ประวัติศาสตร์ ของ ประเทศอิสราเอล

ดูบทความหลักที่: ประวัติศาสตร์อิสราเอล

ยุคก่อนประวัติศาสคร์

บทความนี้อาจต้องการพิสูจน์อักษร ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้
การตรึงพระเยซูที่กางเขน” โดยซิโมน วูเอท์ (Simon Vouet) ที่ เจนัว (ค.ศ. 1622)

ประวัติศาสตร์ของอิสราเอลเกิดขึ้นเมื่อพระเจ้าได้ทำพันธสัญญากับท่านอับราฮัม เนื่องจากว่าพระองค์ได้ทรงมองเห็นว่าท่านอับราฮัม เป็นคนชอบธรรมในสายพระเนตรของพระองค์อับราฮัมมีลูกด้วยกันสองคน คนแรกคือ อิสมาเอล (Yismael) ที่เกิดกับหญิงทาสชื่อว่า นางฮาการ์ (Hagar) คนที่สองคือ อิสอัค (Ishak) หรือไอแซค (Issic) ที่เกิดกับซาราห์ (Sarah) ผู้เป็นบุตรหญิงของบิดาของอับราฮัม แต่ไม่ใด้เกิดจากมารดาเดียวกัน ส่วนเชื้อสายของอิสอัคนั้น เป็นต้นตระกูลของชาวอิสราเอล โดยอิสอัคมีลูกด้วยกันสองคนคือ เอซาว (Esau) และยาโคบ (Jacob) หรืออิสราเอลตามที่พระเจ้าได้ทรงตั้งชื่อให้เมื่อครั้งที่ท่านยาโคบหรือท่านอิสราเอลได้ปล้ำสู้กับพระเจ้าแล้วได้ชัยชนะครั้งที่ข้ามแม่น้ำยับบอก (การปล้ำสู้กันครั้งนี้เป็นเหตุให้ผู้ชายอิสราเอลไม่กินเส้นที่ตะโพก ซึ่งอยู่ที่ข้อต่อตะโพกนั้นจนถึงทุกวันนี้ เพราะพระองค์ทรงถูกต้องข้อต่อตะโพกของยาโคบตรงเส้นเอ็นที่ตะโพก)

ยาโคบ Jacob หรือ อิสราเอล มีลูกด้วยกันสิบสามคนคือ รูเบน สิเมโอน เลวี ยูดาห์ ดาน นัฟทาลี กาด อาเชอร์ อิสสาคาร์ เศบูลุน โยเซฟ และเบนยามิน และดีนาหฺ์ (หลังจากให้กำเนิดเศบูลุน เลอาห์ให้กำเนิดบุตรสาวคือดีนาห์นี่เอง) จากพันธสัญญาระหว่างพระเจ้ากับอับราฮัมพระองค์จึงได้บันดาลให้เกิดภัยแล้งขึ้นทั่วโลก

ต่อมาได้เกิดภัยแล้งขึ้น ยาโคบ หรืออิสราเอล และครอบครัว ต้องทำมาหากินด้วยความยากลำบาก โยเซฟ บุตรคนหนึ่งของยาโคบได้ไปเป็นผู้ดูแลราชอาณาจักรในอียิปต์ เขาได้นำพี่น้องทั้งหมดที่ต้องประสบกับภัยแล้งในคานาอันเข้ามาอยู่อาศัยในแผ่นดินอียิปต์ ครั้นพอสิ้นโยเซฟไป ฟาโรห์องค์ต่อมาได้เกิดความไม่ไว้ใจต่อชาวฮีบรู จึงลดฐานะให้เป็นทาส แล้วเกณฑ์แรงงานไปใช้ในการทำอิฐเพื่อใช้ในการก่อสร้างพีรมิด และมีคำสั่งให้ประหารชีวิตเด็กเกิดใหม่เป็นจำนวนมาก มีทารกเพศชายคนหนึ่งรอดตายจากคำสั่งประหารนั้นมาได้ ชื่อว่า "โมเสส" (Moses) โมเสสเติบโตขึ้น เป็นผู้พาพวกอิสราเอล หรือ ฮีบรูซึ่งนับแต่ผู้ชายได้ถึง 600,000 คน ผู้หญิงและเด็กต่างหาก และยังมีฝูงชนชาติอื่นเป็นจำนวนมากติดตามไปด้วย พร้อมทั้งฝูงสัตว์ คือฝูงแพะแกะและโคจำนวนมาก ออกจากอียิปต์กลับไปสู่ประเทศปาเลสไตน์ โดยพระกรที่เหยียดออก

พวกฮีบรูมีความสามัคคีและมีกำลังเข้มเข็งขึ้น จึงได้ทำการรวบรวมดินแดนโดยรอบ อันได้แก่ ดินแดนของพวกคานัน และพวกอาราเอลไลท์ แต่ก็ถูกรุกรานจากพวกพวกฟิลิเตีย (Philistine) ซึ่งอพยพจากเกาะครีต และเข้ามาตั้งภูมิลำเนาอยู่แถบชายทะเล ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของปาเลสไตน์ และพวกอามอไรท์กับฮิตไตท์จากทางเหนือ ทำให้เกิดความจำเป็นที่จะต้องมีกษัตริย์ปกครอง พวกอิสราเอลไลท์ได้พร้อมใจกันเลือกหัวหน้ากลุ่มที่เข้มแข็งขึ้นมาผู้หนึ่งชื่อ "ซาอูล" (Saul) ขึ้นเป็นกษัตริย์องค์แรก เมื่อประมาณ 1,050 ปี ก่อนคริสตกาล หลังจากนั้น ชาวยิวมีกษัตริย์ที่เก่งกล้าอีก 2 องค์คือกษัตริย์ดาวิดและกษัตริย์โซโลมอน เมื่อกษัตริย์โซโลมอนสิ้นพระชนม์ เมื่อ ปี 930 ก่อนคริสต์ศักราช ทำให้อาณาจักรของโซโลมอนแตกออกป็นสองส่วนคือ อาณาจักรอิสราเอล (The Kingdom of Israel) โดยมีกรุงสะมาเรียเป็นเมืองหลวง และอาณาจักรยูดาห์ (Kingdom of Judah) โดยมีเยรูซาเลมเป็นศูนย์กลาง

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

ยุคกลางและประวัติศาสตร์ยุคใหม่

ในปี 634–641 บริเวณนี้ รวมทั้งเยรูซาเลม ถูกอาหรับที่เพิ่งเข้ารีตอิสลามพิชิต การควบคุมดินแดนนี้เปลี่ยนแปลงระหว่างรัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดีน อุมัยยะฮ์ อับบาซียะฮ์ ฟาติมียะห์ เซลจุก ครูเซเดอร์และอัยยูบิดในช่วงสามศตวรรษถัดมา[38]

