สหภาพโซเวียต ของ ประวัติศาสตร์รัสเซีย

ดูบทความหลักที่: สหภาพโซเวียต

การปฏิวัติรัสเซีย

ดูบทความหลักที่: การปฏิวัติรัสเซีย พ.ศ. 2460
ไฟล์:Soviet Union, Lenin (55).jpgวลาดีมีร์ เลนินกล่าวสุนทรพจน์แก่กองทัพแดง หลังจากเดินทางมาถึงโปแลนด์

การตัดสินใจเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ของซาร์นิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย ได้นำมาซึ่งความสูญเสียอย่างใหญ่หลวง ทั้งชีวิตของทหารและชาวรัสเซียนับล้าน และเกิดการจลาจลขึ้นทั่วประเทศ ในที่สุดปี พ.ศ. 2460 จึงเกิดการปฏิวัติล้มล้างระบบซาร์ พระเจ้านิโคลัสที่ 2 สละราชสมบัติ และได้มีการจัดตั้งคณะรัฐบาลเฉพาะกิจเคอเรนสกีขึ้นบริหารประเทศ แต่พรรคบอลเชวิค นำโดย วลาดีมีร์ เลนิน ก็ทำการปฏิวัติยึดอำนาจการบริหารประเทศไว้ได้ โดยการเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบคอมมิวนิสต์ พร้อมทั้งประกาศให้ประเทศเป็นสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต

สงครามกลางเมืองรัสเซีย

สงครามกลางเมืองรัสเซีย เกิดขึ้นนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2461 กองทัพแดงของพรรคบอลเชวิคถูกคุกคามจากรอบด้าน โดยในยูเครนนั้น เยอรมนีได้สนับสนุนรัฐบาลแยกดินแดนชาวยูเครน ส่วนทางใต้นายทหารซาร์คือ นายพลเดนีกิน (Denikin) ได้จัดตั้งกองทัพอาสาสมัคร มีกำลังสำคัญคือ ทหารคอสแซคขับไล่พวกแดงออกจากเทือกเขาคอเคซัส ในเทือกเขาอูราลและไซบีเรีย นายพลสมัยซาร์คือ นายพล เอ. วี. คอลชัค (A.V. Kolchak) จัดตั้งกองทัพของตนขึ้นมาพร้อมกับประกาศตนเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในรัสเซียในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2461 กองกำลังของทั้งสองฝ่ายต่างมุ่งเข้าโจมตีมอสโกใน พ.ศ. 2462 แต่กองทัพคอลแชคถูกกองทัพแดงขับไล่ไปยังไซบีเรียในปี พ.ศ. 2463 ต่อมา กองทัพของนายพลเดนีกินถูกทำลายใน ค.ศ. 1920 และเมื่อมีกองทัพของอดีตนายพลสมัยซาร์อีกคนหนึ่งคือ ยูเดนิช ซึ่งได้ยกจากเอสโตเนีย สู่เปโตรกราด ในฤดูร้อน พ.ศ. 2462 ก็ต้องเป็นฝ่ายแพ้เช่นเดียวกัน การคุกคามครั้งสำคัญเกิดขึ้นอีกเมื่อโปแลนด์ยกกองทัพบุกยูเครน ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2463 กองทัพแดงขับไล่ทหารโปแลนด์ถอยร่นไปถึงแม่น้ำวิสตูลา แต่ชาวโปลผู้รักชาติสามารถร่วมมือกันรักษากรุงวอร์ซอไว้ได้ และทั้งสองฝ่ายได้ลงนามสงบศึกในเดือนตุลาคม

ความพ่ายแพ้ของฝ่ายขาวทุกด้าน ทำให้บอลเชวิคสามารถขยายอิทธิพลเข้าไปในทุกภูมิภาค แห่งสุดท้ายคือ วลาดีวอสตอค ซึ่งได้รับการฟื้นฟูขึ้นภายหลังการยึดครองของญี่ปุ่นพ.ศ. 2461 ได้ถอนตัวออกไปใน พ.ศ. 2465

ชัยชนะของบอลเชวิคเกิดขึ้นด้วยหลายปัจจัย เช่น การที่เลออน ตรอตสกี (Leon Trotsky) สามารถระดมกำลังทหารของซาร์จัดเป็นกองทัพแดงที่แข็งแกร่ง การควบคุมเขตอุตสาหกรรมสำคัญทางภาคกลาง และความสามารถในการส่งกำลังจากมอสโกออกไปยังที่ที่ต้องการได้เป็นรัศมีกว้าง

ยุคสตาลินและยุคหลังสตาลิน

เลนินถึงแก่อสัญกรรมในปี พ.ศ. 2467 โจเซฟ สตาลินขึ้นบริหารประเทศแทนด้วยความเผด็จการ และกวาดล้างทุกคนผู้ที่มีความคิดต่อต้าน เขาเปิดการพัฒนาประเทศสู่อุตสาหกรรมสมัยใหม่จนเทียบเคียงสหรัฐอเมริกา แต่ปัญหาความอดอยากที่เรื้อรังมานานก็ยากเกินเยียวยา และยิ่งเลวร้ายเมื่อฮิตเลอร์สั่งล้อมมอสโกไว้ โดยเฉพาะที่เลนินกราดถูกปิดล้อมไว้นานถึง 900 วันในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ที่ชาวรัสเซียเรียกสงครามครั้งนั้นว่า The Great Patriotic War กระนั้นสตาลินก็มีบทบาทในการพิชิตนาซีเยอรมนี ในสงครามโลกครั้งที่สอง

