การเลือกตั้ง ของ การเลือกตั้งในประเทศไทย

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

ครั้งที่ [6]วันที่วิธีการเลือกตั้งจำนวน
ผู้สมัคร
จำนวน
ส.ส.
ผู้มีสิทธิ
เลือกตั้ง
ผู้มาใช้สิทธิ
เลือกตั้ง
ร้อยละจังหวัดที่มีผู้ใช้
สิทธิมากที่สุด
ร้อยละจังหวัดที่มีผู้ใช้
สิทธิน้อยที่สุด
ร้อยละหมายเหตุ
115 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476ทางอ้อม-784,278,2311,773,53241.45เพชรบุรี78.82
27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2480แบ่งเขต-916,123,2392,462,53540.22นครนายก80.50แม่ฮ่องสอน22.24
312 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481แบ่งเขต-916,310,1722,210,33235.05นครนายก67.36ตรัง16.28
46 มกราคม พ.ศ. 2489แบ่งเขต-966,431,8272,091,82732.52บุรีรัมย์54.65สุพรรณบุรี13.40
55 สิงหาคม พ.ศ. 2489แบ่งเขต-5,819,6622,026,82334.92สกลนคร57.49นราธิวาส16.62เลือกตั้งเพิ่มเติมตามจำนวนพลเมือง (รธน. 2489)
629 มกราคม พ.ศ. 2491รวมเขต-997,176,8912,177,46429.50ระนอง58.69สมุทรปราการ15.68
75 มิถุนายน พ.ศ. 2492รวมเขต-213,518,276870,20824.27สกลนคร45.12อุดรธานี12.02เลือกตั้งเพิ่มเติมตามจำนวนพลเมือง (รธน. 2492)
826 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495รวมเขต-1237,602,5912,961,19138.95สระบุรี77.78พระนคร23.03
926 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500รวมเขต6991609,859,0395,668,66657.50สระบุรี93.30
1015 ธันวาคม พ.ศ. 2500รวมเขต8131609,917,4174,370,78944.07ระนอง73.30อุดรธานี29.92
1110 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512รวมเขต1,25321914,820,4007,289,83749.16ระนอง73.95พระนคร36.66
1226 มกราคม พ.ศ. 2518แบ่งเขต
รวมเขต
2,19926920,243,7919,549,92447.17ภูเก็ต67.87เพชรบูรณ์32.31
134 เมษายน พ.ศ. 2519แบ่งเขต
รวมเขต
2,36927920,623,4309,072,62943.69นครพนม63.53เพชรบูรณ์26.64
1422 เมษายน พ.ศ. 2522แบ่งเขต
รวมเขต
1,52330121,283,7909,344,04543.90ยโสธร77.11
1518 เมษายน พ.ศ. 2526แบ่งเขต
รวมเขต
1,88032424,224,47012,295,33950.76ยโสธร79.62
1627 กรกฎาคม พ.ศ. 2529แบ่งเขต
รวมเขต
3,61334726,224,47016,670,95761.43ชัยภูมิ85.15
1724 กรกฎาคม พ.ศ. 2531แบ่งเขต
รวมเขต
3,61235726,658,63816,944,93163.56ยโสธร90.42
1822 มีนาคม พ.ศ. 2535แบ่งเขต
รวมเขต
2,85136031,660,15619,622,32261.59มุกดาหาร87.11
1913 กันยายน พ.ศ. 2535แบ่งเขต
รวมเขต
2,41736031,660,15619,622,32261.59มุกดาหาร90.43
202 กรกฎาคม พ.ศ. 2538แบ่งเขต
รวมเขต
2,37239137,817,98323,462,74862.04มุกดาหาร83.80
2117 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539แบ่งเขต
รวมเขต
2,31039538,564,83624,040,83662.42สระแก้ว87.71
226 มกราคม พ.ศ. 2544แบ่งเขต
บัญชีรายชื่อ
2,276
940
400
100
42,759,00129,904,940
29,909,271
69.94
69.95
ลำพูน83.78
236 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548แบ่งเขต
บัญชีรายชื่อ
1,707
582
400
100
44,572,10132,337,611
32,341,330
72.55
72.56
ลำพูน86.56หนองคาย62.55
242 เมษายน พ.ศ. 2549แบ่งเขต
บัญชีรายชื่อ
การเลือกตั้งเป็นโมฆะ
หมายเหตุ เนื่องจากพรรคไทยรักไทยได้ว่าจ้างพรรคการเมืองขนาดเล็กในลงรับสมัครรับเลือกตั้งโดยที่คะแนนเสียงเลือกไม่ถึง 20% ตามคำพิพากษาในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549
และ พรรคไทยรักไทยโดยศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรคไทยรักไทย ในวันที่ 30 พฤษภาคม 2550 และตัดสิทธิ์กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยทั้งหมด 111 คน คนละ 5 ปี
2523 ธันวาคม พ.ศ. 2550แบ่งเขต
สัดส่วน
3,894
1,260
400
80
44,002,59332,775,868
32,792,246
74.49
74.52
263 กรกฎาคม พ.ศ. 2554แบ่งเขต
บัญชีรายชื่อ
2,422
1,410
375
125
46,939,54935,220,377
35,220,208
75.03ลำพูน88.61หนองคาย68.59
272 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557แบ่งเขต
บัญชีรายชื่อ
การเลือกตั้งไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
หมายเหตุ ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า พระราชกฤษฎีกายุบสภาฯ กำหนดให้เลือกตั้งครั้งนี้ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เพราะไม่สามารถเลือกตั้งให้แล้วเสร็จทั่วประเทศได้ภายในวันเดียวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 108 วรรคสอง และเมื่อพระราชกฤษฎีกาในส่วนที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ การเลือกตั้งนี้จึงไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญไปด้วย[7]
คณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นว่าตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ถือว่าการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นโมฆะ (หรือเสมือนไม่เคยเกิดขึ้น) แต่ถือว่าการเลือกตั้งได้เกิดขึ้นแล้ว 1 ครั้ง [8]
2824 มีนาคม พ.ศ. 2562แบ่งเขต
บัญชีรายชื่อ
350
150
51,239,63838,268,37574.69