ระหว่งการล้อมเยรูซาเลมในสงครามครูเสดครั้งที่หนึ่งในปี 1099 ผู้อยู่อาศัยในนครชาวยิวต่อสู้เคียงบ่าเคียงไหล่กับกำลังประจำที่ตั้งฟาติมียะห์และประชากรมุสลิมซึ่งพยายามปกป้องนครจากนักรบครูเสดอย่างไร้ผล เมื่อนครแตก มีผู้ถูกสังหารหมู่ประมาณ 60,000 คน รวมทั้งยิว 6,000 คนที่ลี้ภัยในธรรมศาลาแห่งหนึ่ง[39] ในเวลานั้นซึ่งล่วงเลยการล่มสลายของรัฐยิวมาครบหนึ่งพันปี มีชุมชนยิวอยู่ทั่วประเทศ มีชุมชนที่ทราบ 50 แห่ง รวมทั้งเยรูซาเลม ไทเบียเรียส รามลา แอชคะลอน เซซาเรีย และกาซา[40] อัลเบิร์ตแห่งอาเคินระบุว่า ผู้อยู่อาศัยในไฮฟาชาวยิวเป็นกำลังสู้รบหลักของนคร และ "ปะปนกับทหารซาราเซ็น [ฟาติมียะห์]" พวกเขาต่อสู้อย่างกล้าหาญเกือบเดือนจนถูกกองทัพเรือและทัพบกนักรบครูเสดบีบบังคับให้ล่าถอย[41][42]

ในปี 1165 ไมมอนีดีซ (Maimonides) เยือนเยรูซาเลมและสวดภาวนาบนเนินพระวิหารใน "สถานศักดิ์สิทธิ์ใหญ่" ในปี 1141 กวีชาวสเปนเชื้อสายยิว เยฮูดา ฮาเลวี (Yehuda Halevi) เรียกร้องให้ยิวย้ายไปยังแผ่นดินอิสราเอลซึ่งเขาเดินทางไปด้วยตนเอง ในปี 1887 สุลต่านเศาะลาฮุดดีนพิชิตนักรบครูเสดในยุทธการที่ฮัททิน และต่อมายึดเยรูซาเลมและปาเลสไตน์เกือบทั้งหมด ในเวลานั้น เศาะลาฮุดดีนออกประกาศเชิญชวนยิวให้หวนคืนและตั้งถิ่นฐานในเยรูซาเลม[43] และยูดาห์ อัลฮารีซี (Judah al-Harizi) ระบุว่า "นับแต่อาหรับยึดเยรูซาเลม ชาวอิสราเอลก็อยู่อาศัยที่นั่น"[44] อัลฮารีซีเปรียบเทียบพระราชกฤษฎีกาของเศาะลาฮุดดีนที่อนุญาตให้ยิวตั้งถิ่นฐานในเยรูซาเลมกับพระราชกฤษฎีกาของพระมหากษัตริย์เปอร์เซีย พระเจ้าไซรัสมหาราช เมื่อกว่า 1,600 ปีก่อน[45]

ในปี 1211 ชุมชนชาวยิวในประเทศเข้มแข็งขึ้นเมื่อกลุ่มยิวที่มีแรบไบกว่า 300 คนเป็นหัวหน้าเข้ามาจากฝรั่งเศสและอังกฤษ[46] ซึ่งมีแรบไบแซมซัน เบน อับราฮัมแห่งเซนส์[47] แนคแมนีดีซ (Nachmanides) แรบไบชาวสเปนสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 13 และผู้นำยิวที่ได้รับการรับรองยกย่องแผ่นดินอิสราเอลอย่างสูงและมองว่านิคมยิวเป็นข้อบัญญัติแน่นอนที่มีผลต่อยิวทุกคน เขาเขียนว่า "หากผู้มิใช่ยิวประสงค์สร้างสันติ เราจักสร้างสันติและปล่อยพวกเขาไว้บนเงื่อนไขชัดเจน แต่สำหรับเรื่องแผ่นดิน เราจักไม่ยอมปล่อยให้ตกอยู่ในมือพวกเขา หรือในดินแดนของชาติใด ไม่ว่าในอายุคนใด"[48]

ในปี 1260 การควบคุมภูมิภาคปาเลสไตน์ตกเป็นของสุลต่านมัมลุกอียิปต์[49] ประเทศตั้งอยู่ระหว่างศูนย์กลางอำนาจของมัมลุกสองแห่ง คือ ไคโรและดามัสกัสและมีการพัฒนาบ้างตามถนนส่งจดหมายที่เชื่อมระหว่างสองนคร เยรูซาเลมแม้ไม่มีการคุ้มครองจากกำแพงนครใด ๆ มาตั้งแต่ปี 1219 ก็มีโครงการก่อสร้างใหม่ ๆ ที่ตั้งอยู่รอบมัสยิดอัลอักศอบนเนินพระวิหาร ในปี 1266 สุลต่านไบบาส์ (Baybars) แห่งมัมลุกเปลี่ยนสภาพถ้ำอัครบิดร (Cave of the Patriarchs) ในฮีบรอนเป็นสถานที่คุ้มภัยของอิสลามโดยเฉพาะและห้ามคริสต์ศาสนิกชนและยิวเข้า ซึ่งเดิมสามารถเข้าได้โดยต้องจ่ายค่าธรรมเนียม คำสั่งห้ามมีผลจนอิสราเอลเข้าควบคุมอาคารในปี 1967[50][51]

ในปี 1516 ภูมิภาคนี้ถูกจักรวรรดิออตโตมันพิชิต และอยู่ในการควบคุมของออตโตมันจนสิ้นสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เมื่อบริเตนพิชิตกำลังออตโตมันและตั้งรัฐบาลทหารขึ้นปกครองทั่วอดีตออตโตมันซีเรีย ในปี 1920 ดินแดนดังกล่าวถูกแบ่งระหว่างบริเตนและฝรั่งเศสภายใต้ระบบอาณัติ และพื้นที่ที่บริเตนบริหารราชการแผ่นดินซึ่งรวมอิสราเอลสมัยใหม่ได้ชื่อว่า ปาเลสไตน์ในอาณัติ[49][52][53]

ขบวนการไซออนิสต์และอาณัติของบริเตน

ทีโอดอร์ เฮิซ (Theodor Herzl) ผู้มีวิสัยทัศน์รัฐยิว

นับแต่มีชุมชนยิวพลัดมาตุภูมิแรกสุด ยิวจำนวนมากหวังคืนสู่ "ไซออน" และ "แผ่นดินอิสราเอล"[54] แม้ปริมาณความพยายามที่ควรใช้ไปเพื่อเป้าหมายนี้เป็นหัวข้อพิพาท[55][56] ความหวังและความปรารถนาของยิวที่อาศัยอยู่นอกมาตุภูมิเป็นแก่นสำคัญของระบบความเชื่อของยิว[55] หลังยิวถูกขับไล่ออกจากสเปนในปี 1492 บางชุมชนตั้งถิ่นฐานอยู่ในปาเลสไตน์[57] ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16 ชุมชนยิวตั้งรกรากในสี่นครศักดิ์สิทธิ์ ได้แก่ เยรูซาเลม ไทเบียเรียส ฮีบรอนและซาเฟ็ด และในปี 1697 แรบไบเยฮูดา ฮาชาซิด (Yehuda Hachasid) นำกลุ่มยิว 1,500 คนไปเยรูซาเลม[58] ในครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 18 ผู้คัดค้านลัทธิฮาซิดิมชาวยุโรปตะวันออก ที่เรียก เปรูชิม (Perushim) ตั้งถิ่นฐานในปาเลสไตน์[59][60][61]