สมัยเริ่มต้นสงครามเย็น น่าจะอยู่ในสมัยวิกฤตการณ์ทางการทูตในตอนกลางและปลาย พ.ศ. 2490 เมื่อสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตเกิดขัดแย้งเรื่องการจัดตั้งองค์การสันติภาพในตุรกี ยุโรปตะวันออก และเยอรมนี ซึ่งทำให้สหรัฐอเมริกาเริ่มตระหนักว่าเป็นหน้าที่ของตนที่จะต้องเป็นผู้นำต่อต้านแผนการยึดครองโลกของสหภาพโซเวียตที่เป็นผู้นำฝ่ายคอมมิวนิสต์

ปี พ.ศ. 2498 นิกิตา ครุสชอฟ ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้นำโดยมีแนวคิดในการบริหารประเทศที่เน้นการอยู่ร่วมกัน มีการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่ให้เป็นที่อยู่อาศัยของประชาชนผ่อนคลายความเข้มงวดให้น้อยกว่าสมัยสตาลิน รวมถึงเปิดพระราชวังเครมลินเป็นพิพิธภัณฑ์ให้ประชาชนได้เข้าชมอีกด้วย ปี พ.ศ. 2507 ครุชชอฟลาออกจากตำแหน่งเลขาธิการพรรคแทน เบรจเนฟแผ่อิทธิพลไปถึงจีน คิวบา และอัฟกานิสถาน เพิ่มความเครียดไปทั่วโลก เขาจึงนำนโยบายต่างประเทศที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในชื่อ การผ่อนคลายความตึงเครียด มาใช้โดยปีพ.ศ. 2523 มอสโกได้เป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ครั้งที่ 22

การล่มสลายของสหภาพโซเวียต และสู่สหพันธรัฐรัสเซีย

มิคาอิล กอร์บาชอฟบอริส เยลซิน

มิคาอิล กอร์บาชอฟ ขึ้นดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมิวนิสต์ และขึ้นเป็นประธานาธิบดีแทนนายอังเดร โกรมิโกรที่ลาออกในปี พ.ศ. 2531 เขาเป็นผู้นำการปฏิรูปโครงสร้างการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมที่เรียกว่า เปเรสตรอยกา (Perestroyka) โดยนำพาประเทศเข้าสู่ระบบทุนนิยม มีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และพัฒนาฝีมือแรงงานรวมถึงเสนอนโยบายเปิดกว้างกลาสนอสต์ (Glasnost) คือให้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเปิดเผยข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณชน มีการติดต่อด้านการค้ากับตะวันตก รวมถึงถอนกำลังออกจากยุโรปตะวันออกและอัฟกานิสถานและยังได้เข้าร่วมกับองค์การนาโต้หรือองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ ในปี พ.ศ. 2533 กอร์บาชอฟได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ รวมถึงได้รับยกย่องจากนิตยสารไทม์ให้เป็นบุรุษแห่งทศวรรษ (Man of the Decade) กระนั้นปัญหาขาดแคลนสินค้าอุปโภคบริโภค และความล้าหลังทางการผลิตที่สั่งสมมานานก็ทำให้นโยบายเปเรสตรอยกาล้มเหลว ความนิยมในกอร์บาชอฟเริ่มตกลง

ต่อมาเกิดรัฐประหารขึ้นในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2534 โดยกลุ่มคอมมิวนิสต์หัวเก่าที่ไม่ต้องการการเปลี่ยนแปลงสู่ตลาดเสรี แต่บอริส เยลต์ซิน ก็สามารถกู้สถานการณ์เอาไว้ได้ กอร์บาชอฟจึงสิ้นคะแนนนิยมอย่างแท้จริง เขาประกาศลาออกจากตำแหน่ง รวมถึงประกาศยกเลิกพรรคคอมมิวนิสต์ต่อหน้ามหาชน พร้อมด้วยการก้าวขึ้นเป็นผู้นำของเยลต์ซิน สหภาพโซเวียตจึงล่มสลาย สาธารณรัฐต่าง ๆ 15 แห่งประกาศแยกตัวเป็นอิสระ หนึ่งในนั้นคือสาธารณรัฐรัสเซียซึ่งใช้ใหม่ชื่อว่า สหพันธรัฐรัสเซีย โดยมี 11 รัฐที่รวมตัวกันตั้งเป็นเครือรัฐเอกราช (Commonwealth of Independent Stage หรือ CIS) ซึ่งมีรัสเซีย, ยูเครนและเบลารุส เป็นแกนนำสำคัญ กับการบริหารปกครองแบบเสรีประชาธิปไตยที่ส่งให้เยลต์ชินดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีถึง 2 สมัย ปี พ.ศ. 2543 มีการเลือกตั้งครั้งที่ 3 นายวลาดีมีร์ ปูติน ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีจนถึง 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ก็หมดวาระ ประธานาธิบดีคือ ดมิตรี มิดเวดิฟ และต่อมานายวลาดีมีร์ ปูตินได้ชนะการเลือกตั้งดำรงต่อในปัจจุบัน

ใกล้เคียง

ประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ไทย ประวัติศาสนาพุทธ ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น ประวัติศาสตร์จีน ประวัติศาสตร์โลก ประวัติศาสตร์สหรัฐ ประวัติศาสตร์สเปน ประวัติศาสตร์เยอรมนี ประวัติการบินไทย