การแปล ของ พระราชพงศาวดารกรุงเก่า_ฉบับหลวงประเสริฐ

ออสการ์ แฟรงก์เฟอร์เทอร์ (Oscar Frankfurter) แปลพงศาวดารนี้เป็นภาษาอังกฤษ และสยามสมาคมนำลงพิมพ์ใน วารสารสยามสมาคม เมื่อ ค.ศ. 1909 (พ.ศ. 2452/53) ใช้ชื่อว่า Events in Ayuddhya from Chulasakaraj 686–966 ("เหตุการณ์ในอยุธยาตั้งแต่จุลศักราช 686 ถึง 966")[39] แต่คำแปลนี้ผิดพลาดหลายจุด[Note 1]

ต่อมา ริชาร์ด ดี. คัชแมน (Richard D. Cushman) แปลใหม่เป็นภาษาอังกฤษ และสยามสมาคมพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2535 เป็นส่วนหนึ่งของหนังสือ The Royal Chronicles of Ayutthaya ("พระราชพงศาวดารอยุธยา") มีเดวิด เค. วัยอาจ เป็นบรรณาธิการ[40] แต่นักวิชาการเห็นว่า หลายจุดแปลผิดและใช้คำแปลที่แปลกประหลาด[Note 2]

นอกจากนี้ ไพโรจน์ เกษแม่นกิจ แปลบางส่วนของพงศาวดารนี้เป็นภาษาอังกฤษ ใช้ชื่อว่า Krung Kao Chronicle: Luang Prasert Aksonnit's Version ("พงศาวดารกรุงเก่า: ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์") พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2542 เป็นส่วนหนึ่งของหนังสือ วรรณกรรมอาเซียน ประเทศไทย เล่ม 2 เอ: วรรณกรรมสมัยอยุธยา ฉบับแปล[41]

อนึ่ง อัญชนา จิตสุทธิญาณ แปลพงศาวดารนี้เป็นภาษาเขมร พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2552 ใช้ชื่อว่า พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ ภาษาไทย–เขมร มีศานติ ภักดีคำ เป็นบรรณาธิการ[42]

ใกล้เคียง

พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 พระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท) พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ พระราชวังต้องห้าม พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 พระราชวังบวรสถานมงคล พระราชวังดุสิต พระราชวังสนามจันทร์