การย้ายถิ่นของยิวสมัยใหม่ระลอกแรกไปปาเลสไตน์ในปกครองของออตโตมัน ที่เรียก อะลียาครั้งแรก (First Aliyah) เริ่มขึ้นในปี 1881 เมื่อยิวหนีโพกรมในยุโรปตะวันออก[62] แม้มีขบวนการไซออนิสต์แล้ว นักหนังสือพิมพ์ชาวออสเตรีย-ฮังการี ทีโอดอร์ เฮิซ (Theodor Herzl) ได้รับความชอบว่าเป็นผู้ก่อตั้งขบวนการการเมืองไซออนิสต์[63] เป็นขบวนการซึ่งมุ่งสถาปนารัฐยิวในแผ่นดินอิสราเอล ฉะนั้นจึงเสนอทางออกแก่ปัญหาชาวยิวในรัฐยุโรป ร่วมกับเป้าหมายและความสำเร็จของโครงการระดับชาติอื่นในเวลานั้น[64] ในปี 1896 เฮิซจัดพิมพ์หนังสือ รัฐยิว เสนอวิสัยทัศน์รัฐยิวในอนาคต ปีต่อมาเขาเป็นประธานสภาไซออนิสต์ครั้งที่หนึ่ง[65]

อะลียาครั้งที่สอง (ปี 1904–14) เริ่มขึ้นหลังโพกรมคีชีเนฟ (Kishinev pogrom) มียิวประมาณ 40,000 คนตั้งถิ่นฐานในปาเลสไตน์ แม้เกือบครึ่งออกจากที่นั้นในที่สุด[62] ผู้เข้าเมืองทั้งสองระลอกแรกเป็นยิวออร์ทอด็อกซ์เสียส่วนใหญ่[66] แม้อะลียาครั้งที่สองมีกลุ่มสังคมนิยมซึ่งสถาปนาขบวนการคิบบุตส์ (kibbutz) อยู่ด้วย[67] ระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศบริเตน อาร์เธอร์ แบลเฟอร์ (Arthur Balfour) ส่งปฏิญญาแบลเฟอร์ปี 1917 แก่บารอนรอทส์ไชลด์ (วัลเทอร์ รอทส์ไชลด์ บารอนที่ 2 แห่งรอทส์ไชลด์) ผู้นำชุมชนยิวบริเตน ซึ่งแถลงว่าบริเตนตั้งใจสถาปนา "บ้านชาติ" ของยิวในอาณัติปาเลสไตน์[68][69]

พิธีโอนเยรูซาเลมให้อยู่ในการปกครองของบริเตนหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

ในปี 1918 ลีจันยิว กลุ่มซึ่งประกอบด้วยอาสาสมัครไซออนิสต์เป็นหลัก สนับสนุนการพิชิตปาเลสไตน์ของบริเตน[70] การคัดค้านการปกครองของบริเตนและการเข้าเมืองของยิวนำไปสู่เหตุจลาจลในปาเลสไตน์ปี 1920 และการสถาปนาทหารอาสาสมัครยิวที่เรียก ฮาฆอนาฮ์ (Haganah) ซึ่งต่อมาแยกออกมาเป็นกลุ่มกึ่งทหารออกัน (Irgan) และเลฮี (Lehi)[71] ในปี 1922 สันนิบาตชาติให้อาณัติเหนือปาเลสไตน์แก่บริเตนภายใต้เงื่อนไขซึ่งรวมปฏิญญาแบลเฟอร์และคำมั่นแก่ยิว และบทบัญญัติคล้ายกันว่าด้วยชาวปาเลสไตน์เชื้อสายอาหรับ[72] ประชากรของพื้นที่ในเวลานั้นเป็นอาหรับและมุสลิมเป็นหลัก โดยมียิวคิดเป็นประมาณร้อยละ 11[73] และคริสต์ศาสนิกชนเชื้อสายอาหรับประมาณร้อยละ 9.5 ของประชากร[74]

อะลียาครั้งที่สาม (1919–23) และครั้งที่สี่ (1924–29) นำชาวยิวอีก 100,000 คนมายังปาเลสไตน์[62] ความรุ่งเรืองของลัทธินาซีและการเบียดเบียนยิวที่เพิ่มขึ้นในทวีปยุโรปคริสต์ทศวรรษ 1930 นำไปสู่อะลียาครั้งที่ห้า โดยมีการไหลบ่าของชาวยิวกว่า 250,000 คน ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของกบฏอาหรับปี 1936–39 ระหว่างนั้นทางการอาณัติบริติชร่วมกับทหารอาสาสมัครอาฆอนาห์และออกันฆ่าอาหรับ 5,032 คนและทำให้มีผู้บาดเจ็บ 14,760 คน[75][76] ทำให้ประชากรอาหรับปาเลสไตน์ชายผู้ใหญ่กว่าร้อยละ 10 ถูกฆ่า ได้รับบาดเจ็บ ถูกจำคุกหรือถูกเนรเทศ[77] บริเตนริเริ่มการจำกัดการเข้าเมืองปาเลสไตน์ของยิวด้วยกระดาษขาวปี 1939 เมื่อประเทศทั่วโลกไม่รับผู้ลี้ภัยยิวที่หนีฮอโลคอสต์ จึงมีการจัดระเบียบขบวนการลับที่เรียก เข็มขัดอะลียา เพื่อนำยิวไปปาเลสไตน์[62] เมื่อสิ้นสงครามโลกครั้งที่สอง ประชากรยิวของปาเลสไตน์เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 33 ของประชากรทั้งหมด[78]

หลังสงครามโลกครั้งที่สองและเอกราช

แผนที่ "แผนการแบ่งปาเลสไตน์พร้อมกับสหภาพเศรษฐกิจ" ของยูเอ็นที่ยิวยอมรับ แต่อาหรับปฏิเสธ

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง บริเตนขัดแย้งรุนแรงกับชุมชนยิวเรื่องการจำกัดการเข้าเมืองของยิว ตลอดจนความขัดแย้งกับชุมชนอาหรับเรื่องระดับขีดจำกัด ฮาฆอนาห์เข้าร่วมกับออกันและเลฮีในการต่อสู้ด้วยอาวุธต่อการปกครองของบริเตน[79] ขณะเดียวกัน ผู้รอดชีวิตและผู้ลี้ภัยฮอโลคอสต์ชาวยิวหลายแสนคนแสวงชีวิตใหม่ห่างไกลจากชุมชนที่ถูกทำลายในทวีปยุโรป ยีชูฟ (Yishuv) พยายามนำผู้ลี้ภัยเหล่านี้มาปาเลสไตน์ แต่มีจำนวนมากถูกปฏิเสธหรือถูกบริเตนจับขังไว้ในค่ายกักกันในอัตลิตและไซปรัส

