การเมืองการปกครองตอนต้นรัชกาล ของ จักรพรรดิเมจิ

ประวัติศาสตร์จักรวรรดิญี่ปุ่น

วิกฤตการณ์การเงินโชวะ
กระบวนการสันติภาพแมนจูกัว
กติกาสัญญาต่อต้านคอมมิวนิสต์สากล
สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง
กติกาสัญญาไตรภาคี
กติกาสัญญาความเป็นกลางโซเวียต–ญี่ปุ่น
สงครามแปซิฟิก
การทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ที่ฮิโรชิมะและนางาซากิ
สงครามโซเวียต-ญี่ปุ่น
การยอมจำนนของญี่ปุ่น
การยึดครองญี่ปุ่นโดยฝ่ายสัมพันธมิตร

เหตุผลหลักที่ผู้นำคนสำคัญในรัฐบาลชุดใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โอกูโบะ โทชิมิจิและไซโง ทากาโมริแห่งแคว้นซัตสึมะ ได้กราบทูลเชิญจักรพรรดิเมจิไปยังโตเกียว ก็เพื่อผลักดันให้สมเด็จพระจักรพรรดิพระประมุขเป็นอิสระจากแนวคิดและลักษณะอนุรักษนิยมของชาวเกียวโต ค.ศ. 1871 ไซโกได้ทูลเกล้าฯ ถวายเสนอแผนปฏิรูปโดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

  • อันดับแรก เพื่อลดจำนวนนางกำนัลที่คอยถวายรับใช้พระจักรพรรดิลง เขาชี้แจงว่านับแต่อดีตมาจนบัดนั้น พวกนางมักจะมีอิทธิพลครอบงำวังหลวงมากเกินไป
  • อันดับที่สอง เพื่อเปิดโอกาสให้บุคคลต่าง ๆ ทั้งฝ่ายทหารตั้งแต่ชั้นนักรบสามัญหรือซามูไรขึ้นไป และผู้ที่สืบเชื้อสาย หรือสืบความรู้ทางการปกครอง ได้เข้าทำงานและรับพระราชทานตำแหน่งสูง ๆ ตามความเหมาะสมภายในวังหลวงได้

อิทธิพลการศึกษาแบบอนุรักษนิยมส่งผลให้สมเด็จพระจักรพรรดิทรงคัดค้านแผนปฏิรูปเหล่านี้ ก่อนที่จะโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศเป็นพระราชโองการได้ใน ค.ศ. 1872 ไม่ช้า สมเด็จพระจักรพรรดิก็สนิทสนมกับไซโงเป็นพิเศษ ไซโงสนับสนุนให้พระองค์ทรงม้าเพื่ออกกำลังเสริมสร้างความแข็งแกร่งแก่พระวรกาย และส่งเสริมให้มีความสนพระทัยในการทหารในฐานะที่ทรงเป็นจอมทัพ จักรพรรดิเมจิโปรดการออกตรวจกำลังพล ที่ส่วนใหญ่มาจากแคว้นโชชูและซัตสึมะ เรียกว่า โกชิมเป (ทหารราชองครักษ์) จัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 1871

ใกล้เคียง

จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 จักรพันธ์ ครบุรีธีรโชติ จักรพรรดิโชวะ จักรพรรดิเมจิ จักรพรรดิ จักรพรรดิคังซี จักรพันธ์ แก้วพรม จักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิล จักรพรรดินีโคไลที่ 2 แห่งรัสเซีย จักรพรรดิบ๋าว ดั่ย