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไปโดยสรุป

#ปีผู้ชนะลำดับที่สองลำดับที่สามหมายเหตุ
ราชอาณาจักรไทย
1พ.ศ. 2476

พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)
คณะราษฎร

--การเลือกตั้งครั้งนี้ เกิดขึ้นหลังที่เหตุการณ์กบฏบวรเดชยุติลง มีผู้มีสิทธิออกเสียงอยู่ทั้งหมด 4,278,231 คน มีผู้ออกไปใช้สิทธิทั้งหมด 1,773,532 คน คิดเป็นร้อยละ 41.45 หลังการเลือกตั้ง ได้มีการจัดตั้งคณะรัฐบาลขึ้นมาใหม่ โดยเสียงส่วนใหญ่เลือกเอา พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง (เป็นสมัยที่ 2)
2พ.ศ. 2480

พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)
คณะราษฎร

--การเลือกตั้งครั้งนี้ถือเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกที่เป็นการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต ซึ่งต่างจากการเลือกตั้งครั้งแรก ที่เป็นการเลือกตั้งทางอ้อม การเลือกตั้งมีขึ้นในวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2480 โดยมีจำนวน ส.ส. ทั้งหมด 91 คน มีผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด 6,123,239 คน และมีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งจำนวน 2,462,535 คน คิดเป็นร้อยละ 40.22 ก่อนหน้านั้นไม่นาน พระยาพหลพลพยุหเสนา ได้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากการมีกระทู้ถามในสภาผู้แทนราษฎรถึงเรื่องการซื้อขายที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ หลังการเลือกตั้งแล้ว ในวันที่ 21 ธันวาคม ปีเดียวกัน พระยาพหลพลพยุหเสนา ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง
3พ.ศ. 2481