วันที่ 22 กรกฎาคม 1946 ออกันโจมตีสำนักงานใหญ่บริหารราชการแผ่นดินของบริเตนสำหรับปาเลสไตน์ ซึ่งตั้งอยู่ที่โรงแรมคิงดาวิดในเยรูซาเลม[80][81] มีผู้เสียชีวิตหลายสัญชาติรวม 91 คน และได้รับบาดเจ็บอีก 46 คน[82] โรงแรมนั้นยังเป็นที่ตั้งของสำนักเลขาธิการรัฐบาลปาเลสไตน์และสำนักงานใหญ่ของกองทัพบริเตนในปาเลสไตน์และทรานส์เจอร์แดน ทีแรกการโจมตีนี้ได้รับความเห็นชอบจากฮาฆอนาห์ เข้าใจว่าเหตุนี้เป็นการตอบโต้ปฏิบัติการอะกาธา (การตีโฉบฉวยเป็นวงกว้างรวมทั้งต่อหน่วยงานยิว ซึ่งทางการบริติชเป็นผู้ลงมือ) และเป็นครั้งที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดต่อชาวบริติชระหว่างสมัยอาณัติ[82][83] ในปี 1947 รัฐบาลบริติชประกาศว่าจะถอนตัวออกจากปาเลสไตน์ โดยแถลงว่าไม่สามารถบรรลุวิธีระงับปัญหาที่ทั้งอาหรับและยิวยอมรับ

วันที่ 15 พฤษภาคม 1947 สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่เพิ่งตั้งได้ข้อสรุปว่าให้ตั้งคณะกรรมการพิเศษแห่งสหประชาชาติว่าด้วยปาเลสไตน์ "เพื่อเตรียมรายงานว่าด้วยปัญหาปาเลสไตน์สำหรับข้อพิจารณาในสมัยประชุมสามัญแห่งสมัชชาฯ"[84] ในรายงานของคณะกรรมการฯ ลงวันที่ 3 กันยายน 1947 ถึงสมัชชาใหญ่ฯ[85] คณะกรรมการฯ ส่วนใหญ่ในบทที่ 6 เสนอแผนแทนที่อาณัติปาเลสไตน์ด้วย "รัฐอาหรับเอกราช รัฐยิวเอกราช และนครเยรูซาเลม ... โดยอย่างหลังให้อยู่ภายใต้ระบบภาวะทรัสตีระหว่างประเทศ"[86] วันที่ 29 พฤศจิกายน สมัชชาใหญ่ฯ รับข้อมติที่ 181 (II) แนะนำการมีมติเห็นชอบและการนำไปปฏิบัติซึ่งแผนการแบ่งพร้อมสหภาพเศรษฐกิจ[20] แผนที่แนบกับข้อมติมีความสำคัญที่เสนอโดยคณะกรรมการฯ ส่วนใหญ่ในรายงานวันที่ 3 กันยายน หน่วยงานยิวซึ่งเป็นผู้แทนชุมชนยิวที่ได้รับการรับรอง ยอมรับแผนนี้[22][23] ฝ่ายสันนิบาตอาหรับและคณะกรรมการสูงอาหรับปาเลสไตน์ปฏิเสธ และบ่งชี้ว่าจะปฏิเสธแผนแบ่งส่วนใด ๆ[21][87] วันรุ่งขึ้น คือ 1 ธันวาคม 1947 คณะกรรมการสูงอาหรับประกาศการหยุดงานประท้วงสามวัน และแก๊งอาหรับเริ่มโจมตีเป้าหมายยิว[88] ทีแรกยิวเป็นฝ่ายตั้งรับเมื่อสงครามกลางเมืองปะทุ แต่ในต้นเดือนเมษายน 1948 เปลี่ยนเป็นฝ่ายบุก[89][90] เศรษฐกิจปาเลสไตน์อาหรับล่มสลายและชาวอาหรับปาเลสไตน์หลบหนีหรือถูกขับไล่ 250,000 คน[91]

การปักธงหมึกเป็นการสิ้นสุดสงครามอาหรับ–อิสราเอล ค.ศ. 1948

วันที่ 14 พฤษภาคม 1948 หนึ่งวันก่อนอาณัติบริติชหมดอายุ เดวิด เบนกูเรียน หัวหน้าหน่วยงานยิว ประกาศ "การสถาปนารัฐยิวในแผ่นดินอิสราเอล เรียก รัฐอิสราเอล"[24][92] การพาดพิงเดียวในข้อความของประกาศฯ ถึงเขตแดนของรัฐใหม่คือการใช้คำว่าแผ่นดินอิสราเอล (Eretz-Israel)[93] วันรุ่งขึ้น กองทัพประเทศอาหรับสี่ประเทศ คือ อียิปต์ ซีเรีย ทรานส์จอร์แดนและอิรัก ยาตราเข้าอดีตปาเลสไตน์ในอาณัติบริเตน เปิดฉากสงครามอาหรับ–อิสราเอล ค.ศ. 1948[94][95] ทหารสมทบจากประเทศเยเมน โมร็อกโก ซาอุดีอาระเบียและซูดานเข้าร่วมสงครามด้วย[96][97] ความมุ่งหมายปรากฏของการบุกครองคือการป้องกันการถสาปนารัฐยิวตั้งแต่เริ่มบังคับและผู้นำอาหรับบางคนพูดถึงการผลักดันยิวตกทะเล[98][23][99] เบนนี มอร์ริสว่า ยิวรู้สึกว่ากองทัพอาหรับที่กำลังบุกครองมุ่งฆ่าล้างบางยิว[100] สันนิบาตอาหรับแถลงว่าการบุกครองเป็นไปเพื่อฟื้นฟูกฎหมายและความสงบเรียบร้อยและป้องกันการนองเลือดเพิ่มอีก[101]

หลังการสู้รบนานหนึ่งปี มีการประกาศการหยุดยิงและมีการสถาปนาพรมแดนชั่วคราว เรียก เส้นเขียว (Green Line)[102] จอร์แดนผนวกดินแดนที่เรียก เวสต์แบงก์ รวมทั้งเยรูซาเลมตะวันออก และอียิปต์ควบคุมฉนวนกาซา สหประชาชาติประมาณว่าชาวปาเลสไตน์กว่า 700,000 คนถูกขับไล่หรือหลบหนีจากกำลังอิสราเอลที่กำลังรุกคืบระหว่างความขัดแย้งนั้น ซึ่งภาษาอารบิกเรียก นัคบา ("หายนะ")[103] ส่วน 156,000 คนยังอยู่และกลายเป็นพลเมืองอิสราเอลเชื้อสายอาหรับ[104]

ปีแรก ๆ ของรัฐอิสราเอล

ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่: ความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอล

ประเทศอิสราเอลได้รับเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติด้วยคะแนนเสียงฝ่ายข้างมากเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 1949[105] ทั้งอิสราเอลและจอร์แดนสนใจความตกลงสันติภาพอย่างจริงใจ แต่บริเตนขัดขวางความพยายามของจอร์แดนเพื่อเลี่ยงความเสียหายต่อผลประโยชน์ของบริเตนในอียิปต์[106] ในปีแรก ๆ ของรัฐ ขบวนการไซออนิสต์เลเบอร์ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเดวิด เบนกูเรียนเป็นผู้นำ ครอบงำการเมืองอิสราเอล[107][108] คิบบุตซิม หรือชุมชนระบบนารวม มีบทบาทสำคัญในการสถาปนารัฐใหม่[109]

การเข้าเมืองอิสราเอลระหว่างปลายคริสต์ทศวรรษ 1940 และต้นคริสต์ทศวรรษ 1950 ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงการเข้าเมืองอิสราเอลและสถาบันการเข้าเมืองมิชอบด้วยกฎหมายที่เอกชนสนับสนุน ทั้งสองกลุ่มอำนวยความสะดวกแก่ลอจิสติกส์การเข้าเมืองเป็นประจำเช่น การจัดหาการขนส่ง แต่ฝ่ายหลังเข้าร่วมในปฏิบัติการลับในหลายประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตะวันออกกลางและยุโรปตะวันออก ที่ซึ่งชีวิตชาวยิวเชื่อว่าตกอยู่ในอันตรายและการออกจากที่เหล่านั้นยาก มีการยุบสถาบันการเข้าเมืองมิชอบด้วยกฎหมายในปี 1953[110] การเข้าเมืองเป็นไปตามแผนหนึ่งล้าน ผู้เข้าเมืองมีเหตุผลหลากหลาย บ้างมีความเชื่อแบบไซออนิสต์หรือมาเพราะคำมั่นสำหรับชีวิตที่ดีกว่านอิสราเอล แต่บ้างย้ายเพื่อหนีการเบียดเบียนหรือถูกขับไล่[111][112]

การไหลบ่าของผู้รอดชีวิตจากฮอโลคอสต์และยิวจากประเทศอาหรับและมุสลิมเข้าประเทศอิสราเอลระหว่างสามปีแรกเพิ่มจำนวนยิวจาก 700,000 คนเป็น 1.4 ล้านคน ภายในปี 1958 ประชากรอิสราเอลเพิ่มขึ้นเป็น 2 ล้านคน[113] ระหว่างปี 1948 และ 1970 มีผู้ลี้ภัยชาวยิวประมาณ 1,150,000 คนย้ายถิ่นเข้าประเทศอิสราเอล[114] ผู้เข้าเมืองใหม่บางส่วนมาเป็นผู้ลี้ภัยโดยไม่มีทรัพย์สินติดตัวและกำหนดให้ำนักในค่ายชั่วคราวเรียก มาอะบารอต (ma'abarot) ภายในปี 1952 มีกว่า 200,000 คนอาศัยอยู่ในนครเต๊นท์เหล่านี้[115] ยิวที่มาจากทวีปยุโรปมักได้รับการปฏิบัติดีกว่ายิวจากประเทศตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ หน่วยเคหะที่สงวนไว้สำหรับยิวกลุ่มหลักมักได้รับกำหนดใหม่แก่ยิวกลุ่มแรก ส่งผลให้ยิวจากดินแดนอาหรับโดยทั่วไปอาศัยอยู่ในค่ายเปลี่ยนผ่านนานกว่า[116] ความตึงเครียดซึ่งพัฒนาขึ้นระหว่างสองกลุ่มจากการเลือกปฏิบัติดังกล่าวดำเนินมาถึงทุกวันนี้[117] ระหว่างช่วงนี้ อาหาร เครื่องนุ่งห่มและเฟอร์นิเจอร์จำเป็นต้องได้รับการปันส่วน ซึ่งเรียก ยุครัดเข็มขัด ความจำเป็นเพื่อระงับวิกฤตการณ์นำให้เบนกูเรียนลงนามความตกลงค่าปฏิกรรมกับประเทศเยอรมนีตะวันตก ทำให้เกิดการประท้วงขนาดใหญ่ของยิวซึ่งโกรธแค้นกับแนวคิดที่ว่าอิสราเอลสามารถระงับค่าตอบแทนเป็นเงินจากฮอโลคอสต์[118]

ระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1950 ประเทศอิสราเอลถูกเฟดายีนปาเลสไตน์ (Palestinian fedayeen) โจมตีบ่อยครั้ง โดยมีเป้าหมายต่อพลเรือนเกือบทั้งหมด[119] ส่วนใหญ่จากฉนวนกาซาที่อียิปต์ยึดครอง[120] นำให้เกิดการตีโฉบฉวยโต้ตอบ ในปี 1956 บริเตนใหญ่และฝรั่งเศสมุ่งเข้าควบคุมคลองสุเอซอีกครั้ง ซึ่งอียิปต์โอนเป็นของรัฐ การปิดล้อมคลองสุเอซและช่องแคบติรานมิให้อิสราเอลขนส่งทางเรือ ร่วมกับปริมาณการโจมตีของเฟดายีนต่อประชากรภาคใต้ของอิสราเอลที่เพิ่มขึ้น และถ้อยแถลงร้ายแรงและคุกคามของอาหรับล่าสุด ทำให้อิสราเอลโจมตีอียิปต์[121][122][123][124] อิสราเอลเข้าเป็นพันธมิตรลับกับบริเตนใหญ่และฝรั่งเศส และสามารถเอาชนะได้คาบสมุทรไซนาย แต่ถูกสหประชาชาติกดดันให้ถอนกำลังเพื่อแลกกับการรับประกันสิทธิการเดินเรือของอิสราเอลในทะเลแดงโดยทางช่องแคบติรานและคลองฯ[125][126] สงครามนั้น ซึ่งเรียก วิกฤตการณ์คลองสุเอซ ทำให้ลดการแทรกซึมชายแดนอิสราเอลลดลงอย่างสำคัญ[127][128][129][130] ในค้นคริสต์ทศวรรษ 1960 อิสราเอลจับตัวอาชญากรสงครามนาซี อดอล์ฟ ไอชมันน์ในประเทศอาร์เจนตินาและนำตัวมาไต่สวนในอิสราเอล[131] การไต่สวนนั้นมีผลกระทบใหญ่หลวงต่อความตระหนักสาธารณะของฮอโลคอสต์[132] ไอชมันน์ยังเป็นผู้เดียวที่ถูกประหารชีวิตในประเทศอิสราเอลจากคำพิพากษาของศาลพลเรือนอิสราเอลจนถึงปัจจุบัน[133]

