโรคแห่งโลก (GBD) คำว่า ความพิการ ใช้ตามความหมายกว้าง ๆ หมายถึง สุขภาพที่ไม่ได้ดีสุด ไม่ว่าจะในด้านสำคัญใด ๆ"[9]ในระดับประชากร ภาระโรคดังที่วัดด้วย DALY คำนวณโดยบวกค่า YLL เข้ากับค่า YLD ส่วนค่า YLL เป็นค่าการคาดหมายคงชีพที่คิดตามอายุเมื่อเสียชีวิตจำนวนปีที่เสียไปเพราะพิการ (YLD) กำหนดด้วยจำนวนปีที่พิการคูณด้วยน้ำหนักเนื่องกับความพิการหรือเป็นโรคด้วยสูตร

YLD = I x DW x L

ในสูตรนี้ I = จำนวนกรณีในกลุ่มประชากร, DW = น้ำหนักความพิการของภาวะนั้น ๆ และ L = จำนวนปีเฉลี่ยก่อนโรคจะหายหรือเสียชีวิตยังมีการคำนวณ YLD ด้วยค่าความชุกโรค แทนจำนวนกรณี ส่วนจำนวนปีที่เสียไปเพราะเสียชีวิตก่อนวัย (YLL) ใช้สูตร

YLL = N x L

โดย N = จำนวนผู้เสียชีวิตเนื่องกับเหตุนั้น ๆ และ L = การคาดหมายคงชีพมาตรฐานคิดตามอายุเมื่อเสียชีวิต[10]ให้สังเกตว่า ค่าการคาดหมายคงชีพที่อายุต่าง ๆ ไม่เท่ากันยกตัวอย่างเช่น ในยุคหิน ค่าการคาดหมายคงชีพเมื่อเกิดอยู่ที่ 33 ปี แต่เมื่อถึงอายุ 15 ปี จะมีชีวิตอยู่ได้อีก 39 ปี (รวมทั้งหมด 54 ปี)[11]

การคาดหมายคงชีพมาตรฐานใช้สถิติของประเทศญี่ปุ่นเพื่อวัดการเสียชีวิตก่อนวัย เพราะคนญี่ปุ่นมีชีวิตยืนที่สุดโดยเฉลี่ย[12]

น้ำหนักโดยอายุ

งานศึกษาบางงานใช้ DALY ที่คำนวณให้ค่ามากกว่าแก่ปีที่มีชีวิตเป็นผู้ใหญ่วัยฉกรรจ์ (young adult, อายุระหว่าง 18-32 ปี)สูตรนี้ให้ค่าเฉลี่ยราว ๆ คนอายุ 10 ปีและ 55 ปี ได้ค่าสูงสุดราว ๆ อายุ 25 ปี และได้ค่าต่ำสุดในเด็กเล็กมากและในผู้ชรามาก[13]

ความแตกต่างที่สำคัญอย่างหนึ่งในงานศึกษาที่ใช้ DALY ก็คือการใช้น้ำหนักโดยอายุ (age-weighting) ที่ให้ค่าแต่ละปีของชีวิตโดยขึ้นอยู่กับอายุแต่องค์การอนามัยโลกก็ได้เลิกใช้น้ำหนักโดยอายุและการลดเวลา (time discounting) ในการคำนวณ DALY ตั้งแต่ปี 2010[14]

มีวิธีการสองอย่างที่คำนวณให้เวลาแตกต่างกัน คือ น้ำหนักโดยอายุ และการลดเวลาแนวคิดของน้ำหนักโดยอายุมาจากทฤษฎีทุนด้านมนุษย์ (human capital)โดยสามัญก็คือ ปีในวัยฉกรรจ์ (young adult, อายุระหว่าง 18-32 ปี) ให้ค่ามากกว่าปีที่เป็นเด็กเล็กมากหรือผู้ชรามาก เพราะวัยฉกรรจ์ให้ผลงาน/ผลิตภาพในระดับสูงสุดแต่วิธีนี้ก็ถูกติเตียนมากเพราะให้ค่าคนวัยฉกรรจ์เหนือกว่าเด็กเล็ก ๆ และผู้ชราคือเป็นทั้งการติเตียนและการให้เหตุผลว่า นี่สะท้อนประโยชน์ต่อสังคมเนื่องกับผลงานที่ได้และทุนที่ได้คืนจากการเลี้ยงเด็กจนโต การใช้น้ำหนักโดยอายุจึงหมายความว่า ผู้ที่พิการเมื่ออายุ 30 ปีเป็นเวลา 10 ปี จะวัดว่าเสีย DALY (คือเกิดภาระโรค) มากกว่าผู้ที่พิการเพราะโรคหรือการบาดเจ็บเช่นเดียวกันเมื่ออายุ 70 ปี