พันเอกหลวงพิบูลสงคราม
คณะราษฎร

--พันเอก พระยาพหลพลหยุหเสนา นายกรัฐมนตรีได้ประกาศพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรขึ้นเมื่อวันที่ 13 กันยายน ปีเดียวกัน เนื่องจากรัฐบาลไม่สามารถที่จะควบคุมความวุ่นวายในสภาผู้แทนราษฎรได้ อันเนื่องจากรัฐบาลได้เสนออนุมัติต่อสภาฯ เรื่องขอรวมพระสงฆ์ธรรมยุติกนิกายและมหานิกายเข้าด้วยกัน และเสนอพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 1 (ส.ส.ประเภทที่ 1) หรือ ส.ส.ที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชนหลายคน ผลการเลือกตั้ง มีการเลือก ส.ส. มาทั้งหมด 91 คน คิดเป็นร้อยละ 49.35 ของสภาฯ โดยมีผู้ออกมาใช้สิทธิร้อยละ 35.05 ได้มีการแต่งตั้ง พ.อ.หลวงพิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลชุดที่แล้ว เป็นนายกรัฐมนตรี ด้วยการลงนามของคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
4มกราคม พ.ศ. 2489

พันตรี ควง อภัยวงศ์
อิสระ

พันตรี วิลาศ โอสถานนท์
เสรีไทย

หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช
พรรคก้าวหน้า (พ.ศ. 2488)

สืบเนื่องจาก หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช นายกรัฐมนตรีได้ตราพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรขึ้น เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2488 เนื่องด้วยสภาฯชุดนี้มีอายุยาวนานมากพอสมควรแล้ว เนื่องจากไม่มีการเลือกตั้งเพราะอยู่ในสภาวะสงคราม จึงกำหนดให้มีการเลือกตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2489 ผลการเลือกตั้งพบว่า จากจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด 6,431,827 คน มีผู้มาใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งจำนวน 2,091,788 คน คิดเป็นร้อยละ 32.52 ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า นายควง ชนะเลือกตั้งไปด้วยคะแนนถล่มทลาย หลังจากนี้ ได้มีการโหวตกันในรัฐสภา ปรากฏว่าเสียงส่วนใหญ่เลือก นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี นับเป็นสมัยที่ 2 ของนายควง ในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
5สิงหาคม พ.ศ. 2489

พลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
พรรคแนวรัฐธรรมนูญ

พันตรี ควง อภัยวงศ์
พรรคประชาธิปัตย์

ปรีดี พนมยงค์
พรรคสหชีพ

จากจำนวนผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งทั้งหมด 5,819,662 คน มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งจำนวน 2,026,823 คน คิดเป็นร้อยละ 34.92 เป็นการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นในสภาวะการเมืองเกิดความผันแปรอย่างรุนแรง เนื่องด้วยกรณีสวรรคตของรัชกาลที่ 8 ซึ่งทำให้ นายปรีดี พนมยงค์ นายกรัฐมนตรีต้องลาออกจากตำแหน่งเพื่อแสดงความรับผิดชอบ ท่ามกลางกระแสโจมตีและข่าวลือต่าง ๆ นานา หลังการเลือกตั้งพลเรือตรี ถวัลย์ ได้รับการเลือกตั้งและเป็นนายกรัฐมนตรี เขาเป็นตัวแทนของนายปรีดี พนมยงค์ในการเลือกตั้งครั้งนี้
6พ.ศ. 2491