ดินแดนที่อิสราเอลถือครอง:
  หลังสงคราม
คาบสมุทรไซนายคืนให้อียิปต์ในปี 1982

นับแต่ปี 1964 ประเทศอาหรับที่กังวลต่อแผนของอิสราเอลในการปันน้ำจากแม่น้ำจอร์แดนสู่ที่ราบชายฝั่ง[134] พยายามหันเหต้นน้ำเพื่อตัดทรัพยากรน้ำของอิสราเอล ยั่วยุความตึงเครียดระหว่างอิสราเอลฝ่ายหนึ่ง และซีเรียและเลบานอนอีกฝ่ายหนึ่ง นักชาตินิยมอาหรับซึ่งมีประธานาธิบดีอียิปต์ ญะมาล อับดุนนาศิร เป็นผู้นำ ปฏิเสธที่จะรับรองอิสราเอลและเรียกร้องให้ทำลายล้างอิสราเอล[25][135][136] ภายในปี 1966 ความสัมพันธ์อาหรับ–อิสราเอลเสื่อมลงถึงขั้นที่มีการยุทธ์จริงจังระหว่างกำลังอิสราเอลและอาหรับ[137] ในเดือนพฤษภาคม 1967 อียิปต์ประชุมกองทัพใกล้ชายแดนกับอิสราเอล ขับไล่กำลังรักษาสันติภาพสหประชาชาติซึ่งประจำอยู่ในคาบสมุทรไซนายตั้งแต่ปี 1957 และสกัดการเข้าถึงทะเลแดงของอิสราเอล[138][139][140] รัฐอาหรับอื่นระดมกำลังเช่นกัน[141] อิสราเอลย้ำว่าการกระทำเหล่านี้เป็นเหตุแห่งสงคราม และในวันที่ 5 มิถุนายน เปิดฉากการโจมตีก่อนต่ออียิปต์ จอร์แดน ซีเรียและอิรักตอบสนองและโจมตีอิสราเอล ในสงครามหกวัน อิสราเอลพิชิตจอร์แดนและยึดเวสต์แบงก์ พิชิตอียิปต์และยึดฉนวนกาซาและคาบสมุทรไซนาย และพิชิตซีเรียและยึดที่ราบสูงโกลัน[142] ขอบเขตของเยรูซาเลมขยายใหญ่ขึ้น รวมเยรูซาเลมตะวันออก และเส้นเขียวปี 1949 กลายเป็นเขตแดนบริหารราชการแผ่นดินระหว่างอิสราเอลและดินแดนยึดครอง

นับแต่สงครามปี 1967 และข้อมติ "สามไม่" ของสันนิบาตอาหรับ ระหว่างสงครามการบั่นทอนกำลังปี 1967–1970 อิสราเอลเผชิญการโจมตีจากอียิปต์ในไซนาย จากกลุ่มปาเลสไตน์ที่มุ่งเป้าชาวอิสราเอลในดินแดนยึดครอง ในดินแดนอิสราเอล และทั่วโลก กลุ่มปาเลสไตน์และอาหรับที่สำคัญที่สุดคือ องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ (PLO) ซึ่งสถาปนาในปี 1964 ซึ่งเดิมมุ่งมั่นเพื่อ "การต่อสู้ด้วยอาวุธว่าเป็นทางเดียวในการปลดปล่อยบ้านเกิด"[143][144] ในปลายคริสต์ทศวรรษ 1960 และต้นคริสต์ทศวรรษ 1970 กลุ่มปาเลสไตน์เปิดฉากการโจมตีเป็นระลอก[145][146] ต่อเป้าหมายอิสราเอลและยิวทั่วโลก[147] รวมทั้งการสังหารหมู่นักกีฬาอิสราเอลในโอลิมปิกฤดูร้อน 1972 ในมิวนิก รัฐบาลอิสราเอลตอบโต้ด้วยการทัพลอบฆ่าต่อผู้อยู่เบื้องหลังการสังหารหมู่ การทิ้งระเบิดทางอากาศและการตีโฉบฉวยต่อสำนักงานใหญ่ PLO ในประเทศเลบานอน

วันที่ 6 ตุลาคม 1973 ระหว่างที่ยิวกำลังจัดยมคิปปูร์ ซึ่งเป็นเทศกาลสำคัญที่สุดของยิว กองทัพอียิปต์และซีเรียเปิดฉากการโจมตีอย่างจู่โจมต่อกำลังอิสราเอลในคาบสมุทรไซนายและที่ราบสูงโกลัน ซึ่งเปิดฉากสงครามยมคิปปูร์ สงครามยุติในวันที่ 25 ตุลาคมโดยอิสราเอลสามารถผลักดันกำลังอียิปต์และซีเรียแต่สูญเสียทหารกว่า 2,500 นายในสงครามที่คร่าชีวิต 10,000–35,000 คนในเวลาประมาณ 20 วัน[148] การสอบสวนภายในถือว่ารัฐบาลพ้นความรับผิดชอบสำหรับความล้มเหลวทั้งก่อนหน้าและระหว่างสงคราม แต่สาธารณะบีบบังคับให้นายกรัฐมนตรีโกลดา เมอีร์ลาออก[149] ในเดือนกรกฎาคม 1976 มีเครื่องบินโดยสารหนึ่งถูกกองโจรปาเลสไตน์จี้ระหว่างบินจากอิสราเอลไปประเทศฝรั่งเศส และลงจอดที่เอ็นเทบเบ (Entebbe) ประเทศอูกันดา คอมมานโดอิสราเอลดำเนินปฏิบัติการซึ่งสามารถช่วยเหลือตัวประกันชาวอิสราเอลได้สำเร็จ 102 คนจาก 106 คน

ความขัดแย้งเพิ่มเติมและกระบวนการสันติภาพ

การเลือกตั้งคเนสเซตปี 1977 เป็นจุดพลิกผันสำคัญในประวัติศาสตร์การเมืองของอิสราเอลเมื่อพรรคลิคุดของเมนาเฮม เบกินชนะพรรคแรงงาน[150] ในปีเดียวกัน ประธานาธิบดีอียิปต์ อันวัร อัสซาดาต เดินทางไปประเทศอิสราเอลและปราศรัยต่อคเนสเซตซึ่งถือเป็นการรับรองอิสราเอลของประมุขแห่งรัฐอาหรับครั้งแรก[151] ในอีกสองปีต่อมา ซาดาดและเบกินลงนามข้อตกลงค่ายเดวิด (ปี 1978) และสนธิสัญญาสันติภาพอิสราเอล–อียิปต์ (ปี 1979)[152] อิสราเอลยอมถอนกำลังจากคาบสมุทรไซนายและตกลงเข้าสู่การเจรจาเรื่องอัตตาณัติของชาวปาเลสไตน์ในเวสต์แบงก์และฉนวนกาซา[153]

วันที่ 11 มีนาคม 1978 กองโจร PLO ตีโฉบฉวยจากประเทศเลบานอนนำไปสู่การสังหารหมู่ถนนชายฝั่ง อิสราเอลตอบโต้โดยการเปิดฉากบุกครองภาคใต้ของเลบานอนเพื่อทำลายฐาน PLO ที่อยู่ทางใต้ของแม่น้ำลิตานี นักรบของ PLO ส่วนใหญ่ถอนกำลัง แต่อิสราเอลสามารถเข้าควบคุมภาคใต้ของเลบานอนจนกระทั่งกำลังของสหประชาชาติและกองทัพเลบานอนยึดคืน ไม่นาน PLO ใช้นโยบายโจมตีอิสราเอลอีกครั้ง ในไม่กี่ปีถัดมา PLO แทรกซึมภาคใต้ของเลบานอนและยิงปืนใหญ่ประปรายข้ามชายแดน ฝ่ายอิสราเอลดำเนินการโจมตีตอบโต้ทั้งทางอากาศและทางบกหลายครั้ง

ขณะเดียวกัน รัฐบาลเบกินจัดสิ่งจูงใจแก่ชาวอิสราเอลให้ตั้งถิ่นฐานในเวสต์แบงก์ ทำให้เพิ่มความตึงเครียดกับชาวปาเลสไตน์ในพื้นที่[154] มีการผ่านกฎหมายหลักพื้นฐาน เยรูซาเลม เมืองหลวงของอิสราเอล ในปี 1980 ซึ่งบางคนเชื่อว่ายืนยันการผนวกเยรูซาเลมของอิสราเอลในปี 1967 ด้วยกฤษฎีกาของรัฐบาล และจุดชนวนกรณีพิพาทระหว่างประเทศเหนือสถานภาพของนคร ไม่มีกฎหมายอิสราเอลฉบับใดนิยามดินแดนอิสราเอลและไม่มีรัฐบัญญัติใดเจาะจงรวมเยรูซาเลมตะวันออกในเยรูซาเลมด้วย[155] จุดยืนของรัฐสมาชิกสหประชาชาติมีการสะท้อนในข้อมติหลายข้อมติซึ่งประกาศว่าการกระทำของอิสราเอลในการตั้งถิ่นฐานพลเมืองในเวสต์แบงก์ และกำหนดกฎหมายและการบริหารราชการแผ่นดินต่อเยรูซาเลมตะวันออก มิชอบด้วยกฎหมายและไม่มีผลสมบูรณ์[156] ในปี 1981 อิสราเอลผนวกที่ราบสูงโกลัน แม้การผนวกนั้นไม่ได้รับการรับรองของนานาชาติ[157] ความหลากหลายของประชากรของอิสราเอลเพิ่มขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1980 ถึง 1990 ยิวเอธิโอเปียหลายระลอกเข้าเมืองอิสราเอลตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1980 ส่วนระหว่างปี 1990 และ 1994 การเข้าเมืองจากรัฐหลังโซเวียตเพิ่มประชากรของอิสราเอลร้อยละ 12[158]

วันที่ 7 มิถุนายน 1981 กองทัพอากาศอิสราเอลทำลายเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แห่งเดียวของอิรักที่กำลังอยู่ระหว่างก่อสร้างนอกกรุงแบกแดดเพื่อยับยั้งโครงการอาวุธนิวเคลียร์ของอิรัก ให้หลังการโจมตีของ PLO หลายครั้งในปี 1982 ประเทศอิสราเอลจึงบุกครองเลบานอนในปีเดียวกันเพื่อทำลายฐานซึ่ง PLO ใช้เปิดฉากโจมตีและยิงขีปนาวุธใส่ภาคเหนือของอิสราเอล[159] ในการสู้รบหกวันแรก ฝ่ายอิสราเอลทำลายกำลังทหารของ PLO ในประเทศเลบานอนและสามารถพิชิตกองทัพซีเรียได้อย่างเด็โขาด การสอบสวนของรัฐบาลอิสราเอล คณะกรรมการคาฮาน ต่อมาสรุปว่าเบกิน ชารอนและนายพลอิสราเอลหลายนายมีส่วนรับผิดชอบโดยอ้อมสำหรับการสังหารหมู่ที่ชาบราและชาติลา ในปี 1985 ประเทศอิสราเอลตอบโต้การโจมตีก่อการร้ายของปาเลสไตน์ในไซปรัสโดยการทิ้งระเบิดสำนักงานใหญ่ของ PLO ในประเทศตูนิเซีย อิสราเอลถอนกำลังจากประเทศเลบานอนเป็นส่วนใหญ่ในปี 1986 แต่ยังคงเขตกันชนบริเวณชายแดนในภาคใต้ของเลบานอนจนถึงปี 2000 ซึ่งกำลังอิสราเอลขัดแย้งกับฮิซบุลลอฮ์ อินติฟาดาครั้งแรก ซึ่งเป็นการก่อการกำเริบของปาเลสไตน์ต่อการปกครองของอิสราเอล ปะทุขึ้นในปี 1987 โดยมีการเดินขบวนและความรุนแรงหลายระลอกเกิดขึ้นในเขตเวสต์แบงก์และกาซาที่ถูกยึดครอง ในช่วงหกปีถัดมา อินติฟาดามีการรจัดระเบียบมากขึ้นและรวมเอามาตรการทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมที่มุ่งขัดขวางการยึดครองของอิสราเอล มีผู้ถูกฆ่าในความรุนแรงดังกล่าวกว่า 1,000 คน[160] ระหว่างสงครามอ่าวเปอร์เซียปี 1991 PLO สนับสนุนซัดดัม ฮุสเซนและการโจมตีด้วยขีปนาวุธสกัตต่ออิสราเอล แม้สาธารณะโกรธแค้น อิสราเอลรับฟังคำร้องของสหรัฐให้ละเว้นการโจมตีโต้ตอบและไม่เข้าร่วมในสงครามนั้น[161][162]

ในปี 1992 ยิตซัค ราบินเป็นนายกรัฐมนตรีหลังการเลือกตั้งซึ่งพรรคของเขาเรียกร้องให้ประนีประนอมกับเพื่อนบ้านของอิสราเอล[163][164] ปีต่อมา ชีโมน เปเรสผู้แทนฝ่ายอิสราเอล และมะห์มูด อับบาสผู้แทนฝ่าย PLO ลงนามข้อตกลงกรุงออสโล ซึ่งให้องค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์มีสิทธิปกครองหลายส่วนของเวสต์แบงก์และฉนวนกาซา[165] PLO ยังรับรองสิทธิการดำรงอยู่ของอิสราเอลและยอมยุติการก่อการร้าย[166] ในปี 1994 มีการลงนามสนธิสัญญาสันติภาพอิสราเอล–จอร์แดน ทำให้จอร์แดนเป็นประเทศอาหรับที่สองที่ฟื้นฟูความสัมพันธ์กับอิสราเอล[167] การสนับสนุนข้อตกลงฯ ของสาธารณะฝ่ายอาหรับลดลงจากการดำเนินการตั้งนิคม[168] และจุดตรวจของอิสราเอลต่อ และการบั่นทอนภาวะทางเศรษฐกิจ[169] การสนับสนุนข้อตกลงฯ ของสาธารณะฝ่ายอิสราเอลสั่นคลอนเมื่ออิสราเอลถูกโจมตีฆ่าตัวตายจากปาเลสไตน์[170] ในเดือนพฤศจิกายน 1995 ขณะออกจากการชุมนุมสันติภาพ ยาซัค ราบินถูกยิเกล แอไมร์ (Yigal Amir) ยิวขวาจัดซึ่งคัดค้านข้อตกลงฯ[171]