ฟังก์ชันน้ำหนักโดยอายุเช่นนี้ใช้เพื่อคำนวณ DALY ที่เสียไปเนื่องกับความพิการเท่านั้นเพราะปีที่เสียไปเพราะเสียชีวิตก่อนวัยจะกำหนดโดยอายุที่เสียชีวิตและความคาดหมายคงชีพที่อายุนั้น ๆ

งานศึกษา Global Burden of Disease Study (GBD) ปี 2001-2002 นับ DALY เท่ากันสำหรับทุก ๆ วัย แต่งาน GBD 1990 และ GBD 2004 ได้ใช้สูตร[15] W = 0.1658 Y e − 0.04 Y {\displaystyle W=0.1658Ye^{-0.04Y}} [16]โดยที่ Y {\displaystyle Y} เป็นอายุในปีนั้น ๆ และ W {\displaystyle W} เป็นค่าที่ให้กับให้กับมันเทียบกับค่าเฉลี่ยที่ 1ในงานศึกษาเหล่านี้ ปีในอนาคตยังลดค่า (discounted) ที่อัตราปีละ 3% เพราะสุขภาพที่เสียไปการลดค่าตามเวลา (time discounting) เช่นนี้ ต่างหากกับฟังก์ชันน้ำหนักอายุ เพราะระบุความสำคัญที่ให้กับเวลาดังที่ใช้ในแบบจำลองทางเศรษฐกิจ[17]

ผลของปฏิกิริยาระหว่างการคาดหมายคงชีพ ปีที่เสียไป การลดค่า กับน้ำหนักทางสังคม ค่อนข้างจะซับซ้อน โดยขึ้นอยู่กับความรุนแรงและระยะการมีโรคยกตัวอย่างเช่น พารามิเตอร์ที่ใช้ในงาน GBD 1990 ทั่วไปให้น้ำหนักแก่การเสียชีวิตในปีทุกปีก่อนอายุ 39 มากกว่าปีหลังจากนั้น โดยการตายของทารกเกิดใหม่มีน้ำหนักที่ 33 DALY และการตายของคนมีอายุระหว่าง 5-20 ปีเท่ากับประมาณ 36 DALY[18]

หลังจากได้ปรึกษากันหลายครั้ง ในปี 2010 องค์การอนามัยโลกในที่สุดก็ยกเลิกการใช้น้ำหนักอายุและการลดค่าตามเวลา[14]และยังแทนการใช้ค่าความชุกโรคด้วยค่าการเกิดโรค (incidence) เพราะเป็นค่าที่งานต่าง ๆ สำรวจ

ใกล้เคียง

การสูญเสียปีสุขภาวะ การสูญพันธุ์ การสูญพันธุ์สมัยโฮโลซีน การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ การสูบบุหรี่กับสุขภาพ การสู้วัวกระทิง การสูญความรู้สึกที่ไม่สัมพันธ์ การสูบบุหรี่ การสูญขี้ผึ้ง การสูญหาย (ดาราศาสตร์)

แหล่งที่มา

WikiPedia: การสูญเสียปีสุขภาวะ http://mhcs.health.nsw.gov.au/pubs/2008/pdf/chorep... http://archneur.jamanetwork.com/article.aspx?volum... http://www.michaelschlander.com/pnp/publications_e... http://www.nature.com/nm/journal/v19/n3/full/nm031... http://www.valueinhealthjournal.com/article/S1098-... http://echoutcome.eu/images/Echoutcome__Leaflet_Gu... http://www.echoutcome.eu //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/10082141 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/10714674 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/11910057