พันตรี ควง อภัยวงศ์
พรรคประชาธิปัตย์
53 ที่นั่ง

--การเลือกตั้งกำหนดมีขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2491 ผลการเลือกตั้ง ปรากฏว่า พรรคประชาธิปัตย์ ได้รับคะแนนมากที่สุดเป็นลำดับที่หนึ่ง โดยได้ทั้งสิ้น 53 ที่นั่ง ได้แกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล โดย นายควง ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ปีเดียวกัน นับเป็นการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นครั้งที่ 4 แต่การเลือกตั้งครั้งนี้ นับว่ามีผู้ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งน้อยที่สุดด้วย โดยคิดเป็นร้อยละ 26 เท่านั้น ต่อมา ในวันที่ 6 เมษายน ปีเดียวกัน คณะรัฐประหารเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 ก็ได้ทำการบีบบังคับให้นายควง อภัยวงศ์ ลาออกจากตำแหน่ง
7พ.ศ. 2492

จอมพลแปลก พิบูลสงคราม
กองทัพไทย

--เป็นการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 7 ของประเทศไทย มีขึ้นในวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2492 เป็นการเลือกตั้งทางตรง โดยวิธีรวมเขตเรียงเบอร์ ผลการเลือกตั้งพบว่า จากจำนวนผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งทั้งหมด 3,518,276 คน มีผู้มาใช้สิทธิทั้งสิ้น 870,208 คน คิดเป็นร้อยละ 24.27
8พ.ศ. 2495

จอมพลแปลก พิบูลสงคราม
กองทัพไทย

--มีขึ้นในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 สืบเนื่องจากการที่ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี รัฐประหารตัวเองในวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 ผลการเลือกตั้งทำให้ได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 123 คน โดยมีผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งสิ้น 7,602,591 คน มีผู้มาใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งจำนวน 2,961,291 คน คิดเป็นร้อยละ 38.36 พรรคฝ่ายค้าน คือ พรรคประชาธิปัตย์ ได้มีมติคว่ำบาตรการเลือกตั้งครั้งนี้และไม่ร่วมสังฆกรรมกิจกรรมทางการเมืองใด ๆ กับรัฐบาลมาตั้งแต่รัฐประหาร
9กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500

จอมพลแปลก พิบูลสงคราม
พรรคเสรีมนังคศิลา
53.1%

พันตรี ควง อภัยวงศ์
พรรคประชาธิปัตย์
19.4%

-เป็นการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเป็นครั้งที่ 9 มีขึ้นเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีได้ประกาศจะจัดการเลือกตั้งครั้งนี้ให้บริสุทธิ์ ถวายเป็น "พุทธบูชา" เนื่องในโอกาสครบรอบวาระกึ่งพุทธกาล การเลือกตั้งในครั้งกำหนดให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ได้ทั้งหมด 160 คน เป็นการเลือกตั้งแบบรวมเขตจังหวัด มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 9,859,039 คน ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง 5,668,566 คน คิดเป็นร้อยละ 57.50 หลังผลการเลือกตั้งออก สื่อมวลชนได้ประนามว่าเป็นการเลือกตั้งที่สกปรก แต่จอมพล ป.พิบูลสงครามได้แถลงต่อหนังสือพิมพ์ว่า อย่าเรียกว่าการเลือกตั้งสกปรกเลย[9] [10] ควรจะเรียกว่าเป็น “การเลือกตั้งไม่เรียบร้อย” แต่ต่อมาเหตุการณ์ได้ขยายตัวและบานปลายกลายเป็นความขัดแย้งกันระหว่างกลุ่มทหารและตำรวจที่สนับสนุน จอมพล ป. พิบูลสงคราม และ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารบก จนกลายเป็นการรัฐประหารในวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 ในที่สุด
10ธันวาคม พ.ศ. 2500