ภายใต้นายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮูเมื่อปลายคริสต์ทศวรรรษ 1990 อิสราเอลถอนกำลังออกจากฮีบรอน[172] และลงนามบันทึกแม่น้ำวาย ซึ่งให้การควบคุมมากขึ้นแก่องค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์[173] เอฮุด บารัค ซึ่งได้รับเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีในปี 1999 ถอนกำลังออกจากภาคใต้ของเลบานอนและเจรจากับประธานองค์การฯ ปาเลสไตน์ ยัสเซอร์ อาราฟัต และประธานาธิบดีสหรัฐ บิล คลินตัน ในการประชุมสุดยอดค่ายเดวิดปี 2000 ระหว่างการประชุม บารัคเสนอแผนตั้งรัฐปาเลสไตน์ รัฐที่เสนอมีฉนวนกาซาทั้งหมดและกว่าร้อยละ 90 ของเวสต์แบงก์โดยมีกรุงเยรูซาเลมเป็นเมืองหลวงร่วมกัน[174] ต่างฝ่ายต่างโทษอีกฝ่ายหนึ่งว่าเป็นสาเหตุทำให้การเจรจาล่ม หลังหัวหน้าพรรคลิคุด อาเรียล ชารอนเยือนเนินพระวิหารอันเป็นที่โต้เถียง เกิดอินติฟาดาครั้งที่สอง นักวิจารณ์บางคนสรุปว่าอาราฟัตเตรียมการก่อการกำเริบดังกล่าวล่วงหน้าเนื่องจากการเจรจาสันติภาพล้มเหลว[175][176][177][178] ชารอนเป็นนายกรัฐมนตรีในการเลือกตั้งพิเศษปี 2001 ระหว่างการดำรงตำแหน่ง ชารอนดำเนินแผนถอนกำลังจากฉนวนกาซาฝ่ายเดียวและยังเป็นหัวหอกการก่อสร้างแนวกั้นเวสต์แบงก์ของอิสราเอล[179] ยุติอินติฟาดา[180][181] ในสมัยของเขา มีชาวอิสราเอลถูกฆ่า 1,100 คน ส่วนใหญ่ในเหตุระเบิดฆ่าตัวตาย[182] ส่วนปาเลสไตน์ตั้งแต่ปี 2000 ถึง 2,008 มี 4,791 คนถูกกำลังความมั่นคงของอิสราเอลฆ่า 44 คนถูกพลเรือนอิสราเอลฆ่า และ 609 คนถูกปาเลสไตน์ด้วยกันฆ่า[183]

ในเดือนกรกฎาคม 2006 การโจมตีด้วยปืนใหญ่ของฮิซบุลลอฮ์ใส่ชุมชนชายแดนด้านทิศเหนือของอิสราเอลและการลักพาตัวทหารอิสราเอลสองนายข้ามชายแดนจุดชนวนสงครามเลบานอนครั้งที่สองนานหนึ่งเดือน[184][185] วันที่ 6 กันยายน 2007 กองทัพอากาศอิสราเอลทำลายเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ในประเทศซีเรีย ปลายปี 2008 อิสราเอลเกิดความขัดแย้งอีกครั้งเมื่อการหยุดยิงระหว่างฮามาสกับอิสราเอลล่ม สงครามกาซาปี 2008–09 กินเวลาสามสัปดาห์และยุติหลังอิสราเอลประกาศหยุดยิงฝ่ายเดียว[186][187] ฮามาสประกาศหยุดยิงของตนโดยมีเงื่อนไขให้อิสราเอลถอนกำลังอย่างสมบูรณ์และเปิดจุดผ่านแดน แม้ยังมีการยิงจรวดและการโจมตีตอบโต้ของอิสราเอลอยู่เรื่อย ๆ แต่การหยุดยิงอันเปราะบางยังมีผลอยู่[188] อิสราเอลเริ่มปฏิบัติการในกาซาเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2012 กินเวลาแปดวัน[189] เพื่อตอบโต้การโจมตีด้วยจรวดหนึ่งร้อยครั้งใส่นครภาคใต้ของอิสราเอลตามอ้าง[190] อิสราเอลเริ่มปฏิบัติการอีกครั้งในกาซาระหว่างการขยายขอบเขตของการโจมตีด้วยจรวดของฮามาสในเดือนกรกฎาคม 2014[191]

ในเดือนกันยายน 2010 อิสราเอลได้รับเชิญให้เข้าร่วมโออีซีดี[35] ประเทศอิสราเอลลงนามความตกลงการค้าเสรีกับสหภาพยุโรป สหรัฐ สมาคมการค้าเสรียุโรป ตุรกี เม็กซิโก แคนาดา จอร์แดน อียิปต์และในปี 2007 เป็นประเทศที่มิใช่ละตินอเมริกาประเทศแรกที่ลงนามความตกลงการค้าเสรีกับกลุ่มการค้าเมร์โกซูร์[192][193] ในคริสต์ทศวรรษ 2010 ความร่วมมือในภูมิภาคที่เพิ่มขึ้นระหว่างอิสราเอลและประเทศสันนิบาตอาหรับ ซึ่งมีความตกลงสันติภาพสองฉบับ (จอร์แดน อียิปต์) ความสัมพันธ์ทางทูต (สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ปาเลสไตน์) และความสัมพันธ์อย่างไม่เป็นทางการ (บาห์เรน ซาอุดีอาระเบีย โมร็อกโก ตูนิเซีย) และสถานการณ์ความมั่นคงของอิสราเอลเปลี่ยนจากความเป็นปรปักษ์อาหรับ–อิสราเอลแต่เดิมเป็นความเป็นคู่แข่งในภูมิภาคกับอิหร่านและตัวแทน ความขัดแย้งอิหร่าน–อิสราเอลค่อย ๆ ถือกำเนิดขึ้นจากความเป็นปรปักษ์ของสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านสมัยหลังปฏิวัติที่ประกาศต่ออิสราเอลตั้งแต่ปี 1979 เป็นการสนับสนุนฮิซบุลลอฮ์ของอิหร่านในทางลับระหว่างความขัดแย้งเลบานอนใต้ (1985–2000) แล้วพัฒนาเป็นความขัดแย้งภูมิภาคตัวแทนตั้งแต่ปี 2005 ด้วยการเข้ามีส่วนของอิหร่านที่เพิ่มขึ้นในสงครามกลางเมืองซีเรียตั้งแต่ปี 2011 และความขัดแย้งเปลี่ยนจากการสงครามตัวแทนมาเป็นการเผชิญหน้าโดยตรงในต้นปี 2018

แหล่งที่มา

WikiPedia: ประเทศอิสราเอล http://www.smh.com.au/news/world/battleground-gaza... http://www.answers.com/topic/return-to-zion http://www.bbc.com/news/world-middle-east-14724842 http://www.bbc.com/news/world-middle-east-42218042 http://go.galegroup.com/ps/i.do?id=GALE%7CCX258751... http://www.goisrael.com/Tourism_Eng/Pages/home.asp... http://www.haaretz.com/hasen/spages/959229.html http://www.haaretz.com/news/idf-begins-gaza-troop-... http://www.haaretz.com/news/two-idf-soldiers-civil... http://www.haaretz.com/news/who-life-expectancy-in...