สุกิจ นิมมานเหมินท์
พรรคสหภูมิ
27.7%

พันตรี ควง อภัยวงศ์
พรรคประชาธิปัตย์
24.5%

-เป็น การเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 10 ของประเทศไทย สืบเนื่องมาจากการที่ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ทำการรัฐประหารรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ขึ้นเมื่อวันที่ 16 กันยายน ปีเดียวกันนั้น และได้แต่งตั้งให้ นายพจน์ สารสิน ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ผลการเลือกตั้ง ปรากฏว่า พรรคสหภูมิ เป็นพรรคที่ได้รับคะแนนมากที่สุด โดยได้จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จำนวน 44 ที่นั่ง จากจำนวนเสียงทั้งหมดในสภาผู้แทนราษฎร 160 ที่นั่ง การจัดตั้งรัฐบาล จอมพล สฤษดิ์ ได้แนะนำให้ พลโท ถนอม กิตติขจร รองหัวหน้าพรรคพรรคชาติสังคม ร่วมกับพรรคการเมืองอื่น ๆ จัดตั้งรัฐบาลขึ้นมา โดย พลโท ถนอม กิตติขจร ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นครั้งแรก ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2501 ในปีเดียวกัน จอมพล สฤษดิ์ ก็ได้ทำการรัฐประหารอีกครั้ง โดยประกาศให้ยกเลิกพรรคการเมืองทั้งหมด ยกเลิกรัฐธรรมนูญ และยกเลิกรัฐสภา พร้อมกับขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทน
11พ.ศ. 2512

จอมพลถนอม กิตติขจร
พรรคสหประชาไทย
33.8%

หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
พรรคประชาธิปัตย์
26%

-เป็น การเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 11 ของประเทศไทย การเลือกตั้งครั้งนี้ถือเป็นการเลือกตั้งที่มีผู้คนตื่นตัวเป็นอย่างมาก เนื่องจากในช่วงเวลาดังกล่าว ประเทศไทยว่างเว้นการเลือกตั้งมาอย่างยาวนานถึง 11 ปีเต็มด้วยกัน มีผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งทั้งหมด 14,820,180 คน มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 7,285,832 คน คิดเป็นร้อยละ 49.10 ผลการเลือกตั้ง พรรคสหประชาไทย ที่มีจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นหัวหน้าพรรค และพลอากาศเอกทวี จุลละทรัพย์ เป็นเลขาธิการพรรค ได้รับเลือกมาเป็นที่หนึ่ง โดยได้ ส.ส.ทั้งหมด 74 คน ได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ ที่มี หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เป็นหัวหน้าพรรค ได้ ส.ส.ทั้งหมด 55 คน ในวันที่ 7 มีนาคม ปีเดียวกัน ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ จอมพลถนอม กิตติขจร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

สมาชิกวุฒิสภา

ในรัฐธรรมนูญฉบับปีพุทธศักราช 2560 ความส่วนหนึ่งคือจะมีคณะสรรหาคัดเลือกสมาชิกวุฒิสภา 250 คนและจะต้องผ่านการลงมติเห็นชอบจากทางสภาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาจะมีเสียงในสภาโดยมีวาระ 5 ปี

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้
ครั้งที่วันที่วิธีการเลือกตั้งจำนวน
ผู้สมัคร
จำนวน
ส.ว.
ผู้มีสิทธิ
เลือกตั้ง
ผู้มาใช้สิทธิ
เลือกตั้ง
ร้อยละจังหวัดที่มีผู้ใช้
สิทธิมากที่สุด
ร้อยละจังหวัดที่มีผู้ใช้
สิทธิน้อยที่สุด
ร้อยละหมายเหตุ
14 มีนาคม พ.ศ. 2543แบ่งเขต-200
219 เมษายน พ.ศ. 2549แบ่งเขต1,477200
32 มีนาคม พ.ศ. 2551รวมเขต-76
430 มีนาคม พ.ศ. 2557รวมเขต4687743,840,30518,634,86442.51

ใกล้เคียง

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ พ.ศ. 2567 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2549 การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย พ.ศ. 2563 การเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565 การเลือกตั้งระบบสัดส่วน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544

แหล่งที่มา

WikiPedia: การเลือกตั้งในประเทศไทย http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1... http://www.dailynews.co.th/Content/politics/203374... http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?... http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1... http://www.ect.go.th/newweb/th/election/ http://www.parliament.go.th/news/news_detail.php?p... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2554/A/... https://www.ect.go.th/ect_th/more_news.php?